Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533
ไทยเซอร์กิต             
 





ความยุ่งยากในไทยเซอร์กิต ยังดำเนินต่อไป การผลิตที่นิคมอุตสาหกรรม นวนคร ยังหยุดนิ่งมาเป็นเวลานานนับปีจนบางคนกล่าวว่า อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบแผงวงจร ประกอบสารกึ่งตัวนำหรือที่เรียกกันว่า PRINED CIRCUIT BOARD น่าจะมีสนิมขึ้นเต็มแล้ว

ไทยเซอร์กิต เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจประกอบแผงวงจรสารกึ่งตัวนำ หรือ printed circuit board เพื่อทดแทนการนำเข้า โดยได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ เมื่อ3 ปีก่อน บริษัทแห่งนี้เกิดขึ้นจาการส่งเสริมของกลุ่มธุกริจธนสถาปนา( vemnture capital) อันได้แก่ บริษัทสถาปนาที่มีเฉลียว สุวรรณกิติ เป็นกรรมการผู้จัดการสมัยนั้น บริษัทแมนิสตี้ ( manistee) และ บริษัทเวนเจอร์ แคปิตอล ที่มีราเกซ สักเสนา เป็นกรรมการผู้จัดการ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสามารถร่วมถือหุ้นด้วยส่วนหนึ่ง

แรกตั้งกรรมการไทยเซอร์กิต ต่างหวังกันว่าบริษัทนี้จะสามารถผลิต CB ปีละ 1.2 ล้านตารางฟุตซึ่งทดแทนการนำเข้าได้ส่วนหนึ่งและวางแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

แต่โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มาจากลุ่มผู้ประกอบธุกริจนอกไลน์ของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ปัญหากระบวนการตัดสินใจในการบริหารงานอย่างมาก ตั้งแต่การนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์และการแก้ปัญหาการผลิตในระยช่วงทดลองและส่งนี้เป็นสาเหตุความยุ่งยากที่ติดตัวเรื่อยมา

ตามปกติอุตสาหกรรมประกอบ CB มีศักยภาพเนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความต้องการใช้เป็นชื้นส่วนพื้นฐานในการผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด แม้ว่าทั้งหมดจะอยู่ในรูปการจ้างประกอบตามแบบของผู้ว่าจ้างก็ตาม

การเกิดของไทยเซอร์กิต ในช่วงนั้นมีความเจิรญอิเล็กทรอนิกส์ เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว โดยควงเจริญเน้นการรับจ้างประกอบให้บริษัทยักษษ์หลายแห่งเช่นไอบีเอ็ม

ความยุ่งยากของไทยเซอรืกิต ได้รับการแก้ไขหลายครั้ง โดยวิธีสับเปลี่ยนผู้ถือหุ้น ราเกซขายหุ้นส่วนที่เวนเจอร์แคปิตอล ถืออยู่ประมาณ 15% และส่วนตัวของเขาอีก ส่วนหนึ่ง แประมาณ 10% รวมเป็น 25% ให้โกศล ไกรฤกาษ์ ในราคา 200 บาท ต่อหุ้น " หุ้นไทยเซอร์กิตนอกจากตลาดเวลาน้นรแงมากจากราคาพาร์ 100 เป็น 180 ในเวลาสั้น ๆ ทางคุณโกศล ก็คงหวังว่า เมื่อเข้าตลาดแล้วราคาต้องวิ่งไปไกลเกิน 200 เหมือนของควงเจริญที่เคยขึ้นถึง 300 บาท" แหล่งข่าววิเคราะห์การเข้ามาของโกศล

แต่การพูดกันคลภายในบอร์ดรูมของไทยเซอรืกิตยังเหมือนเกิมขณะที่หนี้สินที่กู้มาจากธนาคารกสิกรไทย ก็พอกพูนขึ้นเรื่ยอ ๆ เนื่องจากไม่มีการผลิตหารายได้มาจ่าย จนปัจจุบันว่ากันว่ามีหนี้พอกพุนส฿งถึง 60 ล้านบาท แล้วขณะที่ บรษัทมีสินทรัพย์เพียง 40 ล้านเท่านั้น

สถานการร์นี้ ไทยเซอร์กิตไม่มีทางออกดีไปกว่าการขายกิจการออกให้คนอื่น แหล่งข่าวกล่าวว่าคนที่สนใจซื้อเป็นวิศวะงานทวีกลุ่มงานทวีพี่น้องที่เพิ่งจะซื้อไทร์คอมจากยุโรป

มาหมาด ๆ เมื่อมีนาคม ที่ผ่านมา

ศิวะ มีข้อเสนอซื้อไทยเซอร์กิต ว่า เขาต้องการเฉพาะส่วนที่เป็นสินทรพัย์มูลค่า 40 ล้านบาท ส่วนหนี้ 60 ล้าน ขอแปลง สภาพเป็นเงินกู้และใช้คืนให้หมดภายใน 2 ปี

ดูเหมือนกสิกไทย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่คงไม่มีทางเลือกมากนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us