SCC ทุ่มอีก 6 พันล้านบาท ขยายโรงงานผลิตปูนที่กัมพูชา เล็งผุดในประเทศเพื่อนบ้าน
หากประเทศนั้นมีความต้องการใช้มากพอและคุ้มกับการลงทุน ขณะที่เพิ่มกำลังการผลิตอีก
2 แสนตันต่อปี หลังพบความต้องการใช้ในประเทศมีสูง โดยจะแล้วเสร็จในกลางปี 2548
ยอมรับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น ทำให้ต้นทุนเพิ่ม 5% ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตในอัตราที่ลดลง
นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม
จำกัด ในธุรกิจซิเมนต์ เครือซิเมนต์ไทย (SCC) กล่าวว่า SCC มีแผนที่จะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเต็มตัวด้วย
จากปัจจุบันที่มีเพียงส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ซึ่งตลาดหลักอยู่ที่ประเทศลาว
กัมพูชา และพม่า โดยพิจารณาจากเหตุผลที่ว่า หากประเทศใดมีปริมาณความต้องการใช้เพียงพอต่อการลงทุนสร้างโรงงาน ก็จะเข้าไปตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์จำหน่ายอย่างเต็มตัว
โดยคาดว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ปีละ
1.5-2 ล้านตัน ดังนั้น การตั้งโรงงานการผลิตเพื่อรองรับกำลังการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ
6 พันล้านบาท ที่สำคัญการตั้งโรงงานในประเทศกัมพูชายังต้องรอความพร้อมด้านการเมืองในประเทศก่อน
ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาต้องเสร็จสิ้น ความเป็นไปได้ก็จะมีสูง
และบริษัทก็จะเข้าไปดำเนินการตั้งโรงงานทันที
สำหรับลาวความต้องการใช้ยังมีน้อย จึงไม่คุ้มกับการลงทุน ในขณะ ที่พม่าแม้ความต้องการใช้ในประเทศจะอยู่ในระดับที่สามารถ
ตั้งโรงงานได้ แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตรายอื่นทำตลาดในประเทศอยู่แล้ว บริษัทจึงยังไม่จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนในเวลานี้
นายปราโมทย์กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการปูนซีเมนต์
ในการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปีนี้การก่อสร้างในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ขยายตัวมากในครึ่งปีหลัง
แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็ยังมีการก่อสร้างทั้งที่อยู่อาศัยของภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งการก่อสร้างบ้านใหม่และการต่อเติมซ่อมแซม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยแม้ว่าจะสูงขึ้น
แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินก็ยังปล่อยสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ความต้องการปูนซีเมนต์สูงขึ้น ดังนั้น SCC จึงได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก
200,000 ตันต่อปี ซึ่งจะแล้วเสร็จในกลางปี 2548
"ส่วนการแข่งขันของธุรกิจในเครือนั้น จะไม่เน้นเรื่องการปรับราคา และยืนยันว่า
ตลอดทั้งปีจะไม่มีการปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
แต่จะเน้นเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มแทน" นายปราโมทย์
กล่าว
สำหรับสถานการณ์ปูนซีเมนต์ ไตรมาสแรกปีนี้ พบว่าตลาดมีความต้องการรวมประมาณ
6.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยไตรมาส 2 คาดว่าจะขยาย
ตัวในระดับเดียวกัน ทำให้ทั้งปีคาดว่า ความต้องการจะเพิ่มขึ้น ประมาณร้อย ละ 10
ขณะที่กำลังการผลิตทุกรายรวมกันมีประมาณ 53 ล้านตัน แต่ความต้องการใช้ทั้งประเทศมีประมาณ
26-27 ล้านตัน ดังนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า หากความต้องการขยายเพิ่มขึ้น ร้อยละ
10 ต่อปี ก็จะมีความต้องการใช้ประมาณ 40 ล้านตัน ซึ่งกำลังการผลิตทั้งระบบยังสามารถรองรับได้
นายปราโมทย์ กล่าวว่า SCC สามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้จำนวน 23 ล้านตัน ซึ่งปี 2547
จะเน้นจำหน่ายในประเทศเป็นหลักประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการในประเทศ
เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การส่งออกจะมีสัดส่วนประมาณ 5 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ
20 ทำให้อัตราการ ใช้กำลังการผลิตรวมในปี 2547 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของกำลังการผลิตรวม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ว่ายังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจน เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จแล้วมีผู้เข้าอยู่อาศัยเป็นส่วนมาก
โดยมีบ้านที่ยังไม่มีผู้เข้าอาศัยประมาณร้อยละ 25 ซึ่งถือว่าเป็นการเก็งกำไรที่ไม่สูงมากนักจึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา ขณะที่บริษัทเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 5 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับงานก่อสร้างในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเติบโตต่อเนื่องในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้นำเชื้อเพลิงและวัตถุดิบทดแทนมา
ใช้ในการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน โดยได้นำวัตถุดิบทดแทนมาใช้แล้ว ประมาณร้อยละ
10 ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะค่าระวางขนส่ง ทางเรือในการส่งปูนไปต่างประเทศ
บางแห่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50
ผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้นั้น ส่งผลให้ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้นประมาณ
5% ซึ่งจะมีผลให้กำไรสุทธิของบริษัท เติบโตในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจซิเมนต์มีรายได้ประมาณ
3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 5 พันล้านบาท หรือ 25% ของรายได้รวม และกำไรสุทธิของบริษัท