หลังพบตัวเลข กลุ่ม SIG เติบโตกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา เมโทรฯหวังสร้างแบรนด์
SIG เป็นบิสซิเนส ยูนิตหลัก ที่มีซอฟต์แวร์โซลูชันรองรับเป็นแบรนด์ย่อยที่ครอบคลุมทุกสายธุรกิจ
ตั้งเป้าก้าวสู่การเป็นโปรเฟส ชันแนล เซอร์วิส ภายใน 3 ปีที่เป้าหมายยอดขาย 1,000
ล้านบาท
นายอรุณ ต่อเอกบัณฑิต กรรมการบริหาร บริษัท เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน จำกัด
(มหาชน) กล่าวถึงทิศทางการทำตลาดว่า จากการที่เมโทรฯมีการแบ่งกลุ่มการทำธุรกิจออกเป็น
3 กลุ่มคือ กลุ่มเอ็นเตอร์ไพร์สซิสเต็มส์กรุ๊ป (ESG) ดูแลสินค้าด้านฮาร์ดแวร์,
กลุ่มโซลูชันอินทิเกรชันกรุ๊ป (SIG) ดูแลการทำตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โซลูชันและกลุ่มออฟฟิศซัพพลายส์
กรุ๊ป (OSG) ดูแลจำหน่ายสินค้าซัปพลาย ภายหลังมีการจัดหมวด หมู่การทำธุรกิจทำให้เกิดความชัดเจนในการทำตลาดอย่างมาก
เห็นได้จากอัตราการเติบโตในทุกกลุ่ม โดยกลุ่ม ESG มียอดขายเติบโตจากปีที่ผ่านมา
4.8% กลุ่ม OSG เติบโต 34.14% และกลุ่ม SIG เติบโต 168.87%
"ภาพที่คนภายนอกมองเมโทรฯคือเป็นฮาร์ดแวร์คอมปานีเนื่องจากเราโตมาจากฮาร์ดแวร์
และเริ่มเข้ามาในธุรกิจซอฟต์แวร์เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา บริการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ
มาในปีนี้เมโทรฯจึงมีแนวทางที่ชัดเจนต้อง การสร้างแบรนด์ SIG ให้คนรู้ว่าเมื่อพูดถึงโซลูชัน,
โปรเฟสชันแนลเซอร์วิส ต้องนึกถึง SIG"
นายอรุณมองภาพการสร้างแบรนด์ SIG เช่นเดียวกับการสร้างแบรนด์ โซลูชันด้านการศึกษา
BAL ทุกวันนี้เมื่อพูดถึง BAL ทุกคนเข้าใจตรงกัน
ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ SIG เป็นการนำซอฟต์แวร์ทุกตัวมาอินทิเกรตจัดโดยทีมงานเพื่อให้ลูก
ค้าเห็นภาพที่ชัดเจนว่าการนำซอฟต์ แวร์มาต่อเชื่อมกันประโยชน์ที่ได้มีอย่างไร จากเดิมที่ทุกวันนี้ลูกค้าจะใช้งานซอฟต์แวร์แบบไม่เชื่อมต่อ
ทำให้ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด เทียบได้กับลูกค้าจ่ายเงิน 100 บาท แต่ใช้งานแค่ 10
บาท แต่นับจากนี้ไปเมโทรฯจะทำให้ลูกค้าใช้ประโยชน์ได้เกินกว่า 100 บาท
เบื้องหลังการผลักดันแบรนด์ SIG ให้ติดตลาด เมโทรฯต้องการเห็นการเติบโตของกลุ่มนี้ประมาณ
20-30% จากปัจจุบันยอดขายของกลุ่มนี้แชร์จากยอดขายรวมของกลุ่มประมาณ 12% หรือประมาณ
500 ล้านบาท โดยวางเป้าหมายไว้ว่าภายใน 3 ปีต้องการให้กลุ่ม SIG ทำรายได้ถึง 1,000
ล้านบาท
"ภายใน 3 ปีกับเป้าหมายยอดขาย 1,000 ล้านบาทนี้ เรามอง ว่าสิ่งที่ต้องลงทุนอย่างมากคือบุคลากร
แต่เราได้เปรียบคนอื่นที่เรามีศูนย์เทรนนิ่งที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เรามีเทคโนโลยีทำให้เรา
สามารถสร้างบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
นายอรุณกล่าวว่า ในอนาคตอยากเห็นกลุ่ม SIG เป็นโปรเฟสชันแนลเซอร์วิส มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด
อันจะส่งผลดีกับธุรกิจโดยรวมเพราะเป็น กลุ่มธุรกิจที่สร้างผลกำไรได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
ส่วนขั้นตอนการผลักดันแบรนด์ SIG จะลงลึกไปถึงการสร้างแบรนด์ที่เป็นโซลูชันต่างที่อยู่ใน
SIG ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมา SIG ประสบความสำคัญในการสร้างแบรนด์ BRITA เป็นซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการระบบการเงินของโรงแรม
ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจโรงแรมโดยเฉพาะตรงตามความต้องการลูกค้า ส่งผลให้ BRITA เกิดเป็นแบรนด์ขึ้นมา
"เราจะสร้างแบรนด์ของตัวโปรดักส์แต่ละตัวขึ้นมา เพื่อให้เกิดหลายแบรนด์พร้อมๆกัน
DWA จะเป็นอีกแบรนด์ที่คาดว่าจะเกิดในปีนี้, โมบายแอปพลิเคชันก็น่าจะเกิดได้เป็นลักษณะซอฟต์แวร์ที่วิ่งบนพ็อกเกตพีซี
ส่งข้อมูลถึงศูนย์ในกรุงเทพฯสามารถจัดการเรื่องคลังสินค้าได้ทันความต้องการ"
ภาพในอนาคตของ SIG ที่วางไว้คือเป็นแบรนด์ใหญ่ของบิสซิเนส ยูนิต ที่มีแบรนด์ย่อยเป็นโซลูชันด้านซอฟต์แวร์รองรับทุกสายงานธุรกิจ
ที่เติบโตด้านยอดขายจากในปัจจุบันเท่าตัวที่ยอดขาย 1,000 ล้านบาท ใน 3 ปี