ตั้งแต่ปี 2528 - 2530 ผ่านมาการเติบโตทางด้านยอดขาย กำไรขาดทุนและสินทรัพย์ของ
บริษัทคาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย)หรือเรียกสั้นๆว่า "ไทยคาโอ"
ซึ่งคาโอญี่ปุ่นถือหุ้นส่วนใหญ่ 70 % และตระกูลไพรสานฑ์กุลถือ 30 % ได้ติดอันดับรั้งท้ายใน
TOP - 5 ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคไทยที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศหนุนหลังคือบริษัทลีเวอร์บราเธอร์
(ประเทศไทย) บริษัทคอลเกต - ปาล์มโอลีฟบริษัทไลอ้อน และบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันโดยดูได้จากยอดการจำหน่ายของไทยคาโอในปี
2530 ที่ทำรายได้ 654 ล้านบาทขณะที่คู่แข่ง อย่างลีเวอร์บราเธอร์ทำได้มากที่สุดถึง
2,672 ล้านบาท และทำกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นถึง 281 ล้านบาทขณะที่บริษัทคาโอทำกำไรได้แค่
9.7 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้ทางด้านสินทรัพย์บริษัทในปี 30 นี้ทางลีเวอร์มีถึง
1,428 ล้านบาทขณะที่คาโอ มีสินทรัพย์ 599 ล้านบาทเอง (ดูตารางประกอบ)
ทั้งนี้เพราะตลอดระยะเวลา 24 ปี ที่ผ่านมาไทยคาโอ มีสินค้าในตลาดไทยน้อยมากผลิตภัณฑ์คาโอที่
ACTIVE ที่สุดคือแชมพู โดยเริ่มจากชื่อเสียงของแชมพูผงแฟซ่าที่ทดลองนำเข้ามาขายโดยสุวิทย์
ไพรสานฑ์กุล (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ "ผู้ให้กำเนิดชื่อแฟซ่า"
) และขายดีมากจนกระทั่งบริษัทไทยคาโอเกิดขึ้นในปี 2507 เป็น SOMPANY ที่แตกตัวผลิตภัณฑ์มากมายคือในปี
2510 เริ่มผลิตและขายแชมพูน้ำแฟซ่า ,แฟซ่าออยแชมพู (เมษายน 2527),ยาสระผม"เฟรช"
ชนิดผง(พฤษภาคม 2519),ครีมแชมพูและออยแชมพูชนิดซอง(สิงหาคม 2520) เอสเซนเทรียลแชมพู(พฤษภาคม
2521) แฟซ่าครีมนวดผม (กรกฎาคม 2522), แชมพูคาโอเมริท(ปี 2524),ครีมนวดผมเอสเซนเทรียล(ปี
2526),เอสเซนเทรียลคอนดิชั่นนิ่งแชมพู (ปี 2527 ซึ่งปีนี้ได้มีการปรับปรุงฝาแบบพับปิดได้),แฟซ่าแชมพูโปรทีน
(ปี 2530)และปี 32 ผลิตภัณฑ์แชมพูล่าสุดคือ "ซิโฟแน่" ซึ่งเป็น
SEGMENT แชมพูผสมครีมนวด " 2 IN 1" ที่รีจอยส์ในค่ายพีแอนด์จีเป็นตัวกระตุ้นตลาดคนแรก