Greyhound เข้าตาอิเซตัน ยกไปเปิด shop ที่มาเลเซีย


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

ยกไปเปิด SHOP ที่มาเลเซีย กฤติค่าเงินในภูมิภาคเอเชียที่เกิด ขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นมาก ประกอบกับรัฐบาลของแต่ ละประเทศมีนโยบายควบคุมการใช้จ่ายของประชาชน ด้วยการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้า ทำให้ผู้ประกอบการสินค้านำเข้าไม่สามารถยืนหยัดต่อไปได้ พร้อมทั้งรณรงค์ให้ใช้สินค้าภายในประเทศ และในขณะเดียวกันธุรกิจก็เติบโตมาเรื่อยๆ ผ่านวิกฤติต่างๆ มาหลายระลอก แต่ก็ยังคงยืนหยัดมาจวบจนปัจจุบัน โดยล่าสุดได้ขยายตัวไปเปิดสาขายังประเทศมาเลเซีย ภายในห้างสรรพสินค้าอิเซตัน

ในเมืองไทยเรากับอิเซตันทำธุรกิจร่วมกันมานาน จนกระทั่งอิเซตันได้ไปเปิดตัวที่มาเลเซีย และที่ผ่านมาภายในห้างอิเซตันจะมีสินค้าแบรนด์ดังจากต่างประเทศโพ้นทะเล จากอเมริกา จากยุโรปอยู่ส่วนหนึ่งนอกเหนือจากสินค้าญี่ปุ่นที่เป็นสินค้าหลัก จนกระทั่ง เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ สินค้าแบรนด์นอกเหล่านั้นไม่สามารถอยู่ได้ เนื่องจาก รัฐบาลคุมเข้มเรื่องการจับจ่ายของประ-ชาชนมาก ทำให้เกิดพื้นที่ว่างภายในห้างฯ ขึ้น ทางห้างฯ จึงมาคุยกับเรา ในฐานะที่เราก็เป็นแบรนด์นอกสำหรับเขาเช่นกัน เพียงแต่อยู่ใกล้เข้ามาอีกนิด เราก็คุยกันในเชิงธุรกิจ และตกลงกันได้ จึงได้ไปเปิดสาขาที่นั่นŽ สาธิณี โมกขะเวศ กรรมการผู้จัดการบริษัท Greyhound เล่าถึงที่มาของการเปิดตัว Greyhound สู่ตลาดมาเลเซีย

นอกจากนั้นเธอเล่าอีกว่า การทำธุรกิจในประเทศมาเลเซียไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียควบคุมพฤติกรรมการใช้เงินของประชาชนอย่าง เข้มงวด และขณะเดียวกันก็สนับสนุนสินค้าภายในประเทศให้เกิดแบรนด์ใหม่ๆ ขึ้นจำนวนมาก ทำให้ Greyhound ซึ่งถือเป็นสินค้าแบรนด์นอกก็ลำบากพอ สมควรในช่วงแรกนี้ แต่เธอคิดว่า ถือว่าเป็นการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกให้แก่บริษัท และที่สำคัญเป็นการสร้างแบรนด์ ให้คนต่างชาติได้รู้จักมากขึ้น

รัฐบาลมาเลเซีย เขาช่วยทุกอย่างที่จะทำให้แบรนด์ของเขาเกิดให้ได้ อาทิ ลดภาษีต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม และขณะเดียวกันเขาก็ผลักดันให้ส่งออกด้วย โดยเฉพาะธุรกิจเสื้อผ้าที่เริ่มมีเข้ามาให้เห็นบ้างแล้ว ตามห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย ส่วนรัฐบาลเรายังต้องพัฒนาแก้ไขอีกมาก รัฐบาลไทยมองแต่เค้กชิ้นใหญ่ ชิ้นเล็กๆ ไม่มอง ไม่สนับ สนุน แทนที่จะสนับสนุนตั้งแต่เล็กให้เขาโตต่อไปได้ เพราะถึงแม้จะเล็กแต่ก็ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ แต่ขาดแรงสนับสนุนและความช่วยเหลือในเรื่องการลดหย่อนหรือกำแพงต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีวัตถุดิบ เนื่อง จากเสื้อผ้าของเราเป็นงานดีไซน์ที่ผลิตเป็นจำนวนจำกัด ไม่มีโรงงานผลิตเอง รัฐบาลจึงไม่ให้ความสำคัญ จะให้ความสำคัญแต่ผู้ประกอบการที่มีโรงงานผลิตจำนวนมากๆ ในลักษณะที่เป็นแมสโปร-ดักส์ แต่เราไม่ใช่Ž เป็นความรู้สึกของผู้บริหารสาว ตัวแทนของ Greyhound ที่ มีต่อนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุน อุตสาหกรรมขนาดย่อมในเมืองไทย ซึ่งเธอคิดว่า คำว่าธุรกิจขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีของรัฐบาลนั้นไม่ได้รวมธุรกิจอย่าง Greyhound สินค้าดีไซน์ที่มีคนทำงานไม่ถึง 100 คน และไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองเข้าไปด้วย

เราพยายามคุยกับกระทรวงพาณิชย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตั้งหลายรอบ แต่ก็ไม่เข้าเป้าสักที ภาครัฐจะสนับสนุนแต่คนที่ผลิตระดับ MASS ในขณะที่ลืมในส่วนของอุตสาหกรรม
ดีไซเนอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้มันสมองในการทำงาน มิใช่ใช้แต่แรงงานอย่างเดียว แต่เขาจะเหมารวมว่าทุกคนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือสิ่งทอนี้เป็น MASS หมด ซึ่งทำให้ต่างชาติมองเราเป็น MASS ด้วย ทำให้จูนกันไม่ติดรัฐ บาลเราไม่มองในจุดเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ สำคัญ ในขณะที่ต่างประเทศเช่น สเปน เขายังมีเสื้อผ้าแบรนด์แมงโก้เข้ามาขายในเมืองไทย คนไทยก็ซื้อกันไป ทั้งๆ ที่ แบรนด์นี้เขาก็เกิดพร้อมๆ กับเรา 19 ปีแล้ว แต่เรายังไม่ไปไหน แต่เราก็ยังอยู่ รอดได้ในเมืองไทยŽ สาธิณีกล่าว

การที่ Greyhound ดำเนินธุร-กิจมา 19 ปี แต่ยังไม่ได้ไปโด่งดังหรือสร้างชื่อที่ไหน เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจแบบพึ่งพาตัวเองมาตลอด ไม่ได้ขอการสนับสนุนจากใคร แต่มาวันนี้ โลก เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างไร้พรมแดน ถึงเวลาแล้วที่สิน ค้าเสื้อผ้าดีไซน์ไทยแลนด์ ควรจะได้ออก ไปสร้างชื่อในต่างประเทศได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลเนื่องจากอุตสาหกรรมการส่ง ออกเป็นเรื่องระดับชาติที่รัฐบาลต้องดำ-เนินการอย่างเร่งด่วน ใกล้ชิด และจริงจัง

เราคิดเสมอว่า เราได้รับการติด ต่อจากต่างชาติที่สนใจเสื้อผ้าของเรามาตลอด เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเล-เซีย รวมทั้งในแถบยุโรป ทำไมเราอยู่ในสายตาของประเทศเหล่านี้ แต่เราไม่อยู่ในสายตาของรัฐบาลไทยเลย ซึ่งเราคิดว่าเจ้าหน้าที่ของไทยไม่รู้สภาพปัญหา ที่แท้จริง หรือถ้ารู้แต่ก็ขาดการประสาน งานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่มีการมาประจันหน้ากับผู้ผลิตเพื่อร่วมแก้ปัญหากันอย่างใกล้ชิด

สำหรับแผนการส่งออกในอนาคตของ Greyhound สาธิณีกล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ใน ฮ่องกงอยู่ และประเทศที่อยากไปมากคือ จีน โดยเธอให้เหตุผลว่าจีนเป็นประเทศที่ยังใหม่ต่อสินค้าที่เป็นเทรนด์ดีไซน์ ซึ่งต่างกับทางยุโรปที่มีสินค้าเหล่านี้เยอะ มากแล้ว การเข้าไปทำตลาดจึงยากมาก แต่ตลาดจีนก็ไม่ง่ายนักสำหรับ Greyhound เนื่องจากจีนมีความต้องการสินค้าบางตัวที่ทาง Greyhound ไม่เคย ผลิตมาก่อนอย่างเช่น เสื้อกันหนาวประเภท Overcoat ซึ่ง Greyhound ต้อง ใช้เวลาในการศึกษาและพัฒนาอีกมาก

เมืองจีนต้องการเสื้อ Overcoat ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน และถ้าเราจะต้อง ผลิตเพื่อส่งออกอย่างเดียว ก็เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเราไม่ได้ผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากๆ เราต้องมาศึกษากระบวนการตัดเย็บใหม่ทั้งหมด คือ ถ้าสั่งให้โรงงานผลิตเป็นหมื่นๆ ตัวก็ได้สบายไม่ต้องคิดมาก มีแบบให้ผลิตก็ผลิตไปตาม ออร์เดอร์ แต่ของเราไม่ใช่ ของเราเป็นงานดีไซน์ผลิตเพียงไม่กี่ตัว แล้วใครจะ ผลิตให้เรา เรื่องนี้เราต้องคิดให้รอบคอบŽ เธอกล่าว

นอกจากความสนใจในเรื่องของการส่งออกแล้ว Greyhound ก็ยังไม่ทิ้งตลาดในประเทศ โดยมีแผนที่จะขยายตลาดออกไปสู่จังหวัดใหญ่อีกด้วย อาทิ เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะเปิดให้บริการในเวลาอันใกล้นี้ โดยร่วมทุนกับลูกค้าที่เคยมาซื้อจากกรุงเทพฯ และไปขายต่อในต่างจังหวัด ซึ่งเธอกล่าวว่า ลูกค้าเหล่านี้เป็นเหมือนตัวแทนจำ-หน่ายของ Greyhound ตามต่างจังหวัดมานานแล้วที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก แต่เป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นรูปแบบ ปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้มีนโยบายขยายธุรกิจออกไปตามจังหวัดใหญ่ที่มีศักยภาพ และมีกลุ่มคนที่มีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกับคนกรุงเทพฯ โดยจะขยายออกไปในรูปแบบของแฟรน ไชส์ ที่ทางผู้ร่วมทุนในท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุน และจัดการเรื่องสถานที่ ส่วนบริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการตกแต่งหน้าร้าน สต็อกสินค้า และฝึกอบรมพนักงานหน้าร้านให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสาขาในกรุงเทพฯ

แม้ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 3 ปีที่ผ่านมา สาธิณีจะกล่าวว่ายอดขายGreyhound ไม่ได้ลดลงเลย ในทางกลับกันกลับเพิ่มมากขึ้นถึงเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีก่อนที่จะมีการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 41 สืบเนื่องมาจากลูกค้าเดิมของ Greyhound ที่เคยนิยมซื้อแบรนด์ นอกได้หันมาซื้อ Greyhound ซึ่งเป็นสินค้าไทยราคาประหยัดมากขึ้นกว่าในอดีต แต่กระนั้น Greyhound ก็ยังประสบปัญหาภายในคือ ขาดการจัด การและการบริหารงานที่เป็นระบบ รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ยังไม่มีประ-สิทธิภาพเพราะที่ผ่านมา Greyhound มุ่งเน้นแต่เรื่องของดีไซน์ และการผลิตสินค้าเท่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการทำงานเท่าที่ควร ทีมผู้บริหารของ Greyhound จึงเห็นโอกาสอันดีในช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่จะปัดกวาดจัดบ้านให้ Greyhound ใหม่

เราต้องปรับหมดทุกอย่างเช่นฝ่ายออกแบบจากเดิมที่ไม่เคยต้องศึกษา อะไรมากไปกว่าเทรนด์ของแฟชั่น เรื่องการออกแบบ ความสวยความงาม ก็ต้องเปลี่ยนมาศึกษาข้อมูลทางการตลาด ความต้องการของลูกค้าร่วมด้วย คือ ทำออกมาแล้วต้องขายได้ด้วย และฝ่ายการตลาดต้องตีโจทย์จากหน้าร้านให้แตก ด้วยว่า สินค้าตัวไหนขายได้ไม่ได้อย่าง ไร ลูกค้าต้องการอย่างไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาบอกต่อฝ่ายออกแบบ ทุกอย่าง ต้องพบกันครึ่งทาง และต้องมีเหตุผลอธิบายได้ เพื่อกำไรสูงสุดของบริษัท สาธิณีกล่าวถึงแนวทางการทำงานในปัจจุบันของ Greyhound



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.