"แอตต้า" แนะสายการบินโลว์คอสต์ ผนึกเอเย่นต์ ทัวร์ ใช้เป็นหน้าร้านขายตั๋ว
จัดแพกเกจร่วมกัน เร่งเพิ่มอัตราการใช้ ที่นั่งช่วงเปิดตัว กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศปีหน้าขยายตัว
10% จากเป้าหมายเดิมที่มีจำนวน 67.12 ล้านคนครั้ง รายได้ 3.6 แสนล้านบาท ด้าน โอเรียนท์ฯ
เตรียมเปิดบินราคาถูกกรุงเทพ-ภูเก็ต,หาดใหญ่,อุบลราชธานี หลังเปิด บินเชียงใหม่
999 บาท ผู้โดยสารล้น "อุดม" ยอมรับมีปัญหาจองตั๋วต้องเร่งแก้ไข ยันราคาถูกกว่าการบินไทยอย่างน้อย
1 ใน 3 แน่นอน พร้อมขอลดเที่ยวบินเชียงใหม่ ปรับตารางลดการใช้งานเครื่องบิน
นายศุภฤกษ์ ศูรางกูร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า การเปิดสายการบินโลว์คอสต์ในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างมาก แต่ช่วงแรกอาจมีปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์
การจองตั๋วโดยสาร และความไม่ชัดเจนของราคาตั๋วโดยสารราคาถูกที่สุดว่ามีจำนวนกี่ที่นั่ง
ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การโดยสารสายการบินโลว์คอสต์ในช่วงเปิดตัวมีผู้ใช้บริการน้อย
จนทำให้อัตราการใช้ที่นั่งไม่ได้ตามเป้าและอาจไม่สามารถทำการบินได้ เนื่อง จากไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้สายการบินโลว์ คอสต์และบริษัททัวร์ควรจะทำงาน ร่วมกันด้วยการให้บริษัททัวร์ที่มีกว่า
1,000 บริษัทเป็นหน้าร้านขายตั๋วสายการบินโลว์ คอสต์ เพราะการเปิดให้จองผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย
นอกจากนี้ควรร่วมมือกันจัดแพกเกจทัวร์ โดยใช้สายการบินโลว์ คอสต์ให้กับกลุ่มทัวร์ทั่วไปที่เคยใช้บริการของสายการบินปกติ
และคนไทยที่ไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบิน เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยต้องการ สินค้าท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งการเดินทางและแพกเกจท่องเที่ยว การจัดแพกเกจท่อง เที่ยวโดยใช้สายการบินโลว์
คอสต์ จะมีราคาถูกกว่าการใช้สายการบินปกติ 30-40% ซึ่งจะเป็นราคาที่จูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ใช้บริการสายการบินโลว์ คอสต์ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว
ส่วนนักธุรกิจคงไม่สนใจใช้บริการเพราะเป็น กลุ่มที่ต้องการบริการและระยะเวลาที่ถึงเป้าหมายที่แน่นอน
ดังนั้นการมุ่งขยายฐานลูกค้าจึงควรให้ความสำคัญนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งการเปิดให้บริการสายการบินโลว์
คอสต์ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางโดยสายการบินเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า
20% และผลักดันภาพรวมการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 10%
นางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการ ฝ่ายส่งเสริมการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) เปิดเผยว่า ในปี 2547 ตลาด ในประเทศตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศไว้จำนวน
67.12 ล้านคนครั้ง เพิ่มขึ้น 3-4% คิดเป็นรายได้ประมาณ 362,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
20% ในขณะที่ปีนี้คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท จำนวนการท่องเที่ยว 65 ล้านคนครั้ง
ปีนี้ต้องยอมรับว่าอัตราการใช้จ่ายของคนไทย ต่ำกว่าประมาณการ คือวันละ 1,700 บาท
จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 บาท
สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศปีหน้า ค่อนข้างสดใส จากปัจจัยบวกหลายด้านโดยเฉพาะการเปิดสายการบินโลว์คอสต์
ที่จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวได้บ่อยครั้งมากขึ้น เกิดการท่องเที่ยวข้ามภาคที่ใช้เวลาสั้นลง
ขยายกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางถึงล่างที่มีโอกาสเดินทางโดยสายการบินมากขึ้น ที่เห็นได้ชันเจนคือ
การเปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ของสายการบินโอเรียนท์ วันละ 8-9 เที่ยวบิน ช่วยขนคนไปเที่ยวเชียงใหม่เพิ่มวันละไม่ต่ำกว่า
2,000 คน
ขณะนี้กองสถิติและวิจัยของ ททท. กำลังอยู่ระหว่างการทำวิจัยตัวเลขและโอกาสการขยายตัวที่เกิดจากสายการบินโลว์
คอสต์ ที่คาด ว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขที่ประมาณการไว้แน่นอน
โอเรียนท์ฯเปิดบินถูกเส้นทางใหม่
นายอุดม ตันติประสงค์ชัย กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ เปิด
เผยว่า หลังจากที่โอเรียนท์ฯ ได้เปิดทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในลักษณะสายการ
บินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์และได้รับความสนใจจากผู้โดยสารจำนวนมาก ดังนั้นประมาณปลายเดือนมกราคม
2547 นี้ โอเรียนท์ฯ จะเปิดบินแบบราคาถูกในเส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ หรือกรุงเทพฯ-ภูเก็ต
อีก 1 เส้นทางหรือเปิดทั้งสองเส้นทางเลย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมขั้นสุดท้าย
ส่วนค่าโดยสารนั้น คาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับที่เปิดบินกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ประมาณ
999 บาท และต่อไปจะเปิดบินเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยยืนยันนโยบายค่าโดยสารของ
โอเรียนท์ฯ ว่าจะต่ำกว่าการบินไทยอย่างน้อย 1 ใน 3 เมื่อเทียบกันในแต่ละเส้นทางแน่นอน
โดยจะใช้เครื่องบินโบอิ้ง 757-200 ทำ การบิน ซึ่งบริษัทเช่าซื้อและรับมอบแล้ว
2 ลำและจะได้รับมอบลำที่ 3 ประมาณสิ้นเดือนธันวาคม 2546 นี้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบล-ราชธานี
จะใช้เครื่องบินขนาด 302 ที่นั่ง ซึ่งมีชั้นธุรกิจ 32 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นชั้นประหยัดให้ผู้โดยสารเลือกซื้อได้
2 ราคา โดยหลักการจะขายตั๋วชั้นประหยัดให้หมดก่อน ส่วนผู้โดยสารที่ต้องการปรับเป็นชั้นธุรกิจ
จะต้องเพิ่มอีก 600 บาท ซึ่งต่ำกว่าของการบินไทยที่ต้องเพิ่ม อีก 800 บาท
แก้ระบบจองตั๋วใหม่
ทั้งนี้ยอมรับว่า การเปิดบินราคาถูกยังมีปัญหาในเรื่องการจองตั๋ว ซึ่งกำลังเร่งแก้ไข
ส่วนตารางการบินที่กำหนดไว้ 13 เที่ยวบิน ต่อวันนั้น จะมีการปรับลดลงเหลือ 12 เที่ยวบิน
ต่อวัน เนื่องจากการหมุนใช้เครื่องบินหรือเทิร์นอะราวนด์เครื่องบินสั้นไป โดยการปรับลดเที่ยวบินลง
จะทำให้เครื่องบินมีเวลาจอดพักเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง ก่อนทำการบินอีกครั้ง จากเดิมที่พักประมาณ
40 นาที และแก้ปัญหาเรื่องหลุมจอดไม่เพียงพอด้วย
นายอุดมกล่าวว่า การปรับลดเที่ยวบินลง จะไม่มีผลต่อการให้บริการ และไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายของโอเรียนท์ฯ
ในขณะที่เครื่องบิน 1 ลำนั้น จะสามารถทำการบินได้ 12-14 ชั่วโมง ต่อวัน โดยตารางการบินของโอเรียนท์ฯจะใช้เครื่องบินประมาณ
10 ชั่วโมง ต่อวัน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า มาตรฐานด้านการบินของเครื่องบินของโอเรียนท์ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานตามระเบียบ
โดยเครื่องบินที่นำมาให้บริการเป็นเครื่องบินที่ทำการบินเฉลี่ยประมาณ 10 ปี ในต่างประเทศ
และไม่เคยมีปัญหาด้านการบินใดๆ