บทสรุปสุดท้ายเนชั่นไวด์ประกันชีวิต ถูกเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นฟินันซ่าประกันชีวิต
มีบมจ.ฟินันซ่าถือหุ้นแค่ 10% ที่เหลือเป็นโฮลดิ้งที่ถือโดยผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในฟินันซ่า
ผู้บริหารฟินันซ่ายอมรับถือหุ้นแค่ 10% เพื่อเลี่ยงความเสียหายที่อาจโยงไปถึงราคาหุ้น
ล่าสุด ประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1.7 พันล้านบาท เป็น 2.1 พันล้านบาท
นายกฤษฎา หุตะเศรณี ประธาน กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเนชั่นไวด์ประกันชีวิตจำกัด
เปิดเผยว่า บริษัทจะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด หลังจากได้เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนชื่อ ดังกล่าวจะเริ่มใช้ได้จริงเมื่อไรนั้น ต้อง รอกรมการประกันภัยอนุมัติหลังจากที่บริษัทเสนอเรื่องเข้าไปซึ่งก็คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ
1 สัปดาห์
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ของเนชั่นไวด์นั้น มีบริษัทฟินันซ่า จำกัด (มหาชน)
ถือหุ้นในสัดส่วน 10% บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด ถือหุ้นใน สัดส่วน 10% และ บริษัท
SBSC โฮล-ดิ้ง ถือหุ้นในสัดส่วน 60% บริษัท HT แคปปิตอล โฮลดิ้ง ถือหุ้นในสัดส่วน
10% และที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย
ทั้งนี้ HBHC โฮลดิ้ง ก่อนหน้านี้ ผู้ถือหุ้นคือ เนชั่นไวด์โกลบอล ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเนชั่นไวด์ประกันชีวิต
ถือหุ้นอยู่ แต่หลังจากที่ถอนตัวออกไป ก็เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่เป็น สยามอินเวสเมนท์ฟันด์
และผู้ถือหุ้นรายย่อยของ บมจ. ฟินันซ่า เช่นเดียวกับ HT แคปปิตอล โฮลดิ้ง ก็ถือหุ้นโดยราย
ย่อยของ บมจ.ฟินันซ่า ซึ่งกล่าวได้ว่ากลุ่มฟินันซ่าได้เข้าไปถือหุ้นในเนชั่นไวด์
ประกันชีวิตถึง 80%
อย่างไรก็ตาม ฟินันซ่ายอมรับว่า การเข้าถือหุ้นในนามบมจ.ฟินันซ่าเพียง 10% เพราะต้องการเลี่ยงการบันทึกบัญชีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยเฉพาะผลประกอบการบริษัทฟินันซ่าประกันชีวิต ที่อาจจะถ่วงให้ราคาหุ้นฟินันซ่ารูดลงได้
การถือหุ้นสัดส่วนน้อยโดยใช้โฮลดิ้งถือส่วนใหญ่ก็เพื่อเลี่ยงปัญหานี้
นายกฤษฎา กล่าวว่า ในระยะยาวบริษัทจะได้ประโยชน์จากการที่ฟินันซ่าเข้ามาถือหุ้น
โดยเมื่อฟินันซ่าสามารถผันตัวเองเป็นธนาคาร ทั้งในส่วนของฐานลูกค้าและช่องทางการจำหน่ายผ่านแบงก์ก็คือประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับ
เช่นเดียวกันกับวิริยะฯ ที่นอกจากจะสามารถใช้ฐานลูกค้าร่วมกันเพื่อขายผลิตภัณฑ์แล้ว
ในส่วนของตัวแทนก็สามารถขายผลิตภัณฑ์ให้แก่กันได้
กล่าวได้ว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่นี้ทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วม กัน อย่างเช่นการให้ตัวแทนประกันชีวิตขายสินค้าของบริษัทประกันวินาศภัยได้
เช่นเดียวกันประกันวินาศภัยก็ขายสินค้าประกันชีวิตได้ ซึ่ง ตรงนี้ก็เป็นแผนที่เราจะทำในอนาคต
รวมถึงแผนที่จะทำธุรกิจแบงก์แอส ชัวรันส์ซึ่งเร็วๆ นี้เราจะเปิดตัวกรม ธรรม์ประกันชีวิตใหม่ที่จะขายผ่านธนาคาร
ส่วนรายละเอียดยังไม่สามารถเปิดเผยได้
หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีความชัดเจนในทุกๆ ด้านแล้ว บริษัทก็ได้วางนโยบายบริหารในระยะ
5 ปีข้างหน้า คือตั้งแต่ปี 2547-2551 โดยแผนที่วางไว้มี 3 ระยะ คือระยะแรก ปี 2547
บริษัทจะเน้นสร้างเสถียร-ภาพ และความมั่นคงโดยการขยายเงิน กองทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
ควบไปกับการพัฒนาระบบงาน ให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ส่วนระยะที่ 2 ปี 2548-2549 บริษัทจะเร่งขยายธุรกิจให้มีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
โดยการขยาย ฐานลูกค้าทั้งในแนวกว้างให้ครอบคลุม ทั้งประเทศ และในแนวลึกโดยการเพิ่ม
ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ พร้อมกับการผนึกกำลังกับพันธมิตรที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในการขยายตลาดด้านแบงก์แอสชัวรันส์
พร้อมกับให้ตัวแทนเน้นการขายแบบProduct mixed เพื่อสร้างความสะดวกและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
รวมถึงแผนในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ส่วนระยะสุดท้าย ปี 2550-2551 บริษัทมีแผนมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจประกันชีวิต
โดยมีจุดมุ่งหมายให้บริษัทก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมประกันชีวิตและมีส่วนแบ่งการตลาดไม่ต่ำกว่า
5%
บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนอีก 350 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีทุนจดทะเบียน 1,700
ล้าน ทำให้หลังเพิ่มทุน บริษัทมีทุนจดทะเบียน 2,100 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
2547 บริษัทมีสินทรัพย์มูลค่าตามราคาประเมิน 4,316.9 ล้านบาท มีสิน ทรัพย์ลงทุน
3,824.2 ล้านบาท มีเงินสำรองประกันภัย 3,592.5 ล้านบาท และเงินกองทุน 358.5 ล้านบาท