เรื่องราคาน้ำมันลอยตัว เริ่มเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ฉบับที่ 6 ซึ่งรัฐบาลต้องการแยกปัญหาเรื่องน้ำมันออกจาการเมือง ให้เอกชนเข้ามาลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ก็สอดคล้องกับการปกครอง ที่เริ่มเป็นประชาธิปไตยเต็มตัว จนเวลานี้เรามีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง
จากพื้นฐานเดิมที่รัฐบาลจะเป็นกำหนดและควบคุมกลไกเกี่ยวกับน้ำมันทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการขยายกำลังกลั่น ค่าการตลาด หรือราคาขายปลีก ตอนนี้เรากำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เรียกว่าเป็นเสรีนิยมเตมตัว แต่การเปลี่ยนแปลง
ตรงนี้ค่อนข้างกะทันหัน
โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ราคาน้ำมันขึ้นลงได้โดยอัตโนมัติ ตามเพดานกองทุนน้ำมัน
นั่นก็คือ ถ้าราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง มีเงินไหลเข้ากองทุนฯ กว่า 1,500 ล้านบาท
ก็จะดึงส่วนเกินคืนกระทรวงการคลังในรูปของภาษีสรรพสามิต จนรายได้สรรพสามิตสูงถึง
47,000 ล้านบาท แล้วก็ลดราคาขายปลีกทันที
แต่โดยข้อเท็จจริง ในเรื่องน้ำมัน รัฐบาลยังคงรักษาสถานภาพบางอย่าง เช่น
จะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้รัฐถือหุ้นในโรงกลั่นใหม่เท่าไหร่ มิใช่ใครคิดจะทำเท่าไหร่
ก็ทำได้ หรือรปะกาศราคาหน้าโรงกลั่น แสดงว่าเรายังมี " semi control"
การที่เรามีพื้นฐานอย่างนี้ ส่วนท่เหนือจากนี้ไป ถ้าจะลอยตัวหรือจะปล่อยฟรี
ก็ทำไม่ได้ เพราะผลจากพื้นฐานจะกระทบไปถึงส่วนปลาย คือราคาขายปลีก
จะเห็นว่า ทุกอย่างมีปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ โดรงกลั่นที่สร้างใหม่ลงทุนตอนนี้แพงมาก
ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ค่าเสื่อมสูง ต้องจ่ายเงินพิเศษเข้ารัฐ
เป็นต้น จากพื้นฐานค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เวลาขายก็กำหนดราคาในระดับหนึ่ง ที่ผุ้ลงทุนจะอยู่ได้
คือราคาหน้าโรงกลั่น จากราคาหน้าโรงกลั่น ก็จะผ่านต้นทุนไปสู่ราคาหน้าปั๊ม
ฉะนั้น ถ้าจะลอยตัวราคาน้ำมัน ควรจะทำให้ตลอดหรอืทั้งระบบ...
แต่มีปัญหาว่าเมื่อลอยราคาขายปลีก ซึ่งเป็นตอนปลาย ของระบบ แล้วต้นทาง
ของเราทำอย่างไร มีคำถามว่าเราพร้อมหรือไม่ ซึ่งเรายังไม่พร้อม
ถ้าปล่อยราคาขายปลีกให้ลอยตัว ทั้งที่รัฐบาลยังเป็นผู้ควบคุมกลไกเกี่ยวกับน้ำมันอีกหลายอย่าง
พอราคาลอยตัวไม่ได้ เราก็ต้องหันกลับไปดูราคาหน้าโรงกลั่นอีก
อันที่จริง ที่รัฐบาลพยายามทำมาก็ดีแล้ว เชื่อว่าไม่มีรัฐบาลไหนในดลกที่คุมราคาน้ำมันได้ดีเท่าเมืองไทย
เดี๋ยวนี้ทางราชการมีความรู้ทัดเทียมกับเอกชน ซึ่งเราควรใช้ความรู้ส่วนนี้ให้เป็นประโยน์
ว่าไปแล้วราคากึ่งลอยตัวที่พูดกันนี้ เป็นเพียงการลอยตัวของกองทุนน้ำมัน
กับภาษีสรรพสามิตเท่านั้น
ถ้าคิดว่า ภาษีมากเกินระดับหนึ่งแล้ว ทำไมไม่ตัดออกแต่นั่นแหล่ะ รายได้ภาษีนอกจากขึ้นกับอัตราภาษีแล้ว
ยังขึ้นอยู่กับปริมาณดีมานด์ของน้ำมันชนิดนั้นด้วย ซึ่งรัฐบาลควรตั้งเป้าว่าต้องการเท่าไหร่
จะยืดหยุ่นได้แค่ไหน แต่มีปัญหาอีก เนื่อจากอาจจะมีปัญหาทางการเมืองเมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแหลงบ่อย
ๆ โดยเฉพาะถ้าราคาน้ำมันขึ้นราคา
มาตรการที่รัฐบาลประกาศใช้ครั้ง ถือว่าให้กองทุนฯ ใช้อำนาจบริหารเพื่อไม่ให้ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงบ่อยแทน
จะเห็นว่า สมัยที่เกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ได้เริ่มเลือกใช้การกำหนดราคาขายปลีกที่แน่นอน ด้วยกองทุน ซึ่งคิดว่ายังเป็นประโยชน์สำหรับประเทศในขณะนี้
เพื่อให้รัฐบาลมีทางเลือกว่าจะยอมเสียประโยชน์บางส่วนเพื่อพยุงฐานของเศรษฐกิจประเทศ
หรือการเมืองหรือไม่
เพราะคนเราเมื่อทำธุรกิจ มักจะคิดแง่เดียวว่า มี fianacial gain แต่ระยะยาวอาจจะมีประโยชน์น้อยกว่าหรือแค่เท่ากับความทสูญเสียทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ปัญหาหลัก มาตรฐานของกลไกของเราไม่พร้อม เรายังคุมค่าการตลาด มีระบบโควตา
และอีกหลายอย่าง
โดยส่วนตัวแล้ว จึงเห็นว่า ตอนนี้รัฐบาลน่าจะใช้กองทุนฯ ให้เป็นประโยชน์เมื่อราคาน้ำ
มันสวิง ซึ่งก่อนนี้ราคาเพียง 16-18 เหรียญ และไม่ว่าจะใช้เงินกองทุน ฯ หรือตัวภาษีเป็นตัวปรับราคา
ก็ไม่ใช่การลอยตัวราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันลอยตัวที่แท้จริง นักธุกริจเห็นด้วย ถ้าเลือกเวลาให้เหมาะสม
หมายความว่า ถ้าปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว ขั้นแรกเราจะต้องมีกำลังกลั่นเพียงพอต่อดีมานด์ของประเทศ
ก่อนตั้งปั๊มน้ำมันให้มากขึ้น จะกำไร ขาดทุนถือว่าเป็นเรื่องของผู้ลงทุนที่จะรับผิดชอบเอง
เรื่องปั๊มน้ำมันทุกวันนี้มีขนาดใหญ่ เพราะเขาคำนวณแล้วถ้าทำเฉพาะปั๊มน้ำมันจะไม่ได้กำไร
ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าปั๊มน้ำมันจะต้องปรับรูปแบบใหม่ โดยรัฐบาลควรกำหนดกรอบให้ชัดเจนก่อนว่า
ปั๊มน้ำมันที่ใช้เติมน้ำมันแก่ผู้บริโภคที่แท้จริงนั้นอย่างไร
แนวโน้มขนาดปั๊มน้ำมันจะเล็กลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่ดินแพงขึ้น และรัฐบาลก็ต้องสนับสนุนให้ตั้งปั๊มน้ำมันในต่างจังหวัดให้มากและเร็วที่สุดอย่างจริงจัง
ซึ่งปัจจุบันก็มีทิศทางอย่างนี้อยู่แล้ว มีบริษัทน้ำมันหลายรายที่สนใจมาลงทุนตั้งปั๊มน้ำมันอย่างจริงจัง
เช่นโมบิล คิว 8
พรอ้มกันนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนมากว่านี้
ว่าเวลานี้ราคาน้ำมันที่ซื้อกันอยู่ไม่ใช่ราคาจริง และราคาที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร
จากภาพตอนนี้เรามีแค่สูตรเบ็ดเสร็จ คือพอเงินกองทุนหมดก็เอาภาษีมาใช้แทน
เป็นการโยกกระเป๋าเงินของรัฐบาลนั่นเอง
ส่วนขั้นตอน อื่น ๆ รัฐบาลยังเป็นผู้กำหนดและตัดสินแทบทั้งหมด จะเห็นว่า
แค่ one point transportation ก็ยังทำไม่ได้
สำหรับแนวโน้มในช่วงนี้ เมื่อราคาตลาดโลกจึ้น ก็ต้องปล่อยให้ราคาในประเทศขึ้นตาม
ไม่ว่าจะใช้เงินทุนฯ หรือใช้มาตรการภาษีก็มีค่าเท่ากัน
เมื่อขึ้นราคาก็ต้องน้อยที่สุด เพระามิฉะนั้น แล้วอาจจะทำให้เงินเฟ้อยิ่งขึ้น
แต่ยังดุไม่ออกว่าน้ำมันจะขึ้นมากแค่ไหน คิดว่าคงเป็นระดับ 23-25 เหรียญต่อบาร์เรล
และคงไม่ต่ำกว่า 18 เหรียญ ต่อบาร์เรล
ซึ่งรัฐบาลก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามราคาจริงเพื่อเป็นการชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ
อันนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องวิเคราะห์เศรษฐกิจอย่างจริงจังทั้งระบบ
ขณะที่ประชาชนทั่วไปไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลจะปรับราคาน้ำมันด้วยสูตรอะไร แต่จะดูว่าราคาหน้าปั๊มวันนี้ลิตรละเท่าไหร่
เชื่อว่าถ้ารัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันวันนี้ ประชาชนเข้าใจ ว่ามีสาเหตุจากกรณีอิรักยึกคูเวต
รัฐบาลไม่ควรไปหวาดผวาว่าขึ้นราคาาน้ำมันแล้วจะต้องออกเหมือนยุคที่ผ่านมา
แต่สำคัญว่ารัฐบาลจะต้องมองดูทั้งระบบ
สรุปแล้วช่วงนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คงเหมือนช่วงที่รัฐบาลยังไม่ได้ประกาศเพดานกองทุนฯ
เนื่องจากกลไกพื้นฐานเหมือนเดิม อย่างโรงกลั่น บอกว่า ให้ไปอยู่ภาคใต้
เพือส่งออกและแข่งกับ สิงคโปร์ แต่ผู้สร้างของไทยยังต้องเสียประโยชน์พิเศษหรือค่าต๋งแก่รัฐบาล
แล้วจะไปแข่งกับสิงคโปร์ได้ยังไง ไม่ได้หมายความว่าจะผลักกำไรให้นักลงทุนทั้งหมด
แต่อยู่ที่เป้าหมายของรัฐบาลซึ่งจะต้องชัดเจน
นั่นก็คือ ถ้าจะลอยตัวราคาน้ำมัน จะหัวมงกฏท้ายมังกรไม่ได้
แต่ในสภาวะที่รัฐบาลคิดว่ายังไม่ทำทั้งระบบด้วยเหตุผลที่ว่าต้องดูแลโรงกลั่นและไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยลอยตัวแล้ว
ราคาจะถูกลงแน่หรือไม่นั้น อย่างน้อยบที่สุด ควรส่งเสิรมการตลาดให้มากขึ้น
เดี๋ยวนี้รัฐบาลยังคุมค่าการตลาดอยู่แล้วจะให้เขาแข่งกันอย่างไร
ตรงนี้เองที่เป็นปัญหาให้ต้องถามกันอยู่เสมอว่า ถ้าปล่อยฟรีเรื่องค่าการตลาดแล้ว
มั่นใจได้อย่างไรว่าบริษัทน้ำมันจะไม่ฮั้วกันขึ้นราคา ประชาชนจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่
ซึ่งผมคิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ แม้แต่ประโยชน์ที่รัฐจะได้ก็ยังมองไม่เห็น
แท้จริงที่ผ่านมารัฐบาลทำถูกมาตลอด และการคุมราคาตอนนี้เป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้หมายความว่าคงราคาเดิมไว้
แต่เมื่อขึ้นราคารัฐบาลจะต้องใช้ดุลยพินิจว่าเมือ่ดูทั้งระบบแล้วควรจะแบ่งรับภาระระหว่างรัฐบาลกับประชาชนแค่ไหน
เพราะหากปรับราคาน้ำมันตามภาวะเงินเฟ้อแล้ว ตอนนี้น้ำมันจะตกบาร์เรลละ
2-3 เหรียญ
การปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว ใจจริงโดยส่วนตัวแล้วอยากให้ทำพร้อมกันทั้งระบบดังที่กล่าวแล้ว
พร้อมกันนั้น รัฐบาลเองจะต้องมีบริษัทน้ำมันของรัฐในรูปของเอกชน เพือที่จะแข่งขันในตลาดได้มากยิ่งขึ้น
การประสานการกลั่นและการตลาดเข้าด้วยกันเป็นเรื่องจำเป็น ถ้ารวมเข้าด้วยกันแล้วไม่ว่าจะเรียกชื่อเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติหรืออะไรก็ตาม
มั่นใจได้ว่า จะเป็นคู่แข่งที่พร้อมที่สุดรองจากเอสโซของตลาดน้ำมันในประเทศ
เพราะบริษัทน้ำมันอื่นยังไม่มีใครมีโรงกลั่น
ขณะเดียวกัน จะทำให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติที่ว่านี้ เรียนรู้การแข่งขัน
ในตลาดอย่างเสรีและสรุปบทเรียนเพื่อพัฒนาธุรกิจน้ำมันของประเทศด้วยตัวเองได้อย่างเต็มที่
ผมว่าการขึ้นลงราคาน้ำมัน โดยมีเพดานกองทุนนี้ จะมีประโยชนย์อยู่บ้างในแง่ผลทางการเมือง
ว่าเมื่อน้ำมันขึ้นราคาใครจะมาโทษรัฐบาลไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกลไกที่วางไว้และรัฐบาลกล่าวอ้างได้อย่างสมเหตุสมผล