แม้ว่า บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง จะปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
พร้อมกับมีแผนเพิ่มทุนในต้นปีหน้า แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ นักลงทุนเกิดความมั่นใจ
บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง (PSL) ดำเนินธุรกิจเดินเรือประเภทไม่ประจำเส้นทาง
โดยให้บริการเช่าเรือทั้งแบบเช่าเป็นเที่ยว มีลูกค้าหลักเป็นบริษัทการค้า และต้องการบรรทุกสินค้าไปยังต่างประเทศ
รวมไปถึงให้บริการแบบเช่าเหมา เป็นระยะเวลาให้กับบริษัทเดินเรืออื่น ที่ต้องการเรือเพิ่ม เพื่อเสริมกำลังการผลิต
โดยสิ้นปี 2542 กองเรือพรีเชียส ชิพปิ้ง มีจำนวนทั้งสิ้น 41 ลำ คิดเป็นกำลังการขนส่ง
870,219 เดทเวทตัน
พรีเชียส ชิพปิ้ง ประกาศผลการปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกรกฎา คม ที่ผ่านมา
ซึ่งแนวทางการปรับโครง สร้างหนี้หลักๆ เป็นการปรับตารางกำหนดชำระหนี้ พูดง่ายๆ
ก็คือ การยืดอายุหนี้ เพื่อให้สมดุลต่อกระแสเงินสดรับในแต่ละปี
ก่อนหน้าการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อสิ้นไตรมาส ที่ 2 ปีที่แล้ว บริษัทมีหนี้สินจำนวน
6,942.4 ล้านบาท และในจำนวนนี้เป็นหนี้ ที่ครบกำหนดชำระใน ปีนี้ถึง 4,153
ล้านบาท ประกอบด้วยหุ้น ไม่มีหลักประกัน 1,508 ล้านบาท หุ้นกู้แปลงสภาพ 1,508
ล้านบาท และหนี้สิน ที่เกิดจากการยกเลิกสัญญา swap อีก 1,250 ล้านบาท
ที่ผ่านมากระแสเงินสดของพรีเชียส ชิพปิ้ง มีประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งไม่เพียงพอต่อภาระดอกเบี้ย จ่าย ที่ประมาณ 558 ล้านบาท และชำระคืนเงินต้นดังกล่าว
หลังจาก ที่พรีเชียส ชิพปิ้งประกาศปรับโครงสร้างหนี้เสร็จเรียบร้อย ได้มีบทวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์ออก
มา โดยบทวิจัยบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) รายงานว่า หลังจากพรีเชียส ชิพปิ้งปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
ทำให้สถานะของบริษัท ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มองว่าผลกำไร ในปีนี้อยู่ในลักษณะทรงตัวในทางที่ดีขึ้น
ด้านบทวิจัยของบล.พัฒนสิน อธิบายไว้ว่า หลังจากตกลงเจรจากับเจ้าหนี้ หนี้สิน ที่จะต้องชำระคืนในปีนี้
ส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพไถ่ถอนได้ ปลอดดอกเบี้ยจำนวน 1,440
ล้านบาท และเปลี่ยนเป็นเงินกู้ยืมระยะยาว 1,753 ล้านบาท ที่เหลืออีก 960
ล้าน บาท ได้จัดหาแหล่งเงินกู้อื่น เพื่อมาชำระคืน
สำหรับโครงการทางการเงินดังกล่าว ส่งผลให้กำหนดการชำระคืนเงินต้นในแต่ละปีอยู่ ที่ประมาณ
850 ล้านบาทต่อปีเป็นระยะเวลาประมาณ 4-5 ปี "รวมทั้งภาระดอกเบี้ยจ่าย ที่ปรับลดลงจำนวนประมาณ
62 ล้านบาทต่อปี"
ด้าน บล.ฟิลลิป ให้ความเห็นว่าในส่วนหนี้ต่างประเทศ "คงจะมีผลทางบัญชีเท่านั้น "
เนื่องจากรายได้ของพรีเชียส ชิพปิ้งอยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ "ถือว่าได้ป้องกันความเสี่ยงโดยธรรม
ชาติแล้ว"
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน คือ การหาแหล่งเงินทุนมาไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ
อย่างไรก็ดีพรีเชียส ชิพปิ้งมีแผนการเอาไว้แล้ว โดย บล.พัฒนสิน ประเมินแผนการนี้ว่าจะต้องมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน
860 ล้านบาท (ทุนเรียกชำระแล้วปัจจุบัน ที่ 520 ล้านบาท) ให้กับพันธมิตรร่วมทุน
การหาเงินมาไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นไปตามสัญญาการปรับโครง สร้างหนี้
เรื่องนี้บทวิเคราะห์ของ World- sec International ประจำประเทศไทย กล่าวไว้ว่าสัญญาดังกล่าวพรีเชียส
ชิพปิ้ง จะสามารถไถ่ถอนคืนได้ก่อนวันที่ 14 มกราคม 2544 ในราคา 40% ของมูลค่า
หุ้นกู้แปลงสภาพไถ่ถอนได้ 1,440 ล้านบาท "หากเพิ่มทุนสำเร็จจะทำให้พวกเขามีกำไรจากการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ
ซึ่งมีส่วนต่าง 864 ล้านบาท" รวมทั้งการไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะลด dilution
ที่จะเกิดขึ้นจากการแปลงสภาพของผู้ถือหุ้นกู้ในอนาคต ขณะที่ dilution ที่เกิดพันธมิตรจะสามารถชดเชยกับการผนึกกำลังทางธุรกิจในอนาคต
ส่วนเงิน ที่เหลือจากการเพิ่มทุนจะนำมาลงทุนซื้อเรือเพิ่ม เพื่อทดแทนเรือเก่า ที่ปลดระวาง
ด้าน บล.ฟิลลิป ให้จับตามองต่อ ไปว่า "พรีเชียส ชิพปิ้งจะสามารถหาผู้ซื้อหุ้นใหม่ได้หรือไม่"
เพราะถ้าระดมทุนไม่สำเร็จหุ้นกู้แปลงสภาพไถ่ถอนคืนได้จำนวนนี้จะไปแปลงเป็นหุ้นทุนใน
ปี 2546
สำหรับเป้าหมายหลักในการทำธุรกิจในช่วงระยะเวลา ที่เหลือของปีนี้ นอกจากธุรกิจปกติเดิม
"คาดว่าจะมีความพยายามในการขายสินทรัพย์ออก เพื่อเพิ่มผลกำไร ซึ่งอาจทำให้ผลกำไรสุทธิดีขึ้นได้"
ทั้งนี้ บล.ฟิลลิป เข้าใจว่าเกิดจากความพยายาม ที่ต้องการระดมทุนนั้น เอง
จาก ที่มีขาดทุนสะสมอย่างหนัก "คงไม่สามารถจ่ายปันผลได้" เจ้าหนี้บังคับในสองปีสิ้นสุดปี
2544 ไม่สามารถจ่ายปัน ผลได้ ความพยายามในการจ่ายปันผลไม่ว่าทางตรง และทางอ้อมคงไม่มีในช่วงเวลาดังกล่าว
ขณะที่ Worldsec International มองลึกลงไปว่าพรีเชียส ชิพปิ้ง จะมีความแข็งแกร่งทางด้านผลประกอบ
การ เนื่องจากอัตราเฉลี่ยค่าระวางเรือต่อวันต่อลำ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาอยู่ ที่ระดับ
5,448 เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ ที่ระดับ
5,000 เหรียญสหรัฐ
"ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาอัตราเฉลี่ยค่าระวางเรือไต่ขึ้นไปอยู่ ที่ระดับ
6,000 เหรียญ และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นในอนาคต"
ตอกย้ำด้วย บล.พัฒนสิน ที่ประเมินว่า "พวกเขาได้ผ่านจุดต่ำสุดด้านยอดขายไปแล้ว"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มการดำเนินงานจะมีทิศทางดีขึ้นรวมทั้งสภาพคล่องทางการเงินปรับดีขึ้น
แต่บล.พัฒนสิน และบล.ฟิลลิป ยังมองว่าพรีเชียส ชิฟปิ้งจะยังคงมีผลการดำเนินงานขาดทุนในสิ้นปีนี้
"หลังปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ทำให้สถานะบริษัทดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่าระดับอัตรากำไรจากการดำเนินงานอยู่ ที่ 29.9% ในปีที่แล้ว และ
ในปีนี้คาดว่าจะทรงตัวอยู่ ที่ระดับ 30% แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่าย ที่ไม่ใช่เงินสด
คาดว่าจะยังคงแสดงผลขาดทุนสุทธิ" บทวิจัยของบล.ฟิลลิปอธิบายไว้
อย่างไรก็ตาม พรีเชียส ชิฟปิ้งก็ยังมีทางออก นั่นคือ มีแผนการจะขายเรือเก่าออกไป
4 ลำให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ "น่าจะเป็นความหวังให้บริษัทมีการบริหารด้านค่าใช้จ่ายดีขึ้น
และส่งผลดีต่อผลประกอบการในอนาคต" บทวิจัยของ Worldsec International
อธิบายไว้
ขณะที่บล.ฟิลลิป ฟันธงไปว่า "หากพรีเชียส ชิฟปิ้งมีการขายทรัพย์สินออกไปแล้วได้กำไรเข้ามาพวกเขาถึงจะมีผลกำไรสุทธิเป็นบวกได้"
นอกจากนี้บทวิจัยของแต่ละสำนักยังกังวลในส่วนของมูลค่าทางบัญชีของพรีเชียส
ชิฟปิ้งอยู่ โดยบล. พัฒนสินมองว่า มูลค่าทางบัญชีของพรีเชียส ชิพปิ้งติดลบอยู่ ที่
8.1 บาท โดยปรับปรุงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่ 60 บาท
เช่นเดียวกับบล.ฟิลลิป ที่เห็นมูลค่าทางบัญชียังคง "ติดลบ" แต่หากอิงมูลค่าทางบัญชีประเมินใหม่ ที่
41-53 บาทต่อหุ้น พบว่า ณ ราคาหุ้น 14.50 บาท เป็นการซื้อขาย ที่ 0.35-0.27
เท่าของมูลค่าทางบัญชีประเมินต่อหุ้น เมื่อผลกำไรอยู่ในทิศทาง ที่ทรงตัวแล้ว
ในระยะยาวคาดว่าราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นตามเมื่อตลาดเพิ่มขึ้นได้
บทสรุปของรายงานการวิจัยหุ้นพรีเชียส ชิพปิ้ง เป็นไปในทิศทางใกล้เคียงกัน
นั่นคือ ถ้าหากจะตัดสินใจลงทุน ในระยะยาวนั้น ไม่สามารถคาดหวังการปันผลได้
"แต่นักลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนได้ในลักษณะของการเก็งกำไร"
ทั้งนี้สืบเนื่องจากความเสี่ยงในการพยายามออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ และการขายสินทรัพย์ เพื่อเพิ่มผลกำไร
" ซึ่งจะมีผลต่อราคาหุ้นบนกระดานโดยตรง"
ดังนั้น หากนักลงทุนไม่อยากมีความเสี่ยงกับหุ้นพรีเชียส ชิพปิ้ง ทางบล.พัฒนสินแนะนำว่า
"หลีกเลี่ยงการลงทุน"