ศึกระหว่างจัสมิน และเคเอสซี ที่จบลง เป็นแค่ยกแรกเท่านั้น สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปในวันข้างหน้า
ก็คือ การประสานผลประโยชน์ร่วมกัน
ในที่สุดคดีทางธุรกิจระหว่างจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล และเคเอสซี ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ก็ลงเอยกันแบบชื่นมื่นไป ทั้งสองฝ่าย หลังจาก ที่จัสมินได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งขอให้การขายหุ้นในบริษัทศูนย์บริการวิทยุ
บริการอินเทอร์เน็ต หรือ IKSC ของดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน และดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน
ได้ขายหุ้น 30 : 45% ตามลำดับ ให้กับบริษัทเอ็มไอเอชเป็นโมฆะ เนื่องจากจัสมิน
ซึ่งถือหุ้น 25% ไม่มีส่วนรู้เห็นในการขายหุ้นดังกล่าว
จัสมินนั้น ยอมถอนฟ้องต่อศาล และยอมขายสิทธิ์การถือหุ้น ที่ถืออยู่ในบริษัทเคเอสซี
คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) ซึ่งจัสมินถืออยู่ 12.5% ให้กับ IKSC ในราคา 17.5 ล้านบาท เพื่อแลกกับการที่จัสมินจะได้หุ้นในบริษัท
IKSC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์ เน็ต เพิ่มขึ้นจาก
25% เป็น 37.5% ในราคา 12.3 ล้านบาท โดยที่จัสมินไม่ต้องจ่ายเงิน
อันที่จริงแล้ว ศึกระหว่างจัสมิน และเคเอสซีนั้น ไม่ใช่เรื่องของ สงครามทางธุรกิจ
แต่เป็นเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ทางธุรกิจ ที่ไม่ลงตัว นั่นก็คือ สัดส่วนการถือครองหุ้น
และอำนาจในการบริหาร ธุรกิจ ที่ต่างฝ่ายก็ต้องการรักษาผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่
ซึ่งจัสมินเองก็เปิดเผยท่าทีในเรื่องนี้ไปแล้ว
ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีธุรกิจอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน และรู้ดีว่าการเกื้อกูลกันทางธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในธุรกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ขนาดของตลาดยังจำกัด
จำเป็นต้องมีธุรกิจครอบคลุมทุกๆ ด้าน หนทางหนึ่งนอกจากสร้างด้วย ตัวเองแล้ว
ก็คือ การไปรวมกับคนอื่น เพื่อนำเอาจุดดี และจุดแข็งของแต่ละ คน มาประสานผลประโยชน์ร่วมกัน
ย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่าการเป็นศัตรูทางธุรกิจ
สิ่งที่น่าจับตามองหลังจากนี้จึงอยู่ ที่ว่า หลังจากการลงเอยกันในครั้งนี้แล้ว
ทั้งสองกลุ่มจะผสานธุรกิจร่วมกันอย่างไรมากกว่า
เอ็มเว็บประเทศไทย ก็วางโมเดลธุรกิจไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะต้องมีภาพธุรกิจ ที่ครบถ้วนทั้งในเรื่องของ
content เพื่อสร้างประชา คม ดึงดูดให้คนมาใช้อินเทอร์เน็ต จากนั้น ก็ต้องมีท่อ
ที่จะให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือธุรกิจไอเอสพี ที่เป็นเรื่องของการสร้าง
connect เพื่อ นำไปสู่ธุรกิจค้าขายบนอินเทอร์เน็ต เป็นโมเดล ที่ผู้ประกอบธุรกิจอินเทอร์
เน็ตของไทยทุกรายในเวลานี้ ที่ต้องมีทั้ง 3 ส่วน
หลังจากซื้อ sanook.com แล้ว จิ๊กซอว์ตัว ที่สองของเอ็มเว็บ ก็คือ การซื้อเคเอสซี
และก่อนหน้าการลงเอยกับจัสมินไม่กี่วัน เอ็มเว็บได้ซื้อบริษัท อินเทอร์เน็ต
อินโฟ เน็ตเวิร์ค หรือ ไอไอเอ็น บริษัททำธุรกิจให้บริการปรึกษาด้านออกแบบ
และพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งการซื้อบริษัทไอไอเอ็น นี้ เอ็มเว็บได้ชี้แจงว่า เพื่อต้องการมาเสริมธุรกิจบริการโซลูชั่นในเรื่องของอีคอมเมิร์ซ
โดยเฉพาะทางด้านอินทราเน็ต และเอ็กซทราเน็ต ที่เป็นการตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าองค์กร ที่เป็น
business to business นับว่าเป็นการ เริ่มขยับสู่จิ๊กซอว์ตัว ที่ 3 ที่เป็นเรื่องของอีคอมเมิร์ซโดยตรง
และเชื่อได้ว่า หลังจากปัญหาเคเอสซีจบลง เอ็มไอเอชเองก็คงจะเริ่มขยับในเรื่องของธุรกิจไอเอสพีอย่างจริงจัง
โดยเฉพาะแผนระดมทุนในตลาดหุ้น แนสแดค ที่เครก ไวท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็มเว็บ
ประเทศไทย ก็ได้ออกมา เปิดเผยแล้วว่า เอ็มไอเอชมีแผนจะระดม ทุนในตลาดหุ้นแนสแดค
ซึ่งการฟ้องร้อง อาจทำให้แผนงานเหล่านี้สะดุด
ที่นอกเหนือกว่านั้น ก็คือ เอ็มเว็บ รู้ดีว่า จุดแข็งของจัสมินนั้น อยู่ ที่การเป็นเจ้าของโครงข่ายโทรคมนาคม
ที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจอินเทอร์เน็ต โมเดล ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่แตกต่างไปจากชาติอื่นๆ
ก็คือ จุดอ่อนของเมืองไทย ที่ยังขาด แคลนระบบสาธารณูปโภคในหลายๆ ด้าน จึงเป็นโอกาส ที่ทำให้บรรดายักษ์สื่อสารทั้งหลาย
ต่างก็อาศัยฐานธุรกิจ ที่มีอยู่เดิมไม่ว่าเงินทุน สัมปทานเครือข่ายสื่อสาร
สายสัมพันธ์เชื่อมต่อเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย ซึ่งอินเทอร์เน็ตในไทยเอง
ยังจำเป็นต้องพึ่งพาระบบเหล่านี้อยู่อีกมาก เป็นเรื่อง ที่เอ็มเว็บตระหนักดี
ขณะเดียวกันจุดแข็งของเอ็มเว็บ ที่จัสมินไม่มี ก็คือ ในเรื่องของเว็บไซต์
และการสร้างเนื้อหา (content) จัสมินเองก็เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเริ่มต้น
จากธุรกิจไอเอสพี จากนั้น ก็ขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจศูนย์เพาะเลี้ยงธุรกิจอินเทอร์เน็ต
(ไอเอสพี) เป็นอีกส่วนหนึ่งของการหาประสบการณ์ของการ เป็นนักลงทุน และการสร้าง
content และเวลานี้จัสมินเองก็กำลังขยายสู่ธุรกิจบริการ ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นบริการรับฝาก
บริการโฮมเพจ หรือเว็บไซต์รับฝาก server ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นธุรกิจ ที่ไอเอส
พี หลายรายกำลังให้ความสำคัญมากๆ เพราะเป็นธุรกิจ ที่จะทำรายได้ให้โดยตรง
และนี่ก็คือ สาเหตุของการลงเอยด้วยดีระหว่าง จัสมิน กับเคเอสซี ขึ้นอยู่กับภาค
2 ของธุรกิจว่า ทั้งสองประสาน จุดแข็งทั้งสองส่วนกันอย่างไร