สยาม ซินเท็คฯ ฟื้นตัว ประกาศก้าวสู่บริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นแนวหน้า หลังใช้เงินทุนหมุนเวียนบริหารงานแบบปลอดเงินกู้
และหารายได้เพิ่มจากการร่วมทุนใน 2 โรงแรม-รถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้มีช่องเข้าประมูลรับงานก่อสร้างเพิ่มเติมในอนาคต
ตั้งเป้าหมายปี นี้มีรายได้ 4,000 ล้านบาท มั่นใจเริ่มจ่ายปันผลได้งวดปี 47 บิ๊ก
SYNTEC "สว่าง มั่นคงเจริญ" ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการครั้งแรก ปฏิเสธข่าวเกี่ยว
ข้องกับพ่อมดทางการเงิน "ปิ่น จักกะพาก"
นางสว่าง มั่นคงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด
(มหาชน) (SYNTEC) ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเป็นทางการครั้งแรกวานนี้ กล่าววานนี้ (20 ม.ค.)
ถึงวิสัยทัศน์ดำเนินธุรกิจเพื่อก้าวสู่บริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของประเทศ ว่าวิกฤตเศรษฐกิจ
2540 เป็นบทเรียนทำให้บริษัทมีนโยบายจะใช้เงินทุนหมุน เวียนบริษัทดำเนินธุรกิจ
โดยไม่มีการกู้ยืมเงินจาก สถาบันการเงิน และกลายเป็นบริษัทไม่มีหนี้สิน รวมทั้งตัดสินใจร่วมลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
เช่น ถือหุ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน โรงแรม 2 แห่ง เพื่อเพิ่มรายได้บริษัท หากธุรกิจก่อสร้างซบเซา
ทำให้บริษัทพร้อมในการเป็นผู้นำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างครบวงจรของไทย
ผลจากการขยายการลงทุนเพิ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้บริษัทมีโอกาสจะร่วมประมูลงานก่อสร้างส่วนขยายโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระยะทาง 180 กม. รวมทั้งรับงานก่อสร้างโรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ ด้านหลังโครง
การสยามพารากอนด้วย ทำให้บริษัทมีโครงการก่อสร้างในมือเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่บริษัทมีโครงการก่อสร้างในมือแล้ว
16 โครงการ มูลค่ารวม 7,100 ล้านบาท
ดังนั้น บริษัทพร้อมจะขยายการลงทุนร่วมกับบริษัทอสังหาฯ เพิ่มเติม เพื่อความได้เปรียบด้าน
ต้นทุน โดยปีนี้ ตั้งเป้าหมายรายได้ 4,000 ล้านบาท โตขึ้นเมื่อเทียบปีก่อน สิ้นสุด
30 มิ.ย.2546 ที่มีรายได้เพียง 850 ล้านบาท ปี 2548 คาดมีรายได้ ไม่ต่ำกว่า 5,000
ล้านบาท
"ขณะนี้ บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับศูนย์ คือไม่มีหนี้แล้ว นโยบายหลักของเรา
คือการควบคุมค่าใช้จ่าย ช่วงที่เราเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ เราขายบริษัทย่อยออกไปหมด
หรือรอ ให้เลิกกิจการไปเอง" นางสว่างกล่าว
สำหรับแผนดำเนินงานปี 2547 บริษัทมีแผน จะขยายการลงทุนใหม่ๆ ทั้งส่วนบ้าน คอนโดมิเนียม
อาคารสำนักงาน และโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีนโยบายจะรับงานภาคเอกชนและราชการ สัดส่วน
50 ต่อ 50 ทั้งนี้ งานส่วนราชการ จะรวม ถึงงานด้านสาธารณูปโภค ซึ่งบริษัทมีความพร้อม
ทางการเงิน เพราะมีความสามารถกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินอีกมาก เพียงพอที่จะขยายงาน
กำหนดเป้าหมายอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1 เท่าของทุนจดทะเบียน
ปีที่ผ่านมา บริษัทลงทุนธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดิน (BMCL) 5% ธุรกิจโรงแรมเคมปินสกี้
สยามพารากอน 25% และโรงแรมโซฟิเทล สุขุมวิท 25% เป็นวงเงินทั้งสิ้น 700 ล้านบาท
คาดว่าการร่วมทุน ครั้งนี้ จะรับรู้รายได้ประมาณ 6 ล้านบาท/เดือน ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัท
ส่วนโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของรัฐ มูลค่ารวม 5 แสนล้านบาท บริษัทตั้งเป้าหมายประมูลรับงานจากโครงการรัฐเพียง
5% มูลค่า 15,000 ล้านบาท โดยเป้าหมายกำไรต่อหุ้น (EPS) 10%
นางสว่างกล่าวต่อไปว่า หุ้น SYNTEC สามารถกลับเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้
ก่อนปลายปีที่แล้ว แต่ยังไม่ยื่นขอกลับซื้อขายใหม่หมวดรีแฮบโก้ เพราะต้องการอาศัยอำนาจตามกฎหมายล้มละลาย
เรียกเก็บหนี้สินที่ลูกหนี้ ค้างชำระอยู่ โดยเก็บหนี้ได้ช่วงที่ผ่านมา 800 ล้าน
บาท จากหนี้สินรวม 2,000 ล้านบาท และเจ้าหนี้ ยอมลดหนี้กว่า 90% จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ให้
SYNTEC ฟื้น
ไม่รู้จักปิ่น
นอกจากนี้ นางสว่างปฏิเสธข่าวลือว่านำเงิน นายปิ่น จักกะพาก พ่อมดการเงิน อดีตผู้ถือหุ้น
ใหญ่-ผู้บริหารกลุ่ม บง.เอกธนกิจ ใช้ดำเนินธุรกิจ ระบุส่วนตัวไม่ได้สนิทสนม หรือเคยลงทุนร่วมกับนายปิ่น
ก่อนหน้านั้น นายปิ่น เป็นผู้บริหารบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ชั้นนำของไทย
แต่เธอเป็นผู้บริหาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ ซึ่งเป็น ทรัสต์ของคนจีนขนาดเล็ก
SYNTEC เปลี่ยนรอบบัญชีใหม่
ด้านนายสมชาย ศิริเลิศพานิช ผู้ช่วยกรรม การผู้จัดการ บริษัท สยาม ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น
กล่าวว่า บริษัทจะปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อ รองรับการขยายงานเพิ่มขึ้น โดยตั้งหน่วยงานใหม่
แยกจากหน่วยงานเดิม เพื่อเพิ่มความชัดเจน และมีผู้บริหารระดับสูงเพิ่มขึ้น เพื่อดูแลงานก่อสร้างที่มากขึ้น
ตอบรับงานที่จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
ปีที่ผ่านมา บริษัทระดมทุนใหม่ 1,200 ล้านบาท ส่วนหนึ่ง ลงทุนรถไฟฟ้าใต้ดิน 517
ล้าน บาท ที่เหลือจะลงทุนโรงแรม 2 แห่ง ที่บริษัทถือ หุ้นอยู่แล้ว การตัดสินใจร่วมลงทุนธุรกิจอสังหา-
ริมทรัพย์ จะมีผลตอบแทนการลงทุน (Return) ไม่ต่ำกว่า 15%
ปัจจุบัน บริษัทขาดทุนสะสมประมาณ 100 ล้านบาท จึงไม่มีปัญหาที่จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น
หากบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน คาด ว่าสิ้นปี 2547 บริษัทน่าจะจ่ายเงินปันผลได้
หลัง จากไม่ได้จ่ายเงินปันผลมานาน 5-6 ปี
ทั้งนี้ บริษัทจะเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. สิ้นสุด 31
ธ.ค. จากเดิม งวดสิ้นปี วันที่ 30 มิ.ย. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 ส่วนหุ้น
SYNTEC จะขอยื่นเทรดหมวดปกติทันที หลังผลดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2547 กำไร ตรงตามหลักเกณฑ์ที่ระบุ
ว่าต้องมีผลดำเนินงานกำไรต่อเนื่อง 3 ไตรมาส
ความเคลื่อนไหวหุ้น SYNTEC วานนี้ ปิด ตลาด 5.75 บาท ลดลง 55 สตางค์ ลด 8.73%
มูลค่าซื้อขาย 395.43 ล้านบาท