บีโอไอเปิดแผนดึงเม็ดเงินลงทุนปี 2547 ด้วยการเน้น 5 กลุ่มประเทศเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่องทั้ง
จีน ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกาเหนือ และอาเซียน โดยมีแผนตั้งกลุ่มภารกิจขึ้นมาโดยเฉพาะ
พร้อมร่วมมือกับผู้ว่า CEO อาศัยสำนักงาน ภูมิภาค 7 แห่งเชื่อม SMEs สลงทุน หวังสนองนโยบาย
"พินิจ" วางเป้าลงทุนปีหน้าสูงกว่า 2.2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของ
บีโอไอในปี 2547 มุ่งที่จะชักจูงการ ลงทุนยัง 5 กลุ่มประเทศเป้าหมายได้แก่ จีน
ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกาเหนือ (อเมริกา แคนาดา) และอาเซียน โดยมีแผนจัดตั้งกลุ่มภารกิจหรือ
Country Desk and Region Desk เพื่อดูแลรับผิดชอบการลงทุน จากกลุ่มประเทศเป้าหมายดังกล่าวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประ-
สิทธิภาพ ซึ่งเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI จะยังคงเป็นแผนสำคัญที่จะมีส่วนผลักดันการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทย
ขณะเดียวกันภายในประเทศนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาคก็จะดำเนินการร่วม
มือกับผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ว่า CEO โดยอาศัยสำนักงานภูมิภาคของบีโอไอที่มีอยู่
7 แห่งในจังหวัด เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี สงขลา
และชลบุรี เป็นตัวเชื่อมในการสนับ สนุนกิจการวิสาหกิจขนาดกลาง และ ย่อม(SMEs) ในกลุ่มจังหวัดต่างๆ
ให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับการส่งเสริม SMEsบีโอไอจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำความคิดสร้างสรรค์ (Design
and Creative) มาผลิตสินค้าให้ มีมูลค่าเพิ่ม และเกิดการสร้างความ เชื่อมโยงในการผลิตและการบริการ
แบบครบวงจร อาทิ การวิจัยและพัฒนา การขนส่ง การผลิตวัสดุหีบห่อที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนกิจการ SMEs ที่จะสามารถผลิตชิ้นส่วน เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
"การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 10 เดือนแรกของปี 2546 รายใหญ่สุดที่เข้ามาก็ยังคงเป็นญี่ปุ่น
ยุโรป ไต้หวัน และอเมริกา โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์อยู่เสมอ ซึ่งการที่ตั้งเป้าหมาย
5 กลุ่มประเทศปีหน้าก็มองจากความเป็นจริง เนื่องจากเชื่อว่ายังมีการขยายการลงทุนจากกลุ่มประเทศ
เหล่านี้มาอีก จากการสอบถามเบื้องต้น" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานดังกล่าวเพื่อที่จะเร่งผลักดันการเพิ่มการลงทุนในประเทศให้สูงขึ้นและ
เป็นไปตามเป้าหมายที่ล่าสุดนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายจะปรับเป้าลงทุนปี
2547 ใหม่ให้เพิ่ม ขึ้นจากเดิมกำหนดไว้ที่ 220,000 ล้านบาท เนื่องจากขณะนี้มียอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม
มากขึ้น โดยคาดว่าสิ้นปี 2546 มูลค่าลงทุนจะเพิ่มเป็น 300,000 ล้านบาท ซึ่งทะลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่
200,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวยังได้กล่าวถึงนโยบาย ที่รมว.อุตสาหกรรมได้พิจารณาให้บีโอไอมาศึกษาให้กลายมาเป็นองค์กรในกำกับกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือไม่ เพื่อความอิสระ และคล่องตัวในการทำงาน ลักษณะเดียวกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) หรืออาจ จะปรับเพิ่มเงินเดือนให้นั้น เป็นเรื่อง ที่น่ายินดีเนื่องจากหลังการปฏิรูปราชการ
บีโอไอถูกลดบทบาทเป็น หน่วยงานราชการ ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาขั้นซี
หรือตำแหน่งราชการที่จะต้องถูกปรับลดลงไปอย่างมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ท้อแท้และสมองไหล
ในช่วงที่ผ่านมาได้ลาออกไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) และเอกชนบ้างแล้ว และหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นปัญหาที่แก้ ไม่ตก
นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประ- ธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท). กล่าวว่า
1-2 ปีข้างหน้า คาดว่ายอดการลงทุนของภาคเอกชน คงจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่อง
จากในช่วงวิกฤติไม่มีการลงทุนขยาย กำลังการผลิตเพิ่ม เพราะใช้กำลังการ ผลิตเดิมที่มีอยู่เพียงแค่
50% แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวทำให้ผู้ประกอบ การวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิต เพิ่ม
เพื่อรองรับกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม บีโอไอจะต้องปรับแผนการดึงดูดการลงทุนใหม่
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะยุทธ-ศาสตร์ผู้ว่าฯซีอีโอที่จะช่วยกระจาย
การลงทุนไปทั่วทุกภูมิภาคของประ- เทศจากปัจจุบันมีการลงทุนกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ
สมุทรปรา-การ ระยอง ชลบุรี