Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2546
เป้าปี48ศก.โต10%จีดีพี-หุ้น8ล้านล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ทักษิณ ชินวัตร
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
Economics




"ทักษิณ" ย้ำจีดีพีปีหน้าโต 8% ส่วนปี 48 โตเพิ่มเป็น 10% ชี้ปีหน้าทุนนอกทะลักเข้าไทยแนะแบงก์ชาติ(ธปท.) เกาะติดดูแลบาทไม่ให้แข็งเกินไปปี 48 ดอกเบี้ยเงินฝากโงหัวแน่แม้ไม่มาก ขณะที่ปีหน้ายังต้องจัดงบฯขาดดุลต่ออีก เพื่อกระตุ้นการลงทุนเพิ่มต่อเนื่อง ก่อนเข้าสู่งบฯสมดุลปี 48 คาดภายใน 5 ปีข้างหน้าจีดีพี-มาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยเกิน 200,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 8 ล้านล้านบาท)คิดเป็น 2 เท่าจากปัจจุบัน ด้านไอเอ็มเอฟยอมรับอีกรอบ ชี้นำเศรษฐกิจไทย-ภูมิภาคผิดพลาดจนเศรษฐกิจดิ่ง

วานนี้ (13 พ.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2547Ž ในงานครบรอบ 25 ปี สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า หลักการบริหารเศรษฐกิจประเทศยึดถือทฤษฎีของความสมดุลเป็นสำคัญ โดยดูว่าอะไรที่ขาดก็จะดึงขึ้นมา ส่วนอะไรที่มากไปจะกดลงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา วิกฤตเศรษฐกิจเหมือนเช่นที่ผ่านมา

พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า การบริหารประเทศ รัฐบาลมองปัญหา 3 ด้านหลักคือ 1.สร้างความ เชื่อมั่นให้กลับคืนมา ให้เกิดการยอมรับประเทศไทยมากขึ้น 2.สร้างความสมดุลในการพัฒนาภาคเมืองและชนบท โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจ 2 ทาง (Dual track economic policy) ให้โอกาสภาค ชนบทเข้าถึงแหล่งทุนได้ ด้วยมาตรการส่งเสริมต่างๆ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออก และ 3.สร้าง ราคาสินทรัพย์ประเทศ ที่ราคาตกต่ำเกินจริงให้กลับคืนมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น ด้วยการส่งเสริมให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้น และฟื้นฟูตลาดหุ้น ที่ดัชนีปรับตัวลงมากให้กลับขึ้นมา โดยผลักดันรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนที่ดีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ปี 48 ศก.โต 10% แบบสมดุล

"ปี2547 ผมได้วางตั้งเป้าว่าเศรษฐกิจจะโต 8% ซึ่งขอยืนยันว่า สามารถทำได้ เป็นเรื่องหมูๆ และ ในปี 2548 ไม่อยากจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะโต 10% เดี๋ยวจะตกใจกัน แต่ไม่ต้องห่วง เศรษฐกิจโต 10% แล้วจะไม่สมดุล ผมจะต้องทำทุกอย่างให้สมดุล ผมดูตัวเลขทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะ เงินคงคลัง แม้แต่การนำเข้า-ส่งออก ที่จะต้องพยายามไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า เพราะโดย หลักของการค้าขายจะต้องมีกำไร" นายกฯกล่าว

ด้านมหภาครัฐบาลยังให้ความสนใจ และติด ตามดูมาตลอด ทั้งตัวเลขหนี้สาธารณะ ตัวเลขทุน สำรองทางการ ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งขณะนี้ ตัวเลขต่างๆ ดีทั้งหมด การเก็บรายได้ของประเทศปีงบฯ2546 สูงกว่าประมาณการถึง 10% ทำ ให้ฐานะงบประมาณวันนี้เป็นงบเกินดุล แต่ปี 2547 จะตั้งงบขาดดุลอีกรอบ เนื่องจากภาคการลงทุนเอกชนยังไม่เข้มแข็ง จึงต้องตั้งงบฯกลางปี เพื่อให้เป็นงบประมาณแบบขาดดุล ปี 2548 ไม่จำเป็นต้องทำงบประมาณแบบขาดดุลอีกต่อไป

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยวันนี้ ถือ ว่ามีเสถียรภาพมากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะด้านการเมือง ทำให้ความเชื่อมั่นต่อประเทศสูง วันนี้ เงินจะไหลเข้าประเทศอย่างมาก จนธนาคารแห่งประเทศไทยต้องประคองไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก แต่ผู้ส่งออกเองก็ต้องปรับตัวด้วย

ให้สมคิดช่วยสร้างผู้ประกอบการใหม่ ๆ

"สำหรับปีหน้าเศรษฐกิจจะโต 8% ตามที่บอกไว้ ปีต่อไปก็จะเบรกไม่อยู่ เพราะสิ่งที่จะทำในปี 2547 ซึ่งจะเชื่อมไปยังปี 2548 นั้น จะเป็นสิ่งที่แรง มาก และจะทำให้ระบบแข็งแกร่ง" นายกฯกล่าว

พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวอีกว่ารัฐบาลกำลังส่งเสริมประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศที่ทำการผลิต ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ต่อเนื่อง โดยมอบให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีช่วยดูแล โดยปีหน้าจะเริ่มเดินหน้าเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และปฏิรูปที่ทำกิน รวมทั้งจะปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนอย่างจริงจัง และจะผลักดันราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

อีก 5 ปีจีดีพี-ตลาดหุ้นเกิน 8 ล้านล้านบาท

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลจะอาศัยการเจรจาเปิดการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เพื่อ ให้สามารถขายสินค้าได้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจใต้ดิน ที่มีอยู่อย่างน้อย 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจบนดิน ต้อง นำขึ้นมาอยู่บนดิน และทำให้ธุรกิจที่ไม่เคยเสียภาษี เสียภาษีให้ถูกต้อง ภายใน 5 ปีจากนี้ รัฐบาลจะทำ ให้จีดีพีประเทศเกิน 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8 ล้านล้านบาท) เพิ่มจากปัจจุบันที่ประมาณ 5 ล้านล้านบาท ทำให้ทุนสำรองทางการ เกิน 60,000 ล้านดอลลาร์ โดยไม่รวมเงินฝากต่างประเทศของแบงก์พาณิชย์ จะทำให้หนี้ต่างประเทศ ต่ำกว่าทุนสำรองทางการ ทำให้ตลาดหุ้นโต โดยมีมูลค่าตลาด (มาร์เกตแคป) เท่าจีดีพีประเทศ

ส่วนอัตราดอกเบี้ยปี 2548 จะขยับขึ้น แต่ไม่ มาก โดยสภาพคล่องในระบบตลาดเงินไทย จะมีความพอดี ดอกเบี้ยจะไม่อยู่ในอัตราสูงมากเหมือน อดีต ขณะที่ความสามารถการแข่งขันของประเทศจะดีมาก

แนะพัฒนาชนบท-เอสเอ็มอีจริงจัง

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่าคำว่าทักษิโณมิกส์ แปลว่าเป็นศิลปะการบริหารเศรษฐกิจ โดยนโยบาย และแนวทางที่นายกรัฐมนตรีพูดนั้น ส่วนตัวเห็นด้วย แต่จะสรุปว่าดีหรือไม่ คงตอบไม่ได้ ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เช่น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน ต้องใช้นโยบายการเงินการคลังจะมีความพิเศษอยู่บ้าง คือใช้สถาบันการเงินเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ แนวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาชนบท กับพัฒนาภาคธุรกิจเอสเอ็มอี เป็นแนวทางที่ต้องปฏิบัติจริงจัง รัฐบาลต้องเพิ่มโอกาสให้คนที่มีโอกาสน้อย ไม่ใช่เรื่องทุนหรือเรื่องเงินอย่างเดียว แต่ต้องมีคุณภาพขยายผลผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ซึ่งต้องมาจากพื้นฐานการศึกษา

นอกจากนี้ ต้องกระจายรายได้เข้าถึงคนด้อย โอกาสมากที่สุด ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาการบริหารประ-เทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนใหญ่จะใช้กลไกรัฐเป็น เครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งใช้เศรษฐกิจนอกงบประมาณ เช่นล่าสุดจะใช้มาตรการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

IMF ย้ำตัวเองผิดคราววิกฤตเอเชีย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นายชาร์ลส์ อะดัมส์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ประจำเอเชียและแปซิฟิกกล่าวระหว่างเข้าร่วมการสัมมนาที่กรุงเทพฯ วานนี้ว่า ไอเอ็มเอฟยอมรับว่าผิดพลาดในการรับมือ กับวิกฤตการเงินเอเชียปี 2540-2541 อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าที่พลาดนั้นพลาดตรงไหน

"บางคนบอกว่าเราปล่อยกู้มากเกินไป บางคน บอกว่าเราปล่อยกู้น้อยเกินไป บางคนบอกว่าเรากำหนดเงื่อนไขเข้มงวดเกินไป บางคนบอกว่าเงื่อน ไขเหล่านั้นยังไม่เข้มงวดเพียงพอ" นายชาร์ลส์ อะดัมส์ บอกและว่าเวลานี้กำลังเริ่มมีความคิดเห็น พ้องกันเป็นฉันทมติปรากฏออกมาแล้ว โดยอยู่ใน บริบทที่ว่าการปล่อยกู้ของไอเอ็มเอฟให้แก่ 3 ชาติเอเชีย คือ ไทย, เกาหลีใต้, และอินโดนีเซียในคราว นั้น ได้มีการกำหนดเงื่อนไขหลายประการซึ่งไม่มีความจำเป็น และกระทั่งเป็นเงื่อนไขซึ่งไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย

ผลจากความผิดพลาดคราวนั้น เวลานี้ทางไอเอ็มเอฟจึงกำลังพยายามปรับลดเงื่อนไขที่จะกำหนดต่อประเทศผู้กู้ในอนาคต โดยคราวนี้ไอเอ็ม เอฟจะต้องคำนึงถึงเหตุผลความเหมาะสมในเวลากำหนดเงื่อนไขใดๆ ส่วนเรื่องวงเงินกู้ก็จะต้องมอง หาทางสายกลาง ไม่ให้มากเกินไปและก็ไม่ให้น้อยเกินไป

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเอเชียและแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟกล่าวต่อไปว่า อีกบทเรียนหนึ่งของทางกองทุนก็คือ จะต้องพยายามสกัดปัญหาเอาไว้ให้อยู่ภายใน 1 ประเทศ แล้วแก้ไขโดย เร็ว ไม่ปล่อยให้แพร่ลามไปสู่ประเทศอื่นๆ และบท เรียนสำคัญที่สุดที่ไอเอ็มเอฟเรียนรู้ก็คือ แนวรบแรกในการป้องกันได้แก่ การต้องหาทางทำให้วิกฤต ไม่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทีแรก เพราะทันทีที่เกิดวิกฤตก็จะกลายเป็นความวุ่นวายอลหม่าน และสิ้นค่าใช้จ่ายสูงมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us