"ผลประกอบการของบริษัทได้สะท้อนกลยุทธ์ในการควบคุมค่าใช้จ่าย และเพิ่มอัตราการทำกำไร
เพื่อชดเชยการลดลงของรายได้ ในขณะที่ทีเอยังคงมุ่งเน้นการขยายธุรกิจที่มีการเติบโตสูง
เช่น บริการอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) และบริการ
Non Voices ต่างๆ"
ประโยคแบบทางการข้างต้นของศุภชัย เจียรวนนท์ ที่ปะหน้ารายงานผลดำเนินงานงวด
9 เดือนของปี 2546 ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนถึงนัยของความสามารถดำรงอยู่ของบริษัท
เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น ที่รวมทีเอ ออเร้นจ์ด้วย เพราะทีเอสร้างรายได้รวม
20,869.66 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม 20,827.73 ล้านบาท ผลคือขาดทุนสุทธิ
3,337.69 ล้านบาท ซึ่งตัวแปรหลักด้านรายได้และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของทีเออยู่ที่การบริหารการเงินของทีเอ
ออเร้นจ์ ซึ่งเพิ่งมีผลประกอบการที่คุ้มทุน (EBITDA Breakeven) เป็นครั้งแรกในกันยายน
2546
จากงบดุล ณ 30 กันยายน 2546 จะเห็นว่าสินทรัพย์รวมของทีเอมีมากถึง 89,462
ล้านบาท ที่แยกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 17,445.68 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เช่น ที่ดินอาคารอุปกรณ์ถึง 65,065.47 ล้านบาท ขณะที่หนี้สินหมุนเวียน รวม
28,986.89 ล้านบาท แสดงถึงฐานะการเงินสภาพคล่องของทีเอ มีอัตราส่วนต่ำเพียง
0.56
แต่สภาพคล่องทางการเงินของทีเอก็ยังดำเนินต่อไปได้ เพราะเครดิตในการหาเงินทุนจากการกู้ยืมหรือออกหุ้นมาชำระหนี้ ยังเป็นที่น่าเชื่อถือ แม้ว่ามีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูง
แต่ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นและระยะยาวยังทำได้ดี เช่น เมื่อต้นปี
2546 ทีเอออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท ประเภทมีหลักประกันจำนวน 3,319 ล้านบาท หุ้นกู้
นี้อายุ 4 ปี 8 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.80% เพื่อใช้คืนเงินกู้สกุลดอลลาร์
78 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไตรมาสที่ 2/2546 ทีเอขาดทุนถึง 306 ล้านบาทในอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินสกุลเยน
วิลเลียม แฮริส หัวหน้าคณะผู้บริหารการเงิน CFO ของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ได้กล่าวว่า
"บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงงบดุลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่วงเงิน
21.4 พันล้านบาท กับกลุ่มธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินในประเทศ จำนวน 11
แห่ง เพื่อใช้คืนเงินสกุลบาทเดิมจำนวนเท่ากัน"
"การลงนามในสัญญาดังกล่าวมีขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว โดยจะมีผลให้บริษัทสามารถลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงได้ปีละประมาณ
200 ล้านบาท รวมทั้งขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปและทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้น"
"กระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทมีความพร้อมสำหรับโอกาสต่างๆ ที่จะมีขึ้น
รวมทั้งมีความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดที่จะมีการเปิดเสรีต่อไป"
ผลดำเนินงานในงวด 9 เดือนแรกของปี 2546 แยกเป็นกลุ่มธุรกิจได้ดังนี้
ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ทีเอมีเงินรายได้จากธุรกิจนี้ 12.5 พันล้านบาท หรือเพิ่มเล็กน้อย
3.4% เพราะผลจากการเติบโตของบริการเสริมต่างๆ แต่จำนวนหมายเลขลดลง 25,573
เหลืออยู่ 1,981,700 เลขหมาย เพราะว่ามีการเร่งรัดขั้นตอนการยกเลิกเลขหมายให้เร็วขึ้น
เพื่อนำเลขหมายว่างไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ขณะที่ธุรกิจโทรศัพท์ไร้สาย ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานพกพา PCT และทีเอ ออเร้นจ์
ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของทีเอ ออเร้นจ์มียอดผู้ใช้ถึง 1,690,032 ราย โดยมีรายใหม่ๆ
เพิ่มขึ้นมา 63,671 รายในไตรมาส 3/2546 ขณะที่ผู้ใช้บริการ PCT มีรายได้เฉลี่ยต่อเครื่องลดลงเหลือ
265 บาท/เครื่อง/เดือน
ส่วนรายได้จากโทรศัพท์สาธารณะสูง 555 ล้านบาทหรือโต 19.4% รายได้จากอินเทอร์เน็ตและบรอดแบนด์บริการสื่อสารข้อมูล
เพิ่มเป็น 686 ล้านบาท
สำหรับธุรกิจโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล DDN มีรายได้ลดลงเหลือ 935 ล้านบาทใน
9 เดือนแรกปี 2546 ทั้งนี้เนื่องจากทีเอ ออเร้นจ์ได้โอนย้ายการเช่าโครงข่ายบางส่วนจากทีเอ
เพื่อไปใช้บริการ Managed Network Service ของบริษัทเอเชีย มัลติมีเดีย เพื่อลดต้นทุน
ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ต มีรายได้เพิ่มเป็นสองเท่าเป็น 315 ล้านบาท มีคนใช้บริการ
529,530 ราย เพราะมีของใหม่ TA easy Click และบริการอินเทอร์เน็ตพร้อมใช้และความเร็ว
สูงบรอดแบนด์รวมถึงผู้ใช้ ADSL และ cable modem ที่โตเพิ่มสองเท่ามีทั้งหมด
8,205 ราย
บริการเสริมต่างๆ ที่มาจากบริการโทรศัพท์สาธารณะเพิ่มขึ้น 18.6% และรายได้จากบริการโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล
(Digital Data Network-DDN) บริการอินเทอร์เน็ตและ บรอดแบนด์มีรายได้รวม
2.1 พันล้านบาท
ขณะที่ธุรกิจมัลติมีเดีย/บรอดแบนด์ มีรายได้ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546
เป็นเงิน 799 ล้านบาท และมีอินเทอร์เน็ตสูงสาธารณะ 20 เครื่องแบบหยอดเหรียญ
และมีกล้องถ่าย ภาพในตัวและบริการ TA Wi-Fi ที่ให้ความเร็วสูง 11 Mbps และเข้าสู่ธุรกิจเกมออนไลน์