มหาเดร์: นักรบแห่งเอเชีย

โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

สถานการณ์สำหรับมหาเดร์

มูฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยามนี้กับเมื่อ ปีที่แล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2541 มา-เลเซียเริ่มต้นนโยบายคุมเข้มด้านเงินทุน หรือ capital controls รวมทั้งกำหนด ค่าเงินริงกิตไว้ตายตัวที่ 3.8 ริงกิตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการสำคัญในการตอบโต้ "นักเก็งกำไรค่าเงิน" ที่ก่อให้เกิดวิกฤตการเงินอย่างรุน แรงในเอเชียและลุกลามไปทั่วโลก

เกือบจะทันทีที่มาเลเซียประกาศ ใช้มาตรการดังกล่าว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ได้ออกมาวิจารณ์ว่า เป็นการทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์สายไอเอ็มเอฟทั้งหลาย ต่างก็วิเคราะห์วิจารณ์ว่า นายกรัฐมนตรี มาเลเซียกำลังนำพาประเทศไปสู่หายนะ ที่หนักข้ออย่าง จอร์จ โซรอส (George Soros) มหาเศรษฐีชาวอเมริกันซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักเก็งกำไรค่าเงินตัวยง และถือได้ว่าเป็น "คู่ปรับ" คนสำคัญของมหาเดร์ ก็ถึงกับออกมาเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งปรากฏว่ามีเสียงขานรับพอสมควร รวมทั้งในมาเลเซียเอง เนื่องจากพร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนนโยบายทางด้านการเงิน นายกรัฐมนตรีมหาเดร ์ก็ดำเนินการกวาดล้างกลุ่มการเมือง ที่เชื่อถือศรัทธาแนวทางของไอเอ็มเอฟในมาเลเซียอีกด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้นทราบกันดีว่านำโดยอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลังของมาเลเซียคือ อันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim)

แต่มากันยายน ปีนี้...หนึ่งปีผ่านไป นอกจากมาเลเซียจะไม่หายนะตามที่ "เด็กดี" ของไอเอ็มเอฟทั้งหลายคาดหมาย สถานการณ์ยังกลับดูเหมือนว่า มาเลเซียจะอยู่ในแถวหน้าของประเทศในเอเชียที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ แม้กระทั่ง ไอเอ็มเอฟเองก็ออกมายอมรับความจริงในแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายนนี้ว่า การดำเนินนโยบาย capital controls ของมาเล-เซียให้ผลดีกว่าที่คนจำนวนมากคาดไว้ โดยเฉพาะการกำหนดค่าเงินตายตัวนั้นกลับส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของมาเลเซีย แต่กระนั้น ในคณะกรรมการของไอเอ็มเอฟก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันว่า มาเลเซียควรจะดำเนินนโยบายนี้ต่อไปหรือควรจะยกเลิก รวมทั้งเรื่องการกำหนดค่าเงินนั้นควรจะคงตายตัวอยู่อย่างนี้หรือควรจะยืดหยุ่น

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ไอเอ็มเอฟยังมองว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย จะทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและจะดึงดูดเงินทุนระยะยาว ซึ่งจะค้ำจุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียให้ยั่งยืนอีกด้วย

นอกจากไอเอ็มเอฟแล้ว ในวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือ เอดีบี (ADB) ก็ ได้ ออกมาบอกว่า มาเลเซียเริ่มพ้นจากภาวะ เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงแล้ว และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประ-เทศ (GDP) ของมาเลเซียในปีนี้จะโต 2 เปอร์เซ็นต์ และเป็น 3.9 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า

ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียคาดไว้ว่าปีนี้ GDP จะโต 1 เปอร์เซ็นต์และเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า ส่วนสำนักข่าวรอยเตอร์ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้ทำการสำรวจความเห็นของสำนักงานวิจัยทางเศรษฐ กิจ 10 แห่งก็พยากรณ์ว่า GDP ของมาเลเซียในปีนี้จะโต 4.4 เปอร์เซ็นต์ และโต 5.3 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า

สิ่งเหล่านี้นี่เองที่ตอกย้ำว่า การตัด สินใจดำเนินนโยบายดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีมหาเดร์แห่งมาเลเซีย-ไม่ผิด!

นายแพทย์มหาเดร์ มูฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของมาเลเซียขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารตั้งแต่ปี 2524 ขณะนี้นับเป็นผู้นำในเอเชียที่อยู่ในอำนาจนานที่สุด ฝ่ายที่สนับสนุนมหาเดร์มองว่า ความยาวนานในอำนาจถึง 18 ปีนี้เองที่ทำให้เขาสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ให้กับมาเลเซียได้มากและอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็เห็นว่า ความยาวนานนี้นำมาซึ่งลัทธิอำนาจนิยม และลัทธิพรรคพวก

มหาเดร์เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวา-คม 2468 ที่อะลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ บิดาเป็นครูใหญ่ชาวมาเลย์คนแรกของโรงเรียนอังกฤษในรัฐนั้น มหาเดร์เข้าร่วมกับพรรคอัมโน (UMNO) มาตั้งแต่ก่อตั้งพรรค ก่อนที่เขาจะจบการศึกษา ทางด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งต่อมาเขาได้กลับมาเปิดคลีนิกชื่อ "มหาคลีนิก" ที่บ้านเกิดในปี 2500 หนึ่งปีหลังจากที่เขาแต่งงาน กับแพทย์หญิงสิตีฮัสมาห์ (Siti Hasmah) ครอบครัวของผู้นำมาเลเซียมีบุตรและธิดา 7 คน เป็นบุตรบุญธรรม 2 คน

ความเป็นแพทย์นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาเดร์อย่างมากและต้อง ถือว่าเขาได้รับการยอมรับจากประชาชนโดยเฉพาะที่อะลอร์สตาร์บ้านเกิดก็จากบทบาทของ "หมอ" ที่ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ยากไร้ และเมื่อเขามาเป็นนักการเมือง เขาก็มิได้ทิ้งความเป็น "หมอ" เขาได้นำความรู้ดังกล่าวมาวินิจฉัยและเยียวยา ปัญหาของชาติด้วยจิตใจของคนเป็น "หมอ"

สำหรับมหาเดร์แล้วการถูกฝึกมาให้เป็นแพทย์นั้น มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตมากมายหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะกระบวนการวิเคราะห์ เหมือนอย่างที่เซอร์ อาร์เธอร์ โคแนน ดอยล์ (Sir Arthur Conan Doyle) นายแพทย์นักเขียนใช้กระบวนการดังกล่าวสร้างตัวละครที่เป็นนักสืบผู้เก่งกาจ

อย่างเชอร์ล็อก โฮล์มส์ (Sherlock Holmes) ขึ้นมา

ความโดดเด่นที่สุดของผู้นำมา-เลเซียผู้นี้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอก็คือความกล้าหาญ ที่เขาพร้อมจะต่อสู้หัวชนฝาในสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นภายในพรรคการเมืองที่เขาสังกัด ในรัฐบาล หรือกับมหาอำนาจตะวันตกที่ผู้นำในเอเชียส่วนใหญ่พร้อมที่จะเป็นผู้ตามโดยไม่เกี่ยงงอน

ในจำนวนนั้นไม่รวมมหาเดร์ด้วย อย่างแน่นอน!

มหาเดร์เป็นชาวเอเชียที่ยืนหยัดเชิดชูค่านิยมเอเชียและมาเลเซียอย่างเหนียวแน่น เขาเชื่อมั่นในประวัติศาสตร์ อันรุ่งโรจน์ของเอเชียในอดีตซึ่งเขาเชื่อว่า ถ้าหากเอเชียสามารถเรียนรู้ทักษะด้านอุตสาหกรรมจากโลกตะวันตก ขณะที่ยังสามารถรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้ เมื่อนั้นเอเชียจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง และแม้ว่ามหาเดร์จะถูกมองว่ามีแนวความคิดต่อต้านตะวันตก แต่แท้จริงแล้วเขากลับเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการ พัฒนาประเทศทางด้านอุตสาหกรรม จนอาจกล่าวได้ว่า เวลานี้มาเลเซียคือศูนย์กลางทางอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคนี้

สิ่งที่สำคัญสำหรับมหาเดร์ในการ คบหากับตะวันตกอยู่ตรงที่ จะต้องเป็นความสัมพันธ์ที่สมดุลและเสมอภาค

บุคลิกของมหาเดร์ เป็นคนที่พูดค่อยและมีท่าทีสุภาพนุ่มนวล โกรธยาก แต่ก็พร้อมที่จะดุดันเป็นที่รู้กันดีว่า ทุกครั้งที่เขาโกรธเกรี้ยวจะต้องมีเหตุผลที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นเรื่องอารมณ์เสียตามปกติ คนที่ทำงานกับมหาเดร์และชื่นชมเขาบอกว่า มหาเดร์มีจิตใจประชาธิปไตย รับฟังความเห็นของคนอื่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนจุดยืน ถ้าความคิดเห็นดังกล่าวดีกว่า แต่ขณะเดียวกันก็หนักแน่นมั่นคงในฐานะผู้นำ

และในฐานะผู้นำนี่เอง ที่ทำให้เวลาส่วนใหญ่ของนายกรัฐมนตรีมหาเดร์ จะอยู่กับงานเวลาที่จะให้กับครอบครัว จึงมีน้อยมาก แต่กระนั้นเขาก็ยังหาเวลา รับประทานอาหารร่วมกับภริยาในบางมื้อ รวมทั้งใช้เวลาร่วมกับครอบครัวในช่วงวันหยุด สำหรับยามว่างงานอดิเรกของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็ คืองานช่างไม ้ถ้าเป็นกีฬาก็จะเป็นกีฬาที่สามารถเล่นคนเดียวได้จากสิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นคนรักสันโดษ ซึ่งอาจแปลได้ว่า "ไม่เอาใคร" นอกจากนั้น งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งที่ผู้นำมาเลเซียเคยโปรดปรานในอดีตแต่ปัจจุบันลดน้อยลง ก็คือการเป็นพ่อครัวหัวป่าก์สาเหตุที่ลดลงก็เพราะต้องควบคุมอาหาร

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียผู้นี้ วางทายาททางการเมืองที่จะมาสืบทอดต่อจากเขาคนแล้วคนเล่า แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ดังใจ ทุกคนมีอันเป็นไปจนหมดสิ้น รวมทั้งอันวาร์ อิบราฮิม อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังเดินหน้าทำหน้าที่ผู้นำประเทศอย่างเข้มแข็งโดยไม่หวาดหวั่นต่อคำ

วิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น... 18 ปีในอำนาจทำให้เขากลายเป็น "สิงห์เฒ่า" ที่ประสบการณ์เชี่ยวกราก เขาอาจจะมีข้อด้อยอยู่ไม่น้อย แต่เขาก็มีข้อดีอยู่มากโดยเฉพาะการที่เขาสามารถทำให้มาเลเซียที่ประกอบด้วยคนสามเชื้อชาติหลัก (จีน-มาเลย์-ทมิฬ) สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติบนหลักการ "ความสามัคคี แห่งชาติ" นอกจากนั้น เขายังเป็นผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ที่สำคัญเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์และหยิ่งในความเป็นเอเชีย

สิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้มหาเดร์ มูฮัมหมัด ยิ่งใหญ่!

อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า สถานการณ์ระหว่างมหาเดร์กับโลกตะวัน ตกโดยเฉพาะกับไอเอ็มเอฟในปีนี้กับปีที่แล้ว-แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเคยกล่าว ไว้เมื่อปีที่แล้วว่า มาเลเซียจะเป็นประ-เทศแรกๆ ในเอเชียที่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยสำทับว่า การที่จะฟื้นตัวได้ไม่ใช่เรื่อง ที่จะมานั่งทอดหุ่ยและรอคอยไปวันๆ แต่ จะต้องสร้างความแข็งแกร่งที่แท้จริงขึ้นมาด้วยการบริหารจัดการที่ดีและการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มหาเดร์ยังบอกด้วยว่าถ้าหากมาเลเซียตัดสินใจเข้าโครงการและดำเนินนโยบายตามที่ไอเอ็มเอฟกำหนดเศรษฐ กิจมาเลเซียจะหยุดชะงักทั้งหมด!

นั่นหมายถึงก็จะไม่มีมาเลเซียวัน นี้...วันที่มาเลเซียมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยการยอมรับของไอเอ็มเอฟ

เมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้เขียนถึง "นักรบแห่งเอเชีย" ผู้นี้ได้อย่างไร.



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.