Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤศจิกายน 2546
ชินส่วนอิเล็กฯซบขายตกขาดทุนFX             
 


   
search resources

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์, บมจ.
ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์, บมจ.
เคซีอี อีเลคโทรนิคส์, บมจ. - KCE
เค.อาร์.พรีซิชัน - KRP
แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์, บมจ.
เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์,บมจ.
ดราโก้ พีซีบี, บมจ.- DRACO
เดลต้า เอนเนอร์จี้ ซิสเต็มส์
เอสวีไอ, บมจ.
Electronic Components




กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาส 3 ปีนี้ผลงานทรุด อ้างความต้องการสินค้าคอมพิวเตอร์และเทเลคอมลดลง อีกทั้งยังขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FXX ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มีเพียง KCE DRACO และ KRP เท่านั้นที่โชว์ผลงานเยี่ยมสร้างกำไรสวนทางกลุ่ม

บริษัทแคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (CCET) ชี้แจงผลการดำเนินงานของ บริษัทสำหรับไตรมาสสามสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 ตามงบการเงินเปรียบเทียบกับไตรมาสสามปี 2545 ว่าบริษัทฯมีรายได้จากการขายของไตรมาสสามและเก้าเดือนแรกในปี 2546 เท่ากับ 6,899.47 ล้านบาท และ 19,585.33 ล้านบาทตามลำดับ

โดยมีอัตราลดลงประมาณร้อยละ 14.40 และร้อยละ 22.39 เมื่อ เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันและ เก้าเดือนแรกในปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ความต้องการอุปโภคสินค้าในกลุ่ม คอมพิวเตอร์และเทเลคอมลดลง

บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) (CIRKIT) ชี้แจงผลการดำเนินงานงวดนี้ว่า บริษัทฯ มีขาดทุน สุทธิ 206.20 ล้านบาท เทียบกับปี 2545 ไตรมาสเดียวกัน บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 23.81 ล้านบาท ซึ่ง ขาดทุนสุทธิสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 อยู่ 230.01 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือนในปี 2546 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 454.67 ล้านบาท เทียบกับปี 2545 บริษัทฯ มีขาดทุนสุทธิ 271.94 ล้านบาท ซึ่งขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 182.73 ล้านบาท

เนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยน (Forex Exchang :FX) ซึ่งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 124.33 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2545 ไตรมาสเดียวกัน บริษัทฯ มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 91.55 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเป็นปัญหาในเรื่องภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว รวมทั้งในปี 2546 ทางผู้สอบบัญชีได้มีการบันทึกดอกเบี้ย ในอัตรา ดอกเบี้ยผิดนัด

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) เปิดเผยผลดำเนินงานงวดนี้ว่ามีกำไรสุทธิลดลงคิดเป็นร้อยละ 71.73 โดยลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน คือลดจาก 1,106.61 ล้านบาท เหลือ 312.88 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดจาก 93 สตางค์ต่อหุ้นเหลือ 26 สตางค์ต่อหุ้น

เนื่องจาก บริษัทฯ ได้เข้าซื้อกิจการ บริษัทย่อย Delta Energy Systems DESŽตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ดังนั้น ในไตรมาสนี้งบการเงินรวมของบริษัทฯ จึงแสดงฐานะทางการเงินและการดำเนินงานที่มี DES เป็นส่วนประกอบ อยู่ ซึ่งในไตรมาสนี้ DES มีผลประกอบการขาดทุนคิดเป็นเงิน 536 ล้านบาท จึงมีผลทำให้งบ การเงินรวมของบริษัทฯ มีกำไรลดลงหากพิจารณา ผลประกอบการของบริษัทฯ ถ้าไม่รวมงบการเงินของ DES ในไตรมาสที่ 3 ปี 2546

บริษัท ฮานาไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) (HANA) มีผลกำไร จำนวน 184.313 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีผลกำไรเท่ากับ 282.922 ล้านบาท จะเห็นว่า ผลกำไรลดลงเท่ากับ 98.609 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการลดลงของยอดขายและอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์ microelectronics นอกจากนี้ บริษัทยังได้บันทึกรายการค่าภาษีของปีก่อนจากการประเมินของเจ้าพนักงานสรรพากรจำนวน 217.973 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ด้วย

บริษัท เอสวีไอ จำกัด(มหาชน) ผลการดำเนินงานของไตรมาส 3 ปี 2546 แสดงกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ยอดขายที่ลดลงร้อยละ 1 ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และกำไรขั้นต้นที่ลดลงร้อยละ 9

ผลจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมาก อย่างไรก็ดีค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิตสามารถควบคุมให้ลดลงได้ร้อยละ 16 และร้อยละ 5 ตาม ลำดับ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขายก็สามารถควบคุม ให้ลดลงได้ร้อยละ 27 เช่นเดียวกันกับดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงร้อยละ 87 เนื่องมาจากการชำระคืนเงินกู้ทั้งจำนวนก่อนกำหนด ทั้งนี้มีรายการขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้จำนวน 14.2 ล้านบาทและจำนวน 11.3 ล้านบาทตามลำดับ และมีกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้ 33.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 38 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกัน

3 บริษัทในกลุ่มสวนกระแส

บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2546 ว่าบริษัทและบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 92.701 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีกำไรสุทธิ 54.821 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.09

เนื่องจากบริษัทได้มียอดขายเพิ่มเนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตของบริษัทย่อย ประกอบกับการฟื้นตัวของความต้องการของตลาดโลก ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.65 ต้นทุนขายเมื่อเทียบเป็นร้อยละต่อยอดขายลดลงร้อยละ 1.47 เป็นผลจากการเพิ่มกำลังการผลิต นอกจากนั้นดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลง

บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) (DRACO) ชี้แจงผลการดำเนินงาน ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ว่ามีกำไรสุทธิเพิ่มจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มจาก 8.60 ล้านบาทเป็น 30.20 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มจาก 54 สตางค์ต่อหุ้นเป็น 1.89 บาทต่อหุ้น

ผลจากยอดขาย ในไตรมาสที่ 3/2546 บริษัทฯ มียอดขายแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าแบบสองด้าน คือ Double-sided Silver Through Hole เพิ่มมากขึ้นจากปี 2545 เนื่องจากแนวโน้มความต้องการของผลิตภัณฑ์นี้มีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนยอดขายของแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าแบบสองด้านนี้คิดเป็นร้อยละ 22.5 ของยอดขายแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้ารวม ซึ่งในไตรมาสที่ 3/2545 ยอดขายของแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภทนี้มีเพียง ร้อยละ 4.3 ของยอดขายแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้ารวม

อีกทั้งการที่บริษัทฯ ยังคงดำเนินโครงการการประหยัดต้นทุน (Cost saving project) อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 โดยในไตรมาสที่ 3/2546 บริษัทฯ มุ่งเน้นในด้านค่าใช้จ่ายในด้านการขายและบริหาร และบริษัทฯ ได้ชำระคืนเงินกู้ให้กับสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินต้นที่จะต้องจ่ายชำระคืนมีจำนวนลดลงจากไตรมาสที่ 3/2545 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของสถาบันการเงินในปี 2546 มีอัตราที่ต่ำลงจากปี 2545

นอกจากนี้ บริษัทฯ พยายามควบคุมปริมาณ สินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับการผลิตภายใน 2 สัปดาห์ ทำให้บริษัทฯ ลดการนำเข้าแผ่นเคลือบทองแดงจากต่างประเทศ และทำให้บริษัทฯ มีภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง ขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น

บริษัท เค อาร์ พรีซิชั่น จำกัด (มหาชน) (KRP) ชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของบริษัทว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 5.08 ล้านบาท ดีขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 157.45 ล้าน บาท ส่งผลให้จากที่ขาดทุนต่อหุ้นอยู่ 44 สตางค์กลับเป็นมีกำไรต่อหุ้น 1 สตางค์

จากรายได้จากการขายในไตรมาส 3 ปี 2546 เท่ากับจำนวนเงิน 696 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 254 ล้านบาทหรือร้อยละ 57 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากจำนวนหน่วยผลิตภัณฑ์ที่ขาย เพิ่มขึ้นจาก 12 ล้านชิ้นเป็น 24 ล้านชิ้นหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 89

ต้นทุนขายในไตรมาส 3 ปี 2546 เท่ากับ 674 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149 ล้านบาท หรือร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทำให้ค่าเสื่อมราคา เครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น อีกทั้งต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ลดลง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us