กรมสรรพากรรับลูกเตรียมยกเว้นภาษีควบรวมสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง
ขณะที่การส่งเสริมไทย เป็นศูนย์กลางพลังงานนั้น หากกำหนดเขตปลอดอากรจะได้รับยก
เว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องขอยกเว้นจาก BOI
เป็นรายๆ ไป ด้านแบงก์ชาติแจง แผนมาสเตอร์ แพลนจะทำให้สถาบันการเงินคงเหลือในระบบ
40 แห่ง ขณะที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอ พ.ร.ก.ควบรวมไทยธนาคาร และไอเอฟซีทีภายในเดือนม.ค.นี้
ก่อนจะเร่งควบแบงก์ทหารไทย กับดีบีเอสฯ เป็นรายต่อไป
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี โฆษกกรมสรรพากร กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่กำหนดเกณฑ์ให้มีการควบรวมของสถาบันการเงินนั้นว่า
ในส่วนของ มาตรการภาษีเกี่ยวกับการควบรวม โดยปกติมีกฎหมายรองรับการยกเว้นภาษีให้เกือบทุกประเภทอยู่แล้ว
ไม่ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี ธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ โดยการควบรวมกิจการดังกล่าว
หมายถึง กรณีการควบรวมกิจการทั้งประเภทเอบวกบี เท่ากับ เอ หรือ เอบวกบี เท่ากับ
บี หรือ เอบวกบี เท่ากับซี
สำหรับการโอนเฉพาะบางธุรกรรมจากสถาบันหนึ่งมาอีกสถาบันหนึ่ง โดยทั้งสองแห่งยังคงอยู่
ไม่ได้เป็นการควบรวมกิจการทั้งหมดเข้าหากันนั้น กฎหมายยังไม่ได้รองรับครอบคลุมไว้
จึงยังคงต้องเสียภาษีอยู่บ้าง
สำหรับการควบรวมกิจการของสถาบันการเงินที่ผ่านมา เกิดจากสถาบันการเงินมีปัญหาทำให้รัฐบาลมีคำสั่งให้เกิดการควบรวมกันและได้มีกฎหมายยกเว้นภาษีอากรดังกล่าวให้
ส่วนกรณีสถาบัน การเงินที่ไม่มีปัญหามาควบรวมกิจการกันเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งนั้น
ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นแนวทางการยกเว้นภาษีคงใช้เกณฑ์เดียวกันกับธุรกิจประเภทอื่นๆ
ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากติดปัญหาขึ้น กรมก็พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่
"การควบรวมกันจาก 2 แห่งเหลือเพียง 1 แห่ง ถือเป็นการควบรวมแบบทั่วไป ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาในการเก็บภาษี
เพราะจะใช้เกณฑ์เดียวกับธุรกิจประเภทอื่นๆ แต่หากมีการโอนเฉพาะบางธุรกรรมจากสถาบันหนึ่งมาอีกสถาบันหนึ่ง
ถือว่าไม่ได้เป็นการควบรวม กฎหมายยังเข้าไปไม่ถึง ซึ่งจะคงต้องเสียภาษีอยู่บ้าง"
นายสาธิต กล่าว
สำหรับการปรับลดภาษีสรรพากร เพื่อรอง รับยุทธศาสตร์พลังงานนั้น ขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งระดับนโยบายลงมายังกรม
อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วเมื่อกำหนดเขตปลอดอากรขึ้นจะมีกฎหมายรองรับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะต้องมีการขอยกเว้นจากสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) เป็นรายๆ ไป ซึ่งสามารถขอได้มากกว่าลดหย่อนภาษีได้ถึง
ยกเว้นภาษี ทั้งนี้เข้าใจว่าเมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางน้ำมันก็อาจจะยกเว้นภาษีทั้งสองประเภทให้ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงการคลัง มีแนวทางในเรื่องดังกล่าวว่า จะยกเว้นภาษีมูลค่า
เพิ่ม และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ ประกอบธุรกรรมที่ทำการซื้อขายในเขตปลอดอากร
จากอัตรา 30% เหลือ 10%
สถาบันการเงินสูญพันธุ์กว่าครึ่ง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
กล่าวว่า เพื่อทำให้โครงสร้างสถาบัน การเงินที่มีอยู่จำนวน 83 แห่งในปัจจุบันให้มีความ
กระชับขึ้น โดยธปท.จะออกใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 2 ประเภท คือ ธนาคารที่ทำธุรกิจทางการเงินอย่างครบวงจร
(Universal Banking) โดยให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
รูปแบบที่ 2 คือ ธนาคารพาณิชย์เพื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Niche Market) เพื่อให้สินเชื่อและบริการทางการเงินเฉพาะกลุ่ม
โดยการปล่อย สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายจะต้องมีเงินทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 250
ล้านบาท โดยสามารถเปิด สาขาได้ทั่วไป โดยจากนี้ ธปท.จะออกเกณฑ์การ ให้ใบอนุญาตธนาคารใหม่
ทั้ง 4 ประเภทภายใน 1-2 เดือนจากนี้ และให้บง. และบค. ยื่นคำขอปรับสถานะ และแผนการดำเนินการภายในระยะเวลา
6 เดือน
โดยภาพรวมหลังจาก 2 ปีจากนี้ ซึ่งคาดว่าการควบรวมกิจการทั้งหมดจะเสร็จสิ้น คาดว่า
จะมีธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบเพิ่มจาก 13 แห่ง เนื่องจากเชื่อว่า บง.และบค.ส่วนหนึ่งจะมีการควบรวมกันเพื่อยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์
และมีบางรายที่สนใจเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะลดจำนวนลงอย่างที่เป็นห่วงกัน
แต่ภาพรวม ของสถาบันการเงินไทยจะลดลงเหลือประมาณ ครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 40 แห่งจาก
83 แห่งในขณะนี้
"ภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ ธปท.จะเรียกสถาบันการเงินทุกประเภทมาทำความเข้าใจแนว
ทางในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าว แต่เข้าใจว่าขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มเข้าใจทิศทางและดำเนินการบ้างแล้ว
อย่างไรก็ ตาม คาดว่าเมื่อ พ.ร.บ.สถาบันการเงินฉบับใหม่ ออกมาจะช่วยให้การดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินดำเนินการได้ดีขึ้น"
ทั้งนี้ สำหรับความเป็นห่วงในเรื่องของการตกงานของพนักงานสถาบันการเงินที่จำเป็นต้องมีการควบกิจการนั้น
นางธาริษา กล่าวว่า ในช่วง ที่เศรษฐกิจขาขึ้นอย่างขณะนี้ เชื่อว่าสถาบันการเงินทุกแห่งมีความจำเป็นที่จะต้องขยายงานเพิ่มขึ้น
และหากเป็นการรวมกิจการของบริษัทในเครือ ความจำเป็นการจ้างงานทำต่อไปยังมีต่อเนื่องและในเศรษฐกิจเช่นนี้สามารถที่จะหางานใหม่ได้ง่าย
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าว
ว่า แผนดังกล่าวจะทำให้ระบบการเงินและสถาบัน การเงินมีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ
แข่งขันได้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ทางการจะดำเนิน การเพื่อให้สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง
นอก จากนี้ ทางการควรพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากและพิจารณาแนวทางการ
ดูแลแหล่งเงินอื่น ๆ อย่างชุมนุมสหกรณ์เพื่อให้เป็นแหล่งทุนที่มีคุณภาพแท้จริง
ซึ่งการจัดระเบียบอย่างนี้คงต้องทำอย่างรอบคอบค่อยเป็นค่อยไป
เสนอพ.ร.ก.รวม BT-IFCT ม.ค.นี้
ด้านร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการควบ
รวมกิจการระหว่างธนาคารไทยธนาคาร (BT) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(IFCT) ว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอพระ-ราชกำหนด (พ.ร.ก.) การดำเนินการควบรวมกิจการระหว่าง
BT และ IFCT เข้าสู่การพิจารณา ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ม.ค.นี้ และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรก
ขณะที่การเจรจาควบรวมระหว่างธนาคารทหาร ไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ของกลุ่มดีบีเอส
สิงคโปร์ขณะนี้ใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว และอาจดำเนินการได้เป็นรายถัดมา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่ม เติมว่า กระทรวงการคลัง ยังสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีการควบรวมระหว่าง
บริษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(บตท.) กับบรรษัทประกัน สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(บสย.) หรือระหว่าง บตท. กับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ
"การควบรวมกิจการของสถาบันการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาสถาบันการเงิน
ซึ่งผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแผนระยะปานกลาง
5-10 ปี โดยธปท. จะเรียกสถาบันการเงินทุกแห่งมาชี้แจงทำความเข้าใจอีกครั้งในสัปดาห์หน้า"