น.พ.พรหมินทร์ลั่นบอร์ดกฟผ. เตรียมยุติดีลแลกเปลี่ยนหุ้นกฟผ.-บ้านปู ในราชบุรีโฮลดิ้งและในเอ็กโก้
วันนี้ คาดไม่น่าจะล้ม ดีลมอบนโยบายยึดประโยชน์สูงสุดทั้งกฟผ. ประชาชน และการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย
เสร็จ แล้ว ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปสู่การชี้แจงได้ ด้านผู้ว่ากฟผ.ยันที่ผ่านมาทำแบบถูก
ต้องรายงาน รมว.พลังงานโดยวาจาตลอด
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุม
คณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่มีนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์
ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานในวันนี้ (23 ม.ค.) คาดว่าจะสามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับข้อ
ตกลงระหว่างกฟผ.กับบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
จำกัด (มหาชน) และบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก้ได้ ซึ่งได้มอบนโยบายไปแล้วว่า
ราคาที่ได้ควรจะมีมูลค่าที่เป็น ประโยชน์สูงสุด
"นโยบายที่ให้ไปจะต้องดูความสำคัญ 4 เรื่องคือ 1. เป็นประโยชน์โดยรวมต่อผลกำไรของ
กฟผ.และนำไปสู่การแปรรูปกิจการได้ 2. กฟผ ได้มูลค่าสูงสุด 3. คำนึงถึงผู้ลงทุนรายย่อย
และ 4. มีความชัดเจนที่คำนึงถึงผลประโยชน์ต่อ ประชาชนสูงสุด และเมื่อได้ข้อสรุปเรื่องนี้ขอให้จัดทำเรื่องสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อทำการชี้แจงต่อไปเพื่อความโปร่งใส"
รมว.พลังงานกล่าว
ทั้งนี้ ตามข้อตกลง MOU นั้นหลักการในการคิดราคาหุ้น ณ ขณะนั้นก็ได้อิงราคาตลาดอยู่แล้วซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับการตกลงซึ่งก็อาจเปลี่ยนแปลงได้และยอมรับว่าหากดีลดังกล่าวมี
ปัญหาก็จะกระทบต่อการแปรรูปกิจการกฟผ.ให้ต้องเลื่อนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากขณะนี้ที่ประเมินไว้ในราววันที่
12 พ.ค.2547 ดังนั้น เงื่อนไขดังกล่าวจึงทำให้ทางกฟผ.จำเป็นที่จะต้องเร่งพิจารณาเรื่องนี้ด้วยซึ่งคาดว่าหลังยุติก็จะสามารถลงนามซื้อขายได้ทันทีในวันที่
23 ม.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม นโยบายจะยังคงบริษัทราชบุรี โฮลดิ้งไว้ในตลาดหลักทรัพย์ เช่นเดิม
ซึ่งแม้ว่ากฟผ.จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทั้งราชบุรี และกฟผ.ต่างก็มีหน้าที่ต่างกันไป
จึงไม่คิดว่าจะเป็นการทำให้เกิดการแข่งขันกันเอง
นายสิทธิพร รัตโนภาส ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)กล่าวว่า ขณะนี้การซื้อขายหุ้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงจึงยังไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติจนกว่าจะสรุป
เรื่องทั้งหมดลงตัวก่อน แต่การรายงานด้วยวาจาได้มีตลอดถึงรมว.พลังงาน ส่วนราคานั้นขึ้นอยู่กับความพอใจว่าจะสามารถรับกันได้ระดับไหนและตามกรอบ
MOU จะจบในวันที่ 23 ม.ค.นี้
"สิ่งที่นักลงทุนถามเสมอคือจะจัดบริษัท ในเครือที่กฟผ.ถือหุ้นอย่างไร นี่คือสิ่งที่จะต้องทำเพื่อตอบคำถามนักลงทุนก่อนที่จะไปโรดโชว์
ส่วนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ทุกอย่าง ก็กำหนดไว้แล้ว 12 พ.ค.นี้ เมื่อมีเงื่อนไขเวลา
จึงจำเป็นจะต้องเร่งสรุปแผนดังกล่าวให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้" นายสิทธิพรกล่าว
การประชุมบอร์ดวันนี้ทางกฟผ.มีหน้าที่จะต้องชี้แจงเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว และในส่วน
ของบริษัทราชบุรีฯยังยืนยันที่จะคงไว้ในตลาด หลักทรัพย์เช่นเดิม เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับแผนดังกล่าวแล้วก็คงจะต้องมาจัดแนวทางการบริหารให้ทั้งกฟผ.และราชบุรีมีความชัดเจนต่อธุรกิจที่จะดำเนินงานในอนาคตต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า แผนการซื้อหุ้นข้างต้นทางกฟผ.ได้ลงนามหรือ MOU เมื่อวันที่
5 มกราคม ในการซื้อหุ้นของบริษัทราชบุรีจากบริษัทบ้านปูในสัดส่วน 15% โดยราคารับซื้อจากราคาปิดเมื่อวันที่
31 ธ.ค.2546 เฉลี่ยย้อนหลัง ที่ราคา 43.8598 บาทในวงเงินประมาณ 9,534.9 ล้านบาท
และกฟผ.ขายหุ้นในบริษัทเอ็กโก้ให้แก่บริษัทบ้านปูในราคา 82.5832 บาทในวงเงิน 14,864.94
ล้านบาท รวมทั้งขายหุ้นเอ็กโก้ให้กับบริษัทไชน่าไลท์ พาวเวอร์หรือซีแอลพีในวงเงิน
182.5 ล้านบาท ซึ่งตาม MOU ดังกล่าวบริษัทบ้านปูจะถือหุ้นเอ็กโก้ 24.99% และไชน่าไลท์จะถือหุ้นในเอ็กโก้
22.82%
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด กฟผ.วันพรุ่งนี้ ยังจะพิจารณาอนุมัติให้ราชบุรีโฮลดิ้งเข้าร่วมทุน
ในราชบุรีเพาเวอร์หรือโรงไฟฟ้าหินกรูดเดิม ในสัดส่วน 25% ส่วนหุ้นที่เหลือนั้น
ปตท 15% ส่วน อีก 60% เป็นผู้ถือหุ้นเดิม โดยโครงการนี้มีกำลัง ผลิตไฟฟ้า 1,400
เมกะวัตต์เงินลงทุนประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซื้อขายก๊าซโครงการอาทิตย์วันนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้(23ม.ค.) รมว. พลังงานจะร่วมพิธีลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ของบริษัทปตท.สำรวจ
และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งโครงการ นี้จะเริ่มผลิตในปี 2006 กำลังผลิต
330 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวันราคาตกลงเฉลี่ย 116-119 บาทต่อล้านบีทียู โดยจะใช้เงินลงทุนราว
400 -500 ล้านเหรียญ หลังจากที่เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ได้มี การให้สัมปทานปิโตรเลียมแก่บริษัท
Siam Moeco. Ltd.และปตท.สผ.เพื่อสิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบก 4