คมนาคมเตรียมประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนสายการบินขั้นต่ำจาก 50 ล้านบาทเป็น 200
ล้านบาท กลาง ก.พ.นี้ หลัง"วิเชษฐ์"ให้นโยบายกรมขนส่งทางอากาศศึกษา เพื่อยกระดับสายการบิน
พร้อมกับเพิ่มวงเงินประกันภัยผู้โดยสารจาก 50 ล้านบาท เป็นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางอากาศ
(ขอ.) ได้สรุปผลการศึกษาเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนของผู้ประกอบการสายการบินแล้ว
โดยจะเพิ่มทุนจดทะเบียนจากปัจจุบันที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท เป็นไม่น้อยกว่า
200 ล้านบาท และจะต้องชำระเต็มจำนวน รวมทั้งมีการเพิ่มเงื่อนไขให้สายการบินต้องทำประกันภัยผู้โดยสารและบุคคลที่
3 จากเดิมกำหนดวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาทเป็น 5,000 ล้านบาท ต่อ 1 อุบัติเหตุ ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกประกาศ
ให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในกลางเดือน กุมภาพันธ์นี้
โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนและวงเงินประกันภัยขั้นต่ำดังกล่าว เพื่อยกระดับมาตรฐานของสาย
การบิน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการด้านธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐาน
และเพียงพอต่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ให้สอด คล้องกับอากาศยาน ซึ่งจากการสอบ
ถามกับทางผู้ประกอบการสายการบินส่วนใหญ่เห็นด้วยที่มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เนื่องจากระเบียบ ปฏิบัติดังกล่าวมีการประกาศใช้มานานและไม่เคยมีการปรับแก้ไขมาก่อน
รมช.คมนาคม กล่าวว่า การเดินทางโดยเครื่องบินน่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ในขณะที่ศักย-ภาพของท่าอากาศยาน
มาตรฐาน ความปลอดภัย และสายการบินต่างๆ มีความพร้อมอยู่แล้ว โดย เฉพาะการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำเป็นการแสดงถึงทิศทางที่ดีของธุรกิจการบิน
เชื่อว่าจะมีจำนวน ผู้ประกอบธุรกิจการบินภายในประเทศ และในภูมิภาคใกล้เคียงจะเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวหลักปฏิบัติต่างๆให้สอดคล้องสภาพการณ์ ในปัจจุบัน
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รอง อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กล่าว ว่า การที่กำหนดทุนจดทะเบียนของ
ผู้ประกอบการสายการบินเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านบาทนั้น เนื่องจากได้ มีการศึกษาพบว่าสายการบินส่วนใหญ่จะกำหนดเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า
200 ล้านบาทอยู่แล้ว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนเงื่อนไข จะไม่ส่งผลต่อผู้ประกอบการรายเดิมอย่างแน่นอน
ส่วนการเพิ่มวงเงินประกันภัยนั้น ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการสาย การบินส่วนใหญ่จะมีการทำประกันภัยในวงเงินที่สูงจากที่ระเบียบได้กำหนดไว้อยู่แล้วเพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยง
และความเสียหายในธุรกิจการบิน ซึ่งมีตั้งแต่ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12,000
ล้านบาท) ไปถึง 500 หรือ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ในส่วนนี้ จะไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ
การบินที่ทำให้ต้องแบกรับภาระการ จ่ายเงินค่าประกันภัยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีการเสนอให้กำหนดทุนจดทะเบียนเป็นขั้นบันได เพื่อที่จะกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการบินขนาดใหญ่
และผู้ประกอบการรายย่อย ให้มีจำนวนทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน แต่เนื่องจากนโยบายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่าควรจะกำหนดให้เป็นอัตราเดียวกัน
ในขณะเดียวกัน ได้มีการกำชับเรื่องการเข้มงวดกวดขันทางด้านความปลอดภัยเป็นสำคัญ
ซึ่งจะมีการตรวจสอบในส่วน ของความพร้อมของอากาศยานต่างๆ มากขึ้น
"การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขครั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยน
แปลงไปจากเดิม เนื่องจากกฎระเบียบ ที่บังคับใช้อยู่เป็นกฎระเบียบที่มีผล บังคับใช้มานานโดยไม่เคยมีการปรับแก้ไขมาก่อน
ทำให้การกำหนด ตัวเลขหรือทุนจดทะเบียนต่างๆไม่ทันสมัยกับยุคปัจจุบัน แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะดำเนินการสูงกว่าเงื่อนไขที่ทางราชการได้กำหนดไว้
ดังนั้น เชื่อว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ อย่างแน่นอน" นายชัยศักดิ์กล่าว