"ประยุทธ์"ประธานบริษัทไทยน็อคซ์สตี ลล็อบบี้ "พินิจ" ช่วยหนุนเพิ่มกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมรีดเย็นหรือ สเตนเลส จาก 5% เป็น 12% หวังบีบให้ผู้นำเข้าจากต่างประเทศในขณะนี้หันกลับมาใช้เหล็กในประเทศแทน พร้อมเล็งศึกษาเพิ่มการผลิตเป็น 3 แสนตัน และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คาดรู้ผลกลางปีนี้ ด้าน "พินิจ"
แบะท่ารับพร้อมหนุนผู้ผลิตเหล็กเต็มพิกัด
วานนี้ (9 ก.พ.) บริษัท ไทยน็อคซ์สตีล จำกัด ได้จัดงานเฉลิมฉลองความสำเร็จการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมรีดเย็นหรือสเตนเลสสตีล
ณ ยอดการผลิตที่ 1 ล้านตัน โดยมีนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยาน
นายประยุทธ มหากิจศิริ ประธานบริษัท ไทยน็อคซ์สตีล จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นหนังสือถึงนายพินิจ
จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ภาครัฐบาลปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมจากปัจจุบัน
5% เป็น 12% อย่างน้อย 5-10 ปี เพื่อที่ทำให้ผู้นำเข้าเหล็กกล้าไร้สนิมจากต่างประเทศในขณะนี้หันมาใช้ภายในประเทศไทยเพื่อคงอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไว้
ทั้งนี้ในปี 2546 พบว่าไทยยังมีการนำเข้าเหล็ก กล้าไร้สนิมสูงถึง 50% จากอัตราการใช้ในประเทศ
1.6 แสนตัน ขณะที่บริษัทไทยน็อคซ์สตีลสามารถผลิตได้ 1 แสนตันหรือทดแทนการนำเข้า
60% ดังนั้นการนำเข้าจากต่างประเทศราว 6 หมื่นตันควรจะลดการนำเข้าให้เหลือเพียง
5% เท่านั้น ซึ่งหากรัฐบาลเพิ่มภาษีก็จะทำให้บริษัทสามารถขยายฐานการตลาดเพิ่มขึ้นได้
สำหรับอัตราภาษีนำเข้าล่าสุดรัฐบาลได้พิจารณา ปรับโครงสร้างใหม่โดยแบ่งเป็น 2
กลุ่ม รีดเย็นเป็นสนิมปรับภาษีนำเข้าจาก 12% เป็น 9% โดยบริษัทสหวิริยาสตีล อินดัสตรี
จำกัด (มหาชน) หรือ SSI เป็นผู้ผลิต ส่วนเหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิมลดจาก 12% เป็น
5% ผลิตโดยไทยน็อคซ์สตีล ขณะที่รีดร้อนไร้สนิม นำเข้า 1% เนื่องจากไม่มีผู้ผลิตในประเทศ
ส่วนรีดร้อนมีสนิมจาก 10% เหลือ 7.5% ผลิตโดย SSI และแสลป 1% เพราะไทยมีผู้ผลิต
"บริษัทขอกลับไปใช้ภาษีนำเข้าเดิมเพื่อเอื้อต่อผู้ผลิตเหล็ก โดยราคาจำหน่ายของเราใกล้เคียงกับต่าง
ประเทศแต่ที่เขานำเข้าเพราะลูกค้าที่ใช้เหล็กไร้สนิมเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกคุมโดยคนต่างชาติที่เขาส่งมาป้อนอีกทีเพื่อช่วยเหลือกัน
และการช่วยก็ไม่ใช่ตั้งกำแพงภาษีสุดกู่เหมือนเมื่อก่อน" นายประยุทธกล่าว
นายประยุทธกล่าวว่า ไทยน็อคซ์อยู่ระหว่างการ ศึกษาแนวทางการเพิ่มกำลังการผลิตเป็น
3 แสนตันต่อปีจากปัจจุบัน 2 แสนตันต่อปี รวมไปถึงการพิจารณานำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนถึงแผน การดำเนินการดังกล่าวภายในกลางปีนี้และคาดว่าหาก
ต้องระดมทุนคงจะเป็นช่วงสิ้นปี 2547 นี้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน7,500
ล้านบาท ใช้เงิน ลงทุนไปทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับการปรับราคาจำหน่ายล่าสุดกรมการค้า ภายในกระทรวงพาณิชย์ ได้อนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มจาก
82.50 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็น 105.94 บาทต่อกก. ซึ่งถือว่าคลอบคลุมต้นทุนวัตถุดิบในช่วงปลายปีที่ผ่านมาแต่ขณะนี้วัตถุดิบปรับขึ้นถึงระดับ
2,150-2,500 เหรียญต่อตันดังนั้นคาดว่าคงจะต้องขออนุมัติปรับขึ้นอีกครั้งเพื่อให้ครอบคลุมกับต้นทุนที่ปรับเพิ่ม
นาย ฌอง อีฟ จีเลต์ รองประธานอาวุโสอาร์เซอลอร์ จำกัด ผู้ถือใหญ่ 96% ในไทยน็อคซ์
กล่าวว่าราคาเหล็กจะยังคงแพงขึ้นอีกประมาณ 10% และในปีหน้าคาดว่าจะเริ่มลดลงเพราะขณะนี้ผู้ผลิตนิกเกิ้ล
ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักเริ่มมีการขยายการผลิตมากขึ้น
นายอแลง ดาเวอซัค รองประธานฝ่ายกิจการต่างประเทศ อาร์เซอลอร์ กล่าว อัตราการบริโภคของคนไทยยังต่ำเพียง
2.2 กก.ต่อคนเท่านั้นแต่ประเทศ ที่เจริญแล้วบริโภค 14-18 กก.ต่อคนดังนั้นตลาดไทย
ยังมีโอกาสที่จะขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นซึ่งไทยน็อคซ์ฯมียอดขายรวมปีที่แล้ว 300 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ
1.2 หมื่นล้านบาทประมาณ 40-50% เป็นการส่งออก
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม กล่าวว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีนโย-บายในการช่วยเหลือผู้ผลิตเหล็กในประเทศเพื่อเป็น
การส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะการใช้มาตรการทาง ภาษีในการป้องกันการทุ่มตลาดจากต่างประเทศหรือ
การปกป้องอุตสาหกรรมในไทย รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพื่อส่งเสริมการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิต
"กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมที่จะสนับสนุนอยู่ แล้วไม่ว่าจะเป็นใคร แต่การช่วยเหลือก็จะต้องดูในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ตลอดเวลา
ซึ่งการคุ้มครองผู้ผลิตจะว่าด้วยมาตรการทางภาษี ส่วนการลงทุนเหล็กขั้นต้นได้หารือกับกลุ่มสหวิริยาแล้วแต่ยังไม่เห็นยื่นมาถ้า
ยื่นการลงทุนก็พร้อมจะสนับสนุน" นายพินิจกล่าว