Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533
ศึกสายเลือด-กลไก... นิยายน้ำเน่า ในท่าอากาศยานฯ             
โดย รุ่งอรุณ สุริยามณี
 


   
search resources

ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
Commercial and business
Aviation
ธนพันธ์ สิริภัทราวรรณ




การช่วงชิงผลประโยชน์ ในร้านค้าปลอดภาษี ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ กลายเป็นชนวนเหตุสำคัญของการขุดคุ้ยเรื่องราวการเข้ามาของกลุ่ม " สิริภัทราวรรณ" ความไม่ชอบมาพากล ถูกโยงใยไปถึงธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องในท่าอากาศยานฯ แห่งนี้

และความขัดแย้งของคนในตระกูลที่เกิดขึ้น กลายเป็น " ศึกสายเลือด" ที่รอวันชำระ รอวันสะสาง... ถึงแม้วันนี้ ของ "ธนพันธ์ สิริภัทราวรรณ" จะเปรียบเสมือนผู้กำชัยต่อศึกภายในครั้งนี้ แต่ช่องโหว่ที่ธนพันธ์เปิดไว้กำลังกลายเป็นแรงกดดันที่บีบบังคับให้ธุรกิจที่อยู่ในมือต้องหลุดกระเด็นไป

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ในท่าอากาศยานกรุงเทพ ซึ่งส่วนใหญ่ หนีไม่พ้น เรื่องราว ของผลประโยชน์ อันสืบเนื่องมาจากความจำเป็นที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท) จะต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการพัฒนา สนามบินถึง 4 แห่ง คือ ดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ และภูเก็ต โดยใช้เงินปีละ 1,000-2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ทอท. ยังมีหนี้สินอยู่ประมาณ หมื่นล้านบาท เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ทอท. จะต้องจ่ายเงินที่รวมค่าดอกเบี้ยจากหนี้สินถึง 2,000-3,000 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้ เพียง 1,000-2,000 ล้านบาทเท่านั้น

ความจำเป็นในการหารายได้เพิ่มขึ้น จึงเป็นช่วงจังหวะที่เปิดให้กลุ่มบุคคล เข้าแสวงหาผลประโยชน์ ในรูปแบบ และกลวิธีที่แตกต่างกัน จุดนี้เอง ทำให้เกิดความคลางใจ และคำครหาถึงความไม่ชอบมาพากกลที่เกิดขึ้น

ร้านค้าปลอดภาษีดูเหมือนจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ ของการโจมตีในครั้งนี้ เพราะไม่เพียงแต่ ความเกี่ยวพันกับผลประโยชน์จากรายได้ จำนวนมาหาศาลแล้ว การเข้ามาแบบม้ามืดของบริษัท บี.เอ.ดี.เอฟ ในฐานะบริษัท ที่ปรึกษาและบริษัทร่วมทุน กับ ทอท. ในเวลาต่อมา ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

การสืบสาวเรื่องราว เริ่มขึ้น เมื่อมีบริษัท บี .เอ.ดี เอฟ เข้าไปเกี่ยวข้อง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน กับกลุ่มผูกขาดกิจการหลายอย่าง ในท่าอากาศยานฯ ไม่ว่า จะเป็นร้านขายของที่ระลึก ลานจาดรถ ร้านขายผลไม้ หรือ แม้กระทั่งร้านตัดผม ถึงแม้จะใช้ชื่อว่า บริษัทที่ดำเนินงานต่างกัน แต่ผู้ถือหุ้น ใหญ่ของทุกบริษัท กลับเป็นคนนเดียนวกัน นั่นคือ " ธนพันธ์ สิริภัทราวรรณ"

บริษัทของกลุ่ม " สิริภัทราวรรณ" ที่เข้าไปทำธุรกิจอยู่ในท่าอากาศยาน ฯ มีอยู่ด้วยกัน 4 บริษัทคือ บริษัท ดี แอนด์ ที เอฟ เอส จำกัด ทำกิจการเกี่ยวกับร้านขายของที่ระลึก บริษัท รัตนพันธ์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งได้สัมปทาน ลานจอดรถ ทั้งอาคารผู้โดยสาร ในประเทศ และระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีร้านขายผลไม้ และร้านตัดผม บริษัท บี.เอ.ดี.เอฟ จำกัด ตั้งขึ้นมา ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาเข้าไปบริหารงานในร้านค้าปลอดภาษี ในช่วง 7 เดือนแรก ที่ทอท. ได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาจากการบินไทยและบริษัท แอร์พอร์ตดิวตี้ฟรี จำกัด เป็นบริษัทใหม่ที่เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่างบริษัท บี เอ ดี เอฟ กับ ทอท. ร่วมทุนกับเอกชน ทำร้านค้าปลอดภาษี ในท่าอากาศยานฯ ได้

เชื้อสายของ" สิริภัทราวรรณ" เป็นคนจีนแคระ จากคำบอกเล่า ทั้งพ่อเชี้ย เค้า และแม่เจียซ้งสี เป็นคนจีนโพ้นทะเล ฐานะปานกลาง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย โดยตั้งรกราก อยู่ย่านตรอกหม้อ ค้าขายผ้าไหม ในกลุ่มนี้ จะมีพี่น้อง อยู่ด้วยกัน 7 คน อารีย์ วรพุทธสานนท์ ปัจจุบัน อายุ 60 กว่า เป็นพี่ชายคนโต รองลงมา ก็คือ กิตติ สิริดภัทมราวรรณ อายุ 55 ปี อุมารัตน์ สุนทรนนท์ ( ภรรยา วิรัตน์ สสุนทรนนท์) อายุ 49 ปี ขจรชัย สิริภัทรรวรรณ อายุ 46 ดปี ธนพันธ์ สิริภัทราวรรณ อายุ 43 ปี ธานินทร์ สิริภัทราวรรณ อาย 41 ปี และพรชัย สิริภัทราวรรณ อายุ 37ปี เป็นน้องคนสุดท้อง

พ่อเชี้ยเค้าเป็นคนริเริ่มเข้าไปทำธุรกิจ ในท่าอากาศยานฯ เมื่อประมาณ 20 กว่าปีแล้ว ในสมัยที่ดอนเมืองยังเป็นสมบัติของกองทัพอากาศ และอยู่ในความดูแลของกรมการบินพลเรือน ( บพร.) โดยการขายเนคไท ในนามของ "ร.ไทยวิจิตร" เป็นหลัก ณ เป็นขุดเริ่มแรกของการปูพื้น ของสายสัมพันธ์ ที่ดีกับคนในกองทัพอากาศ ที่สืบเนื่องมาจนกระทั่ง ท่าอากาศยานฯ โอนมาอยู่ในความรับผิดชอบ ของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เมือ่ปี 2522 ตามพรบ. จัดตั้งการท่าอากาศยานฯ พ.ศ . 2522

เมื่อพ่อมีอายุมากขึ้น จึงได้ มอบหมายกิจการร้านค้าในท่าอากาศยานฯ ให้อยู่ในความดูแลของอารีย์ พี่ชายคนโตทำต่อ

วิรัตน์ สุนทรนนท์ เป็นคนบุรีรัมย์ เคยเป็นเซลล์แมนบริษัทดีสแฮมส์ มาก่อน

หลังจากแต่งงานกับ อุมารัตน์ น้องสาวของอารีย์ ก็ไปเรียนภาษาต่อที่ออสเตรเรีย และได้เข้ามาช่วยทำงานในร้านกับอารีย์ หลังจากที่พ่อโอนกิจการมาให้

อารีย์ และวิรัตน์ ร่วมกันทำธุรกิจ ต่อจากพ่อในฐานะหุ้นส่วน โดยจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัด รัตนพัฒน์ ( ชื่อของวิรัตน์ + พิพัฒน์ ซึ่งเป็นชื่อลูกชาย) ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2525

มีเงินจดทะเบียน 100,000 บาท ประกอบด้วย หุ้นส่วน 4 คน มี อารีย์ ขจรชัย พรชัย และวิรัตน์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการพร้อมทั้งขยายธุรกิจ จจาการขายผ้าไหม เพียงอย่างเดียวมา เป็นการขายของที่ระลึก จำพวกผลิตผลและผลิตภัณฑ์ ทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม จำพวกเครื่องเงิน เครื่องเขิน เครื่องจักรสาน เครื่องกีฬา และเครื่องอุปโภคบริโภค เพิ่มมากขึ้น

ธนพันธ์ สิริภัทรวรรณ หรือชื่อเดิมว่ารังสรรค์ เป็นลูกคนที่ 5 ของตระกูลบที่ก้าวเข้ามามีบทบาท เหนือพี่น้องทุกคนของกิจการ ที่อากาศยานฯ หลังจากเรียนจบมัธยมปลายแล้ว ได้เดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ที่ประเทศออสเตรเลีย ทางด้านบัญชี แต่คำบอกเล่าของผู้ใกล้ชิด ธนพันธ์ เคยทำงานในแผนกบัญชี ที่บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์

นอกจากนี้เคยทำกิจการของตัวเองมาหลายอย่างเช่น บาร์ , ทัวร์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ธนพันธ์ เคยแต่งงานกับพัชรินทร์ บุรณสมภพ ที่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ กระจกไทยอาซาฮี มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน ชื่อ ฉัตรแก้ว แต่ภายหลังก็เลิกลากันไป เมื่อ 10 ปีมาแล้ว

ในช่วงที่ธนพันธ์ ว่างงานนั้นเอง วิรัตน์ ในฐานะพี่เขย ก็รับเข้าไปทำงานในรัตนพัฒน์ โดยอยู่ฝ่ายบุคคล เป็นจุดเริ่มแรกของการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการ ที่ท่าอากาศยานฯ ของธนพันธ์เมื่อปี 2527

การหักเหลี่ยมเฉือนคม ในหมู่พี่น้องตระกูลไม่เพียงเป็นศึกสายเลือด ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงของการเข้าไปทำร้านค้าปลอดภาษี แต่มันก่อตัวนานมากแล้ว ถ้าจะสังเกตุให้ดี การที่อารีย์ แยกตัวเอง ออกมาใช้อีกนามสกุล หนึ่ง คือ วรพุทธิสานนท์ แทนที่จะเป็นสิริภัทราวรรณ ก็น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดี " พี่น้องตระกูลนี้ ทำธุรกิจหักกันมาตลอด ต่างฝ่ายต่างรู้ว่ากำลังทำอัะไรกันอยู่ แต่ก็ยอมกันไป สมัยที่เป็นหุ้นส่วนกัน วิรัตน์ อยู่ฝ่ายการเงิน ขณะที่อารีย์ อยู่สโตร์ ก็สนุกกันมาตลอด เพราะอารีย์เองก็ซื้อของถูกมาส่งของแพงมากินเปอร์เซนต์ จากตรงนี้ จึงไม่เข้ามาวุ่นวายกับการขายเท่าไร ในขณะทีวิรัตน์ อยู่การเงิน ขายได่เท่าไหร่ ก็นำไปใช้ส่วนตัว พอสัญญา หมด 3 ปี ก็คลียร์บัญชีหนี้สิน ปรากฏว่าพอดีไม่มีกำไร และไม่ขาดทุน ก็แล้วกันไปไม่โกรธกันธนพันธ์เองก็เข้าไปเรียนรู้ระบบนี้ในหมู่พี่น้องและเริ่มใช้วิธีเดียวกันสอดแทรกเข้าไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าคอมมิชชั่น มาประกอบการเก็บเงินเก่งชนิดที่เรียกที่ว่า มี1บาทเก็บ1.50บาททำให้ธนพันธ์มีเงินเก็บมากพอสมควรในระยะนั้น และพร้อมกับรอวันที่ตัวเองจะ

เกิดขึ้นมาเองอีกครั้งหนึ่ง" แหล่งข่าวที่ใกล้ชิด คนในตระกูลนี้เล่าให้ฟัง

ในช่วงที่สัญญาหมด และทางทอท. ได้เปิดขายแบบประกวดราคาเช่า พื้นที่ตัวอาคารห้องผู้โดยสาร ระหว่างประเทศขาออก หลังใหม่ เพื่อขายของที่ระลึก ในเนื้อที่รวม 424 ตารางเมตร ระหว่างวันที่ 12 -29 พฤษภาคม 2530 โดยมีเงิน

ค้ำประกันซอง จำนวน 1 ล้านบาท กำหนดรับซองวันที่ 2 กรกฏาคม และตัดสินใจวันที่ 10 กรกฏาคม โดยชี้ขาดจากราคาเสนอผลประโยชน์ ตอบแทนสูงสุด กำหนดสัญญาเช่าระยะเวลา 5 ปี การประมูลเช่านี้ จะพิจารณาจากบริษัทร้านค้า ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน โดยให้ผลตอบแทน ของทอท. เป็นรายเดือน ซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้น 10% ของทุกปี จนครบ สัญญา และค่าภาระ ที่ทางผู้ประมูลต้องจ่าย ให้กับทอท. เป็นรายเดือน เฉลี่ยเดือนละ 270, 300 บาท

ผู้ถือหุ้น ในบริษัท ดี แอนด์ ที.เอฟ.เอส เล่าให้ผู้จัดการฟังว่า " ช่วงที่ทอท. เปิดให้ประมูล ครั้งใหม่นี้เอง ได้เกิดการแตกแยกหุ้น กันในบรรดาพี่น้องตระกูลนี้ เพราะต่างคนต่างกอยากได้ไว้คนเดียว มีการหว่านเงินนิดๆ หน่อย ๆ ในระดับเงินแสนเพื่อต้องการรู้ราคากลาง ของทอท. เปิดให้ประมูลครั้งใหม่นี้เอง ได้เกิดการแตกหุ้นกันในบรรดาพี่น้องตะกูลนี้ เพราะต่างคนต่างก็อยากได้ไว้คนเดียว มีการหว่านเงิน นิด ๆ หน่อย ๆ ในระดับเงินแสน เพื่อต้องการรู้ราคากลางของทอท. ซึ่งตอนนั้น รู้กันในวงพ่อค้าว่าประมาณ 10 กว่าล้าน แต่ไม่เกิน 15 ล้าน หุ้นส่วนที่แตกกันตอนนั้น มีอารีย์, ขจรชัย, วิรัตน์, ซึ่งควรจะร่วมกับอารีย์ กไปดึงเอาพี่น้องตัวเอง ชื่อวิโรจน์ เข้เามาและธนพันธ์ ต่างคนต่างถือตัวเลขไม่ยอมบอกกัน พอเปิดซองประมูล กเกิดการงงกันขึ้น เมื่อ ขจรชัย ซึ่งเป็นคนที่มีเงินติดตัวไม่มากนัก เกิดประมูลได้ในราคา 32 ล้านบาท อารีย์ ตามมาด้วย 20 ล้านบาท วิรัตน์ 19 ล้านบาท ธนพันธ์ 15 ล้านบาท และวิโรจน์ 12-13 ล้านบาท ดังนั้นคนที่จะได้ทำต้องเป็นขจรชัย แต่ขรชัย ไม่มีเงิน จึงมาพึ่งพิงอารีย์ เพื่อจะขอร่วมกันทำในราคา 20 ล้านบาท โดบยอมให้ ทอท. ยึดเงิน ค้ำประกัน ซอง จำนวน 1 ล้านบาทไป

อารีย์ เมือ่ได้ทำก็ไปชวนเพื่อน ซึ่งทำจิวเวลรีมาช่วย งานบริหาร ซึ่งอารีย์ ก็ไม่ค่อยถนัด ส่วนขจรชัย จะเข้ามาแบบมือเปล่า ก็กลัวหุ้นส่วนอื่นจะตำหนิ จึงไปชวนเพื่อนที่ค่อนข้างมีฐานะ เจ้าร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังมีลูกหุ้นอื่น ๆ อีก ทำให้หุ้นส่วนมันเยอะเข้า ทำไปทำมา ไม่รอด พราะ ทุกคนที่ลงหุ้นไป ก็อยากจะเป็นใหญ่ ด้วยกันทั้งนั้น ก็เกิดการระส่ำระสายกันในเรื่องหุ้น

วิรัตน์กับธนพันธ์ เองมีความคิดที่อยากเข้าไปทำกิจการในท่าอากาศยานฯ แต่หลังจากที่พลาดการประมูลในครั้งนี้ ก็พยายามหาทางอื่นที่จะเข้าไปให้ได้ โดยเริ่ม จากร้านขายผลไม้ ซึ่งมีเนื้อที่ ประมาณ 12 ตารางเมตร และมีผู้ประมูลไว้ในราคา 5.5 แสนบาท แต่เอาเข้าจริง คนที่ประมูลได้กลับไปไม่รอดเพราะขายได้วันละ 1,000-2,000 บาท ด้วยความที่อยากเข้าไปนั่งในท่าอากาศยานฯ ถึงแม้ว่าหลับตาแล้วจะเห็นว่าจะขาดทุนก็ตาม วิรัตน์ กับธนาคารจึงอาศัยความคุ้นเคย กับคนในทอท. เข้าไปติดต่อโอนชื้อจากเจ้าของเดิมมา มาเป็นในนามของบริษัท รัตนพันธ์ ์ เทรดดิ้ง จำกัด โดยธนพันธ์ ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 4,998 หุ้น , วิรัตน์ 4,997 หุ้น , อุมารัตน์ , อารีย์, ขจรชัย , กิตติ ถือคนละ 1 หุ้น ซึ่งกาครโเอนมในครั้งนี้ทำถูกต้องทุกอย่าง

อารีย์ ในช่วงที่เผชิญกับปัญหาเรื่องหุ้นส่วน แตกกัน ทำให้เกิดปัญหาด้านการเงิน ประกอบกับการเล่น สงครามจิตวิทยา ของ กลุ่มวิรัตน์ และธนพันธ์ โดยที่ตัวอารีย์ ไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะร้านพวกนี้ศัตรู มาก ทำให้วิรัตน์ เข้าไปแทรกหว่านล้อม ในฐานะนักธุรกิจ ให้อารีย์ ยุบบริษัทเสีย และเข้ามาทำด้วย กัน อารีย์ เมื่อเข้าตาจน และเห็นแก่ความเป็นพี่ เป็นน้อง จึงยอมเซ็นโอนให้ โดยหวังว่า จะได้กลับเข้าทำงานด้านนี้ ในฐานะหุ้นส่วน การโอนจึงต้องเกิดขึ้นในนามบริษัทใหม่คือ ดี แอนด์ ที .เอฟ.เอส จำกัด ซึ่งธนพันธ์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นบริษัทเดียวที่พี่น้องตระกูลนี้ไม่มีหุ้นอยู่ โดยที่ บริษัทนี้เสนอราคาไปที่ 15 ล้านบาท

ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งคือ การประมูลครั้งนั้น คนที่เสนอราคาประมูลรองจากอารีย์ ในราคา 19 ล้านบาท แต่ด้วยความฉลาดของวิรัตน์ ที่เข้าร่วมมือกับธนพันธ์ โดยใช้ บริษัท ดีแอนด์ ที เอฟเอส เข้าสวมสิทธิ์ แทนในราคา 15 ล้านบาท ได้ในเวลาที่รวดเร็ว ทอท. ก็ไม่ขัดข้อง พอดีที่ช่วงนั้น เป็นช่วงที่ จะเปลี่ยนตัวผู้ว่าทอท.ใหม่ จาก บัณฑิต ศสิลวรณ์ มาเป็นสมบูรณ์ ระหงษ์ ซึ่งว่ากันว่า ช่วงนั้น มีเงินสะพัด โดยไม่มีใบเสร็จที่โรงแรม แอร์พอร์ต นับสิบล้านบาททีเดียว

หลังจากที่เซ็นโอน ให้กับธนพันธ์แล้ว ทั้งอารีย์ และวิรัตน์ ก็มารู้ตัวว่าพลาดท่า จากาการะทำของธนพันธ์ เพราะบริษัทดีแอนด์ที เอส เอฟ มีธนพันธ์กรรมการผู้จัดการ มีอำนาจเพียงผู้เดียว วิรัตน์ เองเป็นคนไปตกลงกับอารีย์ ว่าจะทำด้วยกัน ในขณะที่เวลาล่วงเลยมาเกือบ

ปีแล้ว ธนพันธ์ก็ม่ยอมเซ็นโอนหุ้นให้วิรัตน์ อารีย์ ก็ปัญหาเรื่องเช้คของร้านค้า ที่ส่งออก ซึ่งวิรัตน์ รับปาก ว่าจะเคลียร์ให้ก่อน ที่จะมีการโอนเซ็นให้กัน แต่พอถึงเวลาก็ม่ยอมเคลียร์ให้ ทางนี้ธนพันธ์ ถือว่าคนที่รับปาก คือวิรัตน์ ไม่ใช่เขา

ช่วงนั้นมีการเจรจาต่อรองที่จะจ่ายเงินคืน ให้กับอารีย์ ในวงเงิน 11 ล้านบาท แต่พอเอาเข้าจริง ธนพันธ์ ไม่ยอมจ่าย ทะเลาะกันอยู่นาน ก็กลงกันได้ ในราคา 5.5 ล้านบาท เป็นการตัดปัญหา เรื่องของอารีย์ไป เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่จะมีการประมูลลานจอดรถรับช่วงต่อจาก ทอท. ธนพันธ์ และวิรัตน์ กลัวเรื่องจะแดงขึ้นมา และมีผลกระทบกับการประมุลธุรกิจใหม่นี้

ในที่สุด วิรัตน์ และธนพันธ์ กได้ทำธุรกิจ จากการให้เช่าลานจอดรถ โดยไม่มีการประมุล ในนามของบริษัทรัตนพันธ์ เทรดดิ้ง " ก่อนที่จะเสนอราคาเข้าไปให้กับทอท. เข้าไปพิจารณานั้น ได้มีการซื้อตัวเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในคารฺ์ปาร์ค ให้ออกจากทอท. และมาทำงานในตำแหน่งมที่ปรึกษาด้านนี้ให้กับบริษัทรัตนพันธ์ โดยเสนอเงินจำนวนหนึ่ง ประมาณ 800,000 บาทให้ ทำให้เจ้าหน้าที่คนนั้นรวบรวม และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของ

คาร์ ปาร์คในแต่ละวันมาให้ พอถึงเวลได้ธุรกิจนี้มาทำจริงแต่ไม่ยอมจ่าย และไม่ยอมให้เขาออก ก็เกิดอาการเบี้ยวงานนิด ๆ ตอนหลังจึงตกลงกันได้ในราคา 1.5 แสนบาท พร้อมกับการไม่ยอมออกจากงาน แต่เจ้าเจ้าหน้าที่คนนั้นก็ถูกโยกย้าย ไปอยู่แผนกอื่น เพราะงานคาร์ปาร์ค ให้เอกชนทำไปแล้ว" เจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ในทอท. ที่รู้เรื่องนี้ดี กล่าวยืนยัน

เมื่อ พล.อ.ท สมบุญ ระหงษ์ อดีตเจ้ากรมขนส่งทหารอากาศและกรรมการของทอท. ก้าวเข้ามานับตำแหน่ง ผู้ว่าการฯ คนใหม่ด้วยแรงกดดันจากภาวะการเงินที่หนักหน่วง จากหนี้เงินกู้ และการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานฯ อีก 4 แห่ง ทำให้ผู้ว่าสมบุญ จำเป็นต้องเร่งการต่อ สู้กับการบินไทย เพื่อดึงกิจการที่ควรจะ เป็นของทอท. กลับมาทำเอง

อันที่จริง ความพยายามในเรื่องดังกล่าว มิใช่เพิ่งเริ่มในสมัยของผู้ว่าฯ สมบุญ แต่เริ่มมาตั้งแต่ในยุคของผู้ว่า การฯ คนแรก พล.อ.ท. ไสว ช่วงสุวนิช ในช่วงปี 2522 -2524 พยายามที่จะดึงกิจการต่าง ๆ เช่นร้านค้าปลอดภาษี การบริการลานจอด และช่างอากาศ ฯลฯ แต่ก็ไม่สามารถ ดึงกลับมา ได้เลย ทั้งนี้เป็น เพราะแรงฉุดจากการบินไทยนั้น มหาศาลยิ่งนัก

ต่อมาเมื่อ พล.อ.ท. บัณฑิตย์ ศุษลวรร์ เข้ามารับตำแหน่ง ผู้ว่า การฯ คนที่สอง พร้อมกับภาระหน้าที่ ในการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพ จำเป็นต้องใช้เงินกู้มาดำเนินการนั่นหมายถึงภาระดอกเบี้ยเริ่มรุกเร้า และหนี้สิน ที่เพิ่มพอกพูนขึ้น มาให้ทอท. พัฒนา เท่ากับเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้นอีก

แรงกดดันเหล่านี้หนักหน่วงพอที่จะทำให้ผู้ว่าฯ บัณฑิตย์ ต้องลุกขึ้นมาเม็ด เต็มหน่วย ความพยายามดังกล่าว กลายเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างการบินไทย กับทอท. ที่ประทุ ขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นรอย ดังเช่น กรณีการดึงเอาการบริการภาคพื้นมาจาการบินไทย ซึ่งเรื่องราวคงยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน

ความไม่สำเร็จในอดีต ที่ผ่านมา

อาจมองได้ว่าเป็นเรื่องของความไม่ลงตัวของการจัดองค์กรในกองทัพอากาศถึงจุดที่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งล้วนแต่เป็นคนของกองทัพอากาศ จะสามารถสื่อสารทำความเข้าใจ ปัญหาร่วมกันโดยไม่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ ขององค์กร ของตนแต่ฝ่ายเดียว

จนกระทั่ง เกิดสามขั้ว อำนาจ ที่มาจากแรงผลักดัน ทางการเมือง อันเป็นผล ให้การดึงกิจการบริการ หลาย ทๆ อย่าง มาจาการบินไทยประสบผลสำเร็จจ

ขั้ยแรก ที่ก้าวเข้ามาคุม ทอท. คือผู้ว่า สมบุญ ระหงษ์ ด้วยแรงสนับสนุนเต็มที่ จากพรรคชาติไทย ..ขั้วที่สอง พลอ.อ.วรนาถ อภิจารี ก้าวเข้าในฐานะผู้บัญชาการกอง

ทัพอากาศ ด้วยแรงผลักดัน ของพลเอกเปรม ที่หวังให้ มาล้างบางมาเฟีย ในการบินไทย ถึงแม้ทั้งสองขั้ว จะมาจากต่างทิศทางกัน แต่ด้วยความที่ได้ชื่อ ว่าเป็นผสานผลประโยชน์ ตัวยง ของขั้วแรก ทำให้ขั้วทั้งสอง สามารถเข้ากันได้ดี อีกขั้วหนึ่ง พล.อ.อ.วีระ กิจจาทร เป็นคนที่ มาร่วมงานด้วยในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย

การสลายอำนาจ การผูกขาด ในกิจการรถลิมูซีน ที่การบินไทย ครอบครองมาถึง 12 ปี ของ ทอท. เป็นผลสำเร็จ เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดี ถึงทิศทางที่ทอท. จะรุกฆาตต่อไป

7 มิถุนายน 2531 ผู้ว่าสมบุญ ออกมาแถลงข่าว เรื่องที่จะดึง ร้านค้าปลอดภาษี มาดำเนินการเอง เพราะรายได้ ในส่วนหนึ่ง ของร้านค้าปลอดภาษี ปีหนึ่ง ๆ ทำรายได้หลายพัน ล้านบาท รายได้นี้น่าจะตกกับทอท. ทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่า ทอท. จำเป็นต้องใช้เงิน และถ้าหาก ทอท. ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากรให้ทำร้านค้าปลอดภาษีได้เองแล้ว จะเริ่มอย่างช้าได้ไม่เกิน31 ธันวาคม 2531 โยจะเปิดให้เอกชนมาประมูลและบริษัทที่ชนะการประมูล จะต้องจ่าย ผลประโยชน์ตอบแทน ในปีแรก ไม่ต่ำกว่าปีละ 500 ล้านบาท และเพิ่ม 10% ในทุก ๆ ปี ตลอดอายุสัญญา 3 ปี คือปีถัดไป 600 และ 700 ล้านบาท

ในส่วน 500 ล้านบาท นี้ คิดเป็นรายได้ 25% ของรายได้ ทั้งหมด ที่บริษัท ได้รับ ซึ่ง 25% นี้ทอท. จะต้องงส่งให้กรมศุลฯ 15% และทอท. ได้เอง 10% และในส่วน 10 นี้จะต้องส่งคนคลังในรูปของรัฐวิสาหกิจ อีก35%

จังหวะนี้เองที่ทำให้ วิรัตน์ มองเห็นลู่ทางในการที่จะเข้าไปทำกิจการร้านค้าปลอดภาษี โดยที่ ธนพันธ์ไม่ทันคิดเพราะตัวเองไม่มีความถนัดทางด้านนี้ วิรัตน์ วิ่งหาลู่ทางอยู่ระยะหนึ่ง และมีทีท่าว่าจะประสบผลสำเร็จ ธนพันธ์ ก็ขอเข้ามามีส่วนร่วมด้วยจากคำ แนะนำของมือขวาคู่ใจที่ชื่อประสพสุข ชมเชยวง โดยเสนอข้อแลกเปลี่ยน ด้วยการโอนหุ้นที่เคยรับปากว่าจะให้ในบริษัท ดีแอนด์ ที เอฟ เอส แต่ที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีการโอน ดังนั้น เมื่อตกลงกันได้ ในการประชุมวิสามัญ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2531 ของบริษัทธนพันธ์

จึงทำการโอนหุ้นของรัชนี ลิ่วพันธ์พงศ์ ซึ่งยื่นหนังสือลาออก จากกรมการของ บริษัท ให้กับวิรัตน์ พร้อมทั้ง ปรับสัดส่วนหุ้น โดยที่วิรัตน์ และ ธนพันธ์ ถือหุ้นเท่ากันคือ 4,700 หุ้น และแต่งตั้งให้วิรัตน์ เป็นกรรมการของบริษัทฯ ด้วย เรื่องของดี แอนด์ ที เอฟ เอส กับวิรัตน์ ที่เคยมีปัญหากัน ก็เป็นอันจบไป

" อย่างไรก็ตาม ธนพันธ์ ก็ยังถือไพ่ เหนือกว่าวิรัตน์ อยู่ดี เพราะหุ้น ที่โอนให้วิรัตน์ นั้นเกิดจากการคำนวณอย่างถี่ถ้วนมากแล้ว ด้วยการแยกหุ้นส่วนรายย่อยเดิมซึ่งเป็นคนของ.
ธนพันธ์ รวมกันจำนวน 6 หุ้นออกมา แล้วนำหุ้นที่เหลือจำนวน 94 หุ้นมาแบ่งเท่า ๆ กัน เมื่อไหร่ที่มีการออกเสียง เมื่อนั้นธนพันธ์ ก็ต้องชนะ " ผู้ใกล้ชิด" ธนพันธ์เล่าถึงแผนการที่ได้ตระเตรียม กันไว้

ด้วยแรงผลักดันของผู้ว่าฯ ทอท. ในการทุ่งมั่น ที่จะดึงเอากิจการร้านค้า ปลอดภาษีมาทำเอง และมีทีท่า ว่าจะสำเร็จได้สร้างความมั่นใจให้กับวิรัตน์ ในการวิ่งหาคนมาช่วยสนับสนุนทางการเงิน โดยมีผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขาสาทร ซึ่งวิรัตน์ และธนพันธ์ป็นลูกค้าอยู่ให้ช่วงติดต่อกับผู้ใหญ่ทางแบงก์ กรุงเทพให้ ผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุน ทางดานการเงินในที่นี้ คือ ปิติ สิทธิอำนวย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงเทพ

หลังจากที่การบินไทย เช็นโอนกิจการร้านค้า ปลอดภาษีกลับคืนมาให้ทอท. แล้ว ไม่นาน ผู้ว่าฯ สมบุญ ได้ประกาศแต่งตั้งปิติ ให้เป็นที่ปรึกษา ร้านค้าปลอดภาษี ให้สัมภาษณ์ผู้จัดการว่า" อย่างผมจะทำร้านค้าปลอดภาษี ผมยังไม่มีความรู้ มากนัก ก็ต้องอาศัยที่ปรึกษา ทีนี้ ก็อยากให้เป็นคนไทย ในประเทศไทย มีไม่กี่รายที่เชื่อถือได้ มันก็มี แบงก์กรุงเทพ ตอนนั้น ไม่รู้จักใคร ลองสืบดู ก็รู้ว่า คุณปิติ เป็นคนที่ทุกคนยอมรับ ผมก็ไปหาเขา เขาก็ไม่รับ เขาบอกว่ามันเรื่องใหญ่ ผมก็บอกว่าอันนี้มันส่วนรวมเพื่อประเทศชาติ ผมตั้งเป้าไว้อย่างนี้ ช่วยศึกษา ทีเถอะ แล้วมัน ก็เป็นชื่อเสียงของแบงก์ด้วย ถ้าทำสำเร็จเราเชื่อมั่นในจุดนี้ และต้องการเงินสนับสนุน แบงก์กรุงเทพ ก็อยู่ในอันดับ หนึ่งที่จะช่วยได้"

ในวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ที่ประชุมคณะกรรมการทอท. มีมติเห็นชอบตามที่ ทอท. เสนอวิธีการบริหารกิจการร้านค้าปลอดภาษี ที่จะรับช่วงกิจการจากการบินไทย 2532 โดยการว่าจ้างบริษัทบี .เอ.เอฟ จำกัด หรือ บางกอกแอร์ พอร์ต ดิวตี้ฟรี เป็นบริษัท ที่ปรึกษาร้านค้าปลอดภาษี ของทอท. โดยมีสัญญาระหว่าง. ทอท. กับบริษัท นี้ 3 ปี โดยค่าตอบแทน จะเป็นไปตามสัดส่วนของยอดขายคือ 2% ของยอดขายรวม ( ปีแรกต้องทำยอดขายให้ได้ 1,400 ล้านบาท ปีที่ 2 เพิ่มขึ้นอีก 20% ) ถ้าทำไม่ได้ ค่าตอบแทน จะลดลงเหลือ 2 %

กลุ่มนี้ ได้รับความไว้วางใจจากแบงก์กรุงเทพ ที่จะปล่อยเงินกู้ 200 ล้านบาท เพือ่ล้างสต๊อกสินค้า และปล่อยกู้กับผู้จัดส่งสินค้า โดยไม่คิดดอกเบี้ยแต่ชำระหนี้ คืนเป็นงินตราต่างประเทศ

บริษัท บี.เอ.เอฟ จำกัด จดทะเบียน บริษัทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 หลังจากี่มติที่ประชุม คณะกรรมการทอท. ออกเพียง 1 วัน หากจะพูดไปแล้วทั้งธนพันธ์ และวิรัตน์เคยผ่านประสบการณ์เพียงร้านขายของที่ระลึกมาเท่านั้น แต่ทางด้านร้านค้า ปลอดภาษี

ยังไม่เคย คนหนึ่งที่สร้างความมั่นใจในการทำธุรกิจนี้ให้กับกลุ่ม ของธนพันธ์ คือวิชัย รักศรีอักษร ซึ่งในช่วงที่ร่วมงาน กันนั้นเปรียบเสมือนมือซ้ายของธนพันธ์ทีเดียว

จากข้อมูล ที่เปิดเผย ขึ้นในภายหลังว่ากันว่า วิชัย เกี่ยวพัน ใกล้ชิดกับอายุข่าน ผุ้ที่มีประวัติโชกโชนในเรื่องกิจการร้านค้าปลอดภาษี ในฮ่องกง และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้วิชัย มีความรู้ในธุรกิจด้านนี้พ อสมควร และเป็นคนวางรากฐานการทำธุรกิจให้กับกลุ่มธนพันธ์

การวิ่งเต้นเพื่อที่ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขออนุมัติ จากครม. ในการจัดตั้งร้านค้า ปลอดภาษี ในเมือง และให้เอกชน บริหารเป็นผลสำเร็จ มาจากฝีมือ ของวิชัย ในนามของบริษัท ดาวน์ทาวน์ ดี.

เอฟ.เอส (ไทยแลนด์) เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดีถึงการแตกหักที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มธนพันธ์กับวิชัย

แต่ถึงกระนั้น ธนพันธ์ ก็พลอยได้รับผลประโยชน์ จากมติ ครม. ครั้งนี้ด้วย จากการเป็นบริษัทที่ปรึกษาก็ถูกดึงเข้ามาเป็นบริษัทที่ปรึกษา กับ ทอท. ในสัดส่วน 90:10 ในนามของบริษัท แอร์พอร์ตดิวตี้ฟรี จำกัด มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 200 ล้านบาท

ถึงแม้ว่า จะรู้ว่าความขัดแย้งระหว่างวิรัตน์ กับ ธนพันธ์ในฐานะหุ้นส่วน ที่เกี่ยวพัน ถึงผลประโยชน์จะมีมานานแล้ว แต่จุดแตกหักเกิดขึ้น เมื่อธนพันธ์ ออกจดหมายในนามของบริษัท บี.เอ.ดี .เอฟ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 เรียกประชุมวิสามัญผุ้ถือหุ้นครั้งที่ 3/2532 ในวันที่18 พฤศจิกายน 2532 โดยข้อหนึ่งของวาระการประชุม เป็นเรื่องพิจารณา กำหนดจำนวนกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ

จากจดหมายนี้สร้างความไม่พอใจให้กับวิรัตน์ อย่างมาก ถึงออกจดหมายระงับการประชุม ที่จะเกิดขึ้นไปยังธนพันธ์ ผู้ถือหุ้น และนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร ในฐานะกรรมการ และผู้ถือหุ้นของบริษัทคนหนึ่งที่ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการเรียกประชุมครั้งนี้ และให้ถือว่ามติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันนั้นไม่ชอบด้วย

ต่อมา ในการประชุมผุ้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2532 ที่โรง

แรมแอร์พอร์ต วิรัตน์ได้ประกาศขอลาออกจากการเป็นกรรมการของทั้ง 4 บริษัท คือ บริษัทดี แอนด์ ทีเอฟ เอส บริษัทรัตนพันธ์ เทรดดิ้ง บริษัท บี.เอ. ดี.เอฟ และบริษัท แอร์พอร์ต ดิวตี้ฟรี อันเป็นการจบสายสัมพันธ์ที่มีตจ่อกัน และศึกสายเลือดที่มีมานานก็คงจะยุติลงเพียงเท่านี้

อารีย์หันไปเปิดร้านผ้าไหม และขายของที่ระลึก ในชื่อ ร้าน ร. ไทยวิจิตร ที่เชียงใหม่ พัฒนา กลับไปคุมโรงงาน ทำปากกาลูกลื่น ซึ่งเป็นกิจการส่วนตัว ทีทำมานานแล้ว ภายหลังจากที่ทั้งคู่ได้รับบทเรียนจากการร่วมธุรกิจกันมาเพียงพอแล้ว

ร้านค้าปลอดภาษี ภายใต้ชายคาของ ทอท. ตลอดช่วงระยะเวลา ปีเศษ ได้ตกเป็น เป้าการโจมตี และการขุดคุ้ยเบื้องหน้าเบื้องหลัง กระแสข่าว ที่ออกมาล้วนแล้วแต่สร้างภาพพจน์ในทางติดลบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงประเทศชาติด้วย ตั้งแต่การเข้ามารับช่วงการบริหารในฐานะบริษัทที่ปรึกษาร้านค้า ปลอดภาษี ของกลุ่มธนพันธ์ จนกลายยเป็นบริษัท ร่วมทุนในปัจจุบัน

ราคาสินค้าเหล้าบุหรี่ ขายแพงกว่าในประเทศเพื่อนบ้น มีการปรับราคาสินค้า ในร้านดดยไม่ได้ขออนุมัติจากรมศุลฯ ก่อน มีเหล้าปลอมและของไม่ได้คุณภาพขายในร้าน มี เหล้า บุหรี่ จากร้านค้า ปลอดภาษี ไปวางขายตามท้องตลาด ย่านประตูน้ำ

ด่านศุลากากร ดอนเมืองระบุว่า ร้านค้าปลอดภาษีในท่าอากาศยานน ไม่จ่ายค่าตอบแทน 15% ตามสัญญาล่าช้าถึง 3 เดือน และแม้จะชำระก็เป็นเพียงยอดรายได้ประเมินไม่ใช่ยอดรายได้ที่เป็นจริง

ซึ่งทั้งหมดดูเหมือนจะเกี่ยวพันกับรระบบการบริหารซึ่งหลายต่อหลายคน อยากได้คำตอบว่าแท้จริงมันคืออะไร แต่คำตอบที่ได้รับจากผู้บริหารระดับสูง ของทอท. กลับเป็นเพียงการออกมาปฏิเสธข่าวว่า เรื่องทั้งหมดไม่เป็นควรามจริง โดยไม่มีคำอธิบายที่ แจ้งชัด และอย่างมีเหตุผล

ในขณะที่ การเข้ามาของบริษัท บี.เอ.ดี.เอฟ กระทำกันอย่างรวบรัด จนกระทั่งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงเงินก้อน

ดต ก้อนหนึ่งที่สะพัดเข้ากระเป๋าใครบางคน หรือหลายคน กแล้วแต่ ซึ่งครั้งนั้น ได้รับคำอธิบายว่าต้องรีบให้ทันกับการรับช่วงต่อของการบินไทย และจาก มติ ครม. ที่ให้รัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ดำเนินการร้านค้าปลอดภาษี จึงไม่สามารถ เปิดประมูลให้เอกชนทำได้ จนกระทั่งอีก 7 เดือน ต่อมาครม. อนุมัติให้เช่นเข้าร่วมลงทุนในร้านค้าปลอดภาษีได้ และบริษัท บี.เอ.ดี.เอฟ กถูกเลือกเข้ามาโดยที่ไม่มีการประมูลอีก

ส่วนกระแสข่าว เรื่องเหล้าปลอม ทีมีขายในร้านค้าปลอดภาษี หรือประเทศอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ว่า ฯ สมบุญ กล่าวแต่เพียงว่า "มีอยู่หลายพวก ที่เกลียดผม หาว่าผมไปขัดผลประโยชน์ แล้วกโจมตีผม เพราะทุกคน อยากได้ร้านค้าปลอดภาษีกันทั้งนั้น"

ถ้าหากวิเคราะห์ดูให้ดี แล้ว ผู้ว่าฯ สมบุญ กล่าว กน่าจะมีส่วนที่เป็นความจริง จากข่าวสาร ในนิตยสาร Asian Business ฉบับที่ 5 พฤาภาคม ปีนี้ ที่ประเมินว่าปัจจุบันธุรกิจร้านค้าปลอดภัยทั่วโลก ทำยอดขาย ต่อปี ราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะเอเชียสามารถทำยอดขายต่อปีได้ ถึง 1 ใน 3 ของยอดขายทั่วโลก นอกจากนี้ยังคาดหมายว่า ปี 1993 ยอดขายจากธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีทั่วโลก ยอดจะพุ่งขึ้นเป็น 14,500 ล้านดอลลาร์แต่จะเป็นยอดขายจากเอเชียถึง 52% ดังวนั้ความพยายามของบริษัทยักษ์ ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีทั่วโลก จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเข้ามาเปิดตลาดในเอเชีย ซึ่งประเทศไทย ก็ตกอยู่ในข่ายที่ว่านี้ด้วย ดังนั้น เรื่องเหล้าปลอมอาจจะเป็นการสร้างภาพขึ้นก็ได

จากกระแสข่าว ที่ออกมามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่พยายามที่จะเข้ามาจริง คือ บริษัทดิวตี้ฟรี ช้อปเปอร์ของอเมริกา ซึ่งมีสาขาร้านค้าปลอดภาษีอยู่กว่า 150 แห่งทั่วโลก แต่ที่ผ่านมา ยังไม่ประสบความสำเร็จในความพยนายามครั้งนี้

หลายคน ที่เคยคลุกคลีอยู่กับธุรกิจร้านค้า ปลอดภาษี มาก่อน เคยพูดให้ฟังว่า " การทำธุรกิจ ประเภทนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องอาศัยคนที่มีประสบการรณ์มานานพอสมควร จึงทำได้ เรื่องของปลอม หรือของไม่มีคุณภาพ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อซัพพลายเออร์รายใหญ่ๆ ได้ บริษัทที่ทำธุรกิจนี้จำเป็นจะต้องติดต่อ กับซัพพลายเออร์ เล็ก ๆ ให้เป็นผู้ส่งของให้ เวลามีออร์เดอร์เข้ามามาก ๆ พวกนี้หาของให้ไม่ทันก็ไปเก็บหรือหามาจากตลาดมืด หรือจจะสอดแทรกของปลอมมาให้ก็มีบ้าง

ดังนั้น การที่กล่าวว่าผุ้บริหารงานในยุคปัจจุบัน ไม่มีฝีมือจากกรพิจารณาประสบการณ์ ทางธุรกิจ มา ก็ไม่น่าจะผิดเท่าไหร่นัก

กับอนาคต ของบริษัท นี้ ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองกว่า มีแรงกดดันหลายอย่าง ที่ทำให้บริษัทนี้อยู่ได้ไม่น่น แต่ " ผู้จัดการ" กลับได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวระดับสูง ในกองทัพอากาศ ว่า " สำหรับกองทัพอากาศแล้วตราบใดที่บริษัทดังกล่าว นี้ยังให้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร"

เรื่องยกเลิกสัญญาจึงเป็นไปไม่ได้ ก็ ต้องปล่อยให้เขาทำไปจนกว่าจะหมดสัญญา"

หลายคนหวังว่า ครั้งนี้ จะเป็นบทเรียนที่ทำให้ทอท. ได้เรียนรู้ถึงการทำธุรกิจในโลกสมัยใหม่ การแข่งขันเสรี เป็นแก่นแท้ ที่ยังดำรงอยู่ เฉกเช่นที่ทอท. เคยสอนไว้กับการบินไทย เมื่อครั้งกระนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us