The Wind of Change (2) Singapore Financial Network

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ผมกล่าวไว้ในตอนที่แล้วยังไม่สมบูรณ์ในภาพทางยุทธศาสตร์ของสิงคโปร์ที่ว่า ตลาดการเงินจากนี้ก็คือ ชัดเจนขึ้นภายใต้แรงบันดาลใจที่เข้มข้น การสร้างเครือข่ายธุรกิจการเงินระดับภูมิภาคในเชิงรุกที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทย ในช่วงวิกฤติการณ์ที่ผ่านมา

ธ น า ค า ร พ า ณิ ช ย์

ในบรรดาธนาคารสี่แห่งของไทยที่ถูกธนาคารต่างชาติเทกโอเวอร์ มีธนาคารสิงคโปร์ถึง 2 แห่ง โดย DBS Bank ธนาคารใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ ที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่บุกเบิกเข้าซื้อกิจการธนาคารไทยทนุอย่างเร่งรีบ ก่อนรายอื่นๆ หลังวิกฤติการณ์เพียงเล็กน้อยในปี 2541จากนั้นในปีถัดมา ธนาคารอันดับสองของสิงคโปร์ ก็เข้าซื้อกิจการธนาคารรัตนสิน (จากธนาคารแหลมทองอีกทอดหนึ่ง) นั่นคือ United Overseas Bank ปัจจุบันธนาคารสิงคโปร์มีเครือข่ายสาขาในประเทศไทย ในกรุงเทพฯ รวมกันประมาณ 80 แห่ง และสาขาในต่าง จังหวัดตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศอีกประมาณ 50 แห่ง ทำให้เครือข่ายของธนาคารสิงคโปร์ทั้งสองในประเทศไทยมีมากที่สุด ในทุกประเทศที่ทั้งสองธนาคารขยายกิจการเข้าไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งในสิงคโปร์เอง ที่สำคัญได้กลายเป็นธนาคาร ต่างชาติในประเทศไทย ที่มีเครือข่ายมากที่สุด และมีส่วนแบ่ง ทางธุรกิจมากที่สุดในทันที

ภาพนี้มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับยุทธศาสตร์ใหม่ของ ธุรกิจสิงคโปร์ ภายใต้แรงบีบคั้นการเปิดเสรีธุรกิจหลักๆ ในประเทศของเขา พร้อมกับความพยายามมีบทบาทระดับภูมิภาคอย่างจริงจัง ในธุรกิจบริการทางการเงิน และอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นภาพที่เกิดมาอย่างสอดคล้องจากโอกาสของวิกฤติการณ์ในย่านนี้

D B S B a n k

DBS Bank เป็นธนาคารที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบและแตกแขนงธุรกิจออกไป นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการในปี 1968 โดยเป็นสถาบันทางการเงินที่ มีการพัฒนา ทุกวันนี้มีสาขาราว 140 แห่งในสิงคโปร์ มีธนาคารในเครือข่ายโดยตรงอยู่ในไทย ฮ่องกง ฟิลิป ปินส์ และอินโดนีเซีย อีกทั้งมีสำนัก งานในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย เมียน มาร์ จีน ไต้หวัน เกาหลีและไทย อีกทั้งยังมีเครือข่ายสนับสนุนจากธนาคาร ที่มีธุรกิจร่วมกันอีกกว่า 900 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ขยายกิจการอย่างเข้มข้นในช่วง 1-3 ปีมานี้เอง

ในปี 1998 DBS เข้าซื้อกิจการ "พีโอเอส แบงก์" ทำให้เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดในสิงคโปร์ทางด้านเงินฝาก และสิน เชื่อในรูปสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ DBS ยังสร้างตัว เอง จนเป็นผู้นำในธุรกิจการขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก แก่สาธารณชน (IPO) และการค้าหลักทรัพย์ในตลาดภูมิภาคในตลาดทุนสิงคโปร์ด้วย

U O B

United Overseas Bank ก่อตั้งเมื่อปี 1935 และเติบโต อย่างรวดเร็วจนกระทั่งเป็นธนาคารอันดับที่สองของสิงคโปร์ในปัจจุบัน UOB Group ประกอบด้วยกิจการที่เป็นบริษัทแม่คือ ยูโอบี และธนาคารในเครืออีกสองแห่ง คือ "Far Eastern Bank" และ "Industrial & Commercial Bank" ธนาคารทั้งสาม แห่งให้บริการธนาคารเพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มรูป

นอกจากนั้น UOB Group ยังให้บริการทางการเงินอื่นๆ อาทิ ไพรเวต แบงกิ้ง ธุรกิจประเภททรัสต์และเวนเจอร์ แคปิ -ตอล วาณิชธนกิจ การค้าหลักทรัพย์ การบริหารกองทุนรวม บริการที่เกี่ยวกับตลาดทุน การค้าทอง แฟคเตอริ่ง และการประกันภัย

นอกจากนั้น UOB Group ยังอาศัยเครือข่ายสาขา และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เช่น ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แลนด์ กรุ๊ป - United Overseas Land Group และฮอ ปาร์ กรุ๊ป - Haw Par Group) แตกแขนงธุรกิจไปสู่ด้านการท่องเที่ยวการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ลีสซิ่ง การบริหารโรงแรม ธุรกิจสุขภาพ การ ผลิตและการค้าทั่วไป จากธุรกิจที่ครอบคลุมกิจการหลากหลายประเภทนี้เองที่ทำให้ UOB Group นับเป็นกลุ่มธนาคารที่มีธุรกิจเป็น สากลแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ มีเครือข่ายสำนักงานถึงกว่า 286 แห่ง ใน ทั่วโลก โดยเป็นสาขาธนาคารในสิงคโปร์ 65 แห่ง และอีก 221 แห่ง ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิป ปินส์ ไต้หวัน ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สห-ราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และแคนาดา

น า ย ห น้ า ค้ า หุ้ น

ในเวลาเดียวกันกับการรุกเข้าสู่ธุรกิจธนาคารสิงคโปร์ ก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างยิ่งในการเข้าสู่ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์อย่างเป็นกระบวนการ ปัจจุบันมีกิจการนายหน้าค้าหลักทรัพย์ในประเทศไทย ระดับโบรกเกอร์ 4 รายและซับโบรกเกอร์ 1 ราย ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาครอบงำนายหน้าค้าหุ้นไทยที่มีจำนวนรายมากที่สุด รวมทั้งมี ส่วนแบ่งการค้าหลักทรัพย์รวมกันมากที่สุดในขณะนี้

ในจำนวนนี้ทั้ง DBS และ UOB ก็เข้าสู่ธุรกิจนี้ด้วยอย่าง ตั้งใจ DBS เคยมีหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ศรีธนาของตระกูลศรีวิกรม์ ต่อมาต้องปิดกิจการไปรวมกับไฟแนนซ์ 56 แห่ง แต่ ต่อมามีประมูลสินทรัพย์ DBS ก็เข้าซื้อกิจการได้ แม้จะเป็นเพียงซับโบรกเกอร์เท่านั้น ซึ่งแน่ละ แรงบันดาลใจไม่ได้หยุดแค่นั้น เมื่อเร็วๆ นี้ DBS ได้เข้าซื้อกิจการนายหน้าค้าหุ้นรายใหญ่ในสิงคโปร์ - Vickers Ballas (VB) ซึ่งมีกิจการในเมืองไทย ด้วย โดย VB เข้าซื้อกิจการหลักทรัพย์ของนวธนกิจมาในช่วง เดียวกันที่สิงคโปร์ยึดกิจการนายหน้าค้าหุ้นในไทยราวปี 2541-2542 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนววิคเคอร์บัลลาส ซึ่งคาดกันว่าการเปลี่ยนนี้จะมาถึงไทยในเร็ววัน ทำให้ธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นของ DBS มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วภูมิภาคอย่างเข้มแข็งทันที

ส่วน UOB ก็เข้าซื้อกิจการหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์มหาสมุทรในปี 2543 ด้วยทำให้เครือข่ายธุรกิจนายหน้า ค้าหุ้นของ UB ครอบคลุมระดับภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย

นอกนั้นคือกิจการนายหน้าค้าหุ้นของสิงคโปร์ ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างใหม่ในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ พร้อมกับยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค

บ ล . ฟิ ล ลิ ป ( ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย )

เดิมคือ บล.เอกเอเซีย เมื่อประเทศไทยประสบกับปัญหาวิกฤติการเงิน ได้ขายใบอนุญาตนายหน้าค้าหลักทรัพย์ให้กลุ่มแอมสตีล เมื่อเดือนตุลาคม 2540 และเปลี่ยนชื่อเป็น บล.แอมสตีล ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2541 บริษัทฟิลลิป โบรกเกอร์เรจ จากประเทศสิงคโปร์ ได้เข้ามาซื้อใบอนุญาตต่อ จาก บล.แอมสตีล และเปลี่ยนชื่อเป็น บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ฟิลลิป โบรกเกอร์เรจ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ทำธุรกิจหลักทรัพย์และจัดการกองทุนรวมเป็นหลัก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บนถนนฟิลลิป ประเทศสิงคโปร์ นอกจากสาขาในไทยแล้ว ยัง มีเครือข่ายสาขาอยู่ในฮ่องกง ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเมื่อปลายปี 2542 เพิ่งขยายสาขาโดยเข้าไปซื้อ บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศอังกฤษ

บ ล . กิ ม เ อ็ ง ( ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ) ในปี 2541 Kimeng Securities ในสิงคโปร์ก็ประมูลซื้อกิจการหลักทรัพย์นิธิภัทธ จาก ปรส. ไปดำเนินการโดยเปลี่ยน ชื่อเป็นบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง บริษัทหลักทรัพย์นิธิภัทธ ก่อตั้งขึ้นในปี 2533 ต่อมาในปี 2537 ได้เป็นสมาชิกตลาดหุ้นหรือโบรกเกอร์ หมายเลข 42

Kimeng Holdings Limited ก่อตั้งที่สิงคโปร์เมื่อปี 2532 ภายใต้ชื่อ KESECS Ltd. ในปีเดียวกันนั้นได้ซื้อกิจการของ Kimeng Securities Pte. Ltd. (KES) ซึ่งกิจการมีสาขาทั้งในฮ่องกง และขยายตัวไปในลอนดอน ในเวลาต่อมา

นี่คือสถานการณ์ใหม่ในภาคการเงินของไทย ที่มิติทาง ความคิดเก่าๆ ไม่อาจอรรถาธิบายได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.