Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533
หัวโค้งสันติภาพฯ ไม่เดินหน้าก็ไม่โต             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

รายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท สันติภาพ
บริษัทในเครือสันติภาพ


   
search resources

Food and Beverage
สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958)
พัทยาฟู้ดอินดัสตรี, บจก




โอกาสที่บริษัทผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูปของไทย จะก้าวสู่การเติบโต ในระดับสากล เป็นเรื่องค่อนข้างยาก แม้บริษัท ผู้ผลิตฯ ขนาดใหญ่ จะทำ สำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยูนิคอร์ด ที่กระโดดข้ามทวีป ไปซื้อบริษัท บัมเบิ้ลบี ในสหรัฐ และกลุ่มไทยยูเนียน ที่ร่วมทุน กับบริษัทยูนิเวอร์แซลทราน อินโด-ไทย ก่อตั้ง บริษัท นอติคอล คอร์ป ทำกิจการประมงด้วยตัวเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องวัตถุดิบ แต่สำหรับ บริษัทขนาดกลาง นั้นยังต้องปรับปรุง การบริหาร การแก้ปัญหา แห่ลงวัตถุดิบ ปรับกลยุทธ์ การตลาด และแผนการดำเนินงานต่าง ๆ อีกมาก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทสันติ ภาพ ( ฮั่วเพ้ง 1985) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหาร สำเร็จรูปขนาดากลาง รายหนึ่ง
( วัดจากสินทรัพย์ เมื่อปี 2532 มี 361 ล้านบาท) ได้เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในบริษัทพัทยา ฟู้ดอินดัสตรี อันเป็นผู้ผลิต และส่งออกอาหารทะเลสำเร็จรูป ขนาดกลางรายหนึ่ง ที่ก่อตั้งมานานหลายสิบปี ( สินทรัพย์ รวม เมื่อปี 2531 มี 426 ล้าน บาท) การซื้อขายครั้งนี้ เป็นเรื่องภายใน ของสองบริษัท และจะว่าไป แล้ว บริษัททั้งสอง ก็มีความสัมพันธ์ กันมาเป็นเวลานาน นับแต่การก่อตั้ง

กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสันติภาพฯ และ พัทยาฯ ต่างเป็นกลุ่มเดียวกัน คือ แก้ว รัชตสวรรค์ และบุญชัย สัมฤทธิวณิชชา ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการสันติภาพฯ คนปัจจุบัน และมีฐานะเป็นลูกของแก้วด้วย
การซื้อหุ้นเพิ่มทุน และได้กลาย เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในพัทยาฟู้ดฯ ของสันติภาพ ฯ ครั้งนี้อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของบริษัทที่เก่าแก่ทั้งสองแห่งได้ ประเด็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริหารสูงสุด มองเห็นช่องทางการเปลี่ยนแปลง ขนานใหญ่ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ในการก้าวไปสู่ตลาดอาหารกระป๋องสำเร็จรูปสากล และมีความประสงค์จะให้เกิดการเปลี่ยนแหลงขึ้นหรือไม่?

โค้งประวัติศาสตร์ ครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ของผู้บริหาร หากไม่ฉกฉวยโอกาส ที่วางแบอยู่เบื้องหน้า ในตอนนี้ ก็ยาก ที่กิจการขนาดกลางจะก้าวรุดไปได้ ถ้าไม่เดินหน้าก็ไม่โต!!

กิจการขนาดเล็ก ๆ ซึ่งเริ่มด้วยการดองมะนาว ดองผักใส่โหลแจกเพื่อนฝูงและต่อมา ใส่กระป๋องขาย ของครอบครัว " รัชตสวรรค์" เมื่อราว 35 ปี ที่ผ่านมาเติบโต ขยายตัว เป็นธุรกิจขนานใหญ่ มีสินทรัพย์ นับพันล้านบาท ในทุกวันนี้ ตรานกพิราบ และ PCC เป็นที่รู้จัก เป็นอย่างดี ในตลาดผัก และผลไม้กระป๋อง ภายในประเทศ

แก้ว รัชตสวรรค์ และเพื่อนพ้อง ซึ่งเป็นชาวจีน ล้วน ๆในย่านป้อมปราบ ร่วมลงขัน ตั้งสันติภาพฯ เป็นบริษัทจำกัด เมื่อปี 2501 หลังจากที่ประกอบกิจการในรูปห้างหุ้นส่วนอยู่ราว 7-8 ปี แก้วพ่วงท้าย คำว่า "ฮั่วเพ้ง 1958" ไว้ในชื่อบริษัท เพื่อเป็นอนุสรณ์ปีที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท นัยหนึ่ง ก็เป็นเครื่องรำลึกก้าวจากธุรกิจครัวเรือน มาเป็นอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขายภายในประเทศ และ ส่งออกต่างประเทศในเวลาต่อมา

สันติภาพฯ มีทุนจดทะเบียน เมื่อตั้งบริษัท 22,000 บาท แบ่งเป็น หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท เพิ่มทุนเป็นครั้งแรกในปี 2505 เป็น 88,000 บาท และในอีก 11 ปี ต่อมา ก็เพิ่มทุน อีก เป็น 10 ล้านบาท ถ้วน

การเพิ่มทุนแบบก้าวกระโดด ใน ปี 2516 เพราะแก้วมีแผนขยายโรงงานและสั่งเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งทำให้มีเงินทุนหมุนเวียน ไม่เพียงพอ แก้วซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งหลัง สุด ถึง 25% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากว่า คนอื่น ๆ

การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นครั้งใหญ่ เกิดขึ้น ใน ปี 2526 เมื่อบุญชัย สัมฤทธิวณิชชา กลับเข้าร่วมงานในสันติภาพฯ อีกครั้ง ในฐานะลูกเขย ด้วยตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท หลังจากที่เคยเข้ามาทำงานจัดซื้ออยู่พักหนึ่งช่วงปี 2517-2518 แก้ว เริ่มรามือปล่อยให้ลูกเขย และลูกสาว คือมาลี สัมฤทธิวณชชา เป็นผู้บริหาร โดยลูกเขย ซึ่งจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากอเมริกา เป็นผู้ดูแล ออฟฟิค และงานมาเก็ตติ้ง ขณะที่ลูกสาว ซึ่งจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ การอาหาร เข้าดูแลนโยบายด้านโรงงานและการผลิต

ปี 2526 ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยน ที่สำคัญอีกครั้งของสันติภาพฯ แม้จะยังไม่สามารถพ้นลักษณะการบริหารในระบบธุรกิจครอบครัว แต่คนรุ่นลูกก็เริ่มรับอาชีพเข้ามารวมบริหารงานขึ้นกว่ารุ่นพ่อ ที่เป็นผู้ก่อตั้งกิจการ

สันติภาพฯ ในปัจจุบัน ยังคงเป็นธุรกิจครอบครัวร้อยเปอร์เซนต์ โดยสัดส่วนการถือหุ้นล่าสุดเมื่อเมษายน 2533 คือตระกูลรัชตสวรรค์ ถือหุ้นเพิ่มขึ้น เป็น 69% ส่วนสัมฤทธิวณิชชา ถืออยู่ 22%

โดยธรรมชาติ ของการทำธุรกิจอาหารกระป๋อง ไม่ได้มีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด โดยเฉพาะในส่วนของผักและผลไม้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบ ภายในประเทศ ช่วยให้กระบวน
การผลิตง่ายขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับกุ้ง หอย ปู ปลาและสัตว์น้ำทะเลอื่น ๆ ที่นับวันจะหายากขึ้น หรือกระทั่งหาไม่ได้เลยจนผู้ผลิตต้องขวานขวายซื้อหรือลงทุนจับจากน่านน้ำในต่างประเทศ

ต้นทุนสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง นอกเหนือจากผัก ผลไม้และสัตว์น้ำทะเล ซึ่งคิดเป็น 50% ของต้นทุนทั้งหมด ยังมีต้นทุนในด้าน ของภาชนะและบรรจุหีบห่อซึ่งตกอยู่ประมาณ 25% ส่วนที่เหลือของสารเคมี และส่วนประกอบ ค่าแรงกับค่าใช้จ่ายโรงงาน

บุญชัย กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่า " เพิ่งเข้ามาบริหาร งานจริง ๆ ก็เมือ่ต้นปี 2526 ซึ่งตอนนั้น เริ่มคิดขยาย กำลัง การผลิต และจะต้องมีการขัยับขยาย ตัวโรงงานกัน จะขยายไปมหาชัย แต่คุณแก้ว มองว่าถึง จะไปตั้งที่มหาชัย แต่อย่างไรเสียก็ยังจะต้องเอาวัตถุดิบจากทุกภาคลงมาที่กรุงเทพฯ หรือมหาชัย อยู่ดี สู้ไปตั้งโรงงานในแหล่งวัตถุดิบเลยจะดีกว่า"

นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการขยายฐานการผลิตไปสู่ แหล่งสัตว์น้ำ ที่ชุมพร และแหล่งผักผลไม้ที่ เชียงใหม่ โดยโรงงานที่ชุมพร มีกำลังการผลิตประมาณ 8,000 ตัน /ปี และที่เชียงใหม่ ประมาณ 8,500 ตัน/ ปี ส่วนโรงงานเดิม ที่ประประแดง ซึ่งผลิตทั้งอาหารทะเลและผักผลไม้ นั้น กำลังการผลิตประมาณ 7,500 ตัน/ ปี

สมร พิทยาจิรกุล หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพโรงงานสันติภาพฯ ที่ประประแดง กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ในวันที่พามาเยือนโรงงานว่า " สินค้าที่สันติภาพฯ ผลิตในตอนนี้ มีทั้งหมด 4 หมวด คือ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ และผักดอง ผลไม้ จะมีตามฤดูกาล เช่น ลิ้นจี่ เงาะ เงาะผลไม้ ลำไย ลูกตาล ฟรุ้ทคอกเทล และมะม่วง ส่วนอาหารทะเล ก็มีพวกปูกระป้อง กุ้งกระป๋อง หอยลายกระป๋อง และซีฟู้ดคอกเทล โดยทั้งหมดนี่ บรรจุในน้ำเกลือและทำส่งออกโดยเฉพาะ ในประเทศเราแทบไม่ได้ขายเลย ส่วนโรงงานที่ชุมพรนั้นทำหนักไปทางปูกับกุ้ง ในอนาคต จะขยายไปทำหอยลายซีฟู้ดคอกเทลและปลาในซอสมะเขือเทศด้วย

ส่วนผักกระป๋อง สมร เล่าว่า" เรามีการผลิตข้าวโพดอ่อน ถั่วลันเตา เห็ดแชมบิยอง เห็ดฟาง รวมทั้งผักผสม และถั่วงอก กระป๋อง ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก จะมีข้าวโพดและเห็ดแชมบิยอง ที่ผลิตขายในประเทศด้วย สำหรับผักดองนั้น มี 6 อย่างคือ ฮั่วน้ำฉ่าย ชีเช็กฉ่าย ผักยำ ผักดองเผ็ดหวาน มังสวิรัต และก๊งฉ่าย

มังสวิรัติ กระป๋องเป็นสินค้า ที่เพิ่งผลิตในช่วง 4-5 ปี ซึ่งผู้คนเริ่มนิยมการทานอาหาร มังสวิรัตกันอย่างแพร่หลาย ส่วนผสมของมัสวิรัตจะต่างไป จากฮั่วน่ำฉ่าย คือไม่มีน้ำปลา แต่จะใส่ซีอิ้ว แทน สมร กล่าว" เราส่งมังสวิรัติ ไปขายในต่างประเทศ ด้วย โดยเฉพาะ ในย่านที่มีคนเอเชีย อาศัยอยู่มาก

นี่เป็นการขยายแนวการผลิตอีกรูปแบบหนึ่ง เท่าที่อุตสาหกรรมนี้จะทำได้ หรือเป็นการเพิ่มความหลากหลาย ให้สินค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมนี้อยู่ที่การมีวัตถุดิบป้องโรงงาน อย่างเพียงสม่ำเสมอ ประเด็น นี้ เป็นเหตุให้ บุญชัย คิดถึงเรื่องการผลิตครบวงจร โดยเริ่มที่วงจร การผลิตของผักและผลไม้กระป๋องก่อน

บุญชัย เล่าความคิดให้ " ผู้จดัการ" ฟังว่า "เราได้ทำโครงการในเรื่องการส่งเสริมการผลิตเพื่อที่จะหาวัตถุดิบของเราเอง โดยเรามีหน่วงส่งเริม ความรู้ให้เกษตรกร เราจะให้คำแนะนำแก่พวกเขาว่า ควรทำการเพาะปลูกอย่างไรที่จะให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากที่สุด นอกจากนี้ ผมก็มีโครงการว่าจะมีที่ดินในภาคเหนือ ตั้งเป้าหมายไว้ 3,000 ไร่แล้วให้เกษตรกรมาเช่าเพาะปลูกเพื่อขายผลผลิตให้เรา เพราะหากไม่ทำอย่างนี้ เกษตรกรจะขายที่ดินหมด ต่อไป จะไม่มีที่ดินเพาะปลูก"

เมื่อโครงการจัดสรรที่ดิน ให้เกษตรกรเช่าเพื่อเพาะปลูกของบุญชัย เสร็จเรียบร้อย โรงงานที่เชียงใหม่ ก็คงจะสามารถ ทำการผลิต ได้เต็มตามกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม จากบีโอไอ คือ 8,500 ตัน/ ปี ดังที่กล่าวมา

ทั้งนี้โรงงาน ที่เชียงใหม่ ปัจจุบัน ยังไม่ได้เดิน เครื่องผลิตอย่างเต็มอัตรากำลัง กอปร กับคนงาน ที่เชียงใหม่ยังมีความชำนาญ สู้ที่ประประแดงไม่ได้ แม้ว่าเครื่องจักร ทันสมัย และมีความสามารถ ใน การผลิต มากว่าปัจจุบัน จึงทำการผลิตผลไม้กระป๋อง เพียงวันละ 10 ตันเท่านั้น

ในส่วนของคนงานนั้น แม้จะมีองค์ประกอบหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำในกระบวนการผลิต แต่ก็มี ความสำคัญไม่น้อย เพราะลักษณะของอุตสาหกรรม ประเภทนี้ ยังต้องใช้แรงงาน คนจำนวนมาก ( labpirom cemtove) และยังจะต้องเป็นแรงงานที่มีฝีมือด้วยโรงงานสันติภาพที่เชียงใหม่ มีคนงานประมาณ 800 กว่าคน ที่ชุมพร มี 400 คน ส่วนที่พระประแดงนั้นฤดูที่มีงานจริง ๆ คนงานจะมีประมาณ 1,500 คน ในฤดูธรรมดา ก็มีประมาณ 900 คน โดยมากว่า 80% จะเป็นคนงานท้องถิ่น

กว่า 40 ปีที่ผ่านมา ผักและผลไม้ กระป๋อง ตรานกพิราบยืนยงคงคู่ปากท้องครัวเรือนไทยมานั้น ยี่ห้อสันติภาพฯ สามารถครองตลาดส่วนข้างมากเอาไว้ได้ โดยผักกระป๋อง " ฮั่วน่ำฉ่าย" ครอง ตลอดได้ถึง 80% ส่วนผลไม้ ก็ครองได้ 30-40%

ปัจจัย 2 ประการ ที่ทำให้สันติภาพฯ ครองใจ ผู้บริโภค ได้คือเรื่องของคุณภาพและราคา บุญชัย กล่าวว่า" มีการให้ ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพมาก คุณแก้ว และคุณมาลี เป็นผู้ควบคุม คุณภาพด้วยตนเอง ไม่เคยใส่ สารกันบูด แต่ใช้วิวัฒนาการสมัยใหม่ เข้าช่วยตลอด อีกเราสามารถ รักษาราคานี้ มาได้อย่าง
สม่ำเสมอ"

ซึ่งผลการดำเนินงานของกลุ่มสันติภาพย่ำแย่มาก บุญชัย เปิดเผยตัวเลข ยอดขาย กว่าปีหนึ่ง ๆ ตกประมาณ 700-800 ล้านบาท ความสามารถ ขยายกำลัง การผลิต ได้ในช่วง 700-800 ล้านบาท ความสามารถ ขยายกำลังการผลิต ได้ในช่วงบ 7 กว่าปี ที่ผ่านมา น่าจะเป็นเครื่องชี้ได้ดีว่าการดำเนินธุรกิจของสันติภาพฯ เติบโตขยายตัวจริง

ขณะที่ในส่วนของสินทรัพย์นั้น ก็พอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 179 ล้านนบาทในปี 2530 เป็ยน 361 ล้านบาท ในปี 2532 แม้ว่ารายได้จะคงที่ แต่กำไร สุทธิกลับเพิ่มขึ้น คือ 1.23 ล้านบาทในปี 2531 เป็น 2.74 ล้านบาท ในปี 2532

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจเหล่านี้ เป็นเพียงผลการดำเนินธุรกิจของสันติภาพ ( ฮั่วเพ้ง 1598) เพียงรายเดียว ซึ่งบริษัทในกลุ่มสันติภาพฯ มีมากกว่านี้ คือสันติภาพ ( ฮั่วเพ้ง 1958) ไม่ได้รวมกับโรงงานที่ เชียงใหม่ และชุมพร ซึ่งแยกเป็นอีก 2 บริษัท ต่างหาก ส่วนบริษัท ที่ใช้ติดต่อตลาด การสั่งซื้อวัตถุดิบอย่างเวสเทอร์น แปซิฟิค ก็แยกออกมา โดยตั้ง เมื่อปี 2524 มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และล่าสุด ก็น่าจะเป็นวณิชชาแลนด์ ดีเวลลอปเมนท์ ที่ทำ " บ้านตวรรณา" ที่เชียงใหม่ บริษัทวณิชชาแลนด์ฯ ดูเหมือนจะเป็นกิจการ ของบุญชัย เสียมากว่า ทางฝ่ายรัชตสวรรค์ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่ตั้งขึ้น เพื่อใช้ทำงาน เฉพาะกิจ กอ่นหน้านี้ อีกมาก เช่นทีทีที เทรดดิ้ง จำกัดที่แก้วตั้งขึ้น เมื่อปี 2529 เพื่อเข้าไป รับซื้อหุ้นเพิ่มทุนในพัทยา ฟู้ดอินดัสตรี เป็นต้น

กลุ่มผู้บริหารรุ่นลูก ที่ก้าวเข้ามารับช่วงงาน ต่อจากแก้ว ได้พยายาม ขยายกิจการ ออกไปมากพอสมควร แต่พวกเขาก็ยังทำอะไรไม่ได้ไปมากกว่าการขยายฐาน การผลิตและการพยายามทำให้กระบวนการผลิตครบวงจร คือผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงาน ด้วยตัวเอง

โอกาสครั้งใหญ่ มาถึงบุญชัย และมาลี ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของเขาเป็นอย่างยิ่งก็คือ การได้เข้าไป ถือหุ้นรายใหญ่ในกิจการพัทยาฟู้ด อินดัสตรี

มันเป็นกิจการประเภทเดียว กับโรงงานอาหาร กระป๋องชุมพร ไม่ได้เป็นคู่แข่งกัน เพราะพัทยาฟู้ดฯ ทำการผลิตเพื่อส่งออก 100% ขณะที่สันติภาพ เพิ่งจะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศเป็นบางส่วน

ประเด็นคือ เมื่อสันติภาพ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในพัทยาฟู้ดฯ แล้วนั้น บุญชัย และมาลี จะสามารถสร้าง synergy จากโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ เพื่อขยายทางเติบโตของกิจการอาหารกระป๋องของตนต่อไป หรือไม่และด้วยวิธีการอะไร?

พัทยาฟู้ดฯ เป็นกิจการเก่าแก่ที่ดำเนินมาตั้งแต่ 2517 เมื่อแรกเป็นบริษัทการค้า ที่ร่วมทุนกับฝรั่งเศส ใช้ชื่อว่า ทีทีที เทรดดิ้ง ทำกิจการค้า อาหารกระป๋อง ครั้นปี 2521

ได้มีการขยับขยายเข้าไปซื้อโรงงานสยามซีพฟู้ด เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการผลิต เพราะทีทีที เทรดดิ้ง ทำงานขายได้ดี แต่มีปัญหา เรื่อง ไม่มีสินค้าขาย

กลุ่มผู้ถือหุ้นในพัทยาฟู้ดฯ ก็คือแก้ว และเพื่อน ในอุตสาหกรรม อาหารกระป๋อง ได้แก่ บุญประเสริฐ เอี่ยมสำอาง ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทผลิตอาหารกระป๋อง โรแยลฟู้ด นายซ่งเว้ง แซ่จี้ หรือ Song Weng Chi ชาวไต้หวัน ซึ่งในภายหลัง ได้ชื่อเป็นไทยว่า สมบูรณ์ เป็นกรรมการผู้จัดการแต่ต้นจนปัจจุบัน พี่ชายของสมบูรณ์ก็อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันคือ บริษัทแพน เอเชีย เป็นต้น

ทีทีที เทรดดิ้ง เอนเตอร์ไพรส์ เพื่อซื้อสยามซีฟู้ด มาทำปูกระป๋องเป็นโรงงานแรก นอกจากนี้ ก็ผลิตกุ้ง ซาร์ดีน และทูน่ากระป๋อง บ้างเล็กน้อย ผลผลิตทั้งหมดนำส่งไปขายในต่างประเทศ

แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรม อาหารกระป๋อง เปิดเผย " ผู้จัดการ" ว่า "แม้จะมีการซื้อขายสยามซีฟู้ด มาแล้ว โรงงานก็เล็กไป ตจอนนั้นมีการขอบัตร ส่งเสริม การลงทุนด้วย โดยขอในนาม ของพัทยาซีฟู้ดฯ และได้บัตรส่งเสริมฯ โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ 1 เมษายน 2527

ก่อนที่ทีทีที เทรดดิ้ง จะมาใช้ชื่อพัทยาฟู้ดฯ นั้น พัทยาเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าของทีทีที เทรดดิ้งมาก่อน โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่า PATAYA/ปาตาย่า เป้าหมาย

ก็เพื่อต้องการให้สอดคล้องใกล้เคียงกับชื่อหาดพัทยา ซึ่งเริ่มเป็นที่รูจักของชาวยุโรป ยี่ห้อ PATAYA จะได้ติดปากชาวยุโรปไปด้วย

หลังการซื้อโรงงานสยามซีฟู้ด และได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ปรากฏว่า บริษัท ออสเตรเลีย แห่งหนึ่ง ชื่อ ยูนิเก็ต ออสเตรเลีย จำกัด ( Unigate Australia PTY.Ltd) ขอเข้าร่วมลงทุนด้วย ทั้งนี้ ยูนิเก็ตฯ เป็นบริษัทผลิตนมเนยต่าง ๆ และมีแผนกจัดจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูปด้วย ยูนิเก็ตฯ ต้องการเข้าหาซัพพลายเออร์ ที่แน่นอนในตลาดไทย

ปี 2522 พัทยาฟู้ดฯ จดทะเบียนก่อตั้งโดยมีทุนในขั้นเริ่มต้น 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท เพิ่มทุนครั้งแรกเมื่อปี 2526 เป็น 50 ล้านบาท แล้วขายหุ้นเพิ่ม ทุนส่วนหนึ่ง ประมาณ 10% ให้นิเก็ตฯ ซึ่งทางยูนิเก็ตฯ ก็ส่งคนมาร่วมเป็นกรรมการในพัทยาฟู้ดฯ ด้วย 2 คน ตามสัดส่วนการถือหุ้น คือนายปีเดตอร์ เบอร์นาร์ด โรสคัม และนายเดวิด แอล. โคเฮน

" ทางผู้ถือหุ้นฝรั่งชำนาญในการผลิตเขามีเทคโนโลยี และเน็ตเวอร์ค การจตลาด แถบอเมริกาเหนือ ก็เลยเชิญเขาเข้า มาเป็นกรรมการด้วย" แหล่งข่าว กล่าวถึงเหตุผล

ครั้นปี 2529 ก็เพิ่มทุนจดทะเบียน อีก 25 ล้าน เป็น 75 ล้านบาท โดยคณะกรรมการบริษัทฯ มีมิติ ให้ใช้ทีทีที เทรดดิ้ง มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทั้งหมดก่อน เพราะมีเวลาจำกัดในการขอระยะเวลา การส่งเสริมการลงทุน ซึ่งปรากฏว่า ได้รับการอนุมัติเมื่อมกราคม 2530 ให้ขยายเวลา การส่งเสริมต่อไปอีก 7 ปี

หลังจากได้รับการอนุมัติ ส่งเสริมการลงทุน ทีทีที เทรดดิ้ง ก็ขายหุ้นคืนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วนที่ต่างคนต่างถืออยู่ จากนั้นคณะกรรมการบริษัทฯ ก็ไปเจรจา ขอซื้อโรงงานอีกแห่งหนึ่ง เพื่อดำเนินการการขยายกำลังการผลิตตามที่บีโอไอไว้

โรงงานล่าสุดที่พัทยาฟู้ดฯ ซื้อมาเมื่อวันที่ 2530 คือโรงงานไทยแคนเนอรี่ ของกลุ่มอุดม วิทยะสิรินันท์ แห่งธานินทร์อุตสาหกรรม ซึ่งในเวลาต่อมา อุดม ขายหุ้น ธานินทร์ อุตสาหกรรม บางส่วนและเปิดทางให้กลุ่มสหยูเนี่ยน เข้ามารช่วมทุนด้วย และเปลี่ยนชื่อบริษัทยูเนี่ยนเมื่ปี 2532

การซื้อขายในตอนนั้นทำในลักษณะที่ว่าพัทยาฟู้ดฯ ให้กลุ่มอุดมเข้ามาถือหุ้นในพัทยาฟู้ดฯ เป็นจำนวน เพียง 3.6% หรือ 2,696 ทั้งนี้เพราะไทยแคนเนอร์รี่ เวลานั้น มีผลการดำเนินงานขาดทุนอยุ่

เมื่อได้ไทยแคนเนอรี่มา ก็มี การยุบสยามซีฟู้ดที่บางนา และเอาคนงานที่นั่น มารวมกับไทยแคนเนอรี่ ที่มหาชัย ตั้งเป็นโรงงาน พัทยาซีฟู้ดฯ ขึ้น ตระกูลรัชตสวรค์ ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 21.5% หรือประมาณ 16112 หุ้น ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ รองลงมาก็คือ บริษัท เกลนมารค์ค จำกัด ในอัตรา 18.66% หรือ 1,400 หุ้น

ว่าไปแล้วพัทยาฟู้ดฯ มีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนหลายสิบคน แต่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมักหมุนเวียนเปลี่ยนหน้ากันเสมอ จะมีรายใหญ่ที่ถือคงที่ ก็คือกลุ่มรัชตสวรรค์ และผู้ร่วมทุนต่างชาติ ซึ่งเมื่อแรกเป็นยูนิเก็ตฯ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเกลนมาร์ค เพราะยูนิเก็ตฯ ตัดสินใจเลิกทำธุรกิจด้านอาหารทะเลกระป๋อง จึงขายหุ้นทั้งหมดประมาณ 18% ให้เกลน มาร์คฯ ซึ่งเป็นบริษัทอังกฤษแต่จดทะเบียนในฮ่องกง เมื่อปี 2530

ในจังหวะที่หุ้นส่วนต่างชาติเปลี่ยนมือนั้นปรากฏว่ากรรมการบริหารเป็นฝรั่งคนหนึ่งในฐานะตัวแทนของยูนิเก็ตฯ ต้องหมดหน้าที่ไปด้วยเมือมีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นยุนิเก็ต แต่กรรมการคนนี้ คือปีเตอร์ เบอร์นาร์ด โรสสคัม ได้รับการเสนอจากผู้ถือหุ้นใหม่ คือ เกลนมาร์ค ฯ ให้คงร่วมในคณะกรรมการบริหารด้วยเหมือนเดิม

ทั้งนี้มติประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2530 นายเดวิด คินล้อก ตัวแทนจากเกลนมาร์คฯ กล่าวว่า " เนื่องจากปีเตอร์ เบอร์นาร์ด โรสคัม มีส่วนสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่พัทยาฟู้ดฯ อย่างมากตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์ระดับระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง บริษัทพัทยาฟู้ด ก็อยู่ในระหว่างการขยายตัว จึงเป็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากนายปีเตอร์ เข้ามาเป็นกรรมการบริหารอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ที่ประชุมพิจารณารับนายปีเตอร์ เข้าเป็นพนักงงานประจำของบริษัทด้วย

ผลปรากกว่า ที่ประชุม เห็นด้วยกับข้อเสนอทั้งสองประการ ปีเตอร์ จึงเข้าร่วมในฐานะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ประจำของพัทยาฟู้ดฯ แต่นั้นมา

แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับปีเตอร์เป็นอย่างดีเล่าให้ " ผู้จัดการ" ฟังว่า" ปีเตอร์ เป็นผู้บุกเบิกงานโรงงานของพัทยาฟู้ด เขานำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในโรงงาน มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของพัทยาฟู้ดฯ ไปฝึกอบรมดูงานด้านการควบคุมคุณภาพโรงงานที่ยูนิเก็ตน ออสเตรเลีย เขาเป็นผู้ดูแลโรงงานและช่วยสร้างรากฐานที่ดีแก่พัทยาฟู้ด ไว้มาก"

ปัจจุบันพัทยาฟู้ด ฯ ทำการผลิตทูน่ากระป๋อง เป็นสินค้าหลัก มีซาร์ดีน กุ้ง ปู และอาหารสัตว์บ้าง เป็นส่วนน้อย ทูน่ามีการผลิตประมาณ วันละ 100 กว่าตันในฤดูทีมีผลมาก แต่ในช่วงที่ปลาน้อยก็ลดลงเหลือ 20-30 ตันก็มีพัทยาฟู้ดฯ มีผลการดำเนินงานที่ดี มาโดยสม่ำเสมอ ตัวเลขทางการเงินแสดงให้เห็นอัตราการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากปี 2529 ที่มีสินทรัพย์ 348 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 373 และ 426 ล้านบาทในปี 2530 และ 2531 ตามลำดับ

หากจะเทียบเคียงความใหญ่ของพัทยาฟู้ด ก็ต้องนับว่า เป็นกิจการขนาดกลางที่ไปได้ดีในอุตสาหกรรมทูน่า คือเป็น 1 ใน 10 บริษัท ใหญ่ ๆ ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย

นอกจากนี้ ปี 2531 พัทยาฟู้ดฯ สามารถ ทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 300 ล้านบาทจากปี 2529 ทำให้กำไรสุทธิพุ่งพรวด จาก 2 ล้านบาท เป็น 16 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในอัตราที่สูงมาก นับตั้งแต่ตั้งบริษัทมา คือหุ้นละ 1,000 บาท ถึงกระนั้น ก็ยังมีกำไรสะสม ปลายปี 27.25 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ เป็นผลมาจากการซื้อโรงงานไทยแคนเนอรี่ มานั่นเอง

ขณะที่พัทยาฟู้ดฯ กำลังเติบโตมีส่วนแบ่งวัด จากยอดขายเป็นอันดับ 6 จาก 8 บริษัทชั้นนำ ปรากฏว่า ปีเตอร์ได้ขอถอนตัวออกโดยการขายหุ้น ในส่วนที่ถืออยู่ให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับปีเตอร์ กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่า " เหตุที่ปีเตอร์ขายหุ้นนั้นมาจากปัญหาเรื่องการบลิรหาร พูดง่าย ๆ คือ เมื่อเกิดการขัดแย้ง ในเรื่องผลประโยชน์ ขึ้นมาแล้วผู้ที่เป็นผู้บริหารก็ไม่สามารถทำตามนโยบายของตัวเองได้"

พัทยาฟู้ดฯ นั้นไม่ได้เป็นธุรกิจ ครอบครัว เหมือนกับสนัติภาพฯ แม้ว่าแก้วจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ไม่ได้เคยมาวุ่นวายในการบริหาร เว้นแต่จะดูเรื่องโยบายบ้าง กลุ่มผู้บริหารปัจจุบันล้วนแต่เป็นมืออาชีพ สมยบูรณืเป็นกรรมการผู้จัดการ ดุแลหนัก ไปทางด้านการตลาด เขาอยุ่กับพัทยาพู้ดฯ มาแต่ต้น มีหุ้นอยู่ในพัทยาฟู้ดฯ บ้าง แต่เพียงเล็กน้อย

ในส่วนของการเงิน ได้ สราวุธ มณีเสาวนพ ซึ่งจบการศึกษาด้านบัญชี มาเป็นผู้ดูแล สราวุธก็มีหุ้นอยู่เล็กน้อย เหมือนสมบรูณ์ ปีเตอร์ ดูแลเรื่องการผลิตโดยมีสุธี ช่วยทางด้านโรงงาน ก่อนหน้านี้มีผู้บริหารหลายคนลาออกไปประกอบกิจการส่วนตัวได้แก่ ณัฐพล สุทิน และสุชาติ โดยส่วนมากไปทำบริษัทการค้า ( Trading Firm) ทำนำเข้า-ส่งออก โดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้รับการร่วมงานในพัทยาฟู้ดฯ

แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดในพัทยาฟู้ด กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่า " ประเด็นที่ทำให้ปีเตอร์ตัดสินใจลาออก ซึ่งนับว่า เป็นสปิริตของเขามาก คือเรื่องการเซ็นสัญญาส่งสินค้าให้บริษัท ผู้ผลิตสินค้า ด้านอาหารทะเล รายใหญ่ แห่งหนึ่ง ในแคนาดา คือ British Columbia หรือที่รู้จักกันดี ในนาม BC Packer ปรากกว่าเมื่อถึงเวลาส่งมอบสินค้า BC Packer กลับขอให้ชะลอการส่งมอบ ทำให้สินค้า ค้างสต๊อก ทำให้สินค้าค้างสต๊อกอยู่เป็นจำนวนมาก คณะกรรมการ ก็สงสัยว่าทำไมจึงไม่มีการส่งสินค้ากัน สัญญาที่ไปเซ็นไว้นั้นเกิดปัญหาอะไรหรือเปล่า"

ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง นั้นจัดเป็นสินค้า โภคภัณฑ์ อย่างหนึ่งปัจจัยสำคัญอยู่ที่วัตถุดิบ หากว่าซัพลลายเกิดมีปัญหาก็จะไปมีผลกระทบต่อแผนการตลาดและราคาขายด้วย

ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมทูน่า กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่า " การเคลื่อนไหวของราคาสินค้าทูน่า กระป๋อง นี่ขึ้นอยู่กับราคาซัพพลาย ของวัตถุดิบคือทูน่า ดังนั้น หากการเก็บสต๊อกมีปัญหา การพยากรณ์ ด้านการตลาดก็อาจจะผิดพลาดได้"

ในช่วง2 ปี ที่ผ่านมา พัทยาฟู้ด ได้ทำสัญญากับ BC Packer ในแคนาดา ซึ่งว่ากันว่า ตลาดที่นี่เป็นตลาดที่เน้นในเรื่องคุณภาพอย่างมาก ไม่ใช่ว่า บริษัทผู้ผลิตทุกแห่งจะเข้าไปในตลาดแคนาดาได้ง่าย ๆ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวอีกว่า " ไม่ว่าจะเป็นยูนิคอร์ด ไทยยุเนียน ทีเค พัทยาฟู้ดน ต่างอยากเข้าตลาดแคนาดามาก เพราะราคาดี แต่ไม่มีใครสามารถเข้าได้ ถูกปฏิเสธกันโดยถ้วนหน้า"

หน่วยงานหลายแห่ง จึงได้ร่วมมือกันเจาะตลาดอาหารกระป๋องแคนาดา สมาคม ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และศูนย์บริการส่งออก กรมพาณิชย์สัมพันธ์ ได้ร่วมกันเชิญเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพด้าน FDA จากแคนาดา มาเยี่ยม โรงงานในไทย ซึ่งปรากฏว่า เจ้าหน้าที่เหล่านี้ ให้การยอมรับคุณภาพโรงงานเพียงบางแห่งเท่านั้น พัทยาฟู้ดฯ เป็นหนึ่งที่เข้าข่ายตามมาตรฐานของตลาดแคนาดา

เมื่อเป็นดังนี้ ก็เท่ากับพัทยาฟู้ดฯ มีช่องทางขายในตลาดแคนาดาแล้ว สมบรูณ์ จึงบินไปเจรจากับลูกค้าต่าง ๆ เช่น โอเชี่ยน พิชเชอร์ และ BC PACJER ซึ่งล้วนเป็นบริษัทจำหน่ายรายใหญ่แคนาดา ในที่สุดตกลงกับ BC Packer ได้โดยทาง BC Packer รับซื้อทูน่า กระป๋อง ทั้งหมด ที่พัทยาฟู้ดฯ จะส่งไปขาย ในตลาดต่างประเทศ ยกเว้นตลาดสแกนดิเนเวีย เท่านั้นที่ BC Packer จะไม่เข้าไปยุ่ง ให้พัทยาฟู้ดฯ เป็นผู้ขายเอง

อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า BC Packer ก็มีโรงงานผลิตออาหารกระป๋องขชองตนเองด้วย เมื่อซัพพลายอาหารกระป๋องในตลาดมีเป็นจำนวนมาก กว่าดีมานด์แล้ว แน่นอนว่า BC Packer ก็ต้องซื้อจากโรงงานของตัวก่อน ที่จะรับซัพพลายจากที่อื่น ถึงจะมีสัญญาอยู่ก็ตาม

การณ์เป็นดังนี้ ทำให้เกิดปัญหา เรื่องสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปของพัทยาฟู้ดฯ เหลืออยู่มาก และส่งผลกระทบทำให้การวางแผนการตลาด เกิดมีปัญหาตามมา คณะกรรมการบริษัทฯ สงสัยในเรื่องนี้กันมาก ปมปัญหาพุ่งไปที่ปีเตอร์ เพราะเขาเป็นผู้รับผิดชอบการเจรจากับ Bc Packer

ความจริงผู้เซ็นสัญญาในเรื่องนี้ คือสมบูรณ์ แต่หลังจากตกลงกันแล้ว ผู้ที่มารับหน้าที่ประสานงานต่อปีเตอร์ แหล่งข่าววงในพัทยาฟู้ดฯ กล่าวว่าสินค้าทูน่าที่ส่งออกจะมีออร์เดอร์ล่วงหน้า 3 เดือน 6 เดือน บ้างหรือแม้กระทั่งปีหนึ่งล่วงหน้า ก็มี เขามีตารางมาเลยว่า เดือนไหนส่งออกเท่าไหร่ เราก็ผลิตไปตามนั้น สาเหตุที่ของเหลืออยู่ก็เพราะ Bc packer อ้างว่าตลาดช่วงนั้นไม่ค่อยดี อยู่ในภาวะ Slow Down แต่ในเมื่อของผลิตออกมาแล้ว อยู่ในภาวะ Slow down
แต่เมื่อของผลิตออกมา แล้วและเราจะเอาไปขายให้คนอื่นก็ไม่ได้ เพราะมีสัญญากับเขาค้ำคออยู่ มันก็ต้องเหลือค้างอยู่ในสต๊อก

แหล่งข่าว เล่าว่า " เรื่องนี้ คนที่ไม่รู้ ก็คงจะเข้าใจผิดได้ ทางพัทยาฟู้ดฯ มีสัญญากับ Bc Packer มานานกว่า 2 ปี แล้วแต่ไม่มีปัญหา มันขึ้นอยู่กับ ภาวะตลาดด้วย"

เรื่องนี้ว่าไปแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ ในแง่การค้านั้น ย่อมไม่มีพ่อค้าคนใดปราถนาจะเสียประโยชน์และชื่อเสียง แต่หากว่า จะต้องเสียชื่อเสียงสักเล็กน้อย เพื่อการประวิงเวลา อันจะนำมาซึ่งผลประโยช์น์ แล้ว ก็น่าจะเป็นเรื่องรอมชอมกันได้ แต่ปรากฏว่าในส่วนของผู้ถือหุ้น พัทยาฟู้ดฯ ไม่สามารถทำความเข้าใจในเรื่องนี้ แหล่งข่าวให้เหตุผล ว่าปีเตอร์ตัดสินใจลาออกเพราะเขาต้องการแสดงสปิริตและความรับผิดชอบต่อบริษัท

ปีเตอร์ขายหุ้นที่ถืออยุ่ 9.33% รวมกับทางเกลนมาร์ค ซึ่งปรากฏว่า ก็เป็นหุ้นของปีเตอร์ด้วยเหมือนกัน 18.66% ทั้งหมดขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อมากน้อยตามสัดส่วนที่แต่ละคนถืออยู่ ผู้ซื้อได้มาก คือลกุ่ม รัชตสวรรค์

ส่วนตัวปีเตอร์นั้น ล่าสุด เข้าร่วมงานเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทล่ำสูง ซึ่งเป็นกิจการเกี่ยวกับน้ำมัน ปาล์ม มีโรงงานหลายแห่งทั่วเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในพัทยา ฟู้ดฯ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดหมายมาก่อน ผลกระทบนั้นไม่เพียงแต่จะต้องมีการปรับปรุงการบริหารขนานใหญ่ ยังจะต้องมีการปรับทิศทางการขยายตัว รวมทั้งเรื่องแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคิดกันมาตั้งแต่ปี 2527 แต่ยังไม่มี ความพร้อมมากนัก ครั้นปี 2530 มีความพร้อมมากขึ้นว่า ก็ยังดูจังหวะอยู่ จนมาถึงตอนนี้ คงต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญในวงการให้ความเห็นว่า" ตลาดทูน่ากระป๋อง มีการแข่งขันกันสูงมาก และประเทศไทย เราก็มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบด้วย คือนอกจากขาดแคลนหายากแล้วยังตัวเล็กลงทุกวัน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์กันใหม่ โดยควรจะเน้นไปทำ Pet Food ให้มากขึ้น และทำหลากหลายประเภทด้วย หรือกระทั่งการทำทูน่าก็จะต้องให้มีหลายประเภท เช่น TUNA IN OILTUNA IN SAUCE TUNA IN JELLY เป็นต้น"

ในส่วนยุทธศาสตร์ต่อไปของพัทยาฟู้ดฯ นั้นผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าก็ควรทำด้านทูน่าและเพิ่ม
pet food มากขึ้น ถือสองอย่างนี้เป็นสินค้าหลัก จะไปหวังพึ่งปู กุ้งไม่ได้ เพราะตลาดเล็กมาก

ส่วนในเรื่องของการบริหาร แหล่งข่าววงใน ให้ความเห็นว่า "การถอนตัวของปีเตอร์ก็มีผลต่อพัทยาฟู้ด แต่ประสบการณ์ของคนที่ยังอยู่คงจะสามารถบริหารต่อไปได้ เพราะพัทยาฟู้ดฯ ในด้านการบริหารและฝึกอบรมไม่ได้มีการยึดมั่นกับตัวบุคคลนัก เมื่อปีเตอร์ออกไป สุธี ซึ่งเป็นมือรองอยู่ก็ขึ้นมาดูแลงานแทนได้แต่ประเด็นคือไม่มีใครเชื่อว่าปีเตอร์จะขายหุ้นเมื่อมองว่าเขาเป็น
ผู้หนึ่งที่ร่วมสร้างพัทยาฟู้ดฯ ขึ้นมากับมือ"

แหล่งข่าววิจารณ์ ด้วยว่า" พนักงานคงจะตกใจกันสักพัก ถ้าพัทยาฟู้ดฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องผู้บริหารหมายถึงเอาผู้บริหารใหม่เข้ามาก็คงจะมีผลทางด้านจิตใจพนักงานกันบ้าง แต่การเปลี่ยนนี้ หากมีการอธิบายกันอย่างชัดเจน ก็คงพอจะรับกันได้"

นั่นหมายความว่า ช่องทางการเข้าไปบริหารของสันติภาพฯ ในพัทยาฟู้ด พอจะมีทางไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าสันติภาพฯ มองโอกาสที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายนี้อย่างไร

บุญชัย เปิดเผยกับผู้จัดการ ว่า ผมคงจะต้องปล่อยให้พวกเขาบริหารกันไปเรื่อย ๆ แต่อาจจะมีการเพิ่มคนเข้าไปร่วมบริหารกับกรรมการชุดเดิมอีก รายละเอียดอื่น ๆ ยังไม่มีอะไร

เป็นคำตอบที่สะท้อนความคิดซึ่งเกิดขึ้นในทันทีที่ถูกตั้งคำถามขึ้น และสะท้อนด้วยว่า บุญชัยอาจไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้

การเติบโตขยายตัวของสันติภาพฯ ในช่วงที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารใหม่อย่างบุญชัย และมาลี เป็นผู้มีความสามารถ แต่การขยายตัวจากจุดนี้ ไปเป็นประสบการณ์ใหม่ที่พยกเขาต้องเรียนรู้อีกมากว่าไปแล้ว ผู้บริหารของพัทยาฟู้ดฯ น่าจะมีความได้เปรียบกว่า เพราะเติบโตบนเส้นทางการซื้อกิจการโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นสยามซีฟู้ดและไทยแคนเนอรี่

ถ้าหากรวมพัทยาฟู้ดฯ เข้ากับกลุ่มสันติภาพ จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ในหมู่ผู้บริหารกลุ่มเดิม ซึ่งล้วนมีฝีไม้ลายมือและประสบการณ์ เชี่ยวกรากในวงการอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องกันมาสิบ ๆ ปี อาศัยจุดแข็งให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะฐานการผลิตซึ่งมีอยู่หลายโรง แบ่งการตลาดให้แน่ชัดระหว่างในประเทศซึ่งมีสันติภาพฯ มีการตลาดที่ดีอยู่แล้ว กับตลาดต่างประเทศที่พัฒนาฟู้ด มีประสบการณ์มานาน ฯลฯ

เรื่องเหล่านี้ไม่เหลือบ่ากว่าแรง มือบริหารที่มีอยู่ไม่ว่าจะสมบูรณ์ บุญชัย และมาลี แต่ปัญหาก็คือ พวกเขาจะกล้าก้าวเดินไปข้างหน้ามากน้อยแค่ไหน บุคลิกของผู้บริหารที่จะตัดสินใจทำธุรกิจด้วยวิธีนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะAGGRESSIVE พอสมควรและต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดการสมัยใหม่ไม่น้อย

มันเป็นเรื่องท้าท้ายบุญชัยและมาลี ในฐานะ ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวมาเป็นเวลานาน เขาทั้งสองจะใช้สายตาที่กว้างไกลคว้าโอกาสทางธุรกิจครั้งนี้มา พัฒนาธุรกิจเดิมให้เติบโตไปสู่ตลาดสากลได้หรือไม่?!

ประสบการณ์ความสำเร็จของยูนิคอร์ด ไทยรวมสินฯ และคิงฟิชเชอร์น่า จะเป็นบทเรียนที่ดีแก่พวกเขาได้ ถึงจุดนี้แล้วคงประเมินได้เพียงว่าถ้าไม่กล้าเดินหน้า ก็ไม่โต!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us