Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤศจิกายน 2546
บุญคลีแจงเหตุชินฯ ลงทุนแอร์เอเชีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
แอร์ เอเชีย เอวิเอชั่น - AirAsia Aviation
บุญคลี ปลั่งศิริ
อารักษ์ ชลธานนท์
สุเทพ สืบสันติวงศ์
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี
Aviation




บุญคลีเผย 5 ประเด็นเลือกลงทุนสายการบินต้นทุนต่ำ ได้ทั้งกล่องได้ทั้งเงิน เปรียบเปรยเหมือนทำตลาดมือถือวัน-ทู-คอล ที่ตลาดใหญ่กว่า ด้าน"วิเชษฐ์" รับงานวันแรก หนุนนโยบายจัดตั้ง สายการบินต้นทุนต่ำ ชี้เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งทุก รูปแบบในราคาต่ำ

นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการร่วมทุนในบริษัท แอร์เอเชีย เอวิชั่น (AAA) เพื่อให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำว่ามีเหตุผลหลัก 5 ประเด็นคือ 1.ชินคอร์ปเชื่อว่าธุรกิจสายการบินหรือทรานสปอร์เตชั่นเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกับธุรกิจโทรคมนาคมในเรื่องคำว่า Traffic Network Hub ซึ่งทั้ง 3 เรื่องสามารถนำความรู้ประสบการณ์จากธุรกิจโทรคมนาคมมาปรับใช้กับธุรกิจขนส่งได้

2.การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของธุรกิจขนส่ง มีแนวโน้มความเร็วในการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับธุรกิจโทรคมนาคม หากเทียบ 20 ปีที่แล้วของการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมอย่างโทรศัพท์มือถือ กับอีก 20 ปีข้างหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจขนส่งจะมีอัตราที่ใกล้เคียงกัน

"อย่างเรื่องแบนด์วิธ (ความกว้างของช่องสัญญาณ) ในธุรกิจโทรคมนาคม ก็เหมือนกับระบบการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่"

3.ภาพรวมของประเทศ และทิศทางของรัฐบาล รวมทั้งศักยภาพของประเทศในเอเชียที่มีอัตราสูงในด้านธุรกิจบริการ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของกลุ่มชินคอร์ปที่มุ่งธุรกิจบริการมาโดยตลอด

"ปัจจัยความสำเร็จคือการเคลื่อนย้ายผู้บริโภคด้วยความเร็วและราคาต่ำ" 4.ข้อมูลการเดินทางในประเทศไทย มีคนเดินทางประมาณ 80 ล้านคนต่อปี ซึ่งประมาณ 10% ที่เดินทางด้วยเครื่องบิน หมายถึงยังมีตลาดที่เหลืออีก 90% ที่จะให้สายการบินต้นทุนต่ำเข้าไปแชร์ตลาด และ 5.ระบบขนส่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หากสามารถขนนักท่องเที่ยวหรือคนไทยเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ได้อย่างสะดวก เร็วและประหยัดก็เท่ากับช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้การท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ

ชินคอร์ปลงทุนด้วยการซื้อหุ้น 50% ในวงเงิน 200 ล้านบาท บริษัท แอร์เอเชีย 49% และที่เหลือเป็นนักลงทุนชาวไทยอีก 1% โดยที่บริษัทแอร์เอเชีย เอวิชั่น มีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท

บริษัท แอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของเอเชีย เปิดให้บริการตั้งแต่ธ.ค.2544 จนถึงปัจจุบันแอร์เอเชียให้บริการผู้โดยสารในประเทศมาเลเซียไปแล้วกว่า 3 ล้านราย ใช้เครื่องบิน 8 ลำ บริการ 64 เที่ยวบินต่อวัน โดยบินจาก KL International Airport ไปยังปลายทางที่ต่างๆ อย่าง Penang,Sibu,Tawau,Langkawi ฯลฯ

ในแง่การบริหารจัดการบริษัทใหม่นี้ จะเป็นลักษณะโคแมเนจเมนท์ร่วมกันโดยจุดแข็งของ ชินคอร์ปอยู่ที่เรื่องระบบงาน ด้านการเงิน งานด้าน บริหารบุคคล ส่วนแอร์เอเชียที่มีโนว์-ฮาวเรื่องสายการบินต้นทุนต่ำจะรับผิดชอบด้านการตลาดและการปฏิบัติงานหรือโอเปอเรชั่น

"ในระยะยาวจะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ให้เป็นของบริษัท ร่วมทุนโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นชินคอร์ปหรือแอร์เอเชีย"

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ด้านการพัฒนาธุรกิจใหม่กลุ่มชินคอร์ป กล่าวว่าเป้าหมายต่อไปนอกจากเรื่องการขนคนหรือผู้โดยสารแล้ว ยังมองถึงการขนส่งสินค้า ซึ่งในช่วงแรกเครื่องบินจะต้องออกทุกๆ 30 นาที แต่หลังจากนั้นอาจเหลือเพียง 25 นาที เพราะระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นตัววัดประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง

"ผลที่ชินคอร์ปได้คือธุรกิจมีโอกาสมากและสร้างอิมเมจที่ดีให้กลุ่มชินคอร์ปแต่หมายถึงต้องบริการให้ดีด้วย"

บริการดังกล่าวนายบุญคลีเรียกว่าเป็น วอลุ่ม บิสซิเนส เป็นการเจาะตลาดใหม่ ไม่ได้แข่ง ขันกับสายการบินแห่งชาติ หากเทียบเป็นบริการโทรศัพท์มือถือก็อยู่ในระดับวัน-ทู-คอล ที่มีตลาด ใหญ่กว่าบริการพรีเมียมอย่างจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ซึ่งค่าโดยสารของ AAA ถูกว่าค่าห้องพักโรงแรมหรือ ค่าใช้จ่ายในการเล่นกอล์ฟด้วยซ้ำ

AAA ที่อยู่ระหว่างรอเปลี่ยนชื่อให้เป็นไทยๆ โดยอาจใช้ชื่อแอร์ เอเชีย ไทยแลนด์ จะให้บริการเดือนม.ค.2547 ด้วยการเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 737-300 จำนวน 3 ลำให้บริการใน 6 จังหวัดคือกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ นครราชสีมาและขอนแก่น อัตราค่าโดยสารโดยเฉลี่ยต่อ 1 เที่ยวจะต่ำกว่าค่าโดยสารทั่วไปประมาณ 40-50% เช่นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาท และในช่วงแรกจะขายบัตรโดยสารผ่านช่องทาง SMS ของเอไอเอส ผ่านอินเทอร์เน็ต และคอลเซ็นเตอร์ รวมทั้งใช้สาขาของเอไอเอสในการทำธุรกิจ

"วิเชษฐ์" หนุนตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ

นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมในการผลักดันให้เกิดสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline ) ว่า เบื้องต้นถือว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบการขนส่งที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น หากได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ก็พร้อมที่จะช่วยผลักดันนโยบายนี้ให้ประสบความสำเร็จ

นายสุเทพ สืบสันติวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า ขณะนี้การบินไทยอยู่ระหว่างรอผลการศึกษากรอบแนวทางการดำเนินการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ จากบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งจะสรุปภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และยืนยันว่าการบินไทยพร้อมที่จะเปิดสายการบินต้นทุนต่ำให้บริการในต้นปี 2547 และสามารถแข่งขันด้านธุรกิจการบินแบบสายการบินต้นทุนต่ำได้อย่างแน่นอน ตามนโยบาย

นายวิเชษฐ์กล่าวภายหลังเดินทางมาทำงานที่กระทรวงคมนาคมวันแรก(12พ.ย.)หลังจากได้รับตำแหน่ง โดยมีนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ให้การต้อนรับ โดยนายวิเชษฐ์กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงต้องทำงานอย่างรอบคอบ โดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาระบบขนส่งการจราจรให้มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เน้นนโยบายเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อ จัดจ้าง ลดขั้นตอนในการบริหารระบบราชการเพื่อให้งานประสบความ สำเร็จและมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าจะได้รับมอบหมายให้ดูแลหน่วยงานใดบ้าง

"ผมพร้อมที่ดูแลงานในทุกหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายและจะทำงานในเชิงรุก โดยจะมีการกำหนดกรอบการทำงาน ระยะเวลาและเป้าหมายเพื่อให้งานของกระทรวงคมนาคมเดินหน้าตาม นโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่วางไว้ก่อนหน้านี้"

เอ็นจีโอค้านตามระเบียบ

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า การขยายธุรกิจของกลุ่มชินคอร์ปไปลงทุนด้านการบินนั้น ถ้ามองในมุมธุรกิจก็ถือเป็นสิทธิเป็นเรื่อง ปกติธรรมดาที่สามารถทำได้ แต่เผอิญว่ากลุ่มชินคอร์ปเป็นบริษัทของครอบครัวของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องนี้จึงต้องจับตาเป็นพิเศษว่าจะมีการใช้อำนาจทางการเมืองไปเกื้อหนุนหรือไม่ โดยเฉพาะบทบาทของนายกฯ ในการประคับประคองชะตากรรมของบริษัทการบินไทย ในฐานะที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นกิจการ ของคนไทย ซึ่งเมื่อบริษัทแอร์ เอเชีย เข้ามาเปิดสายการบินในประเทศไทย จะกระทบกับการบินไทยอย่างแน่นอน เพราะแอร์ เอเชีย บริการในราคาต่ำกว่า และมาตรฐานทางเทคโนโลยีด้านการบินสูงกว่าบริษัทการบินในประเทศไทย ฐานลูกค้าของการบินไทยก็คงหดหายไปด้วย พอถึงตอนนั้นการบินไทยอาจจะถูกบริษัทเอกชน หรือไม่แน่ว่าอาจจะเป็นบริษัทแอร์ เอเชีย เทกโอเวอร์ไปในที่สุด หรืออาจจะมีชะตากรรมคล้ายๆ กับกรณีขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่กำลังเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่ไม่มีอนาคตเลย เพราะไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนรายอื่นๆ ทั้งด้านคุณภาพ การบริการ และฐานลูกค้า

การขยายธุรกิจด้านการบินของกลุ่มชินคอร์ป คงไม่ใช่แค่ลงทุนกับบริษัทแอร์ เอเชียเท่านั้น แต่ยังเตรียมลงทุนด้านการบินกับสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ และต้องการใช้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นฐานการบินระดับภูมิภาคด้วย และสิงคโปร์แอร์ไลน์ มีศักยภาพเหนือกว่าบริษัทการบินไทยในทุกๆ ด้าน ทั้งเงินลงทุน เทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่อง บินและการบิน

ส่วนข้ออ้างของรัฐบาลที่ว่า ต้องการพัฒนาฐานการบินเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และทำให้ค่าโดยสารถูกลงนั้น ถือเป็นเรื่องดีและน่าเป็นประโยชน์กับคนไทย แต่อย่าไปมองเพียงแค่ ว่าราคาจะถูกลง แต่ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดและการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทการบินไทย ซึ่งยังเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นของคนไทยอยู่ โดยไม่คำนึงถึงความอยู่รอดของบริษัทการบินของคนไทยที่มีศักยภาพด้อยกว่า สุดท้ายการบินไทยก็คงแข่งขันหรือต่อสู้กับบริษัทของสิงคโปร์ไม่ได้และคงต้องปิดกิจการไปในที่สุดและทำให้ต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ผูกขาดกิจการการบิน หรือเทกโอเวอร์การบินไทยในที่สุด ซึ่งในระยะยาวจะไม่มีการแข่งขันราคาอาจะไม่ถูกอย่างที่คิดก็ได้ ประชาชนก็จะไม่มีทางเลือกอีกต่อไป

ดังนั้น รัฐบาลควรจะสนับสนุนและพัฒนาสายการบินไทย หรือสายการบินเอกชนภายในประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันด้วย

อย่างไรก็ตาม อยากให้จับตาพฤติกรรมของรัฐบาลที่อาจมีการแก้ไขพ.ร.บ.เดินอากาศไทย ที่กำหนดให้ต่างชาติที่ประกอบธุรกิจการบินถือหุ้นได้ไม่เกิน 30% อันเป็นการปกป้องและสนับสนุนสายการบินในประเทศ และเพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลอาจแก้กฎหมายเพื่อเอื้อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านการบินได้สะดวกขึ้น โดยอาจให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจการบินในประเทศอย่างรุนแรง ดังนั้นการตัดสินใจในเรื่องนี้ รัฐบาลจึงต้องทำให้เกิดความโปร่งใส

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us