บอร์ด กสท เตรียมพิจารณาใช้วิธีการประมูลซื้อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคภายในสิ้นปีนี้
ด้วยงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท จากข้อเสนอที่รวมรูปแบบการเช่าเพื่อให้ทันกับสภาพการแข่งขันในตลาด
นายรองพล เจริญพันธุ์ รองประธานบอร์ด บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ได้ ข้อสรุปการดำเนินโครงการโทรศัพท์มือถือใน
ระบบซีดีเอ็มเอ ภูมิภาค เรียบร้อยแล้ว โดย ที่จะนำเสนอบอร์ด กสท ในการประชุมครั้งหน้าที่จะมีขึ้นก่อนสิ้นปี
"การประมูลครั้งก่อนเป็นโมฆะ จากการ ตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งประเด็นที่ใช้งบประมาณสูงมากถึง
3.2 หมื่นล้านบาท"
สำหรับแนวทางใหม่ที่กำลังจะเสนอ บอร์ดกสท จะมี 3 วิธีการ 2 รูปแบบ คือรูปแบบการเช่า
2 วิธีทั้งเรื่องอุปกรณ์เครือข่ายและการติดตั้งจากเอกชนในระยะเวลาและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
และรูปแบบการซื้อเครือ ข่ายเป็นของ กสท เองอีก 1 วิธี
"คณะทำงานเสนอทั้งรูปแบบการเช่าและการซื้อเพื่อให้บอร์ดพิจารณาเปรียบเทียบ
กัน แต่คาดว่าบอร์ดจะตัดสินใจเลือกวิธีซื้อเครือข่ายเอง ภายใต้งบประมาณไม่เกิน
12,000 ล้านบาท"
รองประธานบอร์ด กสท กล่าวว่า การตัดสินใจใช้วิธีซื้อ จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องมูลค่าโครงการที่สูงมากจากอัตราดอกเบี้ยตลอดโครงการเหมือนการประมูลครั้งก่อน
ในขณะที่สามารถดำเนินการติดตั้งได้รวดเร็ว สามารถให้บริการ และรุกเข้าตลาดได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า การประมูลโครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคครั้งก่อน
กสท กำหนดเงื่อนไขว่า จะใช้วิธีการเช่า อุปกรณ์เครือข่ายที่ติดตั้งโดยเอกชน รวมทั้ง
ให้ เอกชนดำเนินการด้านการตลาดด้วย เป็นระยะเวลา 12 ปี
ในขณะนั้นมีเอกชน 4 รายยื่นข้อเสนอคือ 1.บริษัท อีพีซี โซลูชั่น จำกัด โดยจับคู่กับบริษัทลูเซ่นส์
เทคโนโลยี จำกัด 2.บริษัท อคิวเม้นท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท ZTE 3.บริษัท เรียลไทม์
จำกัด ร่วมกับนอร์เทล และ 4.บริษัท สยาม เอ็มซีที เทเลคอม จำกัด ร่วมกับ บริษัท
อีริคสัน
โดยเงื่อนไขเบื้องต้นในการติดตั้งเครือข่าย ระยะแรก ต้องติดตั้งให้ได้ 1,000
สถานี โดยแบ่ง การติดตั้งเป็น 3 ระยะ ใช้เวลาภายใน 3 ปี คือ ระยะแรกต้องติดตั้งให้ได้
600 สถานี ระยะที่ 2 ต้องติดตั้งให้ได้ 200 สถานี และระยะที่ 3 ติดตั้งอีก 200
สถานี
ภายหลังการเปิดซองราคา ปรากฏว่าเรียลไทม์ บริษัทในกลุ่มยูคอม และนอร์เทล เป็น
ผู้ชนะการประมูล ด้วยการเสนอราคา 3.2 หมื่นล้านบาท โดยที่เงื่อนไขหน้าที่และขอบเขตของผู้ชนะตามทีโออาร์
คือ ผู้ชนะจะต้องติดตั้งทั้งเครือข่าย และทำการตลาด ภายใต้เป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละปี
ซึ่งหากทำไม่ได้ตามกำหนด บริษัทที่ทำการตลาดจะต้องรับภาระค่าเช่าแทน กสท ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวถูกผลักให้ผู้ประมูลทำให้อัตราดอกเบี้ยของโครงการสูง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรียลไทม์กับนอร์เทลจะชนะประมูลแต่ไม่สามารถเซ็นสัญญาได้
เพราะน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
สั่งให้มีการทบทวน เนื่องจากมูลค่าโครงการที่สูง มากและไม่มั่นใจแนวทางการเช่าจากเอกชนจะเป็นทางเลือกที่ดี
นอกจากนี้ กรรมการบอร์ด กสท ยังเสนอ ให้ กสท ส่งโครงการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในประเด็นการใช้วิธีเช่าจากเอกชนว่าสามารถทำได้หรือไม่
รวมทั้ง เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมงานปี 2535 ซึ่งจำเป็นต้องผ่าน การพิจารณาจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภายหลังการตีความ ปรากฏว่าโครงการนี้เข้าข่ายเป็น การร่วมงานกับเอกชน จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนที่กำหนด
ซึ่งคาดว่าใช้เวลามากกว่า 1 ปี รวมทั้งกลุ่มที่ชนะประมูล ก็ปฏิเสธการยืนราคา ที่เสนอก่อนหน้านี้เท่ากับการประมูลครั้งนั้น
ต้อง ล้มโดยปริยาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า การจะเดินหน้าแบบเดิม คือเช่าและผ่านขั้นตอนพิจารณามากกว่า
1 ปีคง ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเพราะใช้เวลามากไม่ทันกับการ แข่งขันในตลาด นอกจากนี้หากให้ความเสี่ยงอยู่
ที่เอกชนและมีระยะเวลาการเช่านานก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าราคาใหม่จะดีกว่าเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่ประเด็นปัญหามากมาย
การซื้อเครือข่ายเองเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ตอนนี้ รวมทั้งยังสามารถใช้ความร่วมมือกับเครือ
ข่ายฮัทช์ในกรุงเทพฯและภาคกลางในการทำตลาด กับกลุ่มเป้าหมายจังหวัดใหญ่ในการขยาย
เครือข่ายซีดีเอ็มเอในภูมิภาคได้ ซึ่งเป็นตลาดที่มี ความต้องการรออยู่แล้ว
นายทอม เครือโสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นอร์เทล เน็ทเวอร์คส (ประเทศไทย) ที่จะลาออกจากนอร์เทลภายในสิ้นปีนี้กล่าวว่า
การ ลาออกไม่ได้เป็นผลจากไม่สามารถเซ็นสัญญาโครงการซีดีเอ็มเอได้ แต่เขาและภรรยาต้องการไปดูแลกิจการโรงเรียน
Learning Avenue สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งเป็นของตัวเอง ในขณะที่ยังทำ หน้าที่เป็นที่ปรึกษาและพร้อมเป็น
Deal Maker ให้กับบริษัทในธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัดและมีประสบการณ์
เขากล่าวว่า การที่ไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ นั้นเป็นเพราะทีโออาร์ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงสูง
มาก ส่งผลถึงอัตราดอกเบี้ยซึ่งทำให้มูลค่าโครง การสูงตามไปด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานอร์เทลเคย
เสนอวิธีการให้ กสท ซื้ออุปกรณ์จากนอร์เทลโดย ตรง โดยที่นอร์เทลพร้อมหาแหล่งเงินกู้
(ซัปพลายเออร์ เครดิต) ให้
วิธีที่เสนอตอนนั้นมี 2 แบบคือ แบบแรกใช้เงินเพียง 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับหัวเมือง
ใหญ่ๆไม่กี่เมือง ที่ตลาดมีความต้องการ เนื่องจาก ซีดีเอ็มเอมีจุดแข็งในเรื่องการสื่อสารข้อมูลความ
เร็วสูง ไม่จำเป็นต้องรีบติดตั้งในทุกจังหวัด และแบบที่ 2 ที่ใช้เงินประมาณ 200
ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือ 8,000 ล้านบาท สำหรับทั่วประเทศ ด้วยจำนวนสถานีฐาน 1,000
แห่งติดตั้งแล้ว เสร็จในเวลา 9 เดือน
เขาย้ำว่าหากไม่รีบเดินหน้าโครงการซีดีเอ็มเอ ก็เหมือนกับจะทำให้เทคโนโลยีนี้ตายไปจากตลาดประเทศไทย
ทั้งๆที่เป็น เทคโนโลยีที่ดี และมีศักยภาพสูง เนื่องจากข้อจำกัดการทำตลาด ของฮัทช์ที่อยู่เฉพาะในกรุงเทพฯกับภาคกลาง