สศค.คาดจีดีพีปีหน้าขยายตัว8.3%แนะเพิมศักยภาพการแข่งขันรับค่าบาท


ผู้จัดการรายวัน(30 ธันวาคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

สศค. คาดการณ์จีดีพี ปี 2547 พุ่งถึง 8.3% เมื่อรวมการเบิกจ่ายงบกลางปีอีก 1.35 แสนล้านบาท ขณะที่ปีนี้ยังคงประมาณการเดิม 6.4% ด้านฐานะการคลังปีหน้า รัฐบาลจะมีดุลเงินสดขาดดุลรวม 158,160 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5% ของจีดีพี ด้านผู้อำนวยการสวค. "คณิต แสงสุพรรณ" แนะผู้ประกอบ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน รองรับค่าเงินบาทที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก

นายศิโรตน์ สวัสดิพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลผลิตมวล รวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ยังอยู่ที่ 6.4% ตามประมาณการเดิม ส่วน ในปี 2547 จีดีพีตามกรณีฐานยังอยู่ที่ 7.5% ซึ่งยังไม่รวมกับงบประมาณกลาง ปีเพิ่มเติม 1.35 แสนล้าน โดยหากรวมกับงบดังกล่าวจะทำให้จีดีพีปรับเพิ่มอีก 0.8% และเมื่อรวมกับการเบิก จ่ายมาใช้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้จีดีพี อยู่ที่ 8.3% ได้

ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภาย ในและภายนอกประเทศ การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ การลง ทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรขยายตัวในอัตราเร่ง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังคงทรงตัว นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความ มั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทาง การคลัง

"ภาวะเศรษฐกิจในปี 2546 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 2547 คาดว่า จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อไป ซึ่งปัจจัยสนับสนุนคือ ด้านการบริโภค ภาคเอกชน และการส่งออก เนื่องจาก มีการขยายตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น" นาย ศิโรตน์ กล่าว

ทั้งนี้เครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวสูง 20.9% ต่อปี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยว กับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 108.3 จุด ซึ่งสูงกว่า ระดับ 100 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกทั้งจากการ ส่งออกที่ดีขึ้น และการปรับเพิ่มอันดับ ความน่าเชื่อถือจากบริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส

ด้านเครื่องชี้ภาวะการลงทุนภาค เอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนใน ภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่อง จักร โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 45.8% ต่อปี ส่วนการลงทุนในสินค้าทุนขยาย ตัวในอัตราเร่งติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 14.2% ต่อปี

สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงทรงตัว โดยรายจ่ายจากงบประมาณหักรายจ่ายชำระหนี้เดือนพฤศจิกายน หดตัวเล็กน้อยที่ 0.2% ต่อปี โดยรายจ่ายประจำหดตัว 5.5% ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 15.3% ต่อปี

ขณะที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ในเกณฑ์สูงในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.4% ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 6.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 615 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องอุปสงค์ภายในประเทศและภายนอกประเทศที่ เพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 12.7 ต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 69.1% ในเดือนตุลาคม เทียบกับ 65.8% ในเดือนกันยายน

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน พฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับเฉลี่ย 39.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ตุลาคม ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ตุลาคมเกินดุลทั้งสิ้น 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 41.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน

ส่วนฐานะทางการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546-พฤศจิกายน 2546) ราย ได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราค่อนข้างสูง ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 150,770 ล้านบาท สูง กว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 16.2% ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมี การเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 169,498 ล้าน บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 2.3% ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 18,728 ล้านบาท และเมื่อ รวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 38,634 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 57,362 ล้านบาท

ด้านหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้น เดือนกันยายน 2546 เท่ากับ 2,918.1 พันล้านบาทคิดเป็น 49.72% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 22.7 พันล้านบาท หรือ 0.39% ของ จีดีพี ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็น 27.42% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2547 ในระบบกระแสเงินสดตลอดปีงบประมาณ 2547 คาดว่า รัฐบาลจะมีดุลเงิน สดขาดดุลรวม 158,160 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 2.5% ของจีดีพี โดยคาดว่าจะ มีรายได้ 1,063,645 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณ 1,196,730 ล้านบาท (รวมงบประมาณกลางปี 135,500 ล้านบาท) ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 133,085 ล้านบาท ส่วนดุลนอกงบประมาณคาดว่า จะขาดดุล ประมาณ 25,075 ล้านบาท จากการไถ่ ถอนหุ้น

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน กันยายน 2546 เท่ากับ 2,918.1 พันล้านบาทคิดเป็น 49.72% ของจีดีพี เพิ่ม ขึ้นจากเดือนสิงหาคม 22.7 พันล้านบาทหรือ 0.39% ของจีดีพี โดยแยกเป็น หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,639.6 พันล้าน บาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบัน การเงิน 851.0 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 427.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบ ประมาณคิดเป็น 27.42% ของจีดีพี

ด้านนายคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวถึงภาวะค่าเงินบาท ในปี2547 ว่า คาดว่าน่าจะมีการแข็งค่า ขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้เชื่อว่าจะไม่ ส่งผลกระทบภาคการส่งออกมากขึ้น หากมีการปรับค่าเงินแข็งขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค แต่หากประเทศไทยมีค่าเงินแข็งขึ้นเพียงประเทศเดียวก็จะส่งผลกระทบทั้งในภาคการส่งออกและนำเข้า

"สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเรื่องค่าเงินบาทแข็งขึ้นคือ การเร่งการพัฒนาในขีด ความสามารถในการแข่งขันให้มีเพิ่มมากขึ้น ยิ่งค่าบาทแข็งค่าขึ้นมากเท่าไร เราก็ต้องพัฒนาขีดความสามารถตามไปด้วย เพื่อรองรับผลกระทบที่จะตามมา" นายคณิต กล่าว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.