บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย)
ในเครือกลุ่มกิมเอ็งจากสิงคโปร์ ประกาศพร้อมเดินหน้ารักษาแชมป์โบรกเกอร์อันดับ 1
เน้นแผนการตลาดแบบ 5 ส.
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศ
ไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายมากอีกปี ที่บริษัทต้องตื่นตัวมากกว่าเดิม
เนื่องจากแนวโน้มแข่งขันรุนแรงขึ้น โดยเน้นคุณภาพมากขึ้น บริษัทจึงจะเน้นแผนการตลาดแบบ
5 ส. ที่จะทำให้เป้าหมายดำเนินธุรกิจชัดเจน ขึ้น แผนการตลาดประกอบด้วย
ส่วนแบ่งตลาด การเป็นโบรกเกอร์อันดับ 1 ยากมาก สิ่งที่ยากที่สุด คือจะรักษาตำแหน่งได้อย่างไร
บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ณ สิ้นปี 2546 ที่ 11.44% และ 12.68% สิ้นปี 2545
สูงสุด ต่อเนื่องถึง 2 ปีแล้ว
ปีนี้ต้องมีบทพิสูจน์ท้าทายรออยู่ บริษัทจะ พยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดที่ 12-13%
โดย เน้นพัฒนาทั้งเจ้าหน้าที่การตลาดเดิมและสร้างเจ้าหน้าที่การตลาดเพิ่ม คาดว่าจะเพิ่มเจ้าหน้าที่การตลาดอีกประมาณ
10-20%
ปัจจุบันบริษัทมีเจ้าหน้าที่การตลาดประมาณ 400 คน เพื่อให้ทันให้บริการลูกค้า
และเป็นสัดส่วนพอเหมาะกับบัญชีที่ลูกค้าเปิดใหม่ ซึ่งทวี ขึ้นมาก บริษัทมีทีมงาน
Client Service ที่ตั้งไม่นานมานี้ ซึ่งจะช่วยดูแลลูกค้าใกล้ชิดมากขึ้น
ปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้าเปิดบัญชีทั้งสิ้น 40,000 ราย เป็นลูกค้าที่มียอดซื้อขาย
ปี 2546 ประมาณ 35,000 ราย เปิดบัญชีใหม่ปี 2546 ทั้งสิ้น 11,414 ราย บัญชีเปิดใหม่เพิ่ม
312.54% เทียบปี 2545 เปิดบัญชีทั้งสิ้น 3,652 ราย
บริษัทยังมีเป้าหมายจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดด้านซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันส่วน
แบ่งตลาดด้านอินเทอร์เน็ตของบริษัท 0.80% เมื่อ เทียบตลาดรวม มูลค่าซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์
เน็ต ธ.ค. 2546 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 14,111 ล้านบาทปีนี้บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาด
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเป็น 1% โดยมีกระแสความนิยมซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
บริษัทพัฒนาระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต มาตลอด โดยพัฒนาระบบใหม่ภายใต้การบริการ
ชื่อ "ketrade" ต้นพ.ย. 2546 เป็นระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ลูกค้าสามารถดูข้อมูล ควบรวม 3 ฟังก์ชั่นหลักที่จำเป็นในหน้าจอเดียวกัน
คือเช็กพอร์ตและกำไร/ขาดทุน ดูราคาหุ้น ณ เวลาปัจจุบัน และส่งคำสั่งซื้อขายผ่านอินเทอร์
เน็ต และระบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ สามารถ เลือกหุ้นที่นักลงทุนต้องการดูความเคลื่อนไหว
หรือตั้งระบบเตือนหุ้นผ่านหน้าจอ (Stock Alert) เมื่อราคาหุ้นขึ้นลงถึงราคาที่ต้องการ
เป็นต้น
ระบบ ketrade มีระบบความปลอดภัยประสิทธิภาพสูง ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก Entrust
สหรัฐอเมริกา บริษัทยังปรับโฉมเว็บไซต์ ใหม่ให้เป็นสากล และทันสมัยขึ้น ด้วยระบบดูข้อมูลสะดวกขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าบริษัท ลูกค้ารายย่อย 90% ลูกค้าสถาบัน 10% ยังมีแนวโน้มจะเพิ่มลูกค้าสถาบันมากขึ้นได้
ตั้งเป้าลูกค้าสถาบันเพิ่มเป็น 15% ปีนี้ เนื่องจากบริษัทมีบุคลากร ข้อมูลวิจัย
และระบบซื้อขายพร้อมให้บริการลูกค้า สถาบันมากขึ้น
สาขาบริษัทเป้าหมายสาขาบริการครอบคลุม พื้นที่ให้บริการมากที่สุด ปัจจุบัน บริษัทมี
33 สาขา เป็นสาขาในกรุงเทพฯ 16 แห่ง ต่างจังหวัด 17 แห่ง ปี 2546 เปิดใหม่ 3 สาขา
ได้แก่ สาขาสมุทร-สงคราม และนครราชสีมา 2 ปีนี้ บริษัทมีแผนจะเปิดสาขาอีก 2-3 แห่งคาดว่าจะเป็นสาขาต่างจังหวัดทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างศึกษาทำเลที่ตั้ง
สะดวกใช้บริการ ด้วยบริการครบวงจร บริษัทจะเสนอบริการให้ลูกค้าครบวงจร สะดวก
จะใช้บริการ เช่น เสนอบทวิจัย เสมือนห้องสมุด วิจัยบนเว็บไซต์ ไม่ว่าลูกค้าอยู่ที่ใด
ก็สามารถดูบทวิเคราะห์ รวมทั้งถ่ายทอดสด ฟังบทวิเคราะห์ ย้อนหลัง วิเคราะห์รายหุ้น
ทั้งวิเคราะห์ปัจจัยพื้น ฐานวิเคราะห์ทางเทคนิคภายใต้บริการ "KELIVE"
ขณะนี้ผู้ใช้บริการผ่าน "KELIVE" ประมาณ 120,000 รายต่อเดือน เป็นที่นิยมแพร่หลาย
เปิด บริการตั้งแต่เม.ย. 2546 เป็นบริการไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ เปิดให้สาธารณชนทั่วไปดูข้อมูลได้
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทมีนโยบายจะให้บริการลูกค้าของบริษัทก่อน หากไม่ใช่ลูกค้า
จะดูข้อมูล วิจัยได้เช่นเดิม แต่อาจช้ากว่าปกติบ้าง เพื่อให้ระบบสามารถเข้าได้รวดเร็วสำหรับลูกค้าบริษัท
เนื่องจากมีผู้ใช้บริการมากขึ้นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ระบบบริการชำระค่าซื้อและรับ ค่าขายผ่านการตัดบัญชีธนาคาร (ATS) อำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ลูกค้า
ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น บริษัทมีโครงการจะเชิญชวนลูกค้าใช้บริการด้าน นี้มากขึ้น
ปัจจุบัน ระบบบริการชำระค่าซื้อและรับค่าขายผ่านการตัดบัญชีธนาคาร (ATS) ทำผ่านได้
6 ธนาคารใหญ่ๆ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา กรุงไทย ไทยพาณิชย์
และเอเซีย เป้าหมายจะขยายบริการครอบคลุมครบทุกธนาคาร
บริษัทยังมีแผนงานจะพัฒนาการชำระค่าจองซื้อหุ้นจองผ่านระบบ ATS ด้วย เนื่องจากปริมาณจองหุ้น
IPO มีมาก หากสามารถพัฒนาใช้การตัดบัญชีผ่านระบบชำระราคา (ATS) ได้ จะช่วยให้งานด้านจองหุ้นจองสะดวกและรวดเร็ว
ขึ้นอีกด้วย
ปี 2547 บริษัทมีแผนนำหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ คาด
ประมาณ 15 บริษัท รวมมูลค่าระดมทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เป็นบริษัทกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
1-2 ราย หมวดวัสดุก่อสร้าง 3 ราย บันเทิงและสื่อสารมวลชน 2 ราย สื่อสารและเทคโนโลยี
3 ราย เงินทุนหลักทรัพย์ 3 ราย สาธารณูปโภค 1 ราย สินค้าเกษตร 1 ราย และอื่นๆ 3
ราย ตั้งเป้า รายได้ธุรกิจวาณิชธนกิจปีนี้ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
อีกหลายบริการที่บริษัทจะเน้นปีนี้ คือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่บริษัทจะเสนอให้ลูกค้าใช้บริการมากขึ้น
นั่นคือการดูข้อมูลผ่านระบบโทร-ศัพท์มือถือ WAP และผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แบบพกพา
PDA ทั้ง 2 ระบบนี้ บริษัทพัฒนาโปรแกรมระยะหนึ่งแล้ว เริ่มมีลูกค้าสนใจมากขึ้น
บริษัทสนใจ และกำลังศึกษาการให้บริการ กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund Management)
และตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund) บริษัทกำลังเตรียมความพร้อม และศึกษาหาข้อมูลเสนอบริการดังกล่าวอยู่
เพื่อเสริมบริการของบริษัทครบวงจรมากขึ้น