"แบงก์กสิกรไทย" ปรับแนวรุกใหม่ขยายช่องทางเพิ่มแชร์สินเชื่อบุคคล


ผู้จัดการรายวัน(6 พฤษภาคม 2547)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์กสิกรไทยจัดทัพสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่เพิ่มช่องทางขายผ่านสาขา ให้เท่ากับผ่านทางขายตรง พร้อมดันพอร์ตให้ถึง 3,500 ล้านบาทในสิ้นปีนี้ สวนกระแส ตลาดสินเชื่อบุคคลที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง พร้อมตั้งเป้าคุมเอ็นพีแอลไม่ให้เกิน 5%

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค สายงาน วิภัชธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมปรับกลยุทธ์ช่องทาง การจัดจำหน่ายของธุรกิจสินเชื่อบุคคลใหม่ โดย การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางสาขาจาก เดิมที่มีสัดส่วน 20% ให้เป็น 50% และในขณะเดียวกันก็ได้ลดช่องทางการจัดจำหน่ายตรง (Direct Sale) ผ่านทางตัวแทนให้เหลือในสัดส่วน 50% จากเดิมที่มีอยู่สูงถึง 80%

ทั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อส่วน บุคคลของปีนี้ไว้ทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท แบ่งเป็น วงเงินเบิกเกินบัญชี หรือ O/D จำนวน 1,000 ล้าน บาท และสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทต่างๆ อาทิ สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ จำนวน 500 ล้านบาท โดยที่เป้าหมาย ดังกล่าวนี้ไม่รวมถึงสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย และ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้พอร์ตสินเชื่อบุคคลของธนาคารรวมทั้งสิ้นจะอยู่ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์แข่งขันของสินเชื่อ บุคคลในปีนี้จะยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร พาณิชย์ หรือ Non-Bank ที่เน้นการแข่งขันด้านราคา ซึ่งในส่วนนี้ธนาคารได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยอยู่ ระหว่าง 11-15% ต่อปี ซึ่งลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยใน อัตราเอ็มแอลอาร์บวก 9% หรือประมาณ 15% ต่อปี

สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 30,000 - 100,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา เอ็มแอลอาร์บวก 7% หรือประมาณ 13% ต่อปี และลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 100,000 บาท ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา เอ็มแอลอาร์บวก 5% หรือประมาณ 11% ต่อปี ทั้งนี้ธนาคารจะให้วงเงินแก่ลูกค้าในอัตราไม่เกิน 3.5 เท่าของเงินเดือน

"เหตุที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,500 ล้านบาท เนื่องจาก สินเชื่อส่วนบุคคลมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะนอนแบงก์มีการโฆษณาเป็นจำนวนมาก ซึ่งธนาคารจะเน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพื่อไม่ให้มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เกิน 5% หากมีเอ็นพีแอล 5% ธนาคาร จะเริ่มขาดทุน ณ ปัจจุบัน มีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 3% และที่สำคัญ ธนาคารก็ตอบสนองนโยบายรัฐบาลมาโดยตลอด ซึ่งได้พยายามผลักดันให้หนี้ นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหนี้นอกระบบ" นาย ชาติชาย กล่าว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.