ทศทปรับโครงสร้างใหม่ รองรับการแข่งขันในอนาคต ด้วยการตั้ง 9 แม่ทัพด้านปฏิบัติการเจาะลูกค้าแบบวันสต็อปเซอร์วิส
พร้อมเดินหน้าให้บริการอี-คอมเมิร์ซ
นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นกล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดว่า
ทศท ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่หลังประสบปัญหารายได้ลดลงเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขันของโทรศัพท์มือถือและการเก็บภาษีสรรพสามิต
การปรับเปลี่ยนครั้งนี้มี 3 ระดับคือเริ่มจาก1.ระดับบนหรือโครงสร้างการจัดการแบ่งเป็น
8 ด้านประกอบด้วย 1.ด้านกิจการร่วมการงาน, งานบริหารผลประ-โยชน์ Concession Contract
Management เช่น ทีเอ ทีทีแอนด์ที เอไอเอส การควบรวมกิจการทศท กับบริษัท กสท โทรคมนาคม
2.ด้านยุทธศาสตร์ เป็นงานด้านยุทธศาสตร์องค์กร การปรับเปลี่ยนองค์กร งานด้านเกี่ยวกับข้อกฎหมาย
3.ด้านการเงิน 4.ด้านทรัพยากรบุคคล 5.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6.ด้านบริหารทรัพย์สิน
7.ด้านธุรกิจในเครือ (BG 6 ตามโครงสร้างธุรกิจเดิม) และ 8.ด้านปฏิบัติการ
2.ระดับถัดมาจะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่มคือ 1.กลุ่มธุรกิจโครงข่ายโทรคมนาคม
(BG4 เดิม) 2.กลุ่มธุรกิจสื่อสารทางสาย (BG1 เดิม) 3.กลุ่มธุรกิจสื่อสารไร้สาย
(BG2เดิม) 4.กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์สาธารณะ (BG5เดิม) 5.กลุ่มธุรกิจมัลติมีเดีย (BG3
เดิม) 6.กลุ่มธุรกิจ Business Solutions และ 7.กลุ่มการตลาด (BG7เดิม) โดยที่กลุ่มธุรกิจ
2,3 และ 4 รวมกันเรียก ว่า Access Network Cluster
3.ในส่วนของด้านปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 9 แม่ทัพคือด้านปฏิบัติการนครหลวง 1-4 ภูมิภาคอีก
5 ประกอบด้วยภาคกลาง, ตะวันออกเฉียงเหนือ,ภาคเหนือ, ภาคใต้และตะวันออก โดยที่ในแต่
ละด้านปฏิบัติการจะมีองค์ประกอบของกลุ่มธุรกิจอยู่ครบถ้วนเพื่อทำให้สามารถทำการตลาด
และหาลูกค้าแบบครบวงจรในลักษณะวันสต็อปเซอร์วิส
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่จะส่งผลดีในเรื่องของการแข่งขันในอนาคตเพราะถือเป็นการเตรียมความพร้อมหลังจากมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมโดยโครง
สร้างใหม่ที่มีการพิจารณาในครั้งนี้จะมีการหารือในรายละเอียดและการบริหารกันอย่างต่อเนื่องคาดว่าประมาณเดือนพ.ค.นี้จะสามารถนำมาใช้ได้
อย่างไรก็ตามหากในเดือนเม.ย.นี้มีการสรุปว่าให้ ทศท ควบรวมกับกสท
ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯโครงสร้างดังกล่าวอาจจะต้องยกเลิกไปหรืออาจจะนำบางส่วนมาพิจารณาทำเป็นโครงสร้างใหม่ได้ด้วย
เพราะการดำเนินธุรกิจโครงสร้างจะไม่แตกต่างกันมากนัก บอร์ดยังให้ ทศท ให้บริการธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
เพราะหากพิจารณาตัวเลขมูลค่าตลาดรวมในประเทศไทยของ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
หรืออี-คอมเมิร์ซ และตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์(อี-มาร์เกตเพลส) มีอัตราการเติบโตประมาณ
4-5 เท่าโดยในปี 2546 มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3 แสนล้านบาทและคาดว่าในปีนี้มูลค่าตลาดจะสูงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
โดยการเปิดให้บริการของ ทศท จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.tradetot.co.th ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองให้บริการอยู่
โดยมีการแสดงสินค้าประมาณ 200-300 ชิ้น ตั้งเป้าหมายปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 100
ล้านบาท