ไฮเนเก้นซุ่มพัฒนา ระบบอีซี่ดราฟท์ลุยตลาดไทย ทุ่ม 800 ล้านบาทแจ้งเกิดตลาดเบียร์สด
เร่งเดินเครื่องขยายช่องทางจำหน่ายร้าน ค้าอาหารรายย่อยระดับบนซึ่งมีกว่า 300,000
แห่ง ประเดิมสิ้นปีกวาด 200 แห่ง แย้มสูตรเด็ดอีซี่ดราฟท์เก็บความสดนานถึง 21 วัน
มั่นใจยอดขาย เบียร์สดพุ่ง 10% ประกาศทุ่มงบตลาด 650 ล้านบาท สกัดอาซาฮี มิทไวด้า
คลอสเตอร์ ล่าสุดทุ่ม 1,000 ล้านบาท เพิ่มกำลังการผลิตรองรับเบียร์ยี่ห้อใหม่ เล็งออกสู่ตลาดปีหน้าหลังโรงงาน
เสร็จ อวดยอดสิ้นปีกวาดแล้ว 6,600 ล้านบาท ปีหน้ารายได้พุ่ง 7,200 ล้าน บาท
นายเจฟฟรี่ย์ คิมเบิล ผู้อำนวยการฝ่ายการค้า บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรี่
จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ทุ่มงบลงทุน
20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 800 ล้าน บาทเพื่อพัฒนาอีซี่ ดราฟท์ ระบบการเปิดจ่ายเบียร์สดแบบใหม่ที่สามารถรักษาความสดได้นานถึง
21 วัน จากปกติเบียร์สดจะเก็บไว้เพียง 3 วันเท่า นั้น โดยบริษัทจะนำระบบดังกล่าวมารุกตลาดเบียร์สดในประเทศไทยมากขึ้น
เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบลงทุนในไทยกว่า 40 ล้านบาท
แผนการทำตลาดจะเน้นขยายระบบอีซี่ดราฟท์ไปยังช่องทางจำหน่าย ร้านค้า รายย่อยที่จับกลุ่มลูกค้าระดับ
บนได้แก่ ร้านอาหารเป็นหลัก เนื่องจาก เป็นช่องทางจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดคือประมาณ
30,000-40,000 แห่ง ขณะที่โมเดิร์นเทรด มี 4,000-5,000 แห่ง และร้านค้าทั่วไป 200,000-300,000
แห่ง ทั้งนี้คาดว่า ในสิ้นปีบริษัทจะนำระบบดังกล่าวขยายไปยังร้านอาหารรายย่อยถึง
200 แห่ง ส่วนสิ้นปี หน้าตั้งเป้าเพิ่มเป็น 150-200 แห่ง
"เหตุผลที่บริษัทนำระบบอีซี่ ดราฟท์ เข้ามาทำตลาดเบียร์สดเพื่อต้องการขยายช่องทางการจำหน่ายในร้านค้ารายย่อยมากขึ้น
เพราะปัจจุบัน ร้านค้ารายย่อยไม่สามารถจัดสต็อกเบียร์สดไฮเนเก้นไว้จำหน่ายได้ เนื่อง
จากมียอดการดื่มไม่สูงพอที่จะรองรับ ระบบจ่ายเบียร์สดระดับพรีเมียมซึ่งมักบรรจุในถังขนาดปริมาตร
30 ลิตร และไม่สามารถขายหมดได้ภายใน 3 วันหลังจากที่มีการเปิดถังเบียร์สด ขณะที่ระบบอีซี่
ดราฟท์ ถังจะมีความ จุเพียง 20 ลิตร เท่านั้น และยังเก็บได้ นานถึง21วัน เรามั่นใจว่าบุกตลาดเบียร์
สดในครั้งนี้จะทำให้ยอดขายเบียร์สดเพิ่มขึ้นจาก 7-8% เป็น 9-10%"
นายคิมเบิล กล่าวต่อว่า ขณะนี้ไฮเนเก้นได้นำระบบอีซี่ดราฟท์มาใช้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น
ซึ่งประเทศไทยถือเป็นแห่งที่สองในเอเชียที่นำระบบดังกล่าวมาใช้ โดยมีสิงคโปร์เป็น
ประเทศแรก เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ทำยอดขายสูงที่สุดในเอเชีย ประกอบกับรองรับภาวะการแข่งขันตลาดเบียร์ระดับพรีเมียมซึ่งคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น
หลังจากที่เบียร์อาซาฮีซึ่งเป็นระดับพรีเมียมมี นโยบายในการทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น
นอกจากนั้นเบียร์ยี่ห้อซานมิเกล จากฟิลิปปินส์กำลังจะสร้างโรงงานในไทยและมีเป้าหมายที่จะรุกตลาดเบียร์
พรีเมียมเช่นกัน และรวมถึงเบียร์คลอสเตอร์ และมิทไวด้าอีกที่เริ่มหันมาทำตลาดอย่างจริงจังมากขึ้น
ดังนั้น ทำให้ในปีหน้านี้ บริษัทได้วางแผนเพิ่ม งบในการตลาดมากขึ้นถึง 650 ล้านบาท
จากปกติบริษัทจะใช้งบเพียง 500-600 ล้านบาท เท่านั้น ซึ่งบริษัทจะเน้นการทำตลาดอย่างครบวงจร
ไม่ ว่าจะเป็นการทำโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงการจัดมิวสิก มาร์เกตติ้ง
สปอร์ตมาร์เกตติ้ง
ภาวะตลาดเบียร์ในช่วงปี 2544 และปี 2545 แทบไม่มีอัตราการเติบ โตเลย โดยมีมูลค่าประมาณ
61,000 ล้านบาท หรือประมาณ 1,210 ล้านลิตร ขณะที่ในปีนี้ตลาดเบียร์มีมูลค่าถึง
73,200 ล้านบาท หรือคิดในเชิงปริมาณ 1,450 ล้านลิตร สาเหตุที่ทำให้ตลาดเติบโตนั้น
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดย รวมในปีนี้ดีขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการ ดื่มของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปหันมาดื่มเบียร์ในระดับอีโคโนมี่แทนน้ำเหล้า
ขาวมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยทางด้านราคาถูก ในการดึงดูดใจ ทำให้ในปีนี้ตลาดเบียร์ อีโคโนมี่
ซึ่งมีมูลค่า 56,200 ล้านบาท มีการเติบโตถึง 25% โดยผู้นำตลาดคือ เบียร์ช้างครองส่วนแบ่ง
82% ลีโอ 12% อื่น 2% ขณะที่ภาวะตลาดเบียร์สแตน-ดาร์ดซึ่งมีมูลค่า 9,000 ล้านบาทในปีนี้อัตราการเติบโตคงที่
โดยปัจจุบันมีเบียร์สิงห์ยี่ห้อเดียวเป็นผู้ทำตลาด ส่วน ตลาดพรีเมียมซึ่งมีมูลค่า
8,000 ล้านบาท ในปีนี้เติบโต 6% โดยปัจจุบันมีเบียร์ไฮเนเก้นมีส่วนแบ่ง 80% คาร์ลสเบอร์ก
16%
สำหรับภาวะตลาดเบียร์ในปีหน้า จะมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 10 % หรือมีมูลค่าตลาด
80,500 ล้านบาท คิดในเชิงปริมาณ 1,595 ล้านลิตร โดยประ-มาณการว่า ตลาดเบียร์อีโคโนมี่จะเติบ
โต 12% ตลาดเบียร์สแตนดาร์ดเติบโต 3% และพรีเมียมเติบโต 7% อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการทำตลาดเบียร์ในปีหน้า
จะค่อนข้างลำบาก เนื่องจากรัฐบาลได้ ออกข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับช่วงเวลาใน การออกอากาศโฆษณาทางโทรทัศน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากในการทำตลาด โดยเฉพาะเบียร์พรีเมียม เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจะเติบโตได้ก็ด้วยคุณภาพที่สูงและด้วยการสนับ
สนุนด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นแตกต่างจากเบียร์ระดับอีโคโนมี่ ซึ่งสามารถเติบโตได้ด้วยการใช้กลยุทธ์
ด้านราคา
นายปัญญา ผ่องธัญญา ผู้จัด การทั่วไป บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด
เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทยังได้ทุ่มงบ 1,000 ล้านบาท เพื่อ รองรับแผนการทำตลาดเบียร์ยี่ห้อใหม่
อีก 2-3 แบรนด์ ซึ่งเบื้องต้นขณะนี้กำลังศึกษาตลาดว่าจะทำเบียร์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับไหน
จากปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตเบียร์ไฮเนเก้น 100% หรือประมาณ 100 ล้าน ลิตรต่อปี
และมียอดขาย 90 ล้านลิตร ต่อปี โดยจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 200 ล้านลิตร เพื่อรองรับยอดขายซึ่งคาดว่าจะถึง
200 ล้านลิตร ซึ่งคาดว่าโรงงานดังกล่าวจะเสร็จในต้นปีหน้านี้ ซึ่งขยายส่งออกต่างประเทศด้วยเริ่มแล้วที่มาเลเซีย
สำหรับผลประกอบการของบริษัท ในปีนี้มียอดขาย 6,600 ล้านบาท (รอบประจำบัญชีสิ้นสุดในวันที่
30 กันยายน 2546) เติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมียอดขาย 6,000 ล้านบาท
สำหรับในปีหน้าบริษัทตั้งเป้า เติบโต 10% หรือมียอดขาย 7,200 ล้าน บาท และเป็นผู้นำตลาดเบียร์พรีเมียม
ครองส่วนแบ่งตลาด 80%