ตลาดหลักทรัพย์ แขวน SP หุ้น STHAI หลังเข้าซื้อกิจการ "ไทยฮั้วยางพารา"
เพราะเป็นการใช้เงินจากการเพิ่มทุนที่ผิดวัตถุประสงค์ จึงให้บริษัทแจงรายละเอียดการใช้
เชื่อการเข้าซื้อในกิจการที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินงาน
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การ ที่บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง
จำกัด (มหาชน) (STHAI) ได้นำส่งงบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546
ฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีมายังตลาดหลักทรัพย์ และได้แจ้งมติคณะกรรมการเกี่ยวกับการจะเข้าซื้อโรงงานผลิตน้ำยางข้น
จากบริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (ไทยฮั้วฯ) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ STHAI
รายละเอียดปรากฏตามข่าวในระบบ SET SMART วันที่ 15 มีนาคม 7 และ 8 เมษายน 2547
ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณาแล้วพบว่ามีข้อสังเกตที่สำคัญดังนี้ 1. บริษัทได้จ่ายเงินจำนวน
45 ล้านบาท เป็นเงินล่วงหน้าแก่ไทยฮั้วฯ เพื่อเป็นค่าซื้อวัตถุดิบโดยไม่ได้เปิดเผยรายการ
หรือปฏิบัติตามข้อกำหนด ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน
2. บริษัทมีการลงทุนระยะสั้นใน หลักทรัพย์เพื่อค้ามูลค่าคงเหลือ 16 ล้านบาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอให้บริษัทชี้แจงว่า
เงินลงทุน ดังกล่าวเป็นเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมเมื่อวันที่
25-29 สิงหาคม 2546 หรือไม่ หากบริษัทใช้เงินจากการเพิ่มทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว
จะไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนที่ได้เปิดเผยไว้เมื่อ 25 มิถุนายน
2546
3. บริษัทได้มีการเจรจาจะซื้อโรงงานผลิตน้ำยางข้นจาก ไทยฮั้วฯ มูลค่ารวม 195
ล้านบาท อันอาจก่อให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง STHAI กับ ไทยฮั้วฯ
และบริษัทยังไม่สามารถชี้แจงได้อย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ดังกล่าวอย่างไร
ซึ่งอาจทำให้บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนได้
เนื่องจากกรณีที่กล่าวข้างต้นอาจ มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ หุ้น และต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของ
STHAI อย่างมีนัยสำคัญ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 (7) แห่งข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวลงวันที่
9 กุมภาพันธ์ 2538
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงขึ้นเครื่องหมาย SP (Su-spension) เพื่อสั่งห้ามการซื้อขาย
หลักทรัพย์ของ STHAI ในตลาด หลักทรัพย์ใหม่เป็นการชั่วคราวโดยมีผลตั้งแต่วันที่
9 เมษายน 2547 เป็น ต้นไป จนกว่าบริษัทจะชี้แจงข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และมีมาตรการที่จะแก้ไขความขัดแย้งทางประโยชน์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา STHAI ได้เสนอต่อบอร์ดของ บริษัทและได้รับความเห็นชอบ
ขณะที่ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ คือ บริษัท ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี จำกัด
ให้ความเห็นว่าการซื้อหุ้น ใน ไทยฮั้วยางพารา จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของ
STHAI เพราะเมื่อซื้อกิจการแล้วบริษัทก็สามารถดำเนินการได้ทันที ทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องและการโอนพนักงานและแรงงานก็ทำได้อย่างสะดวกว่าต้อง
การทำงานต่อไปหรือลาออก ซึ่งขึ้นอยู่ กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
นอกจากนี้ STHAI จะมีฐานลูกค้าเพิ่มจากการโอนลูกค้าของโรงงานมา ซึ่งคาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
เพราะ แม้ไทยฮั้วยางพารา จะมีโรงงานผลิต น้ำยางข้นอีก 2 โรงที่จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดกระบี่ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่โรงงานที่จังหวัดอุดรธานีมีกำลังการผลิตน้อยมากเทียบได้ไม่ถึงร้อยละ
5 ของกำลังการผลิตของโรงงานผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ อีก ทั้งขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบ
และยังผลิตไม่ได้มาตรฐานของตลาด ไม่สามารถส่งออกได้เหมือนเช่นโรงงาน ผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ
ซึ่งได้รับ ISO 9001 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อให้ได้รับ ISO 14000
โดยโรงงานผลิตน้ำยางข้นของไทยฮั้วยางพาราในจังหวัดกระบี่ซึ่งอยู่ ระหว่างการก่อสร้างจะมีขนาดกำลังการผลิตในระดับที่ใกล้เคียงกับโรงงาน
ผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ และจะสร้างเสร็จภายในประมาณเดือนพฤศจิกายน 2547 แต่ไทยฮั้วยางพารา
จะต้องจัดหาบุคลากรใหม่มาดำเนินการผลิต และต้องใช้เวลามาก กว่า 2 ปีกว่าจะผลิตได้ตามมาตรฐานตลาด
ซึ่ง จะทำให้ STHAI มีเวลาในการที่จะรักษาฐานลูกค้าได้