ที่ปรึกษา JSM ไม่ใช่แค่ว่าธรรมดา


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

ไม่ใช่แค่ว่าความธรรมดา วิชาชีพที่พ่อแม่ผู้ปกครองอยากให้บุตรหลานได้เล่าเรียนตอนนี้ เพราะเป็นวิชาทองหาเงินได้มากในช่วงเศรษฐ กิจตกต่ำและมีการยึดทรัพย์ชำระหนี้ การซื้อขายกิจการจำนวนมาก การเปลี่ยนเจ้าของกิจการ วิชาที่รุ่งที่สุดตอนนี้หนีไม่พ้น การเป็นที่ปรึกษากฎหมาย

เมื่อเร็วๆ นี้สำนักงานกฎหมาย จอห์นสัน สโต๊คส์ แอนด์ มาสเตอร์ (เจเอสเอ็ม) ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจากที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่เมื่อปี 2534 เจเอสเอ็มเป็นสำนักงานกฎหมายที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรม พาณิชย์ด้านต่างๆ เช่น การเจรจาขั้นต้นการพิจารณาและจัดเตรียมการตรวจ สอบทางการเงินและเอกสารโครงร่างสัญญา (Term Sheet) บริษัทให้บริการ ด้านกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็น full service law firm ดังนี้ การเงินการธนาคาร (การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการและทรัพย์สินของบริษัท) การลงทุนและการพาณิชย์ด้านอื่นๆ (Corporate Commercial) การฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างหนี้ บริการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Cor-porate Services) ทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินคดีทางกฎหมาย การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ และกฎระเบียบต่างๆ เช่นกฎหมายธนาคารพาณิชย์ กฎหมายตลาดหลัก ทรัพย์ กฎหมาย ก.ล.ต. เป็นต้น

เจเอสเอ็มมีผลงานเด่นๆ จำนวนมากในช่วงที่เปิดตัวมานานกว่า 7 ปีได้แก่ ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 300 ล้านเหรียญของจูปิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป, เป็นที่ปรึกษากฎหมายของกลุ่มเจ้าหนี้บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน)ในการปรับโครงสร้างหนี้มูลค่า 3,400 ล้านเหรียญ, ให้คำ ปรึกษาในทุกๆ ด้านของบริษัท ซีเมนส์ จำกัด รวมถึงส่วนที่เกี่ยวกับการจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายของเทเลคอมเอเชีย, ให้คำปรึกษาแก่บริษัทนอร์ธ เวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เกี่ยวกับโครงการบำบัดน้ำเสีย ของกรุงเทพมหานคร ที่มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นต้น

เจเอสเอ็ม เป็นสำนักงานกฎหมาย เอเชียที่ขยายกิจการได้อย่างกว้างขวาง ก่อตั้งเมื่อปี 2406 เป็นสำนักงานกฎหมาย ที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกงมีทนายความกว่า 200 คน ปัจจุบันมีการขยายตัวออกไปอีกใน 3 ประเทศในเอเชียคือ เซี่ยงไฮ้ (2435) กรุงเทพฯ (2534) ฮานอย(2537) และโฮจิมินห์ซิตี้ (2538) สำนักงานในกรุงเทพฯ นั้นถือเป็นสำนักงานใหญ่เป็นที่สองรองจากฮ่องกง มีการเติบโตรวดเร็วโดยปัจจุบันมีพนักงาน 80 คนเป็นพาร์ตเนอร์ 6 คนและทนายความ 20 คน

บริษัทมีการลงทุนในเรื่องฐานข้อมูลกฎหมาย การพัฒนาระบบด้านเทคนิค การวิจัยและคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นระบบสนับสนุนการทำงานของทนายความ การสื่อสารระหว่างทนายความในทีม และลูกความอย่างมีประสิทธิ ภาพ ทันเหตุการณ์และมีความเป็นมืออาชีพ รวมทั้งก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านค่าใช้จ่ายด้วย

ในด้านการบริการ บริษัทมีการจัดรูปแบบการให้บริการในลักษณะทีมเวิร์ค โดยมีพาร์ตเนอร์เป็นผู้นำทีมงานรับผิดชอบหลักในการดูแลลูกความโดยตรง ทำงานร่วมกับทนายความอื่นๆ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับงานนั้นๆ ให้บริการตามความต้องการของลูกค้า (client service)

กลุ่มลูกค้าของเจเอสเอ็ม ฮ่องกง ประกอบด้วยลูกความหลายประเภท ได้ แก่ ธนาคารและสถาบันการเงิน บริษัทระหว่างประเทศ องค์กรของรัฐบาลทั้งในระดับเอเชียและสากล ทนายของเจเอสเอ็มมีประสบการณ์มากในการให้คำแนะนำด้านกฎหมายหลายด้าน

งานด้านการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างหนี้นั้น เจเอสเอ็มถือเป็นหนึ่งในสำนักงานกฎหมายเพียงไม่กี่แห่งในเอเชีย ที่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ในเรื่องนี้ เป็นสำนัก งานกฎหมายเพียงไม่กี่รายในเอเชียที่แยกงานการปรับโครงสร้างออกเป็นเอกเทศ โดยทีมงานนี้ประกอบด้วยพาร์ต เนอร์ 4 คนและทนายความอีก 8 คนซึ่ง ทุกคนล้วนมีประสบการณ ์และความเชี่ยว ชาญสูงในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้

ปริมาณงานด้านนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย เจเอสเอ็มจึงเพิ่มบุคลากรด้านนี้ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ

เจเอสเอ็ม (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานที่ต้องการให้บริการแก่ลูกความฮ่องกงและจีนที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ครั้นเวลาผ่านไปฐานลูกความของบริษัทขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันลูกค้าของบริษัท มีตั้งแต่ บริษัท องค์กรรัฐบาล สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ จากเกือบทุกประเทศทั่วโลก

ที่นี่เน้นการบริหารงานในหมู่

พาร์ตเนอร์ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมกัน พาร์ตเนอร์แต่ละคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบ และความชำนาญแตกต่างกันไป แต่จะร่วมรับผิดชอบงานในลักษณะทีมเวิร์ค

หากดูหน้าตาของพาร์ตเนอร์ที่นี่แล้ว อาจจะเห็นว่ายังเด็กอยู่ แต่ประสบ การณ์ของคนเหล่านี้มีไม่น้อย ทั้งนี้พาร์ต เนอร์และทนายความของเจเอสเอ็มทั้งหมดมีอายุไม่เกิน 45 ปี ซึ่งต้องถือว่าสำนักงานแห่งนี้เน้นคนรุ่นใหม่จริงๆ

อนุรักษ์ รามนัฎ พาร์ตเนอร์ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานเจเอสเอ็มในไทย จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบ การณ์จากการร่วมงานกับสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศในไทย ปัจจุบันเขารับผิดชอบดูแลกฎหมายธุรกิจพาณิชย์ทั่วไปในเจเอสเอ็ม เขามีประสบการณ์สูงในเรื่องการประสานงานและจัดวางโครงสร้างการร่วมทุนธุรกิจ และการรวมกิจการ นอกจากนี้ก็มีดูแลแผนกอสังหาริมทรัพย์ โดยมีความชำนาญเป็นพิเศษในงานด้านการซื้อขายและพัฒนาที่ดิน อาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในเชิงพาณิชย์

นิภาพร เวสโกสิทธิ์ เป็นพาร์ต เนอร์ผู้ร่วมก่อตั้งเจเอสเอ็มในไทยอีกคนหนึ่ง จบนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอบได้เนติบัณฑิตไทย และยังไปจบปริญญาโทกฎหมายจากมหาวิทยาลัย Tulane สหรัฐฯ มีความชำนาญในกฎหมายการพาณิชย์ การธนาคารและการเงิน เธอมีประสบการณ์ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่โครงการที่หลากหลาย เช่น ให้คำปรึกษาแก่ Consortium ของกลุ่มอิตาเลียนไทยและบริษัทแนชชั่นแนล พาวเวอร์ของอังกฤษ เกี่ยวกับการยื่นประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าอิสระ ระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ให้คำปรึกษาแก่ธนาคารต่างประเทศ เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายไทย ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ สำหรับโครงการทางด่วนยกระดับดอนเมืองโทลเวย์, ให้คำปรึกษาแก่ Steering Committee ของกลุ่มเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่แห่งหนึ่ง และของบริษัทมหาชนอื่นๆ อีกหลายราย เป็นต้น

ปัจจุบันบริษัทที่เป็นลูกความของ เจเอสเอ็มได้แก่ กลุ่ม TPI โดยเจเอสเอ็มมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาให้แก่คณะกรรมการเจ้าหนี้ ดูแลควบคุมและประสานงานระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ 140 กว่า ราย นอกจากนี้ก็มีกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทเกษมกิจ คอนสตรัค ชั่น และบริษัทไทยโมเดิร์นพลาสติค

ในทัศนะของนิภาพรมองว่าอุปสรรคสำคัญของการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ในไทยคือกลุ่มเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งกลุ่มเจ้าหนี้นั้นจะยอมรับความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เจ้าหนี้ต่างชาตินั้น มีแนวทางที่ชัดเจน เช่นยอมลดหนี้ แต่เจ้าหนี้ไทยนั้นยังไม่ยอมสักเท่าไหร่ เพราะเห็นว่าลูกหนี้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ ส่วนมากจึงอยากขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปมาก กว่าที่จะยอมลดหนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมใส่เม็ดเงินใหม่เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหนี้ให้ลูกหนี้

ส่วนกลุ่มลูกหนี้นั้น ก็มักเป็นธุรกิจครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ มีความเป็นเจ้าของสูง ไม่ใคร่ยอมลดบทบาทการบริหารและความเป็นเจ้าของลง ทั้งนี้นิภาพรมองว่าหากเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ประมาณ 50%-75% ของมูลหนี้ ก็ถือว่าเป็นอัตราสูงสุดในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.