บริษัท ไทยออยล์ จำกัด นั้นได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญในการเสนอตั้งโรงกลั่นแต่ละครั้ง
ในคราวก่อนที่รัฐบาลให้ตั้งโรงกลั่นแห่งที่ 4 ของประเทศ ทั้งเชลล์ และคาลเท็กซ์
ต่างหวั่นกัยนว่าไทยออยส์ จะเป็นม้ามืดแซงโค้งไป แต่ทุกคนก็โล่งใน เมื่ออนุกรรมการนโยบายปิโตเลียมซึ่งมีกร
ทัพพะรังสี เป็นประธานได้ห้ามไทยออยส์ เสนอตัวเข้าไปแล้ว ขึงตั้งเงื่อนไขว่า
จะต้องเป็นโรงกลั่นใหม่เท่านั้น
เชลล์ ได้ตั้งโรงกลั่นที่ 4 ในมาบตาพุดไปแล้วตาม เงื่อนตนไขที่ประกาศออกมา
ส่วนคาลเท็กซ์ได้รับอนุมัติจากกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยมีพลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ เป็ประธานเป็นกรณีพิเศา ซึ่งกร บอกว่า คาลเท็กซ์ จะต้องไปตั้งโรงกลั่น
ที่ 5 ในภาคใต้ เป็นโรงกลั่นที่ 6
กร รู้ว่าโรงกลั่นภาคใต้นั้น ต้องวใช้เวลานานจึงได้เสนอให้ตั้งโรงกลั่นแห่งที่
5 ในภาคกลางไทยออยส์ได้ทีเลยเสนอต่อ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เมื่อวันไปเยี่ยมโรงกลั่นไทยออยส์ว่า ถ้ารัฐบาลเปิดทางกว้างอย่างนี้ ไทยออยส์ขออาสาสร้างโรงกลั่นที่
5 ของบริษัท เรียกว่า TOC -5 เพื่อสนองดีมาน์น้ำมันของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไทยออยส์ได้เปรียบตรงที่มีความพร้อมมากกว่าโรงกลั่นอื่น หน่วยกลั่น TOC-1
และ TOC-2 แม้จะครบสัญญาเช่ากับกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2544 แต่ยังมี TOC-3
และ TOC-4 โดยเฉฑาะ TOC-4 ซึ่งจะกลั่นได้เพิ่มอีก 100,000 บาร์เรล ต่อ วัน
รวมแล้วไทยออยส์ จะกลั่นได้ทั้งหมด 190, 000 บาร์เรลต่อวันและเป็นโรงกลั่นที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเอชีย
ไทยออยส์เป็นโรงกลั่นแห่งเดียวในประเทศที่มีทั้งระบบกลั่นในการปรับคุณภาพน้ำมัน
คือ จากน้ำมันเตาให้เป็นดีเซล และเพิ่มคุณภาพคือเพิ่มค่าออกเทนจากหน่วยงาน
cco ( CONTINUOUSCATALYSTRE GENRATION PLAFFFORMER) ซึ่งจะมี ccr-2 อีกหน่วยหนึ่งเพื่อทดแทน
CCR - ในภาวะที่ต้องหยุดซ่อม
ด้วยความพร้อมอย่างนี้ ขณะที่ บริษัทอะโรเมติกส์ ( ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีไทยออยล์
เป็นแกนในการจัดตั้งก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว " เราตั้งอยุ่ในภาวะพร้อมทั้งกำลังคนและทุกปัจจัย"
จุลจิตต์ บุณยเกตุ จากไทยออยล์ กล่าว
ดังนั้น ถ้าไทยออยล์ลงทุนสร้างโรงกลั่นใหม่ จะลงทุนเพียง 1 ใน 3 ของการสร้างโรงกลั่นใหม่ทั้งหมด
เนื่องจากระบบท่อทางมีอยู่พร้อมแล้ว เพียงแต่สร้างหอกลั่นใหม่และไอโดรแครกเกอร์ใช้ปรับน้ำมัน
หนักให้เป็นน้ำมันเบา เท่านั้น ขณะเดียวกัน จะใช้เวลาในการสร้างเพียงครึ่งหนึ่งของโรงกลั่นรายใหม่
คือแค่ 2 ปี ก็กลั่นน้ำมันได้
เหตุผลสำคัญที่ไทย ออยล์ เสนอตัวเข้าไปอีกครั้งในหนนี้ หลังจากที่ได้ศึกษาโรงกลั่นตั้งแต่คราวโรงกลั่นแห่งที่
4 ของประเทศนั้น เพราะไทยออยล์เชื่อว่าจะทำหน้าที่นี้ ได้อย่างสมบูรณ์จากความพร้อมที่มีอยู่
ซึ่จะเปิดฟรีให้บริษัทน้ำมันต่าง ๆ เข้าถือหุ้นได้ทั่วถึง อย่างที่บรษัทน้ำมันเชลล์ไม่ต้องกังวลว่าไทยออยล์จะตีท้ายครัว
เนื่องจากไทยออยล์ไม่ทำตลาดเองจะเป็นเพียงผู้กลั่นเท่านั้น
ยิ่งกว่านั้น การมีซัพพลายน้ำมันได้พอกับดีมานด์ เร็วแค่ไหน ก็จะช่วยให้นโยบายราคาน้ำมันลอยตัวเป็นไปได้เร็วขึ้น
และการที่บริษัทน้ำมันต่างชาติ มาถือหุ้นอย่างหลากหลาย ช่องทางที่จะเลือกซื้อน้ำมันดิบ
มากลั่น ก็มีมากขึ้นด้วย
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลต้องการให้ซัพพลายเร็วที่สุด ถูกที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด
ทุกผ่ายยอมรับว่าไทยออยล์พร้อมซึ่งคาลเทกซ์ เห็นว่า หากรัฐบาลเปิดโอกาสอย่างนี้
จริงก็เป็นเรื่องน่ากลัว และคาลเท็กว์ จะตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากไทยออยล์
กำลังเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะตัดหุ้น 25% ของ
ผู้ถือหุ้น ทุกรายให้ประชาชนที่คาลเท็กซ์ ถืออยู่เพียงน้อยนิด คือ ให้น้อยไปอีก
อันที่จริง ความคิดของ ไทยออยล์ นั้น ศิววงศ์ เห็นว่า เป็นแนวทางที่ดีน่าสนใจ
แต่เป็นการบล็อกคาร์เท็กซ์ไปในตัว ซึ่งดูไม่เป็นธรรมกับคาลเท็กซ์
กรได้ประกาศใหม่ว่า โรงกลั่นที่ 5 คนที่จะเสนอได้ นั้นจะต้องเป็นรายที่ยังไม่มีโรงกลั่นเท่านั้น
และพูดชัดเจนว่า กรร๊ให้คาลเท็กวืตั้งโรงกลั่นในภาคใต้เป็นคนละเรื่องกัน
ดังนั้น คาลเทก็ซ์ ยังคงยืนยันจะตั้งที่มาบตาพุด พื้นที่ในภาคกลางเหมือน
แหล่งข่าว ระดับสูง จากวงการน้ำมันเปิดเผยว่า ความคิดของกรอย่างนี้เป็นการเปิดทางให้คาลเท็กซ์กลาย
ๆ นั่นเอง เนื่องจาก เป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ในไทยที่ยังไม่มีโรงกลั่นเท่ากับว่า
ถ้าคาลเท็กซ์เสนอตัวได้โรงกลั่นที่ 5 ก็ยังมีโรงกลั่นในภาคใต้ที่คาลเท็กซ์
จะได้ตามหลักการซึ่งได้อนุมัติไป
แต่ด้วยเหตุที่โรงกลั่นภาคใต้ยังไม่มีอะไรแหน่นอน และอยุ่ระหว่างการศึกษา
จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเจรจากันใหม่ ในอนาคตต่อไป
ที่แน่ ๆ ตอนนี้ สุขวิช รังสิตพล โต้โผของคาลเท็กซ์ คงยิ้มออกได้บ้างแล้ว
เมื่อกร เปิดช่องชัดเจนเช่นนี้....!