รวบทุกอย่างเข้าด้วยกัน: แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

เอบีเอ็น แอมโรเป็นตัวอย่างของธนาคารระหว่างประเทศชั้นนำ ที่เติบโตขึ้นจากการซื้อกิจการในยุโรปและสหรัฐฯ และกำลังย้อนรอยความสำเร็จแบบเดียวกันในตลาดเอเชีย โดยอาศัยกลยุทธ์หลายประการ

ประการแรก เอบีเอ็น แอมโรใช้แนวทางซื้อกิจการอย่างมีแบบแผน (programmatic approach) แผนการซื้อ กิจการในเอเชียดำเนินการและบริหารจากสำนักงานภูมิภาค มีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคมีอำนาจในการดำเนินการติด ต่อชั้นต้นและในขั้นตอนการแสดงความสนใจ หลังจากนั้นสำนักงานระดับโลกจึงเข้ามาร่วมในการตัดสิน ใจในเรื่องการเจรจาและการซื้อกิจการ ทั้งนี้ ต้องมีความชัดเจน ในเรื่องของทุน รวมทั้งมีการเสนอจำนวนกิจการเป้าหมาย ในแต่ละประเทศในภูมิภาคและอนุมัติเป็นแผน การตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ในขั้นเริ่มต้นนี้เช่นกัน เอบีเอ็น แอมโร จะตรวจสอบเป้าหมายที่หลากหลายในหลายประเทศ ซึ่งแนวทางนี้ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผนการ ความพยายามของธนาคารแห่งนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อแนวทางการผนวก และซื้อกิจการที่นำมาใช้ในเอเชีย และยังช่วยสร้างแรงสนับสนุนภายใน และความน่าตื่นเต้นของสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นความริเริ่มที่ใช้เวลาอันสั้นสำหรับกิจการอย่างเอบีเอ็น แอมโร นอกจากนั้น แม้ว่าธนาคารจะได้เลือกตลาดที่มีความสำคัญสามแห่งแรกไว้แล้ว แต่ก็ยังยินดีที่จะพิจารณาความคิดที่จะเสริมความแข็งแกร่ง ของกิจการขึ้นอีก เมื่อโอกาสในตลาดภูมิภาคเปิดให้

การเตรียมการอย่างแข็งขันเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันใน ขั้นการเตรียมโครงการจะกินเวลาถึงสี่เดือน ซึ่งรวมทั้งการ พัฒนาเกณฑ์เจ็ดประการสำหรับซื้อกิจการและกระบวนการ กลั่นกรองในขั้นต้น โดยที่จะนำเอาการวิเคราะห์จากภายนอกที่พิจารณาเป้าหมายราว 30 แห่งเข้ามาประกอบด้วย และในท้ายที่สุด จะมีกิจการเป้าหมายเพียง 15 แห่งที่ผ่าน การพิจารณาคัดเลือก และจะเหลือเพียง 5 รายในขั้นเจรจาซื้อกิจการ

ในจำนวนการซื้อกิจการสองรายในประเทศไทยที่ในท้ายที่สุดก็เลิกล้มไปนั้น รายที่ยืดเยื้อใช้เวลาเจรจานาน ถึง 6 เดือน มีการพัฒนาโครงสร้างการซื้อขายหลายต่อหลาย ชุดด้วยกัน การตรวจสอบบัญชีซึ่งรวมเอาผู้บริหาร 30 รายจากสำนักงานในประเทศและสำนักงานภูมิภาคใช้เวลาถึงหนึ่งเดือนครึ่ง และในขั้นการบอกเลิกการเจรจาก็ต้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามามีส่วนร่วมซ้ำอีก

กรณีเอบีเอ็น แอมโร ซื้อกิจการธนาคารเอเชีย มีการใช้โครงสร้างข้อตกลงที่ค่อนข้างยืดหยุ่นในเรื่องการปรับ ปรุงบัญชีราคาในปีที่สามที่รับประกันว่าเอบีเอ็น แอมโรจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ต้องการ โครงสร้างดังกล่าวซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายผู้ขายกิจการ รักษาความเป็นไปได้ของผลประโยชน์ที่อาจกลับเพิ่มขึ้น หากความคาดหมายเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดของฝ่ายผู้ขายกิจการถูกต้อง จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของฝ่ายผู้ซื้อกิจการในภาวะที่มีการแข่งขันกันสูง

ประการสุดท้าย ก่อนที่การตรวจสอบบัญชีจะเสร็จสมบูรณ์ เอบีเอ็น แอมโร ก็ได้เริ่มแผนการที่จะทำ syner-gies แล้วโดยพิจารณาการประสมประสานกิจกรรมบางอย่างของสาขาของธนาคารเอเชีย พัฒนาแผนการขายบริการทางการเงิน ทั้งลูกค้าประเภทรายย่อยและลูกค้าประเภทบริษัท เริ่มออกแคมเปญพันธบัตรเงินกู้ระหว่างธนาคาร และระดมเงินฝากอย่างเอาจริงเอาจัง รวมทั้งระบุถึงโอกาสสำหรับการผ่องถ่ายทักษะความชำนาญต่างๆ และเลือกผู้บริหารเข้าร่วมทีมบริหารของธนาคารเอเชีย

อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการซื้อขายกิจการนี้สร้างมูลค่าหรือไม่ แต่ความพยายามในการประสมประสาน หลังการซื้อกิจการตั้งแต่แรกชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้สูงว่าการทำ synergies จะได้ผล ในกรณีนี้ เอบีเอ็น แอมโรได้บริหารกิจการจนสามารถสร้างฐานะของผู้นำในอนาคตในตลาดเป้าหมาย ในขณะที่ธนาคารเอเชียก็ได้ผู้ร่วมธุรกิจ ที่ตนต้องการ เพื่อที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในท่ามกลางภาวะวิกฤตในปัจจุบัน

แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร รวมทั้งกรณีการซื้อกิจการที่เลิกร้างกันไป ล้วนแต่ฉายภาพ ให้เห็นโอกาสทางการตลาดที่เป็นไปได้สำหรับธนาคารที่จะเข้ายึดตลาดเอเชียวันนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.