หุ้นนครหลวงไทยเนื้อหอมต่างชาติรุมจีบเพียบ หลังแปลง สภาพวอร์แรนต์ปริมาณหุ้นในตลาดฯ
พุ่งกว่า 52% คาดกำไรทั้งปีสูงถึง 7-8 พันล้านบาท ส่วนเรื่องเพิ่มทุนยังไม่จำเป็นยังเหลือใช้พออีก
2 ปี ขณะที่ดอกเบี้ยทั้งสองขายังไม่ปรับเหตุสภาพคล่องยังมีอยู่มาก เล็งลดสัดส่วน
ฃการลงทุนในตลาดพันธบัตรหลังผลตอบแทนลด
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการ ธนาคารนคร หลวงไทย จำกัด(มหาชน)หรือ SCIB
เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารได้เดินทางไปแสดงข้อมูล (โรดโชว์) ในต่างประเทศ จนถึงขณะนี้
นักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนรวมของต่างชาติแสดงความ สนใจเข้ามาลงทุนในธนาคารเป็นอย่างมาก
เห็นได้จากสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศได้ เข้ามาถือหุ้นในธนาคารอยู่
10% ของ หุ้นทั้งหมดในปัจจุบันที่มีการซื้อขาย ในตลาด(ฟรีโฟลต) 17%
นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนต่างประเทศติดต่อเข้ามาขอซื้อหุ้น ของธนาคารอีก 2-3 ราย
โดยเฉพาะยุโรป อเมริกา โดยเชื่อว่าเมื่อ มีการแปลงสภาพวอร์แรนต์จำนวน 740 ล้านหน่วย
และทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นกว่า 52% และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะ
ถืออยู่ 25% ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนด
สำหรับการแข่งขันทางการเงิน ที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทาง การเงินในอนาคตนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารจะต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยตัวเอง
โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น เนื่อง จากความสำคัญอยู่ที่การดำเนินงาน
ของธนาคารและผลประกอบการมากกว่า ธนาคารไม่ได้มองแค่การแข่งขันในประเทศเท่านั้น
ยังมองถึงการแข่งขันนอกประเทศด้วย เพราะทิศทางเศรษฐกิจระยะยาวจะมีต่างประเทศเข้ามาจากการเปิดเสรีทางการเงิน
ซึ่งประเทศไทยจะต้องปรับตัว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น การเพิ่มขนาด
ตอนนี้ก็ไม่จำเป็น เพราะธุรกิจยังเดินได้ ธนาคารจะเน้นการสร้างผล ประกอบการเป็นหลัก
"ปีนี้ธนาคารคาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเพียง
3,600 ล้านบาทเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคธุรกิจไตรมาสแรกธนาคารมีกำไรสุทธิ
2,135 ล้านบาท โดยเชื่อว่าจะยังรักษาอัตราการทำกำไรไว้ได้ในระดับเดียวกันทุกไตรมาส"
นายสมพล กล่าว
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม
ทุนกิจการ เนื่องจากในขณะนี้ธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) อยู่ที่
12% โดยเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 8% ซึ่ง เงินกองทุนดังกล่าวอยู่ในระดับเพียงพอโดยไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มทุนอีกภายใน
2 ปีข้างหน้า
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากเชื่อว่าในปีนี้จะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีอยู่จำนวนหลายแสนล้านบาท
ประกอบกับประเทศไทยยังมีกำไรจากการส่งออกประมาณเดือนละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรมีแนวโน้มที่ปรับเพิ่มขึ้นได้สูงเพราะมีความเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรต่างประเทศ
ดังนั้น ธนาคารจึงได้มีการปรับลดพอร์ตการลงทุนในพันธบัตร ของธนาคารลงเหลือเพียง
60,000 ล้านบาทเท่านั้น จากปีก่อนที่ลงทุนถึง 90,000 ล้านบาท โดยพันธบัตรที่ธนาคารลงทุนส่วนใหญ่จะอายุประมาณ
3.1 ปี และให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5%
"ผลตอบแทนของพันธบัตรกำลังอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งจะทำให้ราคาของพันธบัตรตกลงไปด้วย
ดังนั้น แบงก์จึงขายพันธบัตรออกไปบางส่วนหรือปรับพอร์ตเพื่อลดระยะเวลาการถือครอง
ทั้งนี้ตามปกติแบงก์มีกำไรจากการลงทุนในพันธบัตรแต่ละปีประมาณ กว่า 1,000 ล้านบาทขณะที่ในปีที่ผ่านมาแบงก์มีกำไรดังกล่าว
3,000 กว่า ล้านบาท แต่ได้นำกลับมาตั้งสำรอง ทั้งหมด" นายอภิศักดิ์กล่าว
ดังนั้น คาดว่าในปีนี้กำไรของธนาคารที่มาจากกำไรพิเศษจะน้อยกว่าปีก่อนเพราะลดพอร์ตลงทุนในพันธบัตร
อย่างไรก็ตามสำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต ต่อเนื่องเพราะได้ตั้งสำรองสูงถึง
3,000 ล้านบาทหรือเกินกว่าที่ธปท. กำหนด 70%
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.17 จากปี 2546ที่มีอยู่
1.99 และมีแนวโน้มว่าส่วนต่างดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต เนื่องจากการขยายสินเชื่อของธนาคาร
และการไถ่ถอนตั๋วเงิน (AMC Note) ซึ่งทำให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารลดลง ซึ่งในอนาคตที่เอเอ็มซีโน้ตหมดก็จะทำให้ขีดการแข่งขันของธนาคารใกล้เคียงกับธนาคารอื่น
นอกจากนี้รายได้ ค่าธรรมเนียมของธนาคารยังเพิ่มขึ้นจากการเร่งขยายธุรกรรมและผลิตภัณฑ์