Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533
" กมลซีฟู๊ด" ธุรกิจรวยเงียบทั้งการค้าที่ดินและทำร้านอาหาร             
 


   
search resources

Real Estate
Restaurant
กมล กมลรัตนพิบูล
ภัตตาคารซีฟู้ด
กมลเรียลเอสเตท




" กมลซีฟู๊ด" เป็นสมญานามที่เรียกนักธุรกิจวัย 55 ปี เจ้าจองภัตตาคารซีฟู๊ดที่ขายอาหารทะเลที่แพงที่สุดแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ขณะนี้ ชื่อเต็ม เขาคือ กมล กมลรัตนพิบูล จากธุรกิจอาบ อบ นวด ที่กมลเริ่มต้นกับพรรคพวกทำ" เจ้าพระยา อาบอบนวด แต่เขามาแยกทำอีกสองแห่ง คือ โซเฟียและฟิซ่า อาบ นวด โดยมีหุ้นส่วนเดิมร่วมด้วย

แต่ทำไปได้สักพัก กมลก็ก้าวกระโดดจากแหล่งเริงรมย์ ด้วยจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่ทำให้เขาร่ำรวยขึ้นมองเห็นลู่ การลงทุน ใหม่ ๆ ที่มีโอกาสที่จะทำกำไรจากธุรกิจการขายอาหารทะเลเป็นคนแรกเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว

" ผมเป็นชอบหาของกินอะไรที่อร่อย ๆ และ แปลก ๆ และที่ผมได้ไอเดียมาทำธุรกิจนี้ก็เพราะผมได้เดินทางไปฮ่องและกินอาหารทะเลที่อร่อย

และสดใหม่จากที่โน่น ผมก็เห็นว่า ในเมืองไทยเราจะหาแบบนี้ยาก ชนิดที่ปลา ปู กุ้ง ว่ายน้ำ แล้วไปชี้ให้เขาทำเป็นอาหารให้เรากินอร่อย ๆ ผมกลับมาจากฮ่องกง ก็เลยลงทุนทำสวนอาหารซีฟู๊ดแห่งแรกที่ถนนเพชรบุรี ตัดใหม่ ปรากฏว่าคนไทยและชาวต่างประเทศนิยมกันมาก ๆ โดยเฉพาะกุ้งมังกร ที่ทำเป็นอาหารจานพิเศษและราคาแพงขายกิโลละ 750 บาท ซึ่งผมมีแหล่งใหญ่ที่ซัพพลายให้คือ ภูเก็ตและระนอง" กมลย้อนอดีตที่ประสบความสำเร็จของการประกอบธุรกิจภัตตาคารอาหาร

เจ้าของสโลแกน it swims, we can have" ในเมืองไทยให้ฟัง

กมล เป็นลูกคนจีนไหหลำ แซ่ตัน ที่เกิดจากบิดาชื่อ " ซุย" และมารดา ชื่อ " เจียม" กมล เป็นพี่ชายคนโต มีน้องชายอีกสองคนช่วยกันบริหารงานคือสมชัย กมลรัตนพิบูล ปัจจุบันดูแล " ภัตตาคารซีฟู้ด" ที่อโศก ถนนสุขุมวิท และสวัฒน์ กมลรัตนพิบูล ที่เป็นกรรมการบริหารดูแลกิจการ " เพชรบุรีซีฟู้ด" ซึ่งจัดตั้งในนามบริษัทสาหร่ายทอง ทุนจดทะเบียน 25, 000 บาท

รายได้จากการขายอาหารทะเลในนปีที่แล้ว ของ " เพชรบุรีซีฟู๊ด" หรือบริษัทสาหร่ายทอง เฉพาะสาขาเดียว 11,773,790 บาท

" ขายอาหารทะเลไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจนี้ก็คือแหล่งอาหารทะเลสด ๆ ที่มีคุณภาพ เราจะขาดไม่ได้เลย" แมล เผยเคล็ดลับความสำเร็จในการทำธุรกิจ

กมล มีชีวิตแบบนักธุรกิจ เพลย์บอย ที่การเดินทาง เขามีลูกสาวและลูกชาย ที่เกิดจากภรรยาสองคน ที่ชื่อดวงตา และมลฤดี ลูกทั้งหมดทั้งห้าคน คือ นิลมณี มงคล สนธิชัย

ยุพดี และศุภประสิทธิ์

ลูกสาวคนโต คือ นิลมณี" นั้นเกิดจากภรรยา คนแรก ที่ชื่อ ดวงตา ขณะนี้ได้ช่วยกมลดูแลกิจการทางด้านการค้าที่ดินในนามบริษัท กมลเรียลเอสเตท ซึ่งเพิ่งตั้งในปี

นี้ ด้วยทุนจดทะเบียน 12 ล้านบาท และบริษัทกมลแลนด์

จะเห็นได้ว่าการลงทุนของกมลส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกาะเกี่ยวกับเศรษฐกิจการ

ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นภัตาคารซีฟู้ด หรือการค้าที่ดินที่ภูเก็ต ที่ซึ่งกมล ติดต่อเป็นแหล่งซัพพลายอาหารทะเล แล้วเขาก็มองเห็นโอกาส จะทำกำไร จากที่ดินที่จะมีราคาแพงขึ้น เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูเก็ตบูม กมลจึงกว้านซื้อที่ดินอยู่หลายแปลง

กมล ได้เล่าให้ฟังว่าเขา เริ่มสนใจอย่างจริงจัง กับการค้าที่ดิน ตั้งแต่ปลายปี 2530 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยมีอัตราความเจิรญเติบโต รวมทั้งการท่องเที่ยวของไทยประสบความำนเร็จจากผลการรณรงค์ปีนั้นเป็นปีการท่องเที่ยวด้วย

ที่ดินผืนแรก ที่เขาจับแปลงใหญ่ ก็คือ ที่ดินอำเภอป่าตอง จังหวัดภูเก็ต อันเป็นแหล่งทองเที่ยวและแหล่งอาหารทะเลสำหรับธุรกิจของเขา

" ตอนแรก ผมไปซื้อที่หาดกะหลิม อำเภอป่าตอง ประมาณ 300 ไร่ ซึ่งตอนนั้นยังไม่แพงนัก ซึ่งต่อมาผมก็ขายไปหมดได้เงินมาก เหมือนกัน ก็เอาเงินนี้ไปลงทุนซื้อที่ดินผืนใหม่ที่สวย ๆ " กมลเล่าให้ฟัง

และปัจจุบัน นี้ ชื่อของ " กมลฟู้ด" ในฐานะเจ้าของที่ดินผืนงามแปลงใหญ่ที่สุด และแพงที่สุดในภูเก็ตเป็นที่ลือถึงความเป็นนักค้าทีดินตัวยง คนหนึ่ง ว่าเขาซื้อที่ดินบริเวณริมทะเลขณะนี้ 40 ไร่ เมือ่ปี ที่แล้วประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบัน กมลได้ตั้งราคาขายไว้ไร่ละ 25 ล้านบาท หรือประมาณ 1,000 ล้าน คือราคาขายที่สูงที่สุดแถบอำเภอป่าตอง

" ที่ดินป่าตองที่ติดทะเล ตอนนี้ผมมีแปลงหนึ่งประมาณ 40 ไร่ ผมยังไม่ได้ขายไปตามที่เป็นข่าวหรอก เพราะยังไม่ตกลงกันเรื่องราคา มีหลายคนสนใจจะขอซื้อเช่นไต้หวัน และญี่ปุ่น แต่ผมก็ยังไม่ตัดสินใจ เพราะคิดจะทำรีสอร์ทเอง โดยคิดว่าจะร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศ โดยเรามีเงื่อนไขที่ไม่เสียเปรียบเขา เราจะลงด้านที่ดินแล้วให้คนกลางมาตีราคาที่ดินว่าเท่าไหร่ ถ้าเขาตีราคาเป็นที่น่าพอใจของเรา เราก็มาหุ้นกัน" กมล เปิดเผย

นอกจากนี้โครงการที่กมล ทำไปแล้วก็มีอยู่สองโครงการใหญ่ ๆ คือ โครงการ " พูนผลไนท์บาซาร์" ซึ่งมีจำนวนอยู่ 286 ห้องที่ขายให้พ่อค้าแม่ค้ามาทำากรค้าอีกโครงการ คือ โครงการ" บางลาสสแควร์" สร้างเป็นอาคารพาณิชย์ที่หาดป่าตอง ซึ่งงานนี้กมลได้ขายยกโครงการให้กับนักธุรกิจชาวกรุงเทพไป ซึ่งว่าเป็นวิธีการค้าประเภทซื้อที่ดินมาแล้วพัฒนาปลูกสร้างอาคารขึ้นมา ทำให้มูลค่าของราคาที่ดินผืนนั้นเพิ่มขึ้น

" แต่ตอนนี้ การค้าที่ดินโดยทั่วไป ผมคิดว่ามันเริ่มไม่ดี เพราะดอกเบี้ยแบงก์สูงขึ้นถึง 16.5% ทำให้การซื้อขายที่ ดินมันยกยากขึ้น แต่สำหรับที่ดิน ในภูเก็ต กำลังบูมมาก เพราะยังมีคนต้องการมาลงทุนซื้อที่ดินทำโรงแรมเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ " กมล เล่าให้ฟัง

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การสะสมที่ดินผืนงามของกมล ก็ยังไม่หยุด ทุกวันนี้ แฟ้มที่ดินที่มีผู้มาเสนอขายแก่กมล มีจำนวนเป็นตั้ง ๆ โดยกมลให้ลูกสาวคนโต คือ นิลมณี คอยประสานงานหรือบางครั้งก็ออกไปดูที่ดินซึ่งอย่างน้อยในเขตกรุงเทพต้องไม่ต่ำกว่าสองไร่ และสำหรับที่ดินในเขตต่างจังหวัดก็ต้องไม่น้อยกว่า 10 ไร่ และล่าสุด ทาง

กมล เรียลเอสเตรท เองก็ได้รับข้อเสนอจากนักลงทุนบางคนที่ต้องการที่ดินจำนวน 100-1,000 ไร่แถบบริเวณรังสิตเพื่อมาพัฒนาเป็นสนามกอล์ฟ

ถึงวันนี้กมลมิใช่เพียงพ่อค้าที่ประสบความสำเร็จจากการค้าทำธุรกิจร้านอาหารทะเล

เท่านั้น แต่เขายังมีชื่อเสียงในฐานะนักค้าที่ดินรายใหญ่คนหนึ่งที่รวยเงียบ ๆ กับการเก็งโอกาสทองในอนาคตด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us