ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม!?!โครงการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุ ีเป็นชนวนสำคัญ ที่นำไปสู่วิกฤติย่อมๆ
ของรัฐบาลชวน หลีกภัย เมื่อช่วงกลางปี 2542 ทั้งๆ ที่สมัยที่มีการแปรรูปโรงไฟฟ้าขนอมและระยอง
โดยการนำเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2538 นั้น ไม่เคยมีเหตุการณ์ขัดแย้งเช่นนี้เกิดขึ้น
าอธิบายง่ายๆ คือการจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนแปลง
ไป อย่างไรก็ตามการแปรรูปโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ต้องเกิดขึ้นในที่สุดจนได้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ
16 กุมภาพันธ์ และ 23 มีนาคม 2542 ความเห็นเกี่ยวกับการแปรรูปโรงไฟฟ้าแห่งน
ี้ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างแนวทางของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(สพช.)และคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ล่าสุดคณะกรรมการกฟผ.เสนอให้นำโรงไฟฟ้าราช-บุรีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยลดทอนประเด็นเรื่องการขายหุ้น ให้พันธมิตรร่วมทุนต่างชาติ มติของคณะกรรมการฯ
ยังจะต้องนำเสนอให้รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่ดูแลกิจการพลังงาน
นำเสนอเข้าสู่ครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งคาดได้ว่า เรื่องนี้คงไม่ง่ายนัก
เพราะในส่วนของสพช.โดยดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์เลขาธิการ ได้กล่าวชัดเจนก่อนหน้านี้
ว่าต้องการขายหุ้นส่วนหนึ่งให้พันธมิตรร่วมทุนต่างประเทศ
การแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีเป็นเพียงฉากประกอบอันหนึ่งในภาพใหญ่ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งดำเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางตลาดการค้าเสรีของโลก
แนวทางเช่นว่ามีข้อโต้แย้งมากมายจากมุมมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนไทย
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียในช่วง 2
ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกๆ ฝ่าย โดยเฉพาะ กฟผ.ที่เผชิญปัญหาด้านการเงินอย่างรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นการขาดสภาพคล่องเงินสด ขาดเม็ดเงินลงทุน การแบกภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง
ถือเป็นสถาน การณ์ที่บีบคั้นกฟผ.อย่างที่ไม่เคยประสบ มาก่อน แม้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีบ้างแล้ว
แต่มาตรการต่างๆ ในการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ยังจะต้องดำเนินต่อไป
ด้านหนึ่งกฟผ.มีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่คลี่คลายไปในทางที่ดีเอื้อประโยชน์ให้มาก
ประกอบกับสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นจากการออกพันธบัตร ส่วนสพช.ก็มีการกำกับดูแลให้เป็นไปตามมติครม.บวกกับกลไกรัฐที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของกฟผ.
เป็นเครื่องมือในการแปรรูปกิจการไฟฟ้า แม้ 2 หน่วยงานนี้ดูขัดแย้งกันในเชิงการปฏิบัติการ
แต่กลับกลายเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัย เพื่อให้เกิดการแปรรูปขึ้นมาให้ได้ ทั้งที่การแปรรูปกิจการพลังงานไฟฟ้า
เป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวพันกับผลประโยชน์นับแสนล้านบาท แต่คนไทยส่วนมากจะไม่ค่อยรู้เนื้อแท้อะไร
มากไปกว่าภาพที่ฉาบฉวยในการจัดสรรผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้!
แนวทางแปรรูปของกฟผ.
เข้า SET,ไม่มีพันธมิตรร่วมทุน
ที่ประชุมคณะกรรมการกฟผ.เมื่อ 22 ตุลาคม 2542 มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมการที่ผู้ว่ากฟผ.
แต่งตั้งร่วมกับที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษา เรื่องการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี
ข้อเสนอดังกล่าว คือให้มีการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีโดยการระดมทุนจำหน่ายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(SET) กระจายหุ้นจำนวน 40% ให้สาธารณชน กฟผ.ถือไว้ 44%-49% และขายให้พนักงานกฟผ.
10%-15% (ดู ตารางโครงสร้างบริษัทและผู้ถือหุ้น ฉบับ กฟผ.) ซึ่งในส่วนของพนักงานนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขการซื้อและการถือหุ้น
กล่าวโดยคร่าวๆ คือพนักงานจะซื้อได้ในราคาเมื่อเฉลี่ยแล้วคือราคาพาร์ แต่ต้องทยอยซื้อ
และต้องถือไว้ครบ 5 ปีจึงจะได้สิทธิการซื้อครบถ้วน ทั้งนี้ราคาเมื่อซื้อเริ่มต้นจึงเป็นราคาระหว่างพาร์และราคา
IPO
เหตุผลที่ให้แปรรูปโรงไฟฟ้า
ราชบุรีโดยผ่านการระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์นั้น ผู้ว่ากฟผ. นายวีระวัฒน์
ชลายน กล่าวว่าแต่เดิมที่มีแนวคิดขายให้พันธมิตรร่วมทุนนั้น เพราะสภาพตลาดในประเทศไม่ดี
คาดว่าจะขายไม่ได้ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป สภาพคล่องในประเทศดีมาก
น่าจะระดมทุนในประเทศได้ง่าย และเพื่อให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าได้ด้วย
คณะกรรมการ กฟผ.ต้องนำข้อเสนอนี้เสนอให้แก่ รมต.สาวิตต์ โพธิ-วิหค เพื่อพิจารณานำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีขอการอนุมัติต่อไป
ซึ่งหากไม่ติดขัดปัญหาอะไร ครม.อนุมัติแล้วคาด ว่าจะมีการดำเนินการในรายละเอียดและ
สามารถนำบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในราวเดือนส.ค.-ก.ย.
2543
บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จะจัดตั้ง ด้วยทุนจดทะเบียน 305 ล้านบาท เป็น
เจ้าของสินทรัพย์ในโรงไฟฟ้าราชบุรีทั้งหมด (โรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม-โดยไม่มีการแยกสินทรัพย์)
ซึ่งเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นนั้น จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 3,645 เมกะวัตต์
โดยมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น ประมาณ 55,000 ล้านบาท
วีระวัฒน์มองว่าเรื่องของการแปรรูปก็เหมือนกับการหาทุนมาดำเนินการ "เมื่อก่อนนี้เราก็ใช้วิธีไปกู้เขามาโดย
ให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน ตอนหลังกระทรวงฯ ก็เห็นว่ากฟผ.มีทรัพย์สิน ก็ควรจะนำมาใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้
มันก็คือหลักการนี้ในการนำทรัพย์สินโรงไฟฟ้าราชบุรีมาแปลงเป็นหุ้น แล้วจัด
สรรออกไป ซึ่งนี่ก็คือหลักการที่เราไปอธิบายให้พนักงานกฟผ.เข้าใจ ที่สำคัญ
ในการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน ก็คือ เราอย่าทำเหลวไหล อย่าให้ประโยชน์ตกแก่
ใครคนใดคนหนึ่งให้ตกแก่องค์กร ซึ่งก็ไม่มีใครคัดค้านในเรื่องนี้ ประเด็นสำคัญอีกอันหนึ่งคือเราต้องการให้การแปลงทุนอันนี้ตกอยู่ในหมู่คนไทย
กระแสความเป็นเจ้าของในหมู่คนไทยมีมากขึ้น แทนที่เราจะให้ต่างประเทศมาซื้อมาเป็นเจ้าของมากขึ้น
ทำไมเราไม่เอาทุนก้อนนี้ให้ประชาชนคนไทย"
"เราเองนั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของคนไทย เราไม่หวังที่จะเอาตัวเงินมากหรือกำไรมาก
จนสูญเสียความเป็นเจ้าของของคนไทยไป แต่ขณะเดียวกันเราคงไม่เป็นชาตินิยมคลั่งชาติจนมองไม่เห็นอะไรเลย
เราคงต้องผสมกันทั้งสองมุม" วีระวัฒน์กล่าวถึงจุดยืนในการแปรรูปราชบุรี
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาเป็นรูปแบบนำเข้ากระจายหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ โดยยังไม่มีการกำหนดเพดานการถือครองหุ้นของต่างชาติ
แนวทางแปรรูปของสพช.
มีพันธมิตรร่วมทุนต่างประเทศ
และเข้า SET
แนวทางการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีด้วยการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
โดย กฟผ.ทำกับบริษัท EGCOMP เมื่อปี 2535 ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดีจากทุกๆ
ฝ่าย อย่างไรก็ดี มาในครั้งโรงไฟฟ้าราชบุรีนี้ เหตุการณ์แตกต่างกัน
สพช.ได้มีการเสนอก่อนหน้านี้นานแล้ว ว่าให้มีการจัดโครงสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรีใหม่
โดยให้มีพันธมิตรร่วมทุนจากต่างประเทศเข้ามาซื้อหุ้นส่วนหนึ่ง ซึ่งแนวทางนี้สพช.เปิดเผยว่ามาจากกฟผ.
ว่าจ้างที่ปรึกษา 3 รายศึกษาจัดทำแผน (มีที่ปรึกษา 3 รายคือ บริษัท Dresdner
Kleinwort Benson Advisory Ser-vices (Thailand) Limited, บริษัท Lehman
Brothers (Thailand) Limited และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด) และแผนนี้ก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฟผ.
เมื่อ 18 พ.ย. 2541 ต่อมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อ
10 และ 16 ก.พ. 2542 ตามลำดับ
ตามแผนฉบับนี้จะมีการจัดตั้ง บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัทในเครืออีก
2 บริษัท คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่
1) และบริษัทผลิตพลังความร้อน ราชบุรี จำกัด (บริษัทในเครือที่ 2) โดยกฟผ.
จะเป็นผู้ถือหุ้นตัวโฮลดิ้ง 100% และถือในบริษัทในเครือแห่งละ 25% ที่เหลือแห่งละ
75% ให้โฮลดิ้งถือ (ดูตาราง โครงสร้างการถือหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี ฉบับ สพช.)
หลังจากนั้นมีการกำหนดให้กฟผ.ขายหุ้นที่ถืออยู่ในโฮลดิ้งจำนวน 49% ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน
1 ในราคาประมูล โดยวิธีประมูลคัดเลือกและขายหุ้นบริษัทในเครือที่ 1 และบริษัทในเครือ
ที่ 2 ในหลักการเดียวกันด้วย หลังจากนั้นบริษัทในเครือที่ 1 และ 2 ก็จัดหาเงินกู้เพื่อนำมาซื้อโรงไฟฟ้าและที่ดินจาก
กฟผ. ส่วนโฮลดิ้งก็รับโอนทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันของโรงไฟฟ้าราชบุรีทุกโรงและที่ดินที่เหลือจากการโอนให้
2 บริษัทในเครือ
ราชบุรีโฮลดิ้งจะเพิ่มทุนเป็นครั้ง
ที่ 2 เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชน ทั่วไป พนักงานกฟผ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกฟผ.
หากมีหุ้นเหลือให้เสนอขายกฟผ. และพันธมิตรร่วมทุนเดิม ซึ่งการกระจายหุ้นครั้งนี้จะออกมาในลักษณะกฟผ.ถือไว้
33.3%-42.5%, พันธมิตรร่วมทุน 1 จำนวน 33.3%-42.5% , ประชาชนทั่วไป พนักงานกฟผ.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกฟผ. 15%-33.4%
ทั้งนี้ สพช.มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าการโอนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะดำเนินการในเดือนมีนาคม
2543 ส่วนการโอนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจะดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2543
คาดว่ากำหนดการที่แต่ละฝ่ายเสนอไว้นั้น ยังจะต้องเลื่อนกันออกไปอีก
เพราะต้องมีการพิจารณาข้อเสนอล่าสุดของกฟผ. ที่ต้องการให้นำโรงไฟฟ้าราชบุรีทั้งหมดแปรรูปผ่านกระบวนการของตลาดหลักทรัพย์ครั้งเดียว
แต่คณะกรรมการกฟผ.เองก็ยังไม่ได้แสดงรายละเอียดมากพอว่าขั้นตอนการดำเนินงานเป็นอย่างไร
(ทั้งนี้อ้างจากการ แถลงข่าวของ 3 ผู้บริหารกฟผ. เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ต.ค.
2542)
กล่าวได้ว่าแนวทางเรื่องการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีนี้ยังจะมีการปรับเปลี่ยนอีก
ซึ่งก็คงต้องใช้เวลาในการเจรจาอยู่พอสมควร และย่อมมีผลกระทบต่อกำหนดการต่างๆ
ที่สพช.เคยวางไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการแปรรูปโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการแปรรูปกิจการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
(ดูล้อมกรอบ 1 นโยบายแปรรูปกิจการพลังงานไฟฟ้าขายหุ้นออกลูกเดียว?)
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ สพช.กล่าวยอมรับกับ "ผู้จัดการ"
ว่ากำหนดการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีจะช้าไป 3-4 เดือน และการที่จะไปลดขั้นตอนต่างๆ
เพื่อทำให้เป็นไปตามกำหนดเวลา คงจะเป็นเรื่องลำบาก
"การลดขั้นตอนนี่ค่อนข้างลำบาก เพราะว่ามันต้องทำอย่างโปร่งใส มันจะมีหน่วยงานราชการเข้ามาเกี่ยวข้องมาก
และขั้นตอนบางอย่างก็ต้องทำตามระเบียบราชการ ซึ่งข้ามขั้นไม่ได้ แล้วก็มีรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมการ
เยอะมาก เช่นเรื่องการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา การตีราคาทรัพย์สิน การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
การทำสัญญาซื้อขายก๊าซ ขั้นตอนตรงนี้มันต้องเตรียมเอาไว้และใช้เวลาอย่างน้อยก็
8 เดือน ก่อนที่จะไปเริ่มคิดด้วยซ้ำเรื่องการซื้อขายหุ้น ไอ้ขั้นตอนตรงนี้
ลดก็ยาก ตีราคาทรัพย์สินเราก็ต้องตีราคาให้รอบคอบ จะไปลดขั้นตอนคงลำบาก ผมว่างานก็คงจะช้าออกไป
3-4 เดือน"
ในส่วนของความเข้าใจของพนักงานกฟผ.ซึ่งก่อนหน้านี้เคยปะทุอย่างแรงถึงขั้นเดินขบวนนั้น
ปิยสวัสดิ์มองเรื่องนี้ว่า"ความเข้าใจภายในองค์กรของ กฟผ.ดีขึ้นเยอะ เมื่อเทียบกับ
3-4 เดือนที่แล้ว ผู้บริหารออกมาพูดชัดเจนว่าสนับสนุนการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี
ในขณะที่ 4 เดือนที่แล้วนี่ไม่ชัดเลย ผู้บริหารก็ไม่ได้ออกมาพูดชัด ไม่ได้มีการอธิบาย
ผมว่าความเข้าใจในองค์กรดีขึ้นเยอะ ดูจากเอกสารต่างๆ ที่มีการผลิตออกมา เป็นเอกสารที่ดีมากในการอธิบาย
เรื่องการแปรรูปราชบุรี ซึ่งแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีเลย และก็มีการจัดประชุมสัมมนา
โดยคนข้างในทั้งนั้นออกมาพูดชัดเจน เพราะฉะนั้นพนักงานกฟผ. ที่สนับสนุนการแปรรูปราชบุรีนี่ก็มีจำนวน
ไม่ใช่น้อย และมีความเข้าใจดีขึ้นเยอะ
หลังจากที่ราชบุรีแปรรูปเสร็จแล้วจะทำอะไรต่อไปนี่ ก็มีการตั้งคณะกรรมการทำงานภายในขึ้นมา
มีสมาชิก ประมาณ 30 คน ประกอบด้วยระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ซึ่งก็ทำงานกับสพช.แล้ว
เริ่มงานกับสพช.แล้วอย่างค่อนข้างใกล้ชิด และก็มีการพูดคุยหา รือกันด้วยเหตุผลมากขึ้น
งานในเรื่องระยะยาวนี่เริ่มแล้ว คือเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเต็มที่
และแนวทางแทบจะทุกคน แนวความคิดนี่ตรงกัน อาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันก็ในรายละเอียดบางอย่างเท่านั้น"
เขา พูดด้วยสามัญสำนึกของนักบริหารจัดการมืออาชีพ หลังจากที่มีประสบ การณ์น่ากลัวจากพนักงานกฟผ.มาครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีเขายังรู้ดีว่า เรื่องการทำความเข้าใจกับพนักงานกฟผ. ไม่ใช่เรื่องง่าย
"มันเป็นเรื่องที่ยังมีพนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ยังไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจ และผมเชื่อว่าเป็นพนักงานส่วนน้อย
ไม่ใช่ส่วนใหญ่ เพราะพนักงานส่วนใหญ่เข้าใจ ก็เป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อย
เพื่อสามารถที่จะเดินต่อไปในการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้"(ดูล้อมกรอบปิยสวัสดิ์)
กฟผ.ต้องการเงิน
ทั้งเรื่อง cash flow และการลงทุน
วีระวัฒน์กล่าวเสมอว่า นโยบายเรื่องการแปรรูปกิจการไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องท
ี่กฟผ.ดำเนินการอยู่ มีการเตรียมการมานานเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มตั้งแต่เมื่อปี
2532-2535 ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิจารณา อย่างละเอียดรอบคอบ ไม่ควรรีบร้อนฉาบฉวย
เขากล่าวทั้งที่รู้ดีว่าในส่วนของรัฐบาลนั้นมีนโยบายในการเร่งรัดการแปรรูป
ซึ่งส่งผลให้กฟผ."อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ"
เขามองสภาพตลาดเวลานี้ ซึ่งแตกต่างไปจากสมัยที่ขาย EGCO ผ่านตลาดหลักทรัพย์ว่า
"สภาพตลาดตอนนี้ยังไม่ดีนัก อาจจะยังไม่เหมาะ เหมือนกับเราเอาของไปขายถูกๆ
ก็ควรจะระวังตัวไว้หน่อย อย่าให้เป็นแฟชั่นนิยม มันไม่ได้ผลประโยชน์อะไร
เหมือนกับทำตามที่เขาเห่อกันไป เดี๋ยวมันจะเสียหาย เราควรประณีตสักหน่อย"
ด้วยเหตุนี้วีระวัฒน์จึงเห็นว่าไม่ควรรีบเร่งดำเนินการในตอนนี้ เขาเท้าความไปว่า
"มติครม.เมื่อก่อน ที่จะให้เราเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี ก็ยังต้องเลื่อนออกไปอีกตั้ง
2 ปี ก็ขอให้มันมีทางที่จะไปแล้วกัน ส่วนเรื่องเวลานั้น มันเหมาะหรือไม่เหมาะก็ต้องดูไปตามสถานการณ์
นี่มันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายว่าหากเรื่องไม่เป็นไปอย่างนี้ แล้วมันจะไม่ได้"
ในทัศนะของเขาที่เป็นคนประนี ประนอมสูงมากนั้นมองว่า "เราจะดูเรื่องการบริหารกันเป็นแบบกระแสหรือเปล่า
ผมว่าเราไม่ควรมองอย่างนั้น กระแสโลกเป็นอย่างไร กระแสของเราเองอย่าไปตามมัน
เราควรรู้ตัวของเราตลอดเวลา" (ดูล้อมกรอบวีระวัฒน์)
แน่นอนว่าวีระวัฒน์รู้สถานะของ กฟผ. เป็นอย่างดีแม้ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ
2542 ที่เพิ่งผ่านไปไม่น่าจะดีกว่าปีก่อนหน้า แต่คาดหมายว่าสภาพคล่องทางการเงินน่าจะดีกว่า
ผลการดำเนินงานในปี 2541 ที่ผ่านมา วีระวัฒน์ยอมรับว่าเป็นปีที่ยากลำบากอย่างยิ่งปีหนึ่ง
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เริ่มเมื่อเดือน ก.ค. 2540 ทำให้กฟผ.ประสบ
ปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน แต่กฟผ.ก็พยายามปรับตัวเพื่อรับภาวะวิกฤติดังกล่าว
โดยได้มีการปรับแผน การผลิตและการลงทุนใหม่ให้สอดคล้อง กับความต้องการไฟฟ้าที่ชะลอตัวลง
และได้เจรจากับผู้ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเลื่อนกำหนดการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า
ที่ยังมิได้ก่อสร้าง ซึ่งก็ได้รับผลเจรจาที่น่าพอใจ เพราะมีการเลื่อนการรับซื้อไฟฟ้าไปหลายแห่ง
(ทั้งนี้ผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนก็ประสบปัญหา เช่นเดียวกันจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้)
เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2541 กฟผ. มีรายได้เพิ่มขึ้น 22.32% เมื่อพิจารณาเฉพาะรายได้จากการดำเนินงานขายไฟฟ้าแล้วเพิ่มขึ้น
16.91% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนรายได้สุทธิก็เพิ่มเยอะมากถึง
58.33% หรือมีรายได้สุทธิ 20,310 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องนำส่งรัฐและอีกส่วนหนึ่งใช้เป็นเม็ดเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการต่อไป
ในการนำเงินรายได้ส่งรัฐนั้น ปรากฏว่ากฟผ.ส่งรายได้รัฐลดลงเหลือเพียง
2,000 ล้านบาทเท่านั้น หรือลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 76.33% เทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้าที่นำส่งถึง
8,449 ล้านบาท แต่จริงๆ แล้ว ในหมายเหตุงบการเงินข้อ 23 ของหนังสือรายงานประจำปี
2541 ระบุว่ากระทรวงการคลังกำหนดให้กฟผ.นำส่งรายได้แผ่นดินรวม 9,090 ล้านบาท
โดยกระทรวงการคลัง ได้ให้ชะลอการนำส่งรายได้แผ่นดินเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ระบบการเงินของประเทศ
ณ วันสิ้นงวดปีบัญชี จึงมียอดคงค้างนำเงินส่งรายได้แผ่นดินจำนวน 7,090 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากเทียบการนำส่งเม็ดเงินจริงแก่รัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ปรากฏว่าปี 2541 มีการนำส่งน้อยที่สุด ขณะที่ปี 2540 มีการนำส่งมากที่สุดจำนวน
8,449 ล้านบาท
ทั้งนี้รายการที่น่าสนใจประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากฟผ.มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินมากในปี
2541 ที่ผ่านมาคือการที่คณะกรรมการกฟผ. อนุมัติให้มีการยืมเงินจากกองทุน
2 กองของกฟผ.เอง มาใช้เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว โดยมีสัญญาจะใช้คืนให้พร้อมดอกผลเท่าที่กองทุนเคยได้รับจากธนาคาร
ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 นั้น กฟผ.ยังค้างเงินที่ยืมจากกองทุนประกัน
ภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสภาบริเวณเหมืองเป็นจำนวน
999.11 ล้านบาทและ 476.46 ล้านบาทตามลำดับ รวมเป็นเม็ดเงิน 1,475.57 ล้านบาท
ที่มีการกู้ยืมไปใช้แก้ปัญหาสภาพคล่องของกฟผ.เมื่อปีที่แล้ว และเม็ดเงินนี้คาดว่าน่าจะต้องใช้คืนในปีนี้พร้อมดอกเบี้ย
เป็นเรื่องน่าคิดอยู่มากว่ากฟผ. จะดำเนินการอย่างไร เพราะปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วง
5 เดือนแรกของปีนี้มีอัตราลดต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้มีรายงานล่าสุดว่าในช่วง
3-4 เดือนที่ผ่านมา ปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นแล้ว และเพิ่มสูงกว่าปีอื่นๆ
ตั้งแต่เดือน ส.ค. เรื่อยมาก็ตาม
นอกจากการยืมเงินจากกองทุนที่กล่าวมา 2 แห่งแล้ว กฟผ.ยังยืมเงินจากกองทุนสะสมเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร
เป็นจำนวน 1,320.67 ล้านบาท และไม่มีการจัดสรรเงินเข้ากองทุนดังกล่าวในปีงบประมาณที่ผ่านมา
(ต้องขอชมเชยกฟผ.ในนโยบายการจัดตั้งกองทุนสะสมเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งถือเป็นการประกันการก่อหนี้ของกฟผ.
ในทางหนึ่ง และยังเป็นเครื่องมือช่วยเหลือการบริหารสภาพคล่องของกฟผ. ในยามคับขันดังที่กล่าวมาได้ด้วย)
นับได้ว่ากฟผ.ก็ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะฟันฝ่าวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศในช่วง
2 ปีที่ผ่านมา และทำได้ด้วยความยากลำบากยิ่ง จะเห็นได้ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
2541 นั้น กฟผ.มีกระแสเงินสดสุทธิติดลบ เป็นจำนวน 1,123.48 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากการใช้จ่ายในกิจกรรมการลงทุนที่มีมูลค่าสูงถึง
41,077.28 ล้านบาท
"ผู้จัดการ" ไม่มีตัวเลขงบประมาณลงทุนในปี 2542 ว่าเป็นเท่าใด
ลดลงมากน้อยเพียงใด แต่ตัวเลขงบประมาณลงทุนในปี 2543 นั้น เมื่อเทียบ กับปี
2541 แล้วลดลงเพียง 17.6% เท่า นั้น ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าความจำเป็นในการลงทุนต่อเนื่องของกฟผ.มีสูงมาก
และนี่เป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของกฟผ.(ดูตารางสรุปงบประมาณลงทุนปี
2543)
อย่างไรก็ดี กฟผ.คงจะไม่จำเป็นต้องยืมเงินจากกองทุนใดๆ อีกในปีงบประมาณ
2542 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี้ และกฟผ.น่าจะรอดพ้นปากเหววิกฤติการเงินครั้งนี้ไปได้
เมื่อประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตร ในตลาดทุนต่างประเทศ วงเงิน 300 ล้านเหรียญฯ
และได้รับเงินกู้ทั้งจำนวนเมื่อ 14 ตุลาคม 2541 บวกกับ การที่กฟผ. จะขายโรงไฟฟ้าราชบุรีในปี
2543 ก็คาดว่าจะช่วยสถานการณ์ระยะสั้นของ กฟผ. โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสภาพคล่องทางการเงินได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ควรจะบันทึกไว้ด้วยว่าการก่อหนี้ 300 ล้านเหรียญฯ ในปี 2541
นั้นได้รับความสำเร็จอย่างดีเนื่องจากได้รับการค้ำประกันดอกเบี้ยทั้งหมดโดยรัฐบาลไทย
และการสนับสนุนของธนาคารโลกในการค้ำประกันการชำระหนี้ในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวน
1 งวด ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของธนาคารโลกที่มีการค้ำประกันรูปแบบดังกล่าว
ในส่วนของกฟผ.เองก็มีประวัติ การชำระหนี้ในสถานะที่ดี พันธบัตรกฟผ.จึงได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสูงจากตลาดเงินทุนต่างประเทศ
และได้รับเงื่อนไขที่ด ีเมื่อเทียบกับสภาวการณ์ตลาดในขณะนั้น (ทั้งนี้เงื่อนไขที่ดีดังกล่าว
คือ การที่พันธบัตรอายุ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 7 ต่อปี !)
หากพิจารณาการจัดการทางการเงินของกฟผ.ให้ดี ก็จะเห็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า
พันธบัตรของกฟผ.จะไม่ default แน่ หรือกฟผ.ยากที่จะมีการพักชำระหนี้เฉกเช่นวิสาหกิจทั้งหลายที่ประสบชะตากรรมเศรษฐกิจอยู่ในตอน
นี้ เพราะกฟผ.มีกองทุนสะสมเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร ที่ทำหน้าที่เสมือน sinking
fund หรือเป็น cushion ให้แก่การก่อหนี้ของกฟผ. ซึ่งตามแผนการ สะสมเงินทุนเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2541 กองทุนนี้ควรจะมียอดเงินรวมทั้งสิ้น 7,376.66 ล้านบาท
ผู้บริหารกฟผ.ทราบข้อเท็จจริงนี้ดี และจากบุคลิกการบริหารงานของตัววีระวัฒน์
ที่มีลักษณะประนีประนอมและยืดหยุ่นสูงนั้น บวกกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นไปในทางเอื้อประโยชน์แก่
กฟผ. คาดว่ากฟผ.ยังจะเดินหน้าต่อไปตามแนวทางของตนได้เป็นแน่