Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤศจิกายน 2546
SHIN ผนึกแอร์ เอเชีย สร้างทางเลือกใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
เอ เอ อินเตอร์เนชั่นแนล - A A International
แอร์ เอเชีย เอวิเอชั่น - AirAsia Aviation
บุญคลี ปลั่งศิริ
อารักษ์ ชลธานนท์
Aviation




ยุทธศาสตร์การร่วมทุนกับสายการบินต้นทุนต่ำแอร์ เอเชีย ของ SHIN ไม่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดแต่อย่างไร เพราะจากศักยภาพที่มีอยู่รอบด้าน พวกเขาสามารถแสวงหาพันธมิตรที่น่าสนใจได้ทั่วโลก

เมื่อเวลา 10.00 น. วันพุธที่ผ่านมา ณ อาคารอัจฉริยะ "ชินวัตรทาวเวอร์ 3" บนถนน วิภาวดี-รังสิต เต็มไปด้วยผู้สื่อข่าว แขกสำคัญเพื่อรอคอยการประกาศอย่างเป็นทางการของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) สำหรับการดำเนินธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)

การรุกคืบดังกล่าว SHIN จะจับมือกับบริษัท เอเอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (AA International) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มแอร์เอเชีย สัญชาติมาเลเซีย เจ้าของสายการบินต้นทุนต่ำ "แอร์เอเชีย" (AirAsia) ด้วยวิธีการร่วมลงทุนในบริษัท แอร์ เอเชีย เอวิชั่น จำกัด (AAA) โดยฝ่ายแรกถือหุ้นสัดส่วน 50% ภายในวงเงินไม่เกิน 250 ล้านบาท ส่วนฝ่ายหลังถือหุ้น 49% ที่เหลืออีก 1% เป็นนักลงทุนคนไทย

โดยบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ด้วยเครื่องบิน 737-300 จำนวน 3 ลำ ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ นครราชสีมา และขอนแก่น

สำหรับอัตราค่าโดยสารนั้นต่ำกว่าสายการบินอื่นประมาณ 40-50% หรือราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาทต่อเที่ยว คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ต้นปีหน้าและเมื่อถึงวันนั้นทุกคนต้องรู้จักคำว่า ทุกคนสามารถบินได้

"ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การเคลื่อนย้ายผู้คนด้วยความรวดเร็วและราคาต่ำ" บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร SHIN กล่าว

นับตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว แอร์เอเชียได้เริ่มให้บริการในฐานะสายการบินที่มีราคาบัตรโดยสารย่อมเยาที่สุดในทวีปเอเชีย พร้อมกับแนวความคิดที่มุ่งให้การเดินทางโดยเครื่องบินนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนเอื้อมถึง

"โดยช่วงแรกเปิดให้บริการชาวมาเลเซีย ด้วยเครื่องบินจำนวน 2 ลำใน 4 เส้นทาง และด้วยราคาบัตรโดยสารที่ดึงดูดลูกค้า จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้คนเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยเดินทางด้วยเครื่องบินมาก่อนในชีวิต" ปาหะมิน เอ.ราจับ ประธานกรรมการแอร์เอเชีย เล่า

หลังจากข่าวดีเกี่ยวกับแอร์ เอเชียกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ปาหะมิน ราจับ ได้พบผู้โดยสารใหม่ๆ คนแล้วคนเล่า และเพื่อให้ชาวมาเลเซียอีกมากได้มีโอกาสสัมผัสกับประสบการณ์การเดินทาง โดยเครื่องบินอันแสนราคาถูกจึงได้ขยายเส้นทางการบินอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่แอร์ เอเชียเริ่มต้นบริการด้วยเครื่องบินเพียง 2 ลำ จนถึงทุกวันนี้มีเครื่องบินไว้คอยบริการถึง 7 ลำ "นับเป็นสายการบินแรกในทวีปเอเชียที่ให้บริการในราคาย่อมเยา ไม่มีบริการพิเศษและไม่มีการออกบัตรโดยสาร"

จากความแตกต่างและเป็นทางเลือกน่าสนใจให้กับลูกค้า ส่งผลให้แอร์ เอเชีย ขยาย ตัวอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เปิดให้บริการ ล่าสุดผู้โดยสารมาใช้บริการใกล้ 2 ล้านคน ที่สำคัญการจำหน่ายตั๋วเครื่องบินประมาณ 40% เป็นการซื้อผ่านระบบออนไลน์

สำหรับผลประกอบการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แอร์ เอเชีย มียอดขายประมาณ 330 ล้านเหรียญริงกิต กำไรสุทธิ 20 ล้านเหรียญริงกิต โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น 6% ที่สำคัญเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้บนงบดุล

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บริษัท ทูนแอร์ จำกัด (Tune Air) สัญชาติมาเลเซีย เข้ามาซื้อหุ้นในสัดส่วน 99.25% ในปลายปี 2544

ปัจจัยที่น่าประทับใจดังกล่าว ย่อมดึงดูด SHIN เข้ามาดำเนินธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนคนไทยที่ต้องการประหยัดเวลาเดินทางด้วยต้นทุนย่อมเยากว่าในปัจจุบัน

"การตัดสินใจลงทุนครั้งนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร และการต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต" อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ด้านการพัฒนาธุรกิจใหม่ SHIN ชี้

สำหรับเหตุผลที่ SHIN เลือกลงทุนกับแอร์ เอเชีย บุญคลี เปิดเผยว่า ระบบขนส่งมวลชนเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต หมายความว่า ถ้าสามารถขนส่งประชาชนหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนี้ จากข้อมูลการเดินทางภายในประเทศ มีคนเดินทางราว 80 ล้านคนต่อปี ซึ่งประมาณ 10% ที่เดินทางด้วยเครื่องบิน ส่วนด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ตัวเลขนักท่องเที่ยวในปี 2543 ที่เดินทางผ่านทางอากาศยาน อยู่ที่ระดับ 8.4 ล้านคน และเพิ่มเป็น 8.9 ล้านคนในปีที่ผ่านมา

"ตลาดที่เหลือหมายถึงโอกาสของสายการบินต้นทุนต่ำเข้าไปทำตลาด" บุญคลีกล่าว "หากดูภาพรวมของทิศทางนโยบายรัฐบาลชุดนี้ รวมถึงศักยภาพของประเทศในแถบเอเชียที่มีอัตราสูงในธุรกิจบริการ สอดคล้องกับทิศทางของ SHIN ที่มุ่งเน้นธุรกิจบริการมาโดยตลอด"

อุตสาหกรรมขนส่งมีความใกล้เคียงกับธุรกิจโทรคมนาคมที่บริษัทดำเนินการในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาคล้ายคลึงกัน เพราะเป็นธุรกิจการบริการที่ต้องการความรวดเร็ว สังเกตได้จากหากย้อน ไปเมื่อประมาณสองทศวรรษที่แล้วของการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ กับอีก 20 ปีข้างหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจขนส่งจะมีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน

"ถ้าดูความกว้างของช่องสัญญาณในธุรกิจโทรคมนาคม เหมือนกับระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ" บุญคลีบอก "พวกเราเชื่อว่าธุรกิจสายการบินเป็นเรื่องคล้ายคลึงกับธุรกิจโทรคมนาคมในด้าน Traffic, Network และ Hub ซึ่งสามารถนำประสบการณ์จากธุรกิจโทรคมนาคมมาปรับใช้กับธุรกิจขนส่งได้อย่างลงตัว"

สำหรับการร่วมทุนกับแอร์ เอเชีย เอวิชั่น จากมาเลเซีย เพื่อให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ล่าสุดเตรียมเอื้อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกันกับบริษัทในเครือ SHIN

"แน่นอนการขายตั๋วเครื่องบินผ่านระบบ SMS ของโทรศัพท์มือถือ" บุญคลี เปิดเผย

ด้านเป้าหมายลูกค้า เขาบอกว่าสายการบินต้นทุนต่ำนี้จับกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยเดินทางทางอากาศมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นการแสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ไม่ใช่เข้ามาร่วมแข่งขันกับคู่แข่ง

"การให้บริการในเส้นทางภายในประเทศรวมทั้งการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ส่วนราคาค่าโดยสารคาดว่าจะไม่เกิน 1,000 บาทในเส้นทางภายในประเทศ เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us