ผู้บริหารแผนฯทีพีไอ มั่นใจเจ้าหนี้รับแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไข เนื่องจากคณะกรรมการเจ้าหนี้เห็นชอบแล้ว
เผยการลดทุนและแปลงหนี้ทุนทำ ให้ทีพีไอพลิกจากขาดทุนสะสม 8.6 หมื่นล้าน เป็นกำไรกว่า
1 พันล้านบาท เปิดช่อง ให้บริษัทฯจ่ายเงินปันผลได้ทันทีหากบริษัทฯมีกระแสเงินสดส่วนเกิน
25% ขณะเดียวกัน ได้เจรจาเจ้าหนี้เพื่อขอปลดภาระค้ำประกัน "ประชัย" หากศาลมีคำสั่งเห็น
ชอบแผนฟื้นฟูฯ ด้านนายกฯทักษิณ สกัดกั้นม็อบ เดินทางเยี่ยมชมโรงงานทีพีไอ ที่ระยองวันนี้
นางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล คณะทำงานของผู้บริหารแผนฟื้นฟู กิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด (มหาชน) หรือ TPI เปิดเผยว่า ผู้บริหารแผนฟื้นฟู กิจการฯมีความมั่นใจว่าเจ้าหนี้จะลง
มติโหวตรับแผนการแก้ไขแผนฟื้น ฟูกิจการฯ เนื่องจากคณะกรรมการ เจ้าหนี้ ที่มีเสียงราว
60% ของมูลหนี้ได้เห็นชอบกับการแก้ไขแผนดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าจพท. จะนัดประชุมเจ้าหนี้อย่างช้าภายในเดือนมิถุนายนนี้
ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงโครง สร้างทุนโดยการลดทุนจดทะเบียน จาก 10 บาทเหลือ 1 บาทต่อหุ้น
รวมทั้งการแปลงหนี้เป็นทุนจำนวน 650 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เจ้าหนี้ถือหุ้นในทีพีไอไม่เกิน
90%ของทุนจดทะเบียน ซึ่งจะทำให้ทีพีไอพลิกจากขาดทุนสะสม 8.6 หมื่นล้านบาท เป็นกำไรสะสม
1 พันกว่า ล้านบาทในทันที และมีความพร้อม ในการจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น หากมีผลการดำเนินงานที่ดี
โดยได้ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯว่า หากทีพีไอมีกระแสเงินสดส่วนเกิน(หลังหักค่าใช้จ่าย
ดอกเบี้ยจ่าย และเงินต้น) จะนำเงินส่วนเกิน 25% มาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
และที่เหลือจะนำมาชำระหนี้เพิ่มเติม โดยในปีนี้คาดว่าทีพีไอจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯ
จากที่คาดการณ์กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อม และภาษี (EBITDA) เอาไว้ที่ 250 ล้านเหรียญ
สหรัฐหรือ 10,000 ล้านบาท
"การแก้ไขแผนฟื้นฟูฯขณะนี้เหลือเพียงรายละเอียดปลีกย่อย เกี่ยวกับภาษา รวมทั้งฝ่ายกฎหมาย
อยู่ระหว่างหาแนวทางการที่จะให้เจ้า หนี้ที่อยู่แผนฟื้นฟูฯเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูฯดังกล่าวเกิน
75% โดยไม่มีการยื่นคัดค้าน ก่อนที่จะมีการยื่นให้จพท. เพื่อนัดประชุมเจ้าหนี้โหวตรับแผนฟื้นฟูฯอีกครั้ง
ซึ่งจพท.จะใช้เวลา 1 เดือนในการกำหนดวันประชุมเจ้าหนี้ คาดว่าจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน
โดยการประชุมครั้งนี้จะได้เสียงสนับ สนุนเกิน 50%"
ส่วนการนำหุ้น TPIPL จำนวน 250 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 33% ออกขายเพื่อชำระหนี้นั้น
ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวิธีขายไว้ในแผนฟื้นฟูฯ เพราะไม่ต้องการผูกมัด เพียงแต่ระบุว่าจะจำหน่ายหุ้น
TPIPL ออกมาเพื่อนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ที่เหลือ โดยมีเงื่อนไขว่าการจำหน่ายออกจะต้องอัตราผลตอบแทนสูงสุดกับบริษัท
โดยมีเวลาดำเนินการ 1 ปี นับจากวันที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบ
นางไตรทิพย์ กล่าวถึงกรณีที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารลูกหนี้จะยื่นคัดค้านแผนฟื้นฟูฯฉบับแก้ไขจนถึงศาลฎีกาว่า
เป็นสิทธิที่ผู้บริหารลูกหนี้สามารถทำได้ และเชื่อว่าจะไม่กระทบการทำงานตามแผนฟื้นฟูฯ
หากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบแผนฯดังกล่าว นอก จากนี้ ผู้บริหารแผนฯได้ยื่นขอขยายเวลาการบริหารแผนฯออกไปอีก
1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ทางเจ้าหนี้และผู้บริหารแผนจะเร่งหาพันธมิตรร่วมทุนเข้ามาซื้อหุ้นจากเจ้าหนี้เพื่อสร้างความมั่นคงในการบริหารกิจการทีพีไอ
โดยคณะกรรมการเจ้าหนี้ได้เจรจาหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนในทีพีไอ ขอยืนยันว่าเป็น
บริษัทของคนไทยที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมีเป็นอย่างดี รายใหญ่ของประเทศ
ทั้งปตท. และปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้จนกว่าการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯจะมีความชัดเจน
รวมทั้งต้องเข้ามาตรวจสอบสถานะกิจการด้วย จึงยังไม่กำหนดว่า จะขายหุ้นให้ผู้ร่วมทุนเมื่อใด
เพียงแต่ระบุไว้ในแผนฯ
นางไตรทิพย์ กล่าวยืนยันว่า ลดทุนจดทะเบียนจาก 10 บาท เหลือ 1 บาท ทำให้มูลค่าของหุ้น(BV)
เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.60 บาท (พาร์ 10 บาท) หลังปรับลดเป็นราคาพาร์ 1 บาท มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น
2.48 บาท รวมทั้งจำนวนหุ้นไม่ได้ลดลง ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายย่อยจึงไม่เสียหายจากการลดทุน
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะออกวอร์แรนต์ซื้อหุ้นสามัญทีพีไอ เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย
อย่างไรก็ตาม เพื่อความยุติธรรมต่อผู้บริหารลูกหนี้ ทางผู้บริหารแผนฯได้เสนอให้มีการ
ปลดภาระค้ำประกันของนายประชัย และตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ วงเงินหลายหมื่นล้านบาท
ภายหลังจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
เพราะต้องเจรจากับคณะกรรมการเจ้าหนี้ก่อน
รายละเอียดแผนฟื้นฟูฯใหม่
รายละเอียดการปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการฉบับใหม่นั้น คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของทีพีไอเป็นสำคัญ
โดยทีพีไอมีภาระหนี้เงินกู้ยืมประมาณ 108,800 ล้านบาท (2,720 ล้านเหรียญสหรัฐ)
จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ คือ ภาระหนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท (500 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ผ่อนชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายใน 5 ปี ส่วนหนี้อีก 34,000 ล้านบาท (850 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ผ่อนชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภาย ใน 10 ปี เริ่มชำระคืนเงินต้นงวดแรกหลังจากชำระหนี้
20,000 ล้านบาทข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว
ส่วนภาระหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท (150 ล้านเหรียญสหรัฐ) ชำระคืนเงินต้นทั้งจำนวน
เมื่อสิ้นปีที่ 10 และหนี้อีก 12,000 ล้านบาท (300 ล้านเหรียญสหรัฐ) ชำระคืนทั้งเงินต้นทั้งจำนวนเมื่อสิ้นปีที่
12 ผนวกกับภาระหนี้อีก 250 ล้านเหรียญสหรัฐ จะชำระด้วยหุ้นทีพีไอโพลีน โดยวิธีการขายหุ้นและนำเงินมาชำระหนี้
หรือนำหุ้นโอนตีใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้
ภาระหนี้อีก 670 ล้านเหรียญสหรัฐ จะดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุน และภาระหนี้ดอกเบี้ยค้างจ่ายประมาณ
9,000 ล้านบาท (225 ล้านเหรียญสหรัฐ) จะดำเนินการปลดหนี้ (write off) ดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด
สำหรับแนวทางการปรับโครงสร้างทุนนั้น ทีพีไอจะลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วลงในอัตรา
90% โดยการลดทุนจดทะเบียนที่ตราไว้ จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท และ
จะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยออกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนประมาณ
26,800 ล้านบาท (670 ล้านเหรียญ สหรัฐ) โดยราคาหุ้นที่ใช้ในการแปลงหนี้เป็นทุน
มีผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของเจ้าหนี้เพิ่มขึ้นจาก 75% เป็น 90% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
และผู้ถือหุ้นเดิมของ TPI จะมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือ 10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
พร้อมกับให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนไว้เพื่อรองรับการออกหลักทรัพย์ให้แก่พนักงานในประมาณ
5% ของทุนจดทะเบียน
นายกฯเยี่ยมชมโรงงานทีพีไอ
พล.ท.บัญชร ชวาลศิลป์ คณะทำงานผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ กล่าวว่า ในวันนี้(8
เม.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานของทีพีไอ
ที่จังหวัดระยอง เพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ บริษัทฯ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับปรุง
แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด ทั้งนี้ สืบเนื่อง มาจากเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพนักงานของทีพีไอ
แสดงความจำนงจะเดินทางมาให้กำลังใจนายก-รัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่นายกรัฐมนตรีได้ขอร้องไว้
และบอกว่าจะเดินทางไปพบพนักงานเอง
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเพื่อสกัดกั้นการชุมนุมของพนักงาน
ทีพีไอ ไม่ให้มาคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการฉบับใหม่ นั้น พล.ท.บัญชร กล่าวว่า ต้องไปสอบถามจาก
สหภาพแรงงานของทีพีไอเอง แต่เท่าที่ทราบ พนักงานทุกคนต้องการที่จะออกจากแผนฟื้นฟูฯ
และอยากเห็นบริษัทแข็งแกร่งขึ้น