Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 พฤศจิกายน 2546
หัวเลี้ยวหัวต่อ SCIB             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารศรีนคร
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารศรีนคร
เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย
ฟาร์อีสท์, บล.
นครหลวงไทย, บล.
บีที, บล.
กรองเพ็ชร์ จันทรมโรภาส
อุษณี ลิ่วรัตน์
Retail Banking




บูทของ บล.นครหลวงไทยภายในงาน Set in the City ปีนี้คึกคักแน่นอน เมื่อธนาคารนครหลวงไทยในฐานะบริษัทแม่ ใช้โอกาสอันดีนี้ขายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อสลัดภาพตัวเองให้หลุดจากความเป็นองค์กรของรัฐบาล และเพิ่มความยืดหยุ่นการดำเนินงาน

14 สิงหาคม 2541 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์และ "จุดจบ" ของอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ไทย เมื่อถูกรัฐบาลในขณะนั้นประกาศเข้าแทรกแซงธนาคารที่อ่อนแอจากผลพวงวิกฤติเศรษฐกิจ และธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ถูกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดทุนแล้วเพิ่มทุนโดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้ามาถือหุ้นเต็ม 100%

จากวันนั้นเป็นต้นมา ธนาคารนครหลวง ไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลโดยสิ้นเชิง และอีกประมาณ 5 ปีถัดมาได้ควบรวมกิจการกับธนาคารศรีนคร ส่งผลให้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์มากเป็นอันดับ 6 ณ สิ้นไตรมาส 3 ปีนี้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นธนาคารของรัฐอาจจะทำให้กระบวนการดำเนินงานถูก จำกัด และไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์เอกชนได้อย่างเต็มที่ จากเหตุผลดังกล่าวประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธนาคารนครหลวงไทยไม่สามารถหยุดนิ่งและอยู่ในกรอบได้อีกต่อไป

โดยเป้าหมายของพวกเขาต้องการเป็น Universal Banking ด้วยการเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

"หากพวกเขาให้บริการหลากหลาย จะทำให้ครอบคลุมความต้องการที่ต่อเนื่องในการทำธุรกิจอย่างครบวงจร อาทิ บริการสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่ โครงการสินเชื่อบุคคลเพื่อการอุปโภคบริโภค" อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอบีเอ็น แอมโร เอเชีย กล่าว

ความต้องการดังกล่าว ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งสำหรับการผลักดันให้เกิดการให้บริการครบวงจร หนีไม่พ้นความคล่องตัวต่อการดำเนินธุรกิจและมีสถานะเป็นธนาคาร เอกชน ส่งผลให้ธนาคารนครหลวงไทยตัดสินใจขายหุ้นเพิ่มทุน (PO) ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อในวันที่ 20,21 และ 24 พฤศจิกายนนี้

ธนาคารแห่งนี้มีแผนการที่จะนำหุ้นของ กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ออกขายจำนวนทั้งสิ้น 370 ล้านหุ้นหรือประมาณ 17.5% ของหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ โดยการเสนอขายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประมาณ 148 ล้านหุ้น หรือ 40% ขายให้นักลงทุน สถาบัน และส่วนที่ 2 ประมาณ 222 ล้านหุ้น หรือ 60% ขายให้นักลงทุนรายย่อย ซึ่งจะเสนอขายเป็นชุด ประกอบไปด้วย 1 หุ้น สามัญควบใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Covered Warrant) 2 หน่วยต่อวอร์แรนต์

สำหรับวอร์แรนต์ดังกล่าวมีอายุ 1 ปี และสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ หากผู้ถือหุ้นใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ครบตามจำนวน จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงจาก 99.99% เหลือ 47.5%

สำหรับหุ้นสามัญควบใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะออกในครั้งนี้ ธนาคารนครหลวงไทยไม่ระบุรายละเอียดแน่ชัดเกี่ยว กับราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ อย่างไรก็ตามธนาคารมีการกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้เบื้องต้นว่า ราคาใช้สิทธิจะเท่ากับราคาเสนอขายหุ้น PO บวกดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 1 ปีของกองทุนฟื้นฟูฯ

จากการประเมินของกรองเพ็ชร จันทรมโรภาส นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีที กรณี ราคาที่เหมาะสมของวอร์แรนต์ดังกล่าว พบว่ามูลค่าจะอยู่ระหว่าง 2.34-2.92 บาทต่อหน่วย เมื่อราคาหุ้นแม่อยู่ในช่วง 20-25 บาทต่อหุ้น

โดยกำหนดให้ตลาดมีความผันผวน (Volatility) ที่ 30% ดังนั้นการเสนอขายหุ้นสามัญควบใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ไปอีก 2 หน่วย เพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มการลงทุนของธนาคารนครหลวงในอนาคต จึงทำให้ PO มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นŽ

จากนี้ไปอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังจากธนาคารนครหลวงไทยเปิดให้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ว่ากันว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนับตั้งแต่เปิดดำเนินธุรกิจ และช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

เดิมธนาคารนครหลวงไทย มีชื่อว่า ธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2484 จดทะเบียนด้วยเงินทุน 1 ล้านบาท และเปิดดำเนินธุรกิจการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคมปีเดียวกัน โดยสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินกลาง

ธนาคารนครหลวงไทย ได้รับตราตั้งพระราชทานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็นธนาคารอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์มายาวนานถึง 60 ปี รวมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องหมาย "พระมหามงกุฎ" เป็นสัญลักษณ์ประจำธนาคารจนถึงปัจจุบัน

อนาคตน่าสนใจ

สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธนาคารนครหลวงไทยมีฐานเงินฝากประเภทออมทรัพย์เพียง 20.86% ของเงินฝากรวม ที่เหลือเป็นเงินฝากประเภทประจำ ซึ่งหากพิจารณาโครงสร้างของเงินฝากประเภทประจำแล้วพบว่าประกอบด้วยเงินฝาก 12 เดือน และ 24 เดือนถึง 58% ของเงินฝากประเภทประจำรวม

"ตัวเลขนี้เป็นปัจจัยกดดันต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายของพวกเขาค่อนข้างมาก" อุษณีย์ บอก

โดยต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายของธนาคารนครหลวงไทยไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เท่ากับ 2.10% สูงกว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 2.09% ซึ่งธนาคารตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงแก้ปัญหาด้วยการงดรับเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน และ 24 เดือน

"พวกเขาเน้นการรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่ามาทดแทน อีกทั้งเงินฝากประจำที่มีอยู่ในปัจจุบันจะทยอยครบกำหนดอีกราว 20% ภายในสิ้นปีนี้ และครบกำหนดทั้งจำนวนภายในปีหน้า ส่งผลให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายมีแนวโน้มลดลงได้อีกมาก"

ทางด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) สิ้นกันยายนที่ผ่านมา มีมูลค่า 8.08 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.65% ของสินเชื่อรวม ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ และหากไม่รวมตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี มูลค่า 1.69 แสนล้านบาท พบว่า NPLs ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารนครหลวงไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.97% ของสินเชื่อรวม แต่ก็อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

"ปัจจุบันเป็นธนาคารมี NPLs ต่ำสุดในระบบ และมีฐานเงินทุนสูงซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ของทางการถึง 773.2% โดยมีอัตราเงินกองทุนขั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์อยู่ที่ 12.72% สูงที่สุดในระบบทำให้สามารถขยายธุรกิจในเชิงรุกได้มากยิ่งขึ้น และแข่งขันได้ทัดเทียมกับคู่แข่งขนาดใหญ่ได้" กรองเพ็ชร ให้ความเห็น

ผลประกอบการเติบโต

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารนครหลวงไทยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 898% เป็น 727 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับสุทธิเพิ่มขึ้น 5% เช่นเดียวกับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่ม 298% เป็น 1,873 ล้านบาท เนื่องจากกำไรจากการขายเงินลงทุนเพิ่มขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานปีนี้ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ คาดว่าธนาคารนครหลวงไทยจะมีกำไรสุทธิ 2,774 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย

สอดคล้องกับกรองเพ็ชร เล่าว่า เนื่อง จากธนาคารมีความพร้อมทางด้านฐานะทางการเงิน ประกอบสภาพเศรษฐกิจเอื้ออำนวย จึงมีนโยบายมุ่งขยายสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี ส่งผลให้ปีนี้รายได้ดอกเบี้ยรับน่าจะอยู่ระดับ 8,347 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 2,421 ล้านบาท

ด้านอุษณีย์ ประเมินว่าในอนาคตอันใกล้ธนาคารนครหลวงไทยจะมีผลการดำเนิน งานน่าประทับใจ เนื่องจากความพยายามมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเป็นฐานในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมุ่งการทำตลาดเชิงรุกเพื่อขยายธุรกิจและบริการผ่านเครือข่ายสาขา

"รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการยังต่ำเมื่อเทียบกับรายได้รวม พวกเราจึงมองว่ายังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us