ดอกเตอร์อาร์พาด พุสซไท (Dr.Arpad Pusztai) วัย 68 ได้กลายเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับอันตราย
ที่เกิดจากอาหารที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมหรือ
GMOs - Genetically Modified Organisms ทั้งนี้ หลังจากที่เขาได้แถลงผลการวิจัยออกมาเมื่อกลางปีที่แล้ว
ตอนนั้นดอกเตอร์พุสซไทยังคงเป็นนักวิจัยของสถาบันวิจัยโรเวตต์ (Rowett
Research Institute) ในสกอตแลนด์ วิจัยโดยทดลองให้หนูกินมันฝรั่งซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
พบว่าอวัยวะภายในและระบบภูมิคุ้มกัน ของหนูทดลองเหล่านั้นถูกทำลาย พอสิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง...
ดอกเตอร์พุสซไทต้องพ้นสภาพจากการเป็นนักวิจัย ของสถาบันโรเวตต์ โดยทางสถาบันวิจัยแถลงว่า
การวิจัยดังกล่าวของดอกเตอร์ พุสซไทยังไม่สมบูรณ์ พร้อมกับตั้งคณะ กรรมการขึ้นมาสอบสวนและส่งเรื่องไปยัง
Royal Society (RS) ของอังกฤษ
การที่ดอกเตอร์พุสซไทต้องถูก "เด้ง" ออกจากสถาบันโรเวตต์ได้กลายเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้าง
ขวาง เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า สถา บันวิจัยโรเวตต์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท
"มอนซานโต้" (Mon-santo) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ต้องยอมรับว่า การเปิดเผยผลวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทครั้งนี้ ได้สร้างความเสียหาย
และส่งผลสะเทือนอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาtในสหรัฐอเมริกาและประเทศโลกที่สามที่ต้องพึ่งพาภาคเกษตรกรรมซึ่งรวมทั้งประเทศไทย
กระทั่งเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Royal Society ของอังกฤษก็ ได้สั่งถอนงานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทโดยให้เหตุผลว่า
เป็นงานที่ไม่ตรงประ-เด็นและยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยาที่
Royal Society ตั้งขึ้นมาสอบสวนเรื่องนี้ทั้ง 6 คนโดยไม่มีการเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนามได้รายงานสรุปว่า
งานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทมีช่องโหว่หลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเค้าโครง
การปฏิบัติการและการวิเคราะห์ ทางด้านดอกเตอร์พุสซไทก็ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้คณะกรรมการของ
Royal Society ว่าไม่ยอมพิจารณาบรรดาข้อมูลใหม่ต่างๆ ของเขา รวมทั้งไม่รับข้อเสนอเรื่องที่เขาขอให้มีการนำงานทดลองของเขามาถกแถลงร่วมกัน
นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่าคณะกรรม การให้เวลาไม่พอกับเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการทดลองของเขานี้
"ผมรู้สึกเศร้าใจมากที่เราทั้งหมด พลาดโอกาสครั้งสำคัญ ในการที่จะแสวงหาหนทางที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าในเรื่องที่มีความหมายยิ่งนี้
มันเป็นความเชื่อของผมว่า คนส่วนใหญ่พบว่า การที่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอาหารที่เรากินกันเป็นประจำนั้น
เป็นเรื่องที่น่าวิตก โดยเฉพาะเมื่อส่อให้เห็นว่ายังมีความบกพร่องในการทำให้การทดลองทางชีวภาพถูกต้องและสมบูรณ์
จุดสำคัญก็คือว่า อาหารที่มีการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนั้นจะต้องปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้
และผมขอย้ำความวิตกกังวลของผมในเรื่องความเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการทดลอง
ทางชีวภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้"
อย่างไรก็ตาม แม้ Royal Socie- ty จะปฏิเสธงานวิจัยของเขาแต่ดอก
เตอร์พุสซไทก็ไม่ได้โดดเดี่ยวเสียทีเดียว ยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งที่ยืนอยู่เคียงข้างเขา
โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนหน้าที่ Royal Society จะพิจารณางานของดอกเตอร์พุสซไท
ก็ได้มีบรรดา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากหลายประเทศ จำนวน 20 คนออกมาให้การสนับสนุน
และเมื่อ Royal Society แถลงผลสรุปแล้ว ศาสตราจารย์เอียน ไพรม์ (Ian Pryme)
แห่ง University of Bergen ในนอร์เวย์ 1 ใน 20 นักวิทยาศาสตร์ชุดดังกล่าวก็ยังคงให้การสนับสนุนงานของดอกเตอร์พุสซไทเหมือนเดิม
พร้อมกันนั้นก็บอกว่า ผิดหวังกับราย งานของ Royal Society ศาสตราจารย์ไพรม์อ้างว่า
ดอกเตอร์พุสซไทได้ย้ำอยู่เสมอถึงผลการทดลองของเขาว่าเป็นเพียงผลเบื้องต้น
และเป็นเพียงการหยิบยกคำถามเกี่ยวกับอาหาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมขึ้นมา
เพื่อให้มีการพิจารณากันต่อ นอกจากนั้นทางดอกเตอร์พุสซไทเองก็พร้อมที่จะถกแถลงในเรื่องนี้
แต่ปรากฏว่าไม่มีใครรับข้อเสนอดังกล่าว
"ทำไมถึงมาอึกอักกันในการที่จะนั่งลงและถกเถียงกันดีๆ อย่างมีหลัก มีเกณฑ์...
ผมคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องบังหน้าเท่านั้น-เป็นเรื่องบังหน้ามาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ
(สอบสวน) แล้ว"
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผลการทดลองของดอกเตอร์พุสซไทเป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นไปอีกก็คือเมื่อ
The Lancet วารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้นำรายงานการทดลองชิ้นอื้อฉาวดังกล่าว
ไปตีพิมพ์ ในฉบับเดือนตุลาคม (Vol.354, No.9187, 16 Oct. 99) โดย The Lancet
บอกถึงวัตถุ ประสงค์ว่า เพื่อเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
ทั้งในระหว่างนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเอง สื่อมวลชน และสาธารณชน เกี่ยวกับความปลอด
ภัยของอาหารที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
โดยในวารสารฉบับเดียวกันนี้ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์ ทั้งต่องานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทและเรื่องเกี่ยวเนื่องหลายชิ้นด้วยกัน
แต่กระนั้น The Lancet ก็ได้นำตัวรายงานของดอกเตอร์
พุสซไทเสนอไว้เป็นชิ้นแรกในส่วนของ Research Letters พร้อมๆ กับรายงานวิจัยชิ้นอื่นๆ
ที่ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์เดวิด ไวท์เฮ้าส์ (Dr.David Whitehouse) บรรณาธิการด้านข่าววิทยาศาสตร์ของ
BBC News Online ได้วิจารณ์ว่า ที่รายงานชิ้นอื้อฉาวนี้ได้รับการตีพิมพ์จาก
The Lancet นั้น ไม่ใช่เพราะรายงานชิ้นดังกล่าวเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ดี
แต่เป็นเพราะรายงานชิ้นนี้เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายมากกว่า ความวุ่นวายอันเกิดจากความวิตกถึงอันตรายจากสิ่งที่มีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
ดอกเตอร์ไวท์เฮ้าส์บอกว่า เมื่อกว่าทศวรรษที่ผ่านมา บรรดานักวิทยา-ศาสตร์ออกจะปลื้มเปรมว่าได้ทำให้สาธารณชน
มีความเข้าใจที่ดีขึ้น และชื่นชมกับความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ แต่มาถึงเวลานี้
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พวกเขาคาดการณ์ผิดเกี่ยวกับความวิตก ที่สาธารณชนมีต่อเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม
และรวมถึงต่อตัววิทยาศาสตร์เอง
สถานการณ์ ณ เวลานี้ก็คือ เกิดคำถามในหมู่สาธารณชนว่า แท้ที่จริงแล้วเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่!
คำถามที่ดร.อาร์พาด พุสซไทเป็นผู้จุดประกาย!
จุดดับของเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม
เทคโนโลยีทางพันธุกรรมคือเครื่องมือสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อกันว่า
จะทำให้โลกสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอที่จะเลี้ยงมนุษยชาติในอนาคต
เทคโนโลยีนี้เองที่ได้ผลักดันให้เทคโนโลยีชีวภาพกลายเป็นอุตสาห- กรรมขนาดใหญ่ที่ทรงอิทธิพลยิ่งในเวลาอันรวดเร็ว
และส่งผลกระทบต่อชุมชนโลกอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นศักยภาพในการที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
วิถีการบริโภคของมนุษย์ ตลอดจนโครงสร้างของชุมชนเกษตรกรทั่วโลก
ขณะที่โลกตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยีน ี้ก็เกิดกระแสต่อต้านอย่างกว้างขวาง
ถึงอันตรายที่ตามมาของเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม
เท่าที่ฝ่ายที่คัดค้านการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม พูดถึงอันตรายที่เป็นผลพวงของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นี้ไว้
มีมากมายหลายแง่มุมด้วยกัน อาทิ ทำให้ลดความหลากหลายทางพันธุกรรม เกิดการถ่ายโอนข้ามสายพันธุ์กันของไวรัสและแบคทีเรียโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดการดื้อสารปฏิชีวนะ ในมนุษย์และสัตว์ เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อแมลง
และทำให้อัตราการตายของแมลงสูงขึ้น หรืออันตรายที่ยังไม่รู้ได้ในอนาคต...
หากสิ่งมีชีวิตที่มีความผิดพลาดทางพันธุกรรมเกิดหลุดออกมานอกห้องทดลอง รวมทั้งการถ่ายโอนเกี่ยวกับปัจจัยทางพันธุกรรมของพืชที่มีการตัดต่อยีนไปยังพืชชนิดอื่น
ทำให้การเกษตรต้องเพิ่มการพึ่งสารเคมีและเกิดสารเคมีตกค้างในพืชมากขึ้น...
ที่สำคัญคือเกิดการครอบงำตลาดการเกษตรโลกโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดใหญ่
ที่ผูกขาดเมล็ดพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมรวมทั้งผูกขาดสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรอีกด้วย.