ยาบ้า กับศูนย์ให้การรักษายาเสพติด

โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

เป็นนามแฝงของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เขาจะเสนอมุมมองและสาระ ความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์

อาจจะล่าช้าไปบ้างหากผมจะมา กล่าวถึงปัญหาเรื่องยาเสพย์ติดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของเมทแอมเฟตตามีน หรือที่ทางราชการเคยใช้ชื่อว่ายาม้า และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็นยาบ้า โดยนโยบายของท่านรัฐมนตรีมหาดไทยท่าน หนึ่ง นัยว่าเพื่อข่มขวัญให้บรรดาผู้นิยมเสพทั้งหลายหวาดกลัว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ยิ่งปราบก็ยิ่งจับได้มากขึ้น

เมทแอมเฟตตามีนที่ระบาดอยู่ใน บ้านเราขณะนี้ ดูจะเป็นปัญหาใหญ่มากจริงๆ เพราะตัวเลขทางการนั้นบ่งว่าจำนวนผู้ใช้ยาเมทแอมเฟตตามีนในบ้านเราอยู่ในช่วงเกือบสองล้านคน มีการผลิต ยาเจ็ดร้อยล้านเม็ดต่อปี ขนาดคุณทักษิณ ยังต้องจัดการประชุมที่เชียงรายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และนำไปสู่ข้อเสนอของการบังคับรักษาผู้เสพยา การกำหนดจำนวนตัวเลขของผู้เข้ารับการรักษา (ประมาณว่าสถานบริการของรัฐจะต้องให้ การรักษาผู้ติดยาเป็นจำนวนนับแสนต่อปี) การตั้งสถานบำบัดให้ได้ 800 แห่งในช่วงสองปี

ข้อที่น่าสังเกตประการต่อมาคือ การจับกุมตัวกลาง หรือผู้ค้ายารายใหญ่ได้ในรัฐบาลชุดนี้เป็นเรื่องที่น่าพอใจ แต่เรื่องที่ไม่น่าพอใจเอาเสียเลยในสายตาของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการปราบปราม คือ การประกาศมูลค่าของการจับ กุมแต่ละครั้งโดยการแปลงมูลค่าของยาเสพย์ติดมาเป็นจำนวนเงิน (ซึ่งมักจะเป็นมูลค่าตัวเลขหก หรือเจ็ดหลักขึ้นไป) หรือ ล่าสุดที่มีการแสดงจำนวนเงินสด ที่จับกุมได้เป็นจำนวนหลายสิบล้าน ในสายตาของผู้ที่ทำงานอยู่ในฝ่ายของการรักษา หรือป้องกันมองว่า การทำเช่นนี้เป็นการแสดงให้คนจำนวนหนึ่งเห็นว่า การค้ายาเสพย์ติดเป็นการ ลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมหาศาล และในหลาย ประเทศก็ถือเป็นหลักว่า จะไม่มีการประกาศ มูลค่าของการจับกุม เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรต่อการปราบปราม แน่นอนว่าแนวคิดเช่นนี้สำหรับคนทำงานที่ชอบโฆษณาผลงาน ออกทีวีคงจะไม่เห็นด้วย เพราะการประกาศจำนวนของยาที่จับกุมได้ไม่ให้ความรู้สึกกับผู้ชมข่าวเท่ากับมูลค่าของการจับกุม

คนกลุ่มที่ชอบโฆษณามูลค่าการจับ กุมอาจแย้งว่าโทษประหารก็น่าจะเป็นเครื่องมือในการขู่ให้คนกลัว และเลิกที่จะค้ายาแต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่กระทำความผิดทุกคนมักจะมีความเชื่อว่าตนเองจะรอด (จาก การถูกจับกุม) และโทษประหารก็เป็นเพียงตัวบอกว่าอาชีพนี้เสี่ยงผลตอบแทนจึงมหา ศาล และต้องระวังตัว (เราจึงพบว่าในการจับกุมแต่ละครั้งมักจะได้อาวุธปืนด้วย เสมอ)

กลับมาเรื่องของการรักษาผู้ติดยา เสพย์ติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมทแอมเฟต ตามีน เดิมเราเคยเชื่อกันว่าสาเหตุของการติดยา เป็นจากปัจจัยทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความอบอุ่นในวัย รุ่น หรือการชักนำของกลุ่มเพื่อน ปัจจัย ทางชีวภาพ คือ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาที่ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย และอาการ ขาดยาหลังจากหยุดยาเป็นสาเหตุทำให้ผู้ติดยาหยุดเสพยาไม่ได้ ปัจจัยทางด้าน บุคลิกภาพ คือ คนที่ขาดทักษะหรือวิธีการ ในการแก้ไขปัญหา และเลือกใช้วิธีหนีปัญหา (โดยการอยู่ในโลกของการใช้ยา)

เดิมการรักษาผู้ติดยาจะเน้นที่การ หยุดยาโดยการให้ยาถอน หรือลดอาการ ขาดยาจากการหยุดยาที่เคยเสพ (Detoxi-fication) จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้น ฟูสภาพจิตใจและการปรับตัวทางสังคม (Rehabilitation) ซึ่งใช้เวลารวมกันประมาณสองถึงสามเดือน หลังจากนั้นก็จบโปรแกรมการรักษา ผู้รักษาก็รอเวลาว่า เมื่อไรคนกลุ่มนี้จะติดยาและกลับมารับการรักษาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะออกมาในรูปนั้น คือ กลับไปติดยาใหม่ และถูกนำตัวกลับมารักษาใหม่ บางครั้งที่รักษาแล้วว่ากันว่าหาย ที่จริงแล้วคือคนกลุ่มนี้เปลี่ยนไปรักษาที่ใหม่ ดังนั้นผลการรักษาผู้ติดยานั้นมักจะไม่ได้ผลดีอย่าง ที่เราหวังกัน

ทัศนคติที่ญาติพี่น้องหรือผู้ใกล้ชิด มักจะมองว่าคนติดยานั้นเกิดจากถูกเพื่อน ฝูงชักจูงมากกว่าสาเหตุอื่น เรียกว่ามองโลกในแง่ดี แต่พอเลิกแล้วกลับไปติดใหม่ แล้วพาไปเลิกยาสักสองถึงสามครั้ง คราว นี้ความรู้สึกจะเปลี่ยนไปมองว่าคนติดยาเกิดจากความอ่อนแอ และนิสัยไม่รักดี ทำให้ไม่ยอมเลิกยา สุดท้ายก็หมดกำลังใจที่จะพาไปรักษาตามที่ต่างๆ

ที่จริงแล้วไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านี้เลิกติดยา ไม่ได้ ส่วนหนึ่งโปรแกรมการรักษาผู้ติดยา ก็ไม่ได้มีการมองถึงการรองรับระยะยาวว่า หลังจบการรักษาแล้วจะมีวิธีการใดป้องกันไม่ให้เขากลับไปใช้ยาเสพย์ติดอีก เรามักจะคิดกันว่าหลังจากถอนพิษยา จน หมดอาการขาดยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ลงแดงแล้ว ก็คือจบการรักษา จบการรักษาก็คือ หายจากการติดยาติดแล้ว ก็มาว่ากันใหม่ รักษากันใหม่

ที่จริงแล้วการหายจากการติดยาไม่ได้ง่ายอย่างที่เราเคยเชื่อกัน ถึงแม้จะหมดฤทธิ์ยา หรือพ้นจากภาวะลงแดงไปแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองส่วน limbic ของคนเรายังสามารถถูกกระตุ้นให้ เกิดความรู้สึกอยากยา (craving) ได้โดยการเจอสภาพแวดล้อมเก่าๆ เจอเพื่อนฝูง ที่เคยใช้ยามาด้วยกัน หรือแม้กระทั่งเคยเดินผ่านแหล่งที่เคยไปนั่งเสพยา หรือไปซื้อยา ถ้าคุณผู้อ่านไม่เข้าใจถึงสิ่งที่ผมกำลังกล่าวอยู่ ลองนึกถึงงานของพาฟลอพ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ได้รางวัลโนเบิลจากการทดลองการวางเงื่อน ไขพฤติกรรม (conditioning) การหลั่งน้ำลายในสุนัขด้วยเสียงกระดิ่งแทนที่จะเป็นอาหาร

เงื่อนไขที่สมองของคนเสพยาจะถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม หรือแค่ดูข่าวยาเสพย์ติดในทีวีแล้วเกิดอาการอยากยานั้นสามารถดำรงอยู่ได้เป็นปี นั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจเลยที่บางคนหยุดยาเสพย์ติดได้ร่วมปี อยู่ๆ เกิดไปพบเพื่อนเก่า แล้วเพื่อนชวนลอง สักขาหนึ่งของยา หลังจากนั้นพฤติกรรมการ เสพยาก็ดำเนินต่อไป

วิธีการรักษาภายหลังการเลิกยาเพื่อป้องกันการกลับไปใช้อีกที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในปัจจุบัน คือวิธีการแบบ Matrix (ฟังแล้วบางคนอาจไปนึกถึงภาพยนตร์ที่คีนู รีฟ เล่น) โปรแกรมการรักษาวิธีนี้จะให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลงการที่สมองถูกวางเงื่อนไขให้ใช้ยา ไปสู่เงื่อนไขใหม่ พูดอีกทีหนึ่งคือ ลบเงื่อน ไขเดิม (เพื่อนฝูงกลุ่มเดิมตู้เอทีเอ็มที่ไปกดเพื่อเอาเงินไปซื้อยา แหล่งค้ายา ฯลฯ) ที่สมองถูกกระตุ้นให้อยากยา โดยการใช้กระบวนการกลุ่มในการให้การศึกษาและกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (self-help group) โดยโปรแกรมการรักษาวิธีนี้ใช้เวลาประมาณสี่เดือน

ฟังดูเหมือนนานมาก ที่จริงแล้วในการ รักษาจริงๆ ไม่ได้จบเพียงแค่สี่เดือน แต่หลัง จากครบสี่เดือนจะยังคงนัดสมาชิกกลุ่มมาพบ กันอีกเดือนละหนึ่งครั้งไปเรื่อยจนกว่าเจ้าตัวจะมั่นใจว่าหยุดได้แน่ เท่าที่ผมทราบบางราย เลิกมาสามปีแล้วแต่ก็ยังคงมาเข้ากลุ่มเดือนละครั้ง เพราะนอกจากจะได้ความมั่นใจในการเลิก บางครั้งก็ยังได้รับคำแนะนำดีๆ จาก เพื่อนๆ ในกลุ่มในการแก้ไขปัญหาชีวิตของตน

มาถึงตรงนี้อาจจะมีคำถามในใจว่า แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องคุณทักษิณ หรือปัญหายาบ้าระบาดในบ้านเราขณะนี้ คำตอบ คือ ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขของบ้านเรากำลังจะนำโมเดลนี้มาใช้ในการรักษาผู้ติด ยาเมทแอมเฟตตามีนในบ้านเรา อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนต้น กระทรวงสาธารณสุขมีแผน ว่าจะให้สถานพยาบาล 800 แห่งนำวิธีการนี้มาใช้ ปัญหาในความคิดของผมคือ ในอเมริกาเองซึ่งเป็นเจ้าของโมเดลการรักษา แบบนี้ ซึ่งดำเนินมาได้สิบกว่าปี มีศูนย์ให้ การรักษาแบบ Matrix เพียง 8 แห่ง และอยู่เฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในขณะที่ รัฐบาลไทยกำหนดให้มี 800 แห่งในเวลา 2 ปี

การที่อเมริกามีศูนย์บำบัดเช่นนี้เพียง 8 แห่งเป็นตัวบอกที่ดีว่า วิธีการรักษาแบบนี้ไม่ใช่ของง่ายนักที่จะทำขึ้นมา ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่ผ่านการอบรม ทำไมบ้านเราจึงคิดอะไรกลับกับเขา ซึ่งเป็นต้นตำรับ ทำให้ผมอดคิดเหมือนอย่าง ที่หลายคนชอบวิจารณ์รัฐบาลชุดนี้ว่า เอา วอลุ่มหรือปริมาณเข้าว่า มากกว่าการ คำนึงถึงคุณภาพและหากเราตั้งขึ้นมา 800 แห่งในเวลาสองปี คงต้องถามต่อไปว่าทรัพยากรที่นำมาใช้จะนำมาจากที่ใด ภายใต้สภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน การทุ่มเทให้กับการรักษาในลักษณะเช่นนี้ถือว่าผิดหลักการที่ว่า การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา และอาจเป็นภาพสะท้อนว่างานด้านการป้องกันไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ ตัวเลขการจับ กุม หรือมูลค่าการจับกุมดูจะเป็นตัวเลขปลอบประโลมใจคนกลุ่มหนึ่งว่า ตนเองทำงานมีผลงานโดยขาดการประเมินประสิทธิภาพ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.