Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2546
สมคิดยันไทยศูนย์ฯดันยานยนต์สู้ทุนโลก             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย)
Daimlerchrysler Homepage

   
search resources

เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย), บจก.
เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย), บจก.
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บจก.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
วิลเลี่ยม เอส.บอทวิค
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
นินนาท ไชยธีรภิญโญ
วัลลภ เตียศิริ
คาร์ล-ไฮซ์ เฮคเฮาเซ่น
Auto Manufacturers




"สมคิด" ยันรัฐบาลพร้อมดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนแข่งขันเวทีอุตสาหกรรมยานยนต์โลก เป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดันประเทศรุกไปข้างหน้าต่อเนื่อง ย้ำต้องการ ดึงนักลงทุนต่างชาติลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย "ด้วยหัวใจและความจริงใจ" แนะทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างมิติใหม่ ให้อาเซียน ที่กำลังเดินหน้าสู่ตลาดยุทธศาสตร์หลักในเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับจีน ขณะที่ค่ายรถยักษ์ใหญ่ขานรับนโยบายรัฐเต็มตัว เตรียมขยายลงทุนรับตลาดโตในอนาคต

รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในงานปาฐกถา พิเศษประจำปี 2546 ที่ว่าด้วยทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ.2547-2550 ซึ่งจัด โดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย ประชาชาติธุรกิจ กรังด์ปรีซ์กรุ๊ป และรี้ดเทรดเด็กซ์ วานนี้ (13 พ.ย.) ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้ถึง 16% ของการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทย มีการจ้างงาน 8% ของปริมาณการจ้างงานรวมทั้งประเทศ ประการสำคัญคือ จะสามารถเชื่อม ต่อให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง และซัปพลายเออร์ต่างๆ มีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อีกมาก

1 ใน 5 ยุทธศาสตร์หลักของไทย

รัฐบาลจึงจัดให้อุตสาหกรรมนี้ เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ นับวัน รัฐมั่นใจว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางการผลิต ในเอเชียแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์เร็ววันนี้ เนื่อง จากไทย มีปัจจัยพร้อม ได้แก่ ต้นทุนต่ำ คุณภาพ การผลิตที่ดี มาร์เกตติ้งที่สามารถสนองผู้บริโภค ได้ทันท่วงที ขณะเดียวกัน มีการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มีศูนย์จัดหาและกระจายชิ้นส่วน ที่เป็นระบบ รวมทั้งเครือข่ายการตลาดที่ลงตัวทุก ด้าน โดยที่ทุกด้านต้องสอดประสานความร่วมกันด้วยดี ทั้งภาครัฐและเอกชน

ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแขนงนี้จะประสบความสำเร็จเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่จากนี้ไป เขากล่าวว่าทุกอย่างจะเปลี่ยน เอเชียจะไม่แพ้ภูมิภาคอื่นอีกต่อไป เนื่องจากศักยภาพ ตลาดขนาดใหญ่ เช่น จีนมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน เช่นเดียวกับอินเดีย หรืออาเซียน ที่มีประชากรถึง 500 ล้านคน โดยตลาดเหล่านี้ ยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากอัตราประชากรต่อจำนวนรถ ยังต่ำมาก อาทิ ญี่ปุ่น สัดส่วนผู้ใช้รถ 2 คน:1 คัน มาเลเซียและสิงคโปร์ 5:1 ไทย 12:1 ฟิลิปปินส์ 30:1 อินโดนีเซีย 60:1

จีน-ไทยศูนย์กลาง

ในแง่ยุทธศาสตร์การลงทุน ไทยเป็นดาวเด่นของภูมิภาค เนื่องจากพร้อมด้วยประการทั้งปวงดังกล่าว อนาคต เอเชีย ซึ่งไม่นับญี่ปุ่นจะมีศูนย์กลางผลิต 2 แห่งหลัก หนึ่งในนั้น อาเซียน ที่มีศูนย์กลางที่ไทย ส่วนอีกตลาดที่ต้องยอมรับ คือจีน

สำหรับประเทศไทย นายสมคิดกล่าวว่าวันนี้ ถูกจับตาจากนักลงทุนต่างชาติมาก เพราะนับจาก ช่วงที่ประเทศประสบวิกฤติเศรษฐกิจ จีดีพีช่วงปี 2540 แค่ 1.6% แต่ปีนี้ อัตราขยายตัว 6.1% คาดว่า จะเป็น 8% ปีหน้า ซึ่งขยายตัวกว่า 500% เขายืนยันว่าการเติบโตดังกล่าว ไม่มีโอกาสถดถอยลง

"เพราะที่ผ่านมา เรายังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ แต่จากนี้ไป เราต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ที่สำคัญ คือไทยนั้น มีเสถียรภาพ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจสูงมาก ประกอบกับย่านอาเซียนนั้น มีความเป็นพลวัตสูงมาก จากนี้ไป อาเซียนจะไม่ได้มีแค่ประเทศที่เราคุ้นเคย หรือขีดวงจำกัดอยู่แค่นี้ แต่อาเซียนจะรุกขยายไปสู่ลุ่มน้ำโขง ทะลักสู่จีนตอนใต้" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

จากนี้ไป รัฐมอบนโยบายแล้วว่า ต้องมองเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น ประเด็นด้านภาษีสรรพสามิต ยังคงศึกษาอยู่ คณะทำงานต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งประเทศต่างๆ ด้วย เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน พร้อมกันนี้ เขากล่าวว่าเขาจะโน้มน้าวให้นักลงทุนต่างชาติมองไทยเป็นหุ้นส่วนที่ลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวย

หวังดึงนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนจริง

"เพราะเราไม่ปรารถนากลุ่มทุนที่หวังประโยชน์ เพียงฝ่ายเดียว ทำทุกอย่างแค่ประกอบ แล้วถึงเวลาก็ย้ายฐานหนีไป ถ้าเช่นนั้น เราก็ไม่อยากเปิด ประตูต้อนรับ แต่เราอยากให้นักลงทุนมาพร้อมกับหัวใจและความจริงใจ มาพร้อมกับคืนให้สังคม ตัวอย่างเช่น การพัฒนาศูนย์วิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดโนว์ฮาว ซึ่งถ้าท่านคิดอย่างนั้น รัฐก็พร้อมสนับสนุนทุกด้าน ผมได้กำชับบีโอไอแล้วว่า สิทธิประโยชน์ด้านภาษี จะกลายเป็นเรื่อง ล้าสมัย แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทดแทน คือคลัสเตอร์ต้องเกิดขึ้น เพื่อสร้างให้กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนแข็ง แกร่งขึ้น" นายสมคิดกล่าว

ค่ายรถยักษ์ใหญ่ขานรับไทยศูนย์กลางผลิต

ด้านนายคาร์ลไฮ เฮคฮอเซ่น ประธาน บริษัท เดมเลอร์ ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) ในเครือเดมเลอร์จากเยอรมนี กล่าวว่าสำหรับเมอร์เซเดส มียอดจำหน่าย 4,097 คันเศษ คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 5,100 คัน คิดเป็น 46% ของส่วนแบ่งตลาดรถยนต์หรูในไทยทั้งหมด สิ่งสำคัญที่ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่แข็งแกร่ง ที่สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ได้ทุกประเภท แม้จีนได้เปรียบไทย แต่หาก 2 ชาติร่วมมือกัน จะเพิ่มโอกาสให้กับไทยได้อีกมาก

นายวิลเลี่ยม บอทวิค ผู้บริหารเครือจีเอ็ม จากแดนมะกัน กล่าวว่า จีเอ็มยังคงใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกทั่วโลก แม้รถบางยี่ห้อที่ผลิตโดยกลุ่มนี้จะไม่ขายที่ไทย ที่ผ่านมา จีเอ็มลงทุน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.8 พันล้านบาท) ซึ่งสามารถรองรับการผลิตได้มากกว่า 100,000 คันต่อปี อย่างไรก็ตาม อนาคต อันใกล้ จีเอ็มคงต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อรองรับการโต ของตลาด

ด้านนายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และฝ่ายบริหารบริษัท โตโยต้า (ประเทศไทย) ในเครือ กลุ่มโตโยต้าจากแดนปลาดิบ ซึ่งร่วมเป็นวิทยากร งานวานนี้ด้วย กล่าวว่านับวันศักยภาพของไทย จะไปไกลทั่วโลก เช่น กรณีโตโยต้า ยอดขายในไทยอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ที่ขายได้ 1.5 ล้านคัน ต่อปี ออสเตรเลีย 157,000 คัน ไทย ตามหลังออสเตรเลียแค่ 7,000 คัน แต่อนาคตอันใกล้ ทุกอย่างจะเปลี่ยน เพราะดีมานด์สูงขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจประเทศที่ดีขึ้น ซึ่งถึงวันนี้ ไทยในสายตาญี่ปุ่น หรือยุโรป หรือตะวันออก กลาง ถือว่าดีมาก จากนี้ไป จะมีเงินหลั่งไหลเข้าลงทุนธุรกิจรถในไทยอีกมาก

ขณะที่สถาบันยานยนต์ โดยนายวัลลภ เตียศิริ ตัวแทนสถาบันฯ กล่าวว่าสถาบันฯ ถูกวางให้เป็นองค์กรหลัก ที่จะเชื่อมโยงรัฐและเอกชน เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้แข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันฯ ร่วมกับทุกฝ่าย ทำแผนแม่บทเรื่องนี้เรียบแล้ว จะเริ่มดำเนินการได้ไม่นี้ ซึ่งแผนบรรจุทุกอย่าง เพื่อดันไทยสู่การเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียให้สำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us