เขาถือเป็นรัฐมนตรีคนใหม่ ของสังคมไทยอย่างแท้จริง ในประวัติศาสตร์กระทรวงการคลัง
ซึ่งถือเป็นกระทรวงสำคัญนั้น มีรัฐมนตรีมานับสิบๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนแครต
นักการเมือง และคนนอก ของพรรคการเมืองนั้น ล้วนมีภูมิหลังและบุคลิก แตกต่างจากรัฐมนตรีใหม่คนนี้
เขาเป็นลูกคนไทยเชื้อสายจีน ที่ถูกเลี้ยงแบบจีนอย่างเข้มข้น บางคนบอกว่าสำเนียงพูดยังสะท้อนภูมิหลังเช่นนั้นด้วย
บรรพบุรุษเป็นพ่อค้าธรรมดา ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวในยุคก่อนและหลังสงครามโลกเหมือนคนอื่นๆ
เขาเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงสังคม ไทยยุคนั้นเต็มไปด้วยผู้มีรากฐาน
ไม่ว่ากลุ่มทุน หรือตระกูลสังคมชั้นสูง มันเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ เขา ใช้เวลาเพียง
10 ปีเศษ ก้าวจากอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมดาๆ ขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีคลังได้
รัฐมนตรีคลังของไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีอยู่ 2 ประเภท
หนึ่ง- เป็นเทคโนเครต ที่มีความรู้ทางวิชาการ อยู่ในระบบราชการยาวนาน โดยเฉพาะมีบารมีในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายด้านเศรษฐกิจ
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจึงมีเสน่ห์อย่างมาก ทำให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ใช้พวกเขาทำงานในหน้าที่สำคัญ และเกรงอกเกรงใจพอประมาณ
รัฐมนตรีคลังกลุ่มนี้ มักจะประสบความสำเร็จอย่างดีในภาวะที่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจอยู่อย่างจำกัด
ในขณะที่ข้าราชการในกระบวนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ และการคลัง มีความเข้มแข็งมากกว่าปัจจุบัน
บางคนอ้างอิงความสำเร็จถึงยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็คือ ยุคนั้น ซึ่งผ่านไปแล้ว
สอง- นักการเมืองมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเข้ามาจัดจังหวะในช่วงระบบการเมือง
ไม่สามารถ ประนีประนอมกันได้ ที่จะยอมให้คนนอกเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นช่วงสั้นชั่วคราว
พวกเขาเข้ามาเพื่อทำให้ระบบราชการดำเนินไปอย่างเหมาะสม โดยไม่เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
เช่น ยุค รัฐมนตรีคลัง ที่ชื่อ ประมวล สภาวสุ และบรรหาร ศิลปอาชา
อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 2-3 คน ที่อยู่นอกเหนือเกณฑ์นี้ ซึ่งมีแรงบีบคั้นมาจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจระดับโลกและของไทย
จำเป็นต้องมีคนที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจเข้มข้น มากกว่ายุคใดๆ
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์, วีรพงษ์ รามางกูร และ ทนง พิทยะ
ธารินทร์ มาจากกลุ่มธุรกิจที่มีรากฐาน ดั้งเดิม ภูมิหลังของเขาถือว่าอยู่ในสังคมวงใน
ชั้นสูง กลุ่มธุรกิจเก่า เขาถือเป็นนักบริหาร ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์
เขามีความมั่นใจใน สังกัดของมืออาชีพคนรุ่นใหม่ รุ่นที่มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงหลังวิกฤติการณ์น้ำมัน
ซึ่งเป็นนักเรียนนอกที่ได้รับโอกาสอย่างดี เมื่อเขาเข้าสู่ธนาคาร ธุรกิจแกนกลางและเป็นสังคมภูมิฐานของไทยต่อเนื่อง
ก็กลายเป็น กลุ่มคนพิเศษ น่าเลื่อมใสของสังคมธุรกิจไทย
วีรพงษ์ รามางกูร แม้จะเป็นอาจารย์มายาวนาน แต่เขาก็อยู่ในอำนาจในยุคที่มั่นคง
ในฐานะที่ปรึกษาเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลในรัฐบาลเปรม แม้เขาจะเป็นเด็กบ้านนอก
แต่การที่เขาเข้าไปชุบตัวและเรียนเมืองนอก อยู่ในกลุ่มบุคคลที่ทรงอิทธิพลหลังวิกฤติการณ์
น้ำมันของไทยเช่นเดียวกัน ความสำเร็จและการได้รับการยกย่องอย่างสูงมาแล้ว
อาจจะมีส่วนทำให้เขามีผลงานในฐานะรัฐมนตรีคลัง ไม่เด่นชัด หรืออาจจะเป็นช่วงสั้นเกินไป
ก็แล้ว แต่จะมอง
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีส่วนคล้ายกับทนง พิทยะ มากที่สุด แต่แท้จริงไม่ใช่
เขามาจากรากฐานสังคมเช่นเดียวกัน ประสบการณ์อันหลากหลายของเขาทำให้มีโอกาส
ก้าวกระโดดในอาชีพ จากอาจารย์มหาวิทยาลัยสู่ประสบการณ์ของภาคธุรกิจ
ทนง พิทยะ รับราชการเป็นอาจารย์ 4 ปี ในคณะบริหารธุรกิจ ที่นิด้า ในช่วงที่สมคิดกำลังเรียน
MBA ที่นั่นในฐานะศิษย์ จากนั้นก็ทำงานด้านวางแผน และการค้าต่างประเทศ กับกลุ่มน้ำตาลมิตรผล
ซึ่งกำลังเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมไทย ทั้งที่เกี่ยวกับการตลาดโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการเมืองอย่างแนบแน่น อีก 4 ปีถัดมา
เขาก็หายไปจากเมืองไทยระยะหนึ่ง ไปทำงานที่ธนาคารโลก ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอย่างมากในการให้สินเชื่อกับประเทศที่กำลังพัฒนา
ในยุคก้าวกระโดดของธนาคารทหารไทย เขาก็เข้าร่วมงานด้วยในปี 2528 ประสบการณ์
ช่วง 5 ปีแรก ถือว่ามีค่ากับเขามาก ได้ทำงานสำคัญมากมาย ซึ่งถือเป็นช่วงที่เขาได้รู้จักสนิทสนมกับกลุ่มผู้ประกอบการยุคใหม่ที่กำลังก่อตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา
โดยเฉพาะกลุ่มสื่อสาร และกลุ่มนี้เองที่มีอิทธิพลอย่างมากในเวลาต่อมา
ทนง ออกไปหาประสบการณ์ และได้เห็นความรุ่งโรจน์โชติช่วง กลุ่มสื่อสารกับตลาดทุน
ไทยซึ่งถือเป็นยุคดาวรุ่ง ในฐานะที่ทำงานวางแผนการเงินให้กลุ่มชินวัตร ของทักษิณ
ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับมาทำงานในยุคเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหา และประสานกับกลุ่มผู้ถือหุ้น
ซึ่งทั้งดำรงอิทธิพลทางการเมืองและมุ่งธุรกิจมากขึ้นในช่วง 5 ปี ช่วงที่สองที่ทหารไทยอีก
ใน ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
ช่วงเวลาเพียงประมาณ 5 ปีที่ทนง พิทยะ เกิดก่อนสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และช่วงที่ทนงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังก่อนสมคิด
4 ปีเป็นช่วงของสังคมเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงอย่างรากฐานมากมาย อย่างไม่น่าเชื่อ
ทำให้ประสบการณ์ของเขาแตกต่างกัน และมีบทบาท แตกต่างกันอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้
NEW COMPETITION (2528)
การเดินทางกลับจากการศึกษาระดับปริญญาเอกของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาพร้อมๆ
กับงานสำคัญ การเขียนหนังสือร่วมกับ Philip Kotler อาจารย์วิชาการตลาดระดับโลกในฐานะ
อาจารย์ของเขาที่ Kellogg Graduate School of Management นับเป็นช่วงจังหวะชีวิตที่ดีที่สุดช่วงหนึ่ง
และถือเป็นบันไดขั้นแรกที่สำคัญ
ในช่วงที่ธุรกิจกำลังปรับตัวครั้งสำคัญหลังจากผ่านวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้เล็กน้อย
การปรับตัวที่สำคัญ ก็คือ การยอมรับฝีมือของมืออาชีพที่มีความรู้การจัดการสมัยใหม่
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เอง ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ในปี
2527 หลังจากแสดงฝีมือในการจัดระบบบริหารธนาคารใหม่ พร้อมๆ กับการแก้ไขหนี้ในระบบ
เก่าของเครือซิเมนต์ไทย ภายใต้การบริหารด้วยการจัดการสมัยใหม่ก็เปิดฉากดำเนินธุรกิจ
ด้วย การเข้าเทกโอเวอร์กิจการต่างๆ อย่างมากมายโดยเฉพาะปี 2527
ไม่เพียงเท่านั้น โอกาสของคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้มากขึ้นในแวดวงธุรกิจไทยครั้งใหญ่อีก
ครั้งหนึ่ง เริ่มจากปิ่น จักกะพาก ที่เริ่มต้นสร้างเอกธนกิจอย่างจริงจังในปี
2529 ทักษิณ ชินวัตร ก็เริ่มต้นตั้งกิจการค้าคอมพิวเตอร์ ในปี 2527 และหลังจากนั้น
5-6 ปีก็ได้ค้นพบและแสวงหาสัมปทานแบบใหม่จากรัฐสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ
เพจเจอร์ เคเบิลทีวี ฯลฯ และต่อ เนื่องมาถึงการเติบโตของตลาดห้น
พร้อมกับการปรับตัวของธุรกิจเก่าและเปิดตัวของโอกาสใหม่ในช่วงนี้ กลุ่ม
สหพัฒนพิบูลกำลังเติบโตในช่วงท้ายของนาย ห้างเทียม ภายใต้การบริหารการตลาดเชิงรุก
ของการค้าสมัยใหม่ โดยเฉพาะบริษัทไอซีซี ของบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา บุตรชายคนโต
ตั้งแต่ได้สิทธิ์จำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมระดับ โลกอย่างมากมายในช่วงปี 2526-2531
รวมทั้งการลงทุนตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย การระดมทุนผ่านตลาดหุ้นจำเป็นมาก
ไอซีซี เข้าตลาดหุ้นในปี 2530 และจากนั้นบริษัทใน กลุ่มก็เข้าตลาดหุ้นอีกหลายกิจการ
แม้แต่ซีพีที่เริ่มขยายตัวลงทุนในระดับ ภูมิภาคในธุรกิจเดิม และเริ่มเข้าตลาดหุ้นไทย
ตั้งแต่ปี 2527 จากนั้นมาอีกราว 3-4 ปี ก็เริ่มธุรกิจใหม่อย่างหลากหลายที่สัมพันธ์กับตลาด
ทุน
ซึ่งเป็นช่วงสำคัญอีกช่วงหนึ่งของ สังคมธุรกิจไทย ดูจะมีรากฐานมากขึ้น เมื่อการศึกษาด้านการจัดการสมัยใหม่เฟื่องฟูขึ้น
โดยเฉพาะ MBA รวมทั้งการสนับสนุนจากกระแสตะวันตก
สมคิดจึงกลายเป็นบุคคลที่น่าสนใจ เพราะเขาเป็นนักวิชาการที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับ
"ความสุกงอม" ของสังคม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและการแข่งขันใหม่ของธุรกิจไทย
ความต่อเนื่องจากนั้น เขาพยายามสร้างและรักษาบทบาทของความเป็น "อาจารย์"
ด้านบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และกว้างขวางมากขึ้น พร้อมกับการเขียนบทความด้านการจัดการอยู่เสมอ
โดยเฉพาะ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ธุรกิจที่กำลังเติบโตในขณะนั้น สิ่งที่ได้มาอีกประการหนึ่งจะโดยตั้ง
ใจหรือไม่ก็ตาม เขารู้จักวิธี deal กับสื่อไทย ซึ่งต้องใช้ "ความคิดเชิงกลยุทธ์"
มากทีเดียว
Strategist
การเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงนอกจากตำรา เป็น "โมเดล" ของอาจารย์บริหารธุรกิจ
ในโลกตะวันตก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นคนแรกที่เข้าถึงโมเดลนี้
อย่างลึก มิใช่ "ที่ปรึกษาอย่างฉาบฉวย" ที่เป็นอยู่ทั่วไป
สังเวียน อินทรวิชัย และวิโรจน์ นวลแข คือ บุคคลสองคนที่มีส่วนสำคัญช่วยสมคิด
พัฒนาประสบการณ์ขึ้นไปอีกระดับ
สมคิด เริ่มสอนวิชา Business policy ในระดับ MBA ด้วยการชักนำของสังเวียน
อินทรวิชัย ซึ่งในขณะนั้นมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ดูแล MBA Executive ของธรรมศาสตร์
และกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ด้วย ส่วนวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
กำลัง จัดตั้งหน่วยงานวิเคราะห์ตลาดทุนขึ้น จึงชวนสมคิดไปร่วมทำงานในฐานะที่ปรึกษาคนสำคัญ
เป็นที่รู้กันว่า สังเวียน-วิโรจน์ ก็คือ แกนกลุ่มคนที่มีบทบาทอย่างสูงในตลาดหุ้นช่วงนั้น
ในฐานะอนุกรรมการรับหลักทรัพย์ ในช่วงตลาดหุ้นไทยเริ่มผงกขึ้นและเติบโตจากนั้นช่วงใหญ่
หน่วยงานวิจัยหลักทรัพย์ของภัทรฯ เป็นหน่วยงานสำคัญ การพัฒนาระบบข้อมูลและ
วิจัยหลักทรัพย์ จากจุดนั้นทำให้สมคิดกลายเป็นคนที่เข้าใจภาพธุรกิจเป็นของจริง
เขามีข้อมูล ของบริษัททั้งหลายอยู่ในสมอง กลายเป็นสินทรัพย์ที่คนอื่นไม่มี
รวมทั้งทำให้ความเป็นนักวิชา การด้านกลยุทธ์ที่ดี พร้อมๆ กับโอกาสในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจมีมากขึ้นด้วย
สมคิดกลายเป็นคนที่มีความพร้อมในสองมิติ ในยุคที่กิจการต่างๆ กำลังจะเข้าตลาด
หุ้นในยุคหุ้นบูมและสร้างความร่ำรวยให้กับเจ้าของกิจการทันตาเห็น
หนึ่ง- นักกลยุทธ์ วางแผนสร้างภาพของกิจการให้ดูมีสาระในการชักจูงนักลงทุน
สอง- เขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีอำนาจในการอนุญาตบริษัทเข้าตลาดหุ้น
และนี่ก็คือ จุดเปลี่ยนที่ผสมผสานระหว่างความคิดเชิงกลยุทธ์เข้ากับสายสัมพันธ์ที่ยังใช้ได้ต่อเนื่องอย่างกลมกลืนจนกลายเป็น
"สินทรัพย์" ที่มีค่าในตัวเอง จากนั้นไม่นานดูเหมือน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
จะเข้าใจและให้ความสำคัญในเรื่อง "สายสัมพันธ์" มากขึ้นจากนั้นก็เริ่มพัฒนาการเรียนรู้ในการคบคน
รวมทั้งการใช้คนด้วย ซึ่งถือเป็นขั้นสูงต่อจากความเข้าใจในเรื่อง "สายสัมพันธ์"
อย่างพื้นๆ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับเมืองไทย "Super connection" ก็คือ
การเข้าสู่การเมืองจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเชื่อกันว่าระหว่างที่เขาเป็นที่ปรึกษากิจการต่างๆ
ย่อมมีบทเรียนความสัมพันธ์กับการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
new NETWORK
ทนง พิทยะ ปักหลักอยู่กับงานธนาคารบุคลิกพิเศษนานทีเดียว (ธนาคารที่ทหารเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)
ในช่วงที่ธนาคารไทยมีอำนาจมากเหลือในสังคมไทย ขณะที่สมคิดไม่มีโอกาสเช่นนั้นโดยตรง
หากมีประสบการณ์ที่กว้างขึ้น จากการเป็นที่ปรึกษาให้พี่ชาย (สม จาตุศรีพิทักษ์
ผู้จัดการใหญ่ธนาคารนครหลวงไทย ในช่วงนั้น) ตลอดจนไฟแนนซ์บางแห่ง (นคร หลวงเครดิต
และภัทรธนกิจ) ทำให้สมคิดเข้า ใจยุทธศาสตร์ของสถาบันการเงินไทยได้เช่น กัน
เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้ฝังตัวอยู่ในอำนาจของ สถาบันหลักนั้น ซึ่งอาจจะทำให้ความเข้าใจธุรกิจในระดับกว้างแคบไป
นอกจากนั้นการที่เข้าไปเป็นกรรมการในกิจการที่กำลังเคลื่อน ตัวอย่างรวดเร็ว
ในการระดมเงินและโอกาส เข้าไปอยู่ในกิจการกลุ่มใหม่ ด้านดีที่มีแรงบันดาลใจอย่างสูงของผู้ประกอบการใหม่
ขณะเดียวกันก็เข้าใจด้านมืด ในการแสวงหา โอกาสในหลากหลายรูปแบบ แม้จะไม่ถูกต้อง
นักก็ตาม
ยิ่งไปกว่านั้นเขาได้เข้าไปสัมพันธ์กับธุรกิจดั้งเดิมที่กำลังปรับตัวเข้ากับโลกยุคใหม่
โดยเฉพาะกลุ่มสหพัฒนฯ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จึงเกิดมากับการเติบโตและโอกาสของกลุ่มธุรกิจกลุ่มใหม่
เป็นฐาน ความคิด ปรัชญา และยุทธศาสตร์ที่กลมกลืนอย่างยิ่ง เหมือนอย่างธารินทร์
นิมมานเหมินท์ ยืนอยู่กับกลุ่มรากฐานและดั้งเดิมอย่างเข้นข้น ซึ่งแต่ละกลุ่มมีแรงบันดาล
ใจแตกต่างกันอย่างชัดเจน
‘ กลุ่มเดิมปกป้องอย่างเข้มข้น ในพรมแดน และฐานะของตนเอง ท่ามกลาง
กลุ่มใหม่ที่เติบโตขึ้นอย่างหลากหลาย
‘ กลุ่มใหม่แทรกตัวมาจากโอกาสใหม่ๆ ระยะแรกแม้จะคุกคามโดยตรงต่อกลุ่ม เก่า
แต่พวกเขามีความพยายามเชื่อมและประสานกลุ่มต่างๆ ที่กว้างขวางมากขึ้น
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรากฐานของสังคมไทย
"เป็นครั้งแรกที่ความคิดรวบยอดของ พรรคการเมืองไทย เป็นภาพสะท้อนพลังของ
อิทธิพลสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอิทธิพลทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวแทนของพลังใหม่ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นั่นคือ การก่อตัวเป็นระบบคิดของผู้นำพรรคการเมือง พรรคที่กำลังมีบทบาทสำคัญในขณะนี้-พรรคไทยรักไทย
พรรคไทยรักไทย มิได้เป็นเพียงภาพสะท้อนของ "ระบบคิด" ของทักษิณ
ชินวัตรเท่านั้น
กลุ่มชินคอร์ป เกิดและเติบโตมาเพียง 1 ทศวรรษเท่านั้น ภายใต้การมองโอกาสที่เกิดขึ้น
จากการเรียนรู้ โมเดลของการพัฒนาจากประเทศตะวันตก โดยที่ทักษิณ ชินวัตร ได้ศึกษาและใช้ความรู้จากตะวันตกมาประยุกต์เข้ากับสังคมไทยอย่างถูกจังหวะเวลา
และธุรกิจ ทำให้กลุ่มชินคอร์ปเข้มแข็ง และเป็นผู้นำในธุรกิจสื่อสารในเวลารวดเร็ว
โมเดลของทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นโมเดลคลาสสิกของกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ไม่ว่า กลุ่มจัสมิน ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นปาร์ตี้ลิสต์อันดับต้นๆ ของพรรคไทยรักไทย
(อดิศัย โพธารามิก) รวม ไปจนถึงกลุ่มซีพีที่มีบุคลิกพิเศษพอสมควร
กลุ่มซีพีเติบโตมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เผอิญมีผู้นำคนหนุ่มอย่างธนินท์
เจียรวนนท์ มองโอกาสเป็นและถือเป็นนักธุรกิจไทยคนหนึ่งที่มีบทเรียนอย่างมากมายและสมบูรณ์
ในการเรียนรู้จากฝรั่งมาประยุกต์เข้ากับสังคมไทย ทั้งขยายโอกาสธุรกิจเข้าสู่ระดับภูมิภาคสำเร็จเป็นรายแรกๆ
ของธุรกิจไทย
การเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ว่าด้วยโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ นับว่าเป็นการปรับ
ตัวเข้ากับ new economy อย่างทันการและได้ผลมากทีเดียว
ทั้งสามกลุ่ม ก็คือ ธุรกิจที่ซ้อนทับกันและแข่งขันกันอย่างหนักในสังคมไทย
ในช่วงเศรษฐกิจเติบโตผิดธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมา
แนวความคิดหยาบๆ ที่มองว่า พวกเขากำลังเข้ามาครอบงำหรือผูกขาดธุรกิจใน new
economy ในประเทศไทยนั้น เป็นการมองที่สั้น และคับแคบ เป็นความคิดดั้งเดิมที่สังคมธุรกิจ
ไทยอยู่ในกระดองเต่าอันเข้มแข็งก่อนหน้านี้
ความเป็นจริง ก็คือ ตลาดเมืองไทยแคบเกินไปที่พวกเขาจะมาจัดระเบียบและปรองดอง
ผลประโยชน์กับโครงสร้างธุรกิจของพวกเขาที่ใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดไทยโดยเฉพาะธุรกิจสื่อสารและไอที
ได้ถูกแทรกเข้ามาของธุรกิจระดับโลกและระดับภูมิภาคมากแล้ว ทั้งๆ ที่การเปิดเสรีตามกติกาของโลกตะวันตกจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม
โดยเฉพาะการเข้ามาในช่วงที่พวกเขาอ่อนแอและมีปัญหาหนี้สิน จากวิกฤติการณ์สังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา