Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533
สวนสยามฟื้นตัวแล้ว             
โดย บุญธรรม พิกุลศรี
 


   
search resources

อมรพันธุ์นคร-สวนสยาม, บจก.
ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ
Amusement Park




ชายชาวราศรีตุลย์คนนี้เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2481 ชีวิตของเขาเคยลิ้มลองทั้งความรุ่งเรืองสุดขีดและตกต่ำอย่างแสนสาหัส เขาได้รับคัดเลือก ให้เป็น" นักธุรกิจตัวอย่างและนักธุรกิจดีเด่น" ในปี 2522 ซึ่งเป็นการจัด ขึ้นครั้งแรก ของสมาคมนักธุรกิจแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นคนที่สร้างเนื้อ สร้างตัว มาจาการทำค้าขาย เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ

แต่ด้วยความขยันและเป็นผู้บุกเบิกพัฒนางานในสายอาชีพของตนเอง มาโดยตลอดจนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด มีอาณาจักรธุรกิจที่นับทรัพย์สินรวมกันทั้งหมดในเวลานั้น แล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ในขณะที่ เขาเพิ่งอายุได้เพียง 41 ปีเท่านั้น

นับเป็นปีที่เขารุ่งโรจน์ที่สุดในชีวิตในฐานะเป็นเจ้าของและประธานกรรมการบริษัทอมรพันธ์เคหะกิจ ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับศูนย์การค้า พหลโยธิน จัดสรรบ้านและที่ดินล้วนแต่ได้รับการต้อนรับจากลูกค้า อย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านกรุงเทพ หมู่บ้านเธียรสวนนิเวศน์ หมู่บ้านบางนา-ตราด หมู่บ้านเสริมสุขนิเวศน์ หมู้บ้านรามอินทรานิเวศน์ และหมู่บ้านอมรพันธ์นิเวศน์

นอกจากนั้น ยังเป็นเจ้าของและประธานกรรมการบริษัท ในเครืออีกหลายบริษัท เช่น บริษัทปัญจมิตรวิสาหกิจ ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านสสถาปัตย์และวิศวกรรมให้ทั้งโครงการในเครือและนอกเครือ บริษัท ปกรกิจ ดำเนินธุรกิจด้านสาธารณูปโภค เกี่ยวกับประปาของหมู่บ้านในเครือ และบางครั้งก็เป็นบริษัทจัดสรร และเป็นเจ้าของตลาดสด ช.อมรพันธ์ ในศูนย์การค้าพหลโยธิน บางเขน หน้ามหาวิทยาลัยเกษตร ซึ่งเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน เรียกได้ว่า เป็นชุมชน แห่งใหม่ ที่เขาได้ทุ่มทุน ปั้นแต่งมันขึ้นมา

เป็นเจ้าของและประธานกรรมการบริษัท อมรพันธ์ ซึ่ดำเนินธุรกิจจัดสรรบ้านและที่ดิน

อาคารพาณิชย์ภายในโครงการตลาดสด และศูนย์การค้าดังกล่าว บริษัทกรุงเทพฯ เมืองใหม่ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสรรอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นโครงการศูนย์รวมธุรกิจและเคหะชุมชนบ้านเมือง ที่กิโลเมตรที่ 29 ถนนวิภาวดีรังสิต ปทุมธานี

คนเก่าแก่ในวงการก่อสร้างและจัดสรรที่ดินกล่าวว่า โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ของไชยวัฒน์ ล้วนแต่เป็นโครงการที่เรียกว่า ก้าวหน้าและทันสมัยทีสุดในยุคนั้น แนวความคิดในการสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่ในลักษณะเป็นโครงการครบวงจร นั้นเรียกได้ว่า เขาเป็นผู้บุกเบิกมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ทีเดียว

นอกจากธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดสรรบ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์

ศูนย์การค้าและตลาดสดแล้ว เขายังได้กระโดดเข้าไปทำธุรกิจสถาบันการเงินขึ้นมาอีกสองบริษัท คือบริษัท ไฟแนนซ์ทรัสต์กับบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์ ช.อมรพันธ์ โดยเขา เป็นเจ้าของและประธานกรรมการเช่นเดียวกับทุกบริษัท

สถาบันการเงินทั้งสองเป็นแหล่งเงินทุนและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ของเขาที่เข้ามาเช่าซื้อบ้านและที่ดินจจากโครงการต่าง ๆ ในเครือ

ในด้านธุรกิจพัฒนาที่ดินในยุคนั้นเรียกว่า กลุ่มไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ หรือ ที่รู้จัก กันทั่วไป ในนามกลุ่ม อมรพันธ์ เป็นกลุ่มใหญ่มาก ๆ ในยุคนั้น และตัวไชยวัฒน์ ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีความคิดก้าวไกลทีเดียว เมื่อเทียบกับวุฒิการศึกษาที่เขามีอยู่เพียงแค่ ป.4

ซึ่งก็ไม่แตกต่างกับตำนานนักธุรกิจตัวอย่าง ของสมาคมนักธุรกิจแห่งประเทศไทยต่อมา ไม่ว่า จะเป็น วินัย เสริมศริริมงคล เจ้าของและประธานกรรมการห้างพาต้า ที่เพิ่งเสียชีวิตไปด้วยวัย 50 ปี เศา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา หรืออย่างสุมิตร เลิศสุมิตรกุล เจ้าของและประธานกรรมการกลุ่มศรีไทยซุปเปอร์แวร์ ซึ่งมักจะมาจากพ่อค้าเล็ก ๆ ที่ใช้ความขยันบากบั่นสร้างตัวมาจนเป็นคนระดับเศรษฐีมีธุรกิจในเครือข่ายมากมาย

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ก็ไม่แตกต่างกันจากครอบครัวคนจีน ขนาดใหญ่ที่มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันถึง 8 คน อาศัยการค้าขายเล็ก ๆ น้อย หาเลี้ยงชีพ จนมาถึงเขา ซึ่งเป็นลูกคนที่สามแล้วก็ยังต้องช่วยเหลือพ่อแม่ของเขา ไม่มีโอกาสที่จะพูดถึงการร่ำการเรียนใหสูงขึ้น เพราะาจะต้องช่วยกันทำมาหากินเลี้เยงครอบครัวและน้อง ๆ ตัวเล็ก ๆ อีกหลายคน

เมื่อเขาเรียนจบชั้น ป.4 จากโรีงเรียน บางบัว เขตบางเขน ก็ได้ออกมาช่วยพ่อแม่ ค้าขายอย่างเต็มตัว จาการเป็นพ่อค้าปลีก เมื่อเขามีเวลามาก ขึ้นก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นพ่อค้าส่ง โดยออกตระเวณซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตด้วยตัวเอง แล้วนำไปส่งยังจุดขายย่อย ๆ ในตลาด ซึ่งปรากฏว่าทำให้เขาทำกำไรดีกว่า

นั่นคือโอกาส สะสมทุนครั้งแรกในชีวิตของเจา

จากเงินที่สะสมไว้ในเบื้องต้นที่พอกพูนร ตามเวลา และวัยซึ่งสัมพันธภาพกันอย่างดี กับประสบการณ์ และเครือข่าย ของผู้คนในตลาด การค้า ที่เขาเข้าไปสัมผัสนทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ไชยวัฒน์ กระโดดขึ้นเป็นผู้ประกอบการ ด้วยวัยเพียง 20 ปีเศษ โดยลงทุน ทำบ่อลี้ยงปลาขาย แล้วก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการเพาะพันธ์ปลาขาย ให้แก่ผู้ที่สนใจ อยากเป็นผูประกอบการเลี้ยงปลา อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเขาเป็นผู้ให้ทั้งพันธ์และเทคนิคการเลี้ยงดู ตลอดทั้งให้คำปรึกษาด้านการตลาดไปด้วย

นี่คือที่มา ของ ช.อมรพันธ์ ซึ่งถือว่าเป็นชื่อที่มีสิริมงคลที่เขาต้องใช้จนทุกวันนี้

ตลาดเพาะเลี้ยงพันธ์ปลาของเขาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจากการที่เขาเคยเป็นพ่อค้า หาซื้อผลิตผล เกษตร ที่จะต้องสัมผัสกับเกษตรกร เจ้าของที่ดินจำนวนมากมายมาก่อน และบุคคลเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นลูกค้าของเขาในเวลาต่อมา รายแล้วรายเล่า จนทำให้เขาพลิกฟื้นฐานะของตัวเองกลายมาเป็นเถ้าแก่ที่ผู้คนให้ความเชื่อถือและเป็ฯลูกค้าได้ดีของธนาคารกรุงเทพ สาขาบางเขน

จากประสบการร์และเครือข่ายที่มีอยู่เดิม ถูกเพิ่มเติม แต่งแต้ม ด้วยเครดิต ทีธนาคารจัดให้ เป็นลูกค้า ชั้นดี กลายเป็นแรงผลักดัน ทำให้เขาได้ พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นนักจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ในอีกขั้นหนึ่ง

เขาเริ่มซื้อที่ดินสะสมไว้เป็นของตัวเอง ก่อนที่จะขายออกไปได้กำไรงาม ๆ พัฒนามาเป็นการจับที่ดินแปลงใหญ่ ขึ้นยแล้วนำมาแบ่งเป็นแปลง ๆ ขายความชำนาญในด้านที่ดิน ย่านนั้นเริ่มตกเป็นของเขา เจ้าของที่ดินย่านบางเขน สพหลโยธิน ไปจนถึงมีนบุรี เจ้าของที่ดินย่านบางเขน พหลโยธิน ไปจนถึงมีนบุรี หนองจอก ล้วนแต่ให้ความวางใจแก่ตัวเขาในด้านนี้ ซึ่งมันได้กลายเป็นจุดแข็งอย่างยิ่งในเวลาต่อมา

โครงการจัดสรรบ้านและที่ดิน ในรูปของหมู่บ้านก็ได้กำเนิดขึ้นในนาม ช.อมรพันธ์ ในขณะที่เขาอายุยังไม่ถึง 30 ปีด้วยซ้ำ

ไม่ถึง 10 ปี โครงการบ้านและที่ดินในเครือ ช.อมรพันธื ก็ดังเป็นพลุ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ในกลุ่มคนชั้นกลาง ที่กำลัง ก่อร่างสร้างตัวสะสมเงินทอง เพราะอยากได้บ้านดี ๆ มีมาตรฐานเชื่อถือได้เป็นของตัวเอง และเป็นชุมชนใหม่ที่มีสาธารณณูปโภคครบครัน

" เมื่อก่อนนี้ยังไม่มีกฎหมายควบคุมเรื่องสาธารณูปโภค แต่เราได้สร้างสิ่งเหล่านี้แก่ลูกค้า ก่อนแล้ว เขารู้สึกว่าเราไม่เอาเปรียบเขา โครงการของเราจึงได้รับการต้อนรับด้วยดี โดยตลอด และมันได้กลายเป็นจุดเด่นของโครงการของเราทุกโครงการตลอดมา" ไชยวัฒน์ กล่าวถึงความสำเร็จของเขาที่มักจะประสบความสำเร็จจาการที่เขาเป็นฝ่ายให้มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำให้คนรู้จักการเลี้ยงปลาขาย หรือ แม้แต่ความคิดในการทำสวนสยามในปัจจุบันด้วยวัยเพียง 35 ปี ไชยวัฒน์

เหลืองอมรเลิศได้กลายเป็นนักธุรกิจทีมื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่ววงการ เริ่มขยายไลน์สู่ธุรกิจสถาบันการเงินโดยตั้งบริษัทไฟแนนซ์เชียลทรัสต์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ช. อมรพันธ์ เพื่อป็นเครื่องมือในการระดมทุนส่วนหนึ่งและปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้า ที่เข้ามาซื้อบ้านและที่ดินในโครงการในเครือของเขาเอง

แล้วก็มาถึงการกระโดดไกลครั้งสำคัญของเขา อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เขาได้รับความสำเร็จสูงสุด เป็นนักธุรกิจหนุ่มใหญ่วัย 40 ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักธุรกิจตัวอย่างและนักธุรกิจดีเด่น ในปี 2522 ต่อมาไชยวัฒน์ ประกาศที่จะลงทุนทำธุรกิจทำสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยให้ชื่อว่า สวนสยามโดยเขาได้จัดตั้งบริษัทอมรพันธ์-สวนสยาม ขึ้น ด้วยทุน 260 ล้านบาท

" มันใหญ่ทั้งจำนวน เงินลงทุนที่จะต้องใช้ถึง 1,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลา ต่อเนื่องของโครงการ ยาวนานถึง 10 ปี และใช้ พื้นที่ทั้งหมดถึง 3,000 ไร่ ซึ่งคาดกันว่า บริเวณรอบ ๆ จะเป็นชุมชนแห่งใหม่ ที่ใหญ่ที่สุด ของกรุงเทพในสมัยนั้น มีทั้งสวนสนุก ขนาด 300 กว่าไร่ มีบ้านและที่ดินทุกขนาด ให้เลือก มีตลาดสด มีศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ ผู้คนจำนวนมาก จะหลั่งไหลเข้ามาอยู่ที่นี่" คนใกล้ ชิดของไชยวัฒน์ กล่าวถึงอดีตที่สำคัญตอนหนึ่ง

ทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนการเงินอย่างดี จากธนาคารกรุงเทพ แรกเริ่มโครงการ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านบาท ซึ่งชาตรี โสภณพนิช เพิ่งเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ หมาดๆ เดินทางมาเป็นเกียรติ เปิดแพรคุมป้ายโครงการด้วยตัวเองในฐานะที่ไชยวัฒน์เป็นลูกค้าชั้นดี และธนาคารของเขาให้การสนับสนุนสวนสยามซึ่งสร้างขึ้น ให้เป็นสวนสนุก และทะเลน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชีย เป็นเสมือนไข่แดง ของโครงการ ที่แวดล้อม ด้วยโครงการหมู่บ้านสวนสยาม

ไชยวัฒน์ จับเอาสวนสยาม เป็นจุดเด่น ของโครงการและสร้างภาพพจน์ ว่าเป็นโครงการที่เขาเริ่มคืนสิ่งที่เขาได้มาในอดีตแก่ประชาชน โดยการลง ทุนทำสถานที่พักผ่อนหย่อนใจประชาชน โดยองค์กรเอกชนซึ่งไม่เคยมีใครทำใหญ่ขนาดนี้ มาก่อน นอกจากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กร สาธารณสุขซึ่งมีเงินจากภาษีอากร และเงินบริจาคสนับสนุน

" ทำบ้านขายได้กำไรแน่นอน ทำทรัสต์รับฝาก มา 12% ปล่อยกู้ 18% กำไรแน่ ๆ แต่ทำธุรกิจสวนสนุกปิดประตูกำไร มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ทำแต่ผมอยากจะให้สิ่งเหล่านี้แก่ประชาชน" ไชยวัฒน์ มักจะกล่าวคำนี้บ่อยครั้ง

จนมีคำพูดทีเล่นทีจริงว่าไชยวัฒน์ ตั้งใจทำ สวนสยาม เพื่อหวังจะขายบ้าน ที่สร้างขึ้นมาบริเวณรอบ ๆ สวนสยามมากว่า

เนื่องจากโครงการที่เขาเห็น ว่าจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ต่อส่วนรวม เขาจึงของควมร่วมมือจากรัฐบาลโดยขอรับการส่งเสริมทจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

หรือ BOI เพื่อขอยกเว้น ภาษีนำเข้า อุปกรณ์เครื่องเล่นภายในบริเวณสวนสนุก และเครื่องทำคลื่นทะเลน้ำจืด ขนาดมหึมา จากมูลค่าสินค้า ที่จะนำเข้าประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสียภาษีรวมกันทุกอย่าง แล้วตกประมาณ 65%

แต่ในขณะนั้น รัฐบาลยังไม่กระดิกหู ที่จะพูดถึงการส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว ในประเทศ บาปกรรม จึงตกอยู่แก่ไชยวัฒน์ ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิมขึ้นจาก ภาษีนี้ไว้เอง ในฐานะเป็นคนที่คิดไปไกลกว่ารัฐบาล

ไชยวัฒน์ ยื่นขอส่งเสริม BOI ไปถึงสองครั้ง โดยอ้างเหตุผลว่า ธุรกิจของเขานั้นเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตา ที่มีสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ไม่แพ้ยุโรปอเมริกา ที่เจริญแล้ว และคนไทยทุกคนจะได้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในราคาถูก ๆ คนจน ๆ ก็มีสิทธิ์สนุกสนาน ทั้งช่าวยแบ่งเบาภาระงบประมาณในการสร้างสวนสาธารณะของรัฐบาลด้วย

" คนจนก็มีสิทธิเที่ยว คนมีเงินก็ไม่ต้องเสียเงินเสียทองไปท่องเที่ยวถึงต่างประเทศ เพราะที่นี่ จะเป็นดีสนีย์แลนด์เมืองไทยทีเดียว" เขากล่าวกับ " ผู้จัดการ" ถึงความยิ่งใหญ่ของสวนสยามขณะนั้น

แต่ไชยวัฒน์ ต้องพบกับความน่าเศร้า ที่ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล เจ้านห้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอรายงานขึ้นไปว่า ธุรกิจสวนสนุก เป็นของฟุ่มเฟือย และกฎหมายของ BOI ก็ไม่ได้กำหนดใหเป็นประเภทธุรกิจที่จะให้การส่งเสริมได้

ควาามคิดและสายตาของคนเรามันช่างห่างกันไกลเสียจริง ๆ

ยังไม่รวมถึงสาธารณูปโภค ทุกอย่าง ไชยวัฒน์ จะต้องสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง ถนนคอนกรีต เสริมเหล็กอย่างดี ความยาวเป็นกิโลเมตร ขนาดความกว้างถึง 4 เลน ที่จัดจาก ถนนสุขาภิบาล 2 ไปทะลุ ถนนรามอินทรา เขาต้องลงทุน มหาศาล ซึ่ทำได้ ดีกว่าถนนของรัฐทั้งสองสาย ที่ยังเป็นดินลูกรังอยู่ในเวลานั้น

ระบบปะปา สุขาภิบาล ต่าง ๆ ตลอดทั้งการขนส่งมวลชน ยังไม่ได้รับความสนใจจากรัฐ อันเนื่องมาจากไชยวัฒน์ ไปสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ที่อยู่ไกลกลางทุ่งนา ซึ่งสาธารณูปโภค บางอย่างก็จนด้วยเกล้าที่รัฐจะบริการได้ทั่วถึง

จากประสบการณ์และผลงานที่เป็นที่เชื่อถือ ของลูกค้ามานาน ไชยวัฒน์ มั่นใจว่า จะไม่พลาด ถ้าไม่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ ของโลก และประเทศไทยทรุดลงไปเสียก่อน อันเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ดอกเบี้ยแพงขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ล้ม สถาบันการเงินต่าง ๆ ถึงกับต้องล้มลงอย่างต่อเนื่องกันเรื่อยจมา

โครงการหมู่บ้าน จัดสรรต่าง ๆ ล้มเหลว ปิดกิจการหนีเจ้าหนี้ และลูกค้า ความเชื่อถือในสถาบันการเงินและหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเสื่อมถอย พร้อม ๆ กับความตกต่ำในอำนาจซื้อขปงประชาชน

สิ่งเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อโครงการสวนสยามของไชยวัฒน์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเช่นกัน บ้านและที่ดินนับพันยูนิต ที่สร้างขึ้นมา ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ในขณะที่ดิกเบี้ยร้อยละ 16.5% ที่กู้มาลงทุน กับการปรับพื้นที่และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เบ่งบานขึ้นทุกวัน

ตำพริกละลายแม่น้ำ นั้นมันยังจมหายไปเฉย ๆ

แต่การลงทุนนั้นอกจากเงินต้นจะจมหายไปแล้ว ดอกเบี้ยมันยังพอกพูนขึ้นมาเหยียบย้ำน้ำใจกันเป็นทวีคูณ ธุ รกิจในวงการต่าง ๆ หยุดการลงทุนอย่างสิ้นเชิง ไชยวัฒน์ แก้ปัญหา ด้วยการขายทรัพย์สินที่เขามีอยู่ออกไป เรริ่มขายไฟแนนเชียลทรัสต์ และเครดิตฟองซิเอร์ ช.อมรพันธ์ ให้แก่กลุ่มสากลเคหะของ สุรินทร์ ตุณวัฒนจิตร ในราคาประมาณ เดือบ 300 ล้าน บาท เพื่อให้ได้เงินมาส่งดอกเบี้ยและลดเงินต้นลงบ้าง

หมู่บ้านที่ขายไม่ออก ธนาคารกรุงเทพก็ ค่อยยึดไปเรื่อย ๆ จนหมดโครงการ

ไม่มีใคร เข้ามาเที่ยวในสวนสยาม มันไม่ใช่ปัญหาบริการที่ยังไม่พร้อมเต็มที่ และอยู่ในย่านที่ห่างไกล อย่างที่ได้กล่าวติดปากกันว่า ร้อน แพง ไกล เท่านั้น หากแต่ประชาชนไม่มีกระจิตกระใจ ที่จะเที่ยวในภาวะเศรษฐกิจที่คับขันเช่นนั้นต่างหาก

" การทำสวนสนุก ก็ยังไม่เต็มตามโครง

การ รายได้ที่วางไว้ ก็ไม่เกิด ภาระดอกเบี้ยก็สูงมาก จาก 16.5 เป็น 17% มันก็ยิ่งเหมือนวัวพันหลัก" คนใกล้ชิดของไชยวัฒน์ คนหนึ่งกล่าว

ข่าวลือ เรื่องสวนสยาม จะล้มทวีความรุนแรง ขึนเรื่อย ๆ เป็นเงินตามตัว ทำให้ความร่วมมือทั้งด้านการค้า และพนักงานเกิดความระส่ำระส่าย หนักขึ้นไปอีก

แต่ไชยวัฒน์ พูดอยู่เสมอว่า เขาต้องการให้ สวนสยาม อยู่ต่อไป มันเป็นอุดมการณ์ อันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้เขาต้องเอามันให้อยู่ แม้ว่า เขาจะขายทรัพย์สินอย่างอื่น ออกไปทั้งหมด เสมือนเขาต้องการให้ สวนสยาม เป็นอนุสรณ์แห่งชีวิตของเขา เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว ก็ต้องทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นวาเขาได้สร้างอะไรที่เป็นประโชน์ต่อชาติบ้านเมืองบ้าง

ธนาคารกรุงเทพ หยุดให้วงเงินหล่อเลี้ยงโครงการ

" ธรรมมดา ไม่ว่าแบงก์ไหน ๆ ก็เหมือนกัน เขาทำธุรกิจเขาก็มีความเสี่ยงและหวังผลกำไร ถ้าเผื่อว่าโครงการมันจะไปไม่รอด หลักทรัพย์ไม่คุ้มหนี้ เขาก็ไม่ให้กู้ ถ้าโครงการดีท่าทีจะมีกำไร เข่าก็ต้องให้การสนับสนุน" ไชยวัฒน์ ทีได้รับจาการลดฐานะจากลูกค้าชั้นดีมาเป็นลูกค้าที่ถูกจำกัดสินเชื่ออย่างลูกผู้ชายกับ " ผู้จัดการ"

ก่อนที่จะพูดถึงบุญคุณที่แบงก์กรุงเทพมีต่อเขาว่านับตั้งแต่เขาเกิดมาในวงการธุรกิจเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากแบงก์กรุงเทพมาตลอด ในเมื่อเขาเติบโตด้วยน้ำข้าวของแบงก์กรุงเทพ เมื่อจะต้องตกต่ำ เพราะแบงก์กรุงเทพ ก็ไม่เห็นจะเป็นไร จนปัจจุบัน เขาเองก็ยังใช้บริการแบงก์กรุงเทพ อยู่แบงก์เดียว ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

" มันก็ผลิตหลักบริหารที่ใช้บริการแต่แบงก์เดียว แต่ผมถือความกตัญญูแบบจีนโบราณ เราเติบโตมาได้เพราะน้ำข้าวเขา ถึงวันหนึ่ง จะล่มจมลง เพราะเขาก็ไม่เห็นแปลก ซึ่ง จริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่เงินแบงก์ แต่เป็นเงินของประชาชน เราเอาเปรียบแบงก์ ก็เท่ากับเอาเปรียบประชาชน" ไชยวัฒน์ พูดอย่างเปิด อก กับ " ผู้จัดการ" ถึงสถานการณภาพการเป็นลูกหนี้

เขากล่าวว่า ใน่วงเวลาที่เขาประสบปัญหานั้น เขาไม่เคยเสนอเงื่อนไข หรือขอความช่วยเหลืออะไรจากแบงก์เลย มีอยู่ครั้งเดียวที่แบงก์ลดดอกเบี้ยลงให้จาก 16.5 เหลือ 8% ก็เป็นเรื่องที่แบงก์พิจารณาตามความเหมาะสมเอง

นอกจากสถาบันการเงินสองแห่งนัน้แล้ว ไชยวัฒน์ ได้ขายทรัพย์สินพวกที่ดินที่ชะอำ 106 ไร่ ได้เงิน 30 ล้านบาท ที่ดินที่เชียงใหม่ 3 ไร่ ได้เงิน 10 ล้านบาท ที่ดินที่ระยอง 36 ไร่ ได้เงิน 20 ล้าน และที่ดินที่มีนบุรี บางส่วนได้เงิน 10 ล้านบาท ซึ่งทุกบาทที่เขาได้มาก็ล้วนแต่ทุ่มเทลงกับสวนสยาม ทั้งสิ้น เมื่อรวมทุกส่วนที่กู้มาจากธนาคาร กรุงเทพ จนถึงปัจจุบัน ไชยวัฒน์กล่าวว่า เป็นเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ที่เขาลงไปกับสวนสยาม

ทำไมไชยวัฒน์ ไม่ขายสวนสยามออกไปแล้ว เอาธุรกิจอย่างอื่น ไว้ โดยเฉพาะ สถาบันการเงิน คือไฟแนนเชียลทรัสต์ และเครดิต ฟองซิเอร์ ซึ่งทำเงินได้ดีกว่า

เขาบอกกับ " ผู้จัดการ" ว่ามันง่ายเกินไปที่จะทำกำไรจากทรัสต์ รับฝากมาแล้วปล่อยกู้ออกไปได้เงินแน่นอน พวกหมู่บ้านสร้างขึ้นมาแล้วขายเห็นกำไรอยู่ชัด ๆ แต่สวนสยามเป็นธุรกิจที่ท้าทายมากกว่า

" หันมาทางด้านสวนสนุก แล้วก้ไม่ควรจะทำหลายอย่าง จะได้ทุ่มเทให้กับสวนสยามอย่างเต็มที่ หรืออย่างสวนสยามนี่ถ้ามันพลาดพลั้งขึ้นมา ก็ไม่มีใครเดือดร้อน เดือดร้อนรับกรรมคนเดียว แต่ถ้าทำทรัสต์พลาดมาประชาชนคนฝากเงิน เดือดร้อน แต่ถ้าทำทรัสต์พลาดประชาชนคนฝากเงินเดือดร้อน สร้างบ้านมีปัญหาคนจองคนซื้อเดือดร้อน" ไชยวัฒน์ กล่าวถึงเหตุผล ที่เขาต้องการทำสวนสยามอย่างเดียว

แม้ความฝืดเคือง ในการหาแหล่งเงินทุนมาทำสวนสยาม ต่อไชยยวัฒน์ จะเป็นอุปสรรคยิ่งใหญ่ แต่เขาก็ได้ใช้ความอดทน เพียรพยายามสร้างสวนสยามให้พื้นตัว ขึ้นมาตลอดเวลาเงินที่ได้จากการทยอยขายทรัพย์สินที่ดินและเหลือจาการชำระหนี้ก็นำมา

เป็นทุนดำเนินตการ แม้จะเต็มไปด้วยความเชื่องช้า และการตลาดก็ทำไปเรื่อย ๆ ก็ตาม 8 ปีเต็ม ที่เขาใช้เวลา ในการสร้างและเรียนรู้

ประสบการณ์การบริหารธุรกิจสวนสนุกไปเรื่อย ๆ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ค่อนข้างสมบูรณ์ การบริหารที่เรียกได้ว่าชำนาญ แล้วก็ผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ด้วยดี

ข้อมูลที่ไชยวัฒน์ เล่าให้ " ผู้จัดการ" ฟังนั้น ค่าใช้จ่าย เฉพาะค่าอาหาร ค่าจัดการ พนักงาน และ บำรุงรักษาเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รวมถึงการสร้างขึ้นมาใหม่ ต้องใช้ถึงเดือนละ 4 ล้านบาท ดอกเบี้ยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย ก็เพิ่มขึ้นเดือนละ 5 ล้าน รวมแล้วขาดทุน เดือนละเกือบ 10 ล้านบาท หรือปีละ ประมาณ 100 ล้านกว่าลาท

" ที่ผ่านมา เราแทบจะไม่ได้ทำงานทางด้านการตลาดกันเลย ก็มัวแต่หาเงินจาการขายที่ดิน มาใช้หนี้ และเหลือก็มาลงทุนก่อสร้างและจัดหา อุปกรณ์เพิ่มเติมให้ได้ตามโครงการที่วางไว้"

ธุรกิจสวนสนุกต้องมีการลงทุนด้านอุปกรณ์การเล่นใหม่ตลอดเวลา เพื่อดึงคนมาเที่ยว สิ่งนี้ไชยวัฒน์ ทราบดี

" เราเพิ่งมาพร้อมเอาจริง ๆ เมื่อปี 2532 ที่ผ่านมานี้เอง" ไชยวัฒน์ กล่าวถึงความสามารถในการชำระหนี้ ของเขาในธุรกิจสวนสยามได้เข้มแข็ง ขึ้นหลังจากใช้ความพยายามนับ 8 ปี ในการฟื้นตัว กล่าวคือขาดทุนประมาณ เดือนละ เกือบ 10 ล้าน มาเป็นเหลือแค่ 1-2 ล้าน เท่านั้น และถ้าหากไม่เอา รายจ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 4-5 ล้าน แล้วจะได้กำไร ถึง 2-3 ล้านบาททีเดียว

การบริหารสู่การฟื้นตัว ไม่ใช่เรื่องง่าย เลย ไชยวัฒน์ บอกว่าเขา ต้องปลุกขวัญ กำลังใจพนักงาน กลับมา และเริ่มให้มีการฝึกอบรมพนักงาน ของเขา ซึ่งมีถึง 400คน ให้เกิดจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้บริการ เพราะธุรกิจของสวนสยามเป็นธุรกิจบริการต้องทำเป็นมืออาชีพ ทางด้านนี้ " ทันทีที่สภาพคล่องมีฐานะดีขึ้น แบงก์กรุงเทพก็อัดฉีดวงเงินให้ปกติอีก 400 ล้านอัตราดอกเบี้ย ประมาณ 14 % เพื่อลงทุนปรับปรุงอุปกรณ์ในสวนสยาม" แหล่งข่าว กล่าวถึงผลจาการเริ่มฟื้นตัวของไชยวัฒน์

จากากรที่เป็นคนทำอะไร ด้วยตัวเองคนเดียว ไชยวัฒน์ ได้เสริมบทบาทให้แก่กรรมการผู้จัดการ วีระยุทธ จึงสุระ มากขึ้น เขาเองกลับมาวางบทบาท ในฐานะประธานกรรมการอย่างจริงจังมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว วีระยุทธ ก็ไม่ใช่คนอื่น เป็นคนในครอบครัวเดียวกันกับเขา นั่นเอง ในฐานะน้องเขย ที่อยู่ร่วมบุกเบิก และสร้างสวนสยาม มากับเขา ตั้งแต่ ยุคเริ่มต้น เมื่อ 10 ปีก่อน วีระยุทธ จึงเป็นคนที่รู้ประวัติศาสตร์ที่ซาบซึ้งของสวนสยาม ดี คนหนึ่ง พอ ๆ กัยไชยวัฒน์ ซึ่งซึ่งต่างก็ได้รับประสบการณ์และเรียนรู้มันมาด้วยกันเป็นเวลายาวนาน

วีระยุทธ์ จึงสุระ ปีนี้ เขาอายุ 37 ปี จบมาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก FAR EASTERN UNIVERSOTY ประเทศฟิลิปินส์ เคยทำงาน เป็นสถาปนิก project architect โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

เข้าร่วมงานกับกลุ่มอมรพันธ์ ของไชยวัฒน์ ตั้งแต่ทำบริษัทกรุงเทพเมืองใหม่ ในตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ ก่อนที่จะมาเริ่มต้นทำโครงการสวนสยาม ตังแต่ปี 2527 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทอมรพันธ์- สวนสยาม จนถึงปัจจุบัน แต่งงานกับ นงนุช เหลืองอมรเลิศ น้องสาวคนหนึ่งของไชยวัฒน์

เมื่อสามปีที่ผ่านมา ไชยวัฒน์ ได้ อำนาจ เหลืองอมรเลิศ น้องชายคนสุดท้อง ที่เขาส่งไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เข้ามาเสริม อีกแรง อำนาจจบด้านบริหารธุรกิจจาก Montgomery college เคยทำงานกับ seven eleven ที่วอชิงตัน ก่อนที่จะเข้าทำงานในเมืองไทย เป็นรองกรรมการผู้จัดการบริษัทเอเชียคอนกรีต

อำนาจถูกส่งไปฝึกงานที่สวนสนุก Black pool Pleasure Beach ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกกันว่าเป็นสวนสนุกที่ใญ่ที่สุดในยุโรป ก่อนที่จะเข้ามาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของสวนสยามเมื่อ 2530 แล้วขึ้นเป็นกรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เมื่อต้น ปีที่ผ่านมา ซึ่งยังดูแลรับผิดชอบการขายและการส่งเสริมการขายอยู่เช่นเดิม

อำนาจถูกวางตัวให้เป็นนักสร้างสรรค์ กิจกรรม และสร้างภาพพจน์ ของสวนสยาม สองปีที่ผ่านมา ก็พอจะทำให้ เห็นฝีมือ ของเขาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย

เขาเป็นคนที่นำหลักการวิจัยและพัฒนา เข้ามาใช้กับธุรกิจสวนสยามอย่างได้ผล ซึ่งเขาพูดว่า " เรากำลังงเกาถูกที่คันบ้างแล้ว" หมายความว่า กลยุทธ์การตลาดของเขากำลังไปถูกทิศทางที่ควรจะเป็น

กิจกรรมและยุทธวิธีการขยายของเขา เริ่มนำมาใช้ อย่างจริงจัง คือการเจาะกลุ่มทัวร์ การจัดโครงการวันครอบครัว ให้แก่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ให้เข้ามารู้จักสวนสยาม มากขึ้น และจัดโครงการทัศนศึกษาให้แก่นักเรียน ทั่วประเทศ ซึ่งอำนาจบอกว่า สวนสยาม ไม่ใช่สวนสนุก แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นสถานที่ที่จะให้ความรู้ แก่เยาวชน ได้ทุก ด้าน เช่น การสาธิต การช่วยเหลือคนจมน้ำ ซึ่งเป็นด้านสุขภาพอนามัย ด้านประวัตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การจัดงานแสดงสินค้า การจัดเทศกาลซัมเมอร์ฮอลิเดย์ หรือสติวเดนส์เดย์ในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม

คนในสวนสยามคนหนึ่ง บอกกับ " ผู้จัดการ" อีกว่า อำนาจ เหลืออมรเลิศ จะเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญต่อกลุ่มอย่างยิ่ง ในด้าน ต่างประเทศ ทั้งในแง่ ของการตลาด และการร่วมลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต แม้ว่าปีนี้ เขาจะมี อายุ เพียง 31 ปีเท่านั้น

นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มบทบาทให้แก่ วิวัฒน์ ชำนาญธรรม ลูกหม้อที่อยู่ด้วยกัน มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเช่นกัน ซึ่งนอกจากความเชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของกาลเวลา แล้ว เขายังเป็นคนเก่า คนแก่ ที่รู้จักตำนานการตี่อสู้พลิกคว่ำพลิกหงายของสวนสยามดี จนเข้าไปในเส้นเลือดเสียแล้วก็ว่าได้

วิวัฒน์ อายุ ครบ 36 ปี นับว่า เป็นผู้คร่ำหวอด ในวงการนี้ มานาน หลังจากจบพลศึกษา จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ แล้ว เขาทำงาน เป็นหัวหน้าสระว่ายน้ำ จนได้เลื่อนตำแหน่งใหเป็นหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนที่จะเข้ามาร่วมงานกับสวนสยามเมื่อปี 2523

เขาเริ่มงานกับสวนสยาม ในตแหน่งหัวหน้า ส่วนช่วยชีวิตทางน้ำ ซึ่งเป็นส่วนงานที่อยู่เบื้อหลังที่สำคัญอย่างยิ่ง ของทะเลน้ำจืดอันมหึมาแห่งนี้ จากนั้นได้รับเลื่อนให้เป็นผู้จัดการฝ่ายบริการรธุรกิจ ขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริการ ในปี 2530 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ในปี 2532 และเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานฝ่ายการตลาดและฝ่ายบริการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

กล่าวกันว่า วิวัฒน์ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการสรรค์สร้างงานบริเวณภายใน ซึ่งในด้านกลยุทธ์การตลาดแล้วถือว่า เป็นของแถมให้แก่ลูกค้าใให้แต่ละเทศกาล หรือที่เรียกว่าสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริการให้คุ้มค่าสำหรับลูกค้ามากขึ้น

" มาเที่ยวสวนสยาม หรือมาเที่ยวสวนน้ำ ซึ่งมี ทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรือเพาะ ม้าหมุน เกมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทางสวนเกมให้แก่ลูกค้าในอัตราค่าบริการคงเดิม สิ่งเหล่านี้ วิวัฒน์เขาดูแล รวมไปถึง ด้านการตลาดด้วย" อำนาจ เหลือง อมรเลิศ กล่าวถึงบทบาทของวิวัฒน์ให้ " ผู้จัดการ" ฟัง

เป็นเพราะความพร้อมของสวนสยาม ทั้งทางด้านสถานที่ บริการ และการบริหาร มีมากขึ้น และภาวะเศรฐกิจของประเทศวดีขึ้นอย่างมาก ในสองสามปีที่ผ่านมา ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จากเมืองที่อยุ่กลางทุ่งนา กลายเป็นเมืองที่จอแจไปด้วยผู้คน หมู่บ้านที่เกิดใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด บ้านของสวนสยาม เองที่แบงก์กรุงเทพยึดไว้ขายออกจนหมด ถนนสุขาภิบาล1 กับถนน รามอินทรา ที่เป็นดินลูกรัง เดิมได้กลายเป็นถนนคอนกรีตขนาดใหญ่ 6 เลน และเป็นสายสำคัญที่เชื่อมหนองจอก มีนบุรี และแปดริ้ว เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันกับกรุงเทพฯ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้คนมาเที่ยวสวนสยามมากขึ้น และรายได้ ของสวนสยามเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย

ไชยวัฒน์ กล่าวว่า จากประมาณ การผู้เข้ามาเที่ยวสวนสยาม ที่ต้องการให้เป็นจุดคุ้มทุนจำนวนปีละ 2 ล้านคนนั้น ปรากฏว่าทำได้เกินเป้ามาสองปี ติดต่อกันแล้ว " สำหรับปีนี้ เพียงครึ่งปีก็มีคนแก่เข้าเที่ยวสวนสยามแล้วถึง 11.5 ล้านคนแล้ว สูงกว่าที่เราประมาณการไว้ถึง 50% ถ้าได้ตามเป้าหมาย 2 ล้านคน เราก็จะมีรายได้ จาการขายในปีนี้ ถึง 200 ล้านบาท " ไชยวัฒน์ บอกกับ " ผู้จดัการ" ด้วยความสดชื่น

กลยุทธ์ ของสวนสยาม ไชยวัฒน์ บอกว่า ก็ยังเป็นทะเลน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย เป็นสวนสนุกที่มีกิจกรรม การละเล่น ในเทศกาลต่าง ๆ และมีอุปกรณ์ในการให้ความสนุก อย่างครบครันที่สุด มีความสะดวกสบาย และความปลอดภัยสูงสุด ราคาค่าผ่านประตูเท่าเดิม แต่ก็ยังมุ่งเน้นกลุ่มคนไทยมทากว่าชาวต่างประเทศแม้ว่าขณะนี้จะปรากฏว่ามีทัวร์ต่างประเทศ

ติดต่อมากันเองไม่น้อยกว่า 20% ของผู้ที่เข้ามาทั้งมหมดแล้วก็ตาม

" ผมยังอยากให้สวนสยามเป็นสมบัติที่คนไทยทุกคนภาคภูมิใจ " ไชยวัฒน์ กล่าว

ค่าบัตรผ่านประตู สำหรับทัวร์ต่างประเทศ คนละ 200 บาท แต่สำหรับคนไทย คนละ 80 บาท เด็ก 50 บาท และถ้าเป็นกลุ่มกิจกรรมในนามของ โรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ คิดค่าบริการแบบเหมา จ่ายเพียง คนละ 20 บาท รวมทั้งค่าพักในกรณีค้างคืน ซึ่งเป็นการช่วยค่าใช้จ่ายเรื่องค่าน้ำค่าไฟ เท่านั้น

สำหรับกลุ่มครอบครัว ได้มีการเจาะเข้าในองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีความประสงค์จะจัดงานเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นงานปีใหม่ ฉลองครบรอบ ฉลองการขาย การแข่งขัน กีฬา ค่าใช้จ่ายแล้วแต่วัตถุประสงค์และโปรแกรมของงาน ว่าต้องการอะไรบ้าง ซึ่งกรรมการผู้ช่วยผู้จัดการเปิดเผยว่า คิดเฉลี่ย ต่อคนแล้วจะตกประมาณ คนละ 50 บาท

ส่วนกลุ่มลูกค้า ทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของสวนสยาม นั้นใช้โฆษณา เป็นเครื่องมือดึงดูดให้เขาเข้ามา และได้มีการออกบัตรรายปี ที่เรียกว่า บัตรสมาชิกในราคาบัตรละ 200 บาท ซึ่งสามารถ ใช้บริการ ฟรี ตลอดปี และลด 50% สำหรับคนที่มาด้วย

ได้มีการร่วมมือกับเป๊บซี่ คอลเกต และสินค้าอีกหลายตัว เพื่อออกบัตร สมาชิกให้ฟรี หรือจ่ายเพียง 100 บาท ต่อปี แล้วแต่ข้อตกลงกับสินค้าตัวนั้น ๆ

ไชยวัฒน์ เปิดเผยกับผู้จัดการ ว่า เขาได้ลงทุน เพิ่มขึ้น อีก 120 ล้านบาท ในการเตรียม ต้อนรับ เทศกาล ครบรอบ 10 ปี สนสยาม ในเดือนธันวาคม 2533 ที่จะถึงนี้

เงินจำนวน 120 ล้านบาทลงทุนไปกับการทำร้านอาหาร ห้องเกม ห้องการแสดง ในบริเวณประตูททางเข้า ซึ่งเป็นอาคารตะวันตกที่ติดแอร์ เป็นเหมือนชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ขนาดไม่ยอมเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ก็ลงไปกับการสร้าง แสตนด์ ขนาดใหญ่ รูปทรงแบบโรมัน ตรงใจกลางสวน เพื่อเป็นที่พักผ่อน และชมขบวนการแสดงต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นตลอดระยะเลา 6 เดือน ของเทศกาลนี้ ส่วนที่ เหลือใช้ในการซ่อมแซม ที่มีอยู่เดิม ให้ดูใหม่และสดใสมากขึ้น หลังจากใช้งานมานาน ไม่ว่าทะเลน้ำจืด น้ำตก เรือเหาะ สไลเดอร์ และอีกมาก

ไชยวัฒน์ กล่าวว่า ผู้เข้ามาเที่ยวจะใช้เงินประมาณ 100 บาท ค่าบัตรผ่านประตูจะไม่เก็บเพิ่มจาก 80 บาท และ 50 บาท แต่จะมีรายได้เพิ่ม จาการจำหน่ายอาหารและของที่ระลูก ซึ่งจะปรับปรุงสถานที่ และระบบการขายใหม่

โดยสวนสยาม จะดึงเอาธุรกิจพวกนี้มาทำเอง จากระบบเดิม ที่ให้คนอื่นเข้ามาเช่าขายทำให้ได้รับการต่อว่าจากลูกค้า มามากว่า อาหารไม่ได้ มาตรฐาน ซ้ำซาก และราคาแพง จึงเชื่อว่า เมื่อดึงเข้ามาทำเอง แล้วจะมีการควบคุมให้ดีขึ้น เพิ่มวามหลากหลายมากขึ้น และมีบริการที่ดีขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ จะทำให้สวนสยาม มีรายได้ เพิ่มขึ้นอีก 30%

" ภายในสิ้นปี นี้ สวนสยามจะเร่มมีกำไรบ้าง" ไชยวัฒน์ กล่าวถึงการคาดหวัง

ขณะนี้ สวนสยาม ยังเป็นหนี้ค้างชำระกับธนาคาร กรุงเทพ ประมาณ 300 ล้านบาท แต่คนที่ถือคติว่า คนมีเครดิตคือคนรวย อย่างไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ จะไม่รอให้หนี้เหล่านั้น หมดเสียก่อน จึงจะขยายงานต่อ

เขา กล่าว่าในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปี นี้ เช่นกัน หรือประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ เขาจะเปิดตัวโครงการใหม่ที่ใช้เงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินสูงถึง 1,000 ล้านบาท นั่นคือโครงการคอนโดมิเนียม สำนักงานและที่พักอาศัยขึ้นบริเวณถนนลาดพร้าว ติดกับแยก รัขดาภิเษก เนื้อที่ 14 ไร่

มันเป็นความโชคดีของไชยวัฒน์ ที่เขายังเหลือที่ดิน แปลงนี้อยู่ในมือ เพระเหตุว่า เปน็ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคารกรุงเทพฯ เพื่อค้ำประกัน เงินกู้ของสวนสยาม ไม่อย่างนั้น ก็คงไม่เหลือเช่น กัน เมื่อ ธนาคารกรุงเทพ ตีราคาหลักทรัพย์ที่ค้ำ ประกันใหม่ ทำให้ที่ดินแปลงนี้อยู่ในมือ เพราะเหตุว่า เป็นทีดินที่ติดจำนองอยูกับธนาคารกรุงเทพประกัน เงินกู้ของสวนสยาม ไม่อย่างนั้น ก็คงไม่เหลือเช่นกัน เมื่อธนาคารกรุงเทพตีราคาหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันใหม่ ทำให้ที่ดินที่มีอยู่ในบริเวณสวนสยาม อย่างเดียวก็เกินคุ้มมูลหนี้ ที่เหลือค้างชำระแล้ว เขาจึงได้รับอนุญาตให้ไถ่ถอนจำนองที่ดิน แห่งนี้ออกมาได้

" ถ้ามันไม่ติดจำนอง ก็คงได้ขายออกไปแล้ว มันเป็นที่ดิน ที่ภรรยาผมได้รับมรดกมาจากพ่อแม่ ของเขา แต่ตอนนี้ ราคาที่ซื้อขาย กันในแถบนี้ตกประมาณตารางวาละ 100,000 บาท ขึ้นไปแล้ว ถ้าขายไปเฉย ๆ ก็จะได้เงินไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท เข้าไปแล้ว " ไชยวัฒน์ พูดถึงจังหวะชีวิต หรือความโชคดีของเขาให้ฟัง

โครงการคอนโดมิเนียม ของไชยวัฒน์ ที่จะขึ้นบนเนื้อที่ 14 ไร่ ประกอบด้วย 3 อาคารใหย่ 32,34,และ 36 ชั้น โดยอาคารหลังจะเป็นอาคารที่พักอาศัย และอาคารแบบมินิออฟฟิค ขนาดพื้นที่ อาคาร ละ 1,000 ตารางเมตร ซึ่งเหมาะสำรับธุรกิจขนาด กลางที่ใชhเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและทำงานได้ด้วย

ไชยวัฒน์ เปิดเผยถึงแผนการอีกว่า อาคารสำนักงาน ขนาด 32 ชั้นนั้น จะแบ่งขายแบบ ไม่จำกัดพื้นที่ แม้จะมีการซื้อทั้งชั้น เพื่อนำไปตกแต่งให้เช่าหรือขายต่อ แต่ที่เขาตั้งใจไว้นั้นอาจให้เป็นอาคารสำนักงาน สำหรับคนที่กำลังสร้างตัว ใช้พื้นที่ สำนักงานจำนวนไม่มาก หรือไม่เกิน 200-400 ตารางเมตร ก็เกินพอแล้ว โดยเจ้าของโครงการคือตัวเขาเองจะมีบริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อทุกอย่าง

การที่เจ้าของโครงการ มีบริการกลางไว้คอยให้ความช่วยเหลือ ไชยวัฒน์ กล่าวว่า จะเป็นการช่วยลดต้นทุนแก่ผุ้เข้ามาซื้อพื้นที่ลงไปได้มาก ทั้งนี้การบริการนั้นจะต้องทำกันด้วยมืออาชีพจริง ๆ โดยเขาจะตั้งบริษัท ขึ้นมาใหม่อีกหลายบริษัท เพื่อ รับผิดชอบ ในบริการแต่ละประเภท

เช่นบริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย และการบัญชี บริษัทที่ให้บริการทางด้านชิปปิ้ง ทัวร์ และไกด์ บริษัท ที่ให้บริการทางด้านการจัดประชุมอบรมสัมมนา บริษัทที่ให้บริการห้องธุรกิจ ซึ่งจะเป็นห้องที่มีเครื่องมือครบครัน ในการติดต่อสื่อสาร และเจรจาธุรกิจทั่วโลก บริษัทที่ให้บริการด้านการต้อนรับแขกตังแต่รถ ห้องพัก และการับรอง ต่าง ๆ โดยรถทุกคัน จะมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประจำ ไว้ เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา

"ที่สำคัญทีสุดเราจะมีบริการป้องกันการต้มตุ๋นหลอกลวงจากผุ้ที่เข้ามาติดต่อกับสำนักงาน หรือบริษัท ในอาคารของเรา โดยมีบริษัทหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเช็กสอบให้" ไชยวัฒฒน์ กล่าวถึงจุด เด่นของอาคาร สำนักงาน ที่เขาจะสร้างขึ้นมาในต้นปีหน้านี้

นอกจากนี้ ก็จะมีห้องวางสินค้า ซึ่งไชยวัฒน์ เปิดเผยว่า มันจะแตกต่างก็แสดงสินค้า เพราะการแสดงสินค้า นั้นมีการประกาศแก่คนทั่วไป แต่ห้องวางสินค้า จะมีขึ้นเมื่อมีการนัดพบกับลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นการแน่นอนไว้แล้ว ซึงทางเจ้าของอาคารก็จะเป็นผู้ดำเนินการให้แบบครบวงจร นับตั้งแต่ การติดต่อเบื้องต้น จนถึงขั้น พบปะเจรจา

บริการทั้งหมดที่กล่าวนี้ ดูเหมือนไชยวัฒน์ อยากจะเห็นมันเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ถึงขนาดลงทุน จ้างนักวิชาการผุ้เชี่ยวชาญระดับดอกเตอร์ ถึงสองคนเพื่อการศึกษา และทำโครงการนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งเวลานี้ ดร. ทั้งสอง กำลังอยุ่ในระหว่างเดินทางไปดูงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหลายประเทศยังไม่กลับมา

ทางด้านอาคารที่อาศัย เขาบอกว่า จะแบ่ง ขนาดห้องออกเป็น 80-100 ตารางเมตร และจะกันส่วนหนึ่งไว้เป็นที่พักรับรองสำหรับลูกค้าของสำนักงาน ต่าง ๆ ในอาคารแรก เพื่อความสะดวกสบาย ในการทำธุรกิจแบบโรงแรมชั้นหนึ่งทุกอย่าง

รวมพื้นที่ ขายทั้งหมด ของโครงการประมาณ 80,000 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้ประมาณ การราคา ขางไว้ตารางเมตรละ 35,000-40,000 บาท โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งโครงการ 3 ปี ซึ่งถ้าขายได้หมดตามที่ตั้งเห้าหมาย ไว้ก้จะมีรายได้ เข้ามาถึง 2,800-3,200 ล้านบาท ซึ่งจะมีกำไรเหลือ อยู่อย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับโครงการนี้

ไชยวัฒน์ กล่าวว่า เขาจะเหลือเงินจากการทำโครงการเกือบ 2,000 ล้านบาท และเงินจำนวน นี้เขา ยืนยัน ว่าจะนำมาลงทุน ครั้งใหญ่ในสวนสยามอีกครั้งหนึ่ง ในอีกสองปีข้างหน้า

" ผมมั่นใจว่าโครงการของเราไปได้ พิจารณาจากทำเลที่ตั้งติดกับถนนรัชดาภิเเษก ซึ่งจะกลาย เป็นถนนธุรกิจขนาดใหญ่ ที่สุดของกรุงเทพ ในอนาคตไม่ไกลนี้ และผมเชื่อว่า ไม่มีใครมีที่ดิน แปลงใหญ่ ขนาดนี้ อีกแล้วในย่านนี้ โครงการของเขายังอยู่ใกล้ศูนย์ราชการที่ใหญ่ ๆ มาก อย่างมหาศาล และกรมพาณิชย์สัมพันธ์ ซึ่งจะเป็นศูนย์การค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของไทย ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ทางด่วน และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่อีกมากมาย ผุ้คนจำนวน มหึมา จะมาอยู่แถวนี้กันหมด การที่ที่ดินเป็นของเราเองก็ได้ เปรียบอยู่แล้ว ราคาไม่สูงนัก หรือแม้ว่าจะมีการปรับราคากันใหม่ เพราะวัสดุก่อสร้างมันขึ้นราคา ผมคิดว่า ขึ้นสัก 20 % ก็ยังขายได้ เพราะเทียบกับราคาค่าพื้นที่สำนักงานในประเทศย่านนี้ อย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ของเรายังถูกกว่าหลายเท่าตัว" ไชยวัฒน์ เผยถึงแผนการของเขาในอนาคตอันใกล้นี้

นั่นเป็นการกลับมาเริ่มต้นครั้งใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ของไชยวัฒน์ เหลืออมรเลิศ ที่หายเงียบไปจากวงการธุรกิจพัฒนาที่ดินเป็นเวลานานถึง 10 ปีเต็ม เมื่อลืมตา ขึ้นมาอีกครั้ง ก็ปรากฏว่ามีชื่อผู้คนใหม่ ๆ ที่สมัยเขายังไม่มีใครรู้จัก เกิดขึ้นมามากมาย ในยุทธเก่าแก่ของเขา

แต่ประสบการณ์ที่เขาคร่ำหวอด ในวงการนี้ มานาน แม้จะต้องห่างไปนาน แต่ก็หาลืมเลือนไม่ เขายังคงติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา วันนี้โอกาสเปิดให้ ซึ่คนอย่างนี้ ก็ต้องรีบทำและความมั่นใจเต็มร้อยที่จะต้องสำเร็จ

ผุ้คนคงแปลกใจว่าเขานำเงินที่จะได้จากโครงการคอนโดฯ นี้ไปลงกับสวนสยามอีกทำไมเพราะมันเกือบจะเป็นสุสานทางธุรกิจสำหรับเขาไปแล้วครั้งหนึ่ง?

ไชยวัฒน์บอกว่า เขาจะลงทุนอีก 3,000 กว่าล้านบาท ไม่รวมมูลค่าของที่ดินที่เหลืออยู่ในบริเวณ หน้าสวนสยาม 140 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน อาคารที่ดักอาศัย สถานที่แสดงสินค้า โดยเน้นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสวนสยาม สวนสนุก สวนน้ำ และศูนย์ศึกษาวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเขายอกว่าจะเป็นการลงทุนครั้งสุดท้ายของเขา

โดยจะร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระหว่างยุโรป กับเอเชีย ด้วยกัน โดยสิ้นสุดโครงการในปี 2538 หรือ 2539 จากนั้นก็จะรวมทรัพย์สิน ทั้งหมดทั้งของเก่าและที่สร้างขึ้นใหม่เสร็จสมบรูณ์ ืแล้วนำเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักมีทรัพย์ ซึ่งเมื่อรวมมูลค่า ทุนในวันนั้น แล้ว คงจะไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท

" ผมรู้ว่าธุรกิจสวนสยาม มันไม่มีกำไรอะไร มากมาย แต่ถ้าปล่อยมันไปอย่าง

นั้น มันก็จะแคระแกร็น และแห้งตายในที่สุด การเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่หวังระดมทุน เพราะทุกอย่างผมได้สร้างมันมาหมดแล้ว แต่เพื่อให้มันเป็นของประชาชน ตราบเท่านานแสนนาน ไม่มีผมอยู่ก็จะได้มีคนบริหารมีคนพัฒนาหุ้น ผุ้ถือหุ้นก็ภุมิใจ ที่ได้ถือหุ้นสวนสยาม ที่มีมูลค่าเพิ่มมหาศาล ประชาชน ก็มีสิทธิ์มีโอกาสเข้าเที่ยวสวนสยามได้ในราคาที่ถูก ๆ เพราะธุรกิจรอบข้าง ของมันสามารถ มีกำไรเลี้ยงตัวมันได้สบาย ๆ " ไชยวัฒน์ ถอดความฝันอันยิ่งใหญ่ ของเขาให้ " ผู้จัดการ" ฟัง

ผลงานของสวนสยาม ขณะนี้ มีแนวโน้มว่า จะมีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี ในนั่งทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หนี้ก็หมด ต่อไป ก็โกยแต่กำไร ใส่กระเป๋าอย่างเดียว ก็เกินพอ แถมราคาที่ดิน แถบนั้น ก็นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นทววีคูณ ได้เงินจากการรทำคอนโดฯ อีก 1,000 ล้านบาท ชีวิตของเขาก็ร่วงโรยลงไปทุกขณะ แทนที่จะได้พักผ่อนแบบสบาย ๆ

แล้วเขาไปขยายมันอีกทำไม?

" ผมอยากจะคืนอะไรให้สังคมบ้าง" เป็นคำพูดที่ไชยวัฒน์พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับนักข่าว พนักงานในบริษัท หรือในโอกาสได้รับเชิญไปพูดในที่ต่าง ๆ และแม้แต่กับภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของเขาก็ได้ยินเขาพูดเช่นนี้เสมอมา

" ผมอยากจะเห็นสวนสยามเป็นดิสนีย์แลนด์เมืองไทย เหมือนดิสนีย์แลนด์ญี่ปุ่น อยากจะให้เป็นสมบัติเชิดหน้าชูตาของประเทศไทย เป็นของคนไทยทุกคน ถ้ามันเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิตของผม ก็อยากจะให้คนรุ่นหลังรู้ว่าเราเกิดมาแล้วในโลกนี้ เราได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่สังคมบ้างเท่านั้นเอง ไม่ว่า มันจะผ่านพ้นไปร้อยพันปี" เขามักจะตอกย้ำอยู่กับคำเหล่านี้

แม้จะไม่มีใครอยากเชื่อคำพูดของเขา เพราะเป็นคำพูดของนักธุรกิจทีร่ำรวยคนหนึ่ง ของเมืองไทย ซึ่งมันไม่น่า จะมีในสังคมยุคปัจจุบัน บางคนถึงกับบอกว่า คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำเช่นนั้น

แต่น่าจะเก็บมาพิจารณาดูว่าเมือ 10 ปีก่อนเขาพูดอย่างไร วันนี้ยังพูดเหมือนเดิม ถ้ามันเป็น อยากที่เขาตอกย้ำกันบ่อย ๆ มันก้น่าจะให้กำลังใจบ้าง เพื่อจะให้มีคนบ้า ๆ อย่างนี้เยอะ ๆ บ้าน เมืองคงจะ ดีขึ้น ไม่น้อยทีเดียว

แม้ในยาม ที่เขาต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวยาวนาน นั้นไม่เคยได้นับความช่วยหลือจากใครเลย แต่เขา นั้นก็พูดเสมอว่าคนที่ช่วย เขา คือ ประชาชน ที่เข้าเที่ยวสวนสยาม และมันจะอยู่ได้ก็ด้วยการสนับสนุนของประชาชนตลอดไป ไม่มีใครจะบริหารหรือ ครอบครองมันไว้ได้ ถ้าประชาชนไม่สนับสนุน

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิส มีความรู้เพียง แค่ ป.4 ใช้ความขยันอดทน ซื่อสัตย์ต่อเจ้าหน้าหนี้ เพียรพยายามต่อการรแก้ปัญหา ในอาชีพ ที่เขาทำอยู่ สร้างเนื้อสร้างตัว จนร่ำรวย ขึ้นมาเป็นเศรษฐีของเมืองไทย และก็ตกต่ำ ชนิดทที่เรียกว่า ขายทุกอย่างที่เขาสร้างมากับมือ เพื่อ สวนสยาม ไว้ให้อยู่จังหวะโอกาสเปิดให้เขาได้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็นับว่า อยุ่ในระดับเศรษฐีทีเดียวในปัจจุบัน เขามีลูก ๆ ที่ป็นผู้รับมรดกเพียงสองคน ซึ่งกำลังเรียนหนังสืออยู่ทั้งสอง ส่วนญาพิพี้องท้องเดียวกับเขา 8 คน ต่างก็มีกิจการที่สร้างความร่ำรวยของตนเอง

เขากล่าวว่า อยากจะไปให้ถึงจุดหมายก่อน ที่อสายุจะครบ 60 ปี ก่อนที่ จะวางมือจากทุกอย่าง หลังจากนั้น ซึ่งเหลือเวลาอีก 8 ปี หรือสิ้นสุดประมาณ ปี 2541

เขาพูดเสมอว่า ชีวิตเขานั้นเติบโตมาจากไม่มีอะไร แล้วมันมีอะไรขึ้นมามากมาย แล้วถ้ามันจะกลับลงไปไม่มีอะไรอีก ความหมายของชีวิตมันก็ไม่แตกต่างกัน กินข้าวมื้อละหมื่นบาท กับ มือละสิบบาท ก็อิ่มเท่ากัน ชีวิต ทรัพย์สิน เงินทองเป็นสมบัติ แต่การได้สร้างอะไรให้เกิดประโยชน์ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ในโลก นี้คือความจริงทป็นอนุสรณ์ตลอดไป

ในโลกของเศรษฐี... คนบ้าเท่าน้นที่จะคิดอย่างเขา...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us