Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2533
จักรทิพย์ในกลุ่มสุเอซ             
 


   
search resources

ธนาคารอินโดสุเอซ
จักรทิพย์ นิติพน
Banking




เวลา 92 ปีในประเทศไทยของธนาคารอินโดสุเอซ นับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากสำหรับการลงหลีกปักฐานอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย

แต่ในกรณีของ COMPAGNIE FINANCIEREDE SUEZ หรือกลุ่มสุเอซซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคารอินโดสุเอซนั้น ปรากกว่าความแข็งแกร่งมั่นคงเพิ่งจะเริ่มเกิดเมื่อปลายปี 2532 นี่เอง ทั้งนี้เป็นการกล่าวโดยพิจารณามูลค่าหุ้นตามราคาตลาดของกลุ่มสุเอซ ซึ่งพุ่งขึ้นจาก 13 พันล้านฟรังก์ในต้นปี 2531 เป็น 50 พันล้านฟรังก์เมื่อสิ้นปี 2532 และมีสินทรัพย์รวมประมาณ 70 พันล้านฟรังก์

ผู้สันทัดกรณีให้ความเห็นว่าจุดเริ่มการเติบโตของกลุ่มสุเอซเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2530 เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจขายรัฐวิสาหกิจแห่งนี้เป็นบริษัทมหาชน ตอนนั้นกลุ่มสุเอซเป็นโอลดิ้ง คอมปานีของรัฐบาลซึ่งมี่หุ้นอยู่ในวาณิชธนกิจและหุ้นเล็กๆ น้อยๆ ในอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสอีกจำนวนหนึ่ง

จังหวะที่รัฐบาลฝรั่งเศสปล่อยหุ้นรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ลงตลาดหลักทรัพย์ เป็นจังหวะเดียวกับที่เกิดวิกฤตในตลาดหุ้นทั่วโลก หลายคนคงจะจำเหตุการณ์เมื่อ "จันทร์ทมิฬ" ปีนั้นได้ชัดเจนผลที่ตามมาคือ ราคาหุ้นสุเอซดิ่งหัวปักลงอย่างที่ไม่มีใครคาดว่าจะโผล่ขึ้นมาได้อีก

ครั้นเวลาผ่านไป 2 ปี กลุ่มสุเอซกลับปรากฏชื่อเป็นโฮลดิ้ง คอมปานีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ครอบครองผลประโยชน์มหาศาลในกิจการอุตสาหกรรมและอาณาจักรทางการเงิน ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวดูเหมือนจะเกิดจากความสำเร็จ ในการซื้อกิจการขนาดใหญ่ 2 แห่งในยุโรปซึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องของ"โชคที่ได้มาด้วยความบังเอิญ" มากกว่า"การก้าวอย่างมีจังหวะ"

กิจการอันดับแรกที่หาซื้อมาได้สำเร็จคือ SOCIETE GENERALE BELGIQUE (SGB) ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คอมปานีขนาดยักษ์ของเบลเยี่ยม ควบคุมอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหล็ก สังกะสี ซีเมนต์ อสังหาริมทรัพย์ และเป็นกิจการที่มีกำไรอย่างมากๆ เพราะว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ เติบโตขยายตัวมากในช่วงที่ผ่านมา

กลุ่มสุเอซเข้ามาเป็น"อัศวินม้าขาว" เมื่อ CARLODE BENEDETTI นักการเงินชาวอิตาเลี่ยนประกาศ HOSTILE BID กับ SGB ตัวเดอเบเนเดตติ ก็มีหุ้นจำนวนหนึ่งในกลุ่มสุเอซ บรรดาผู้บริหารกลุ่มสุเอซเกรงว่าเป้าหมายต่อไปที่นักซื้อกิจการายนี้สนใจ อาจเป็นกลุ่มสุเอซขึ้นมาก็เป็นได้ หลังจากที่มีการสู้ราคากันอย่างยืดเยื้อยาวนานและเป็นข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในทั่วโลก กลุ่มสุเอซก็สามารถครองหุ้นได้ 50.6%ในปี 2531 คิดเป็นมูลค่า 13 พันล้านฟรังก์

ส่วนกิจการใหญ่อีกอันหนึ่งที่กลุ่มเพิ่งจะซื้อมาสดๆ ร้อนๆ เมื่อปีที่แล้วคือบริษัทประกันชื่อ GROUPE VICTOIRE ซึ่งสุเอซก็ถือหุ้นอยู่แต่เดิมแล้ว 40% มูลเหตุการซื้อครั้งนี้มาจากการที่ VICTOIRE ต้องการขยายกิจการแบบไวๆ โดยการเข้าไปซื้อกิจการประกันภัยใหญ่อันดับ 2 ของเยอรมนีตะวันตกชื่อ COLONIA VERSICHERUNG ซึ่งต้องใช้เงินถึง 12 ล้านฟรังก์

VICTOIRE หาเงินโดยใช้วิธีขายหุ้นให้ผู้ร่วมทุนใหม่ซึ่งเป็นบริษัทอิตาลี นั่นเท่ากับจะทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของสุเอซลดน้อยลง สุเอซจึงประกาศซื้อทั้ง VICTOIRE และ COLONIA เป็นมูลค่าถึง 25.5 พันล้านฟรังก์และก็ชนะไปในที่สุด การซื้อครั้งนี้นับเป็นราคาซื้อกิจการที่แพงที่สุดที่เคยมีขึ้นในฝรั่งเศส

แต่สุเอซก็ไม่ขาดทุนแต่อย่างใด เพราะได้มีการขายหุ้นบางส่วนในบริษัททั้งสองให้กับบริษัทประกันใหญ่ๆ ขณะที่ยังเก็บหุ้นส่วนข้างมากเพื่อให้สามารถควบคุมการบริหารไว้ราคาที่สุเอซจ่ายไปจริงๆ นั้นสุทธิเพียงแค่ 3.4 พันล้านฟรังก์

จะเห็นได้ว่าการซื้อกิจการทั้งสองรายการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อนเลย หลังจากที่ได้ SGB และ VICTOIRE แล้วกลุ่มสุเอซขยายเติบโตขึ้นมาก (ดูตารางการถือหุ้นของกลุ่มสุเอซ) ทั้งในแง่ของขนาดและเครือข่ายธุรกิจ โดยมีกิจการครอบคลุมทั้งทางด้านวาณิชธนกิจและการลงทุนในอุตสาหกรรม

กิจการสำคัญของกลุ่มสุเอซคือธนาคารอินโดสุเอซ ซึ่งมีธุรกิจที่เข้มแข็งมากในย่านเอเชียและตะวันออกกลาง แม่กลุ่มสุเอซจะถือหุ้นในธนาคาร 100% ทว่าธุรกิจธนาคารมีขนาดเล็กกว่า SGB และธุรกิจประกันอย่างมาก ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่ากิจการ SGB และ VICTOIRE ทำกำไรให้กลุ่มสุเอซอย่างมาก โดยเมื้อสิ้นปี 2530 กลุ่มฯมีกำไรหลังหักภาษี 2.1 พันล้านฟรังก์ และเพิ่มเป็น 2.7 พันล้านฟรังก์หลังจากรวมผลกำไรของ SGB เข้ามาเมื่อสิ้นปี 2531 ส่วนปี 2532 ซึ่งจะคำนวณเอาผลกำไรของ VICTOIRE รวมเข้ามาด้วยนั้นคาดหมายว่า จะได้ผลกำไร 4 พันล้านฟรังก์ จากรายรับสุทธิประมาณ 85 พันล้านฟรังก์

การขยายกลุ่มเติบใหญ่ของกลุ่มสุเอซในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหาร บรรดาบริษัทย่อยในเครือต้องเพิ่มการติดต่อปรึกษาหารือกับสำนักงานใหญ่มากขึ้น ฝ่ายบริหารของกลุ่มได้มีการคิดค้นแผนงานทางธุรกิจให้แก่บริษัทในเครือต่างๆ โดยมีสมมุติฐานว่าการลงทุนแต่ละอย่างจะต้องสร้างผลตอบแทนกลับคืนมา 15 % ส่วนธุรกิจที่มีความเสียงมากก็ต้องมีผลตอบแทนกลับมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ว่ากันว่า บริษัทในกลุ่มสุเอซทุกแห่งต้องมีการประชุมประจำเดือนกับฝ่ายบริหารส่วนกลางที่ปารีส เพื่อพูดคุยในเรื่องงบประมาณและความก้าวหน้าของธุรกิจ

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ให้ความเห็นว่าถึงแม้จะมีการประชุมกันเป็นประจำ แต่ในแง่ของการที่จะร่วมมือกันระหว่างบริษัทในเครือนั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่

นอกจากนี้ในส่วนของกิจการธนาคารอินโดสุเอซนั้น ปรากฏว่าความพยายามที่จะขอซื้อหุ้นเพิ่มมากขึ้นในมอร์แกนเกรนเฟลล์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจใหญ่แห่งหนึ่งในอังกฤษเมื่อปี 2532 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนั้นสะท้อนจุดอ่อนของธนาคารฯ อย่างเห็นได้ชัด อินโดสุเอซ ขาดกลไกทางด้านวาณิชธนกิจที่เข้มแข็งในระดับระหว่างประเทศ แม้ในส่วนของการทำ PROJECT FINANCE และ M&N ในฝรั่งเศสเองนั้นอินโดสุเอซจะคลองตลาดอยู่มากก็ตาม

เมื่อย้อนกลับมาดูในไทยปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในสาขาที่นี่ก็สะท้อนความเป็นไปของกลุ่มสุเอซ ดังที่กล่าวมาแล้วอย่างชัดเจน

จักร์ทิพย์ นิติพน อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ได้รับการทาบทามให้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของธนาคารอินโดสุเอซ สาขาประเทศไทย เขาถูกส่งไปดูงานประชุมและอบรมอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานใหญ่ที่ปารีสเป็นเวลาถึง 6 เดือน เมื่อกลับมากรุงเทพฯไม่นานนัก เขาก็ได้รับการโปรโมทขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ (GENERAL MANAGER) แทนที่ผู้จัดการชาวฝรั่งเศสคนเดิม "ชองก์ มาเล่ย์" ซึ่งถูกย้ายกลับเข้าไปประจำที่สำนักงานใหญ่ จักร์ทิพย์ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารสูงสุดของธนาคารต่างประเทศที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย

นักวิเคราะห์ในวงการธนาคารต่างประเทศในไทยกล่าวกับ"ผู้จัดการ" ว่า ธนาคารต่างประเทศในไทยทุกแห่งอยากจะหาคนไทยขึ้นมาเป็นผู้จัดการกันทั้งนั้น แต่ติดที่ว่าหาคนที่มีฝีไม้ลายมือและความเหมาะสมกับตำแหน่งยากมาก ประโยชน์ที่จะได้คนไทยมาเป็นผู้จัดการนั้นมีมากมายสุดจะพรรณนา

จักร์ทิพย์ กล่าวกับ"ผู้จัดการ"ว่าเหตุผลประการหนึ่งที่เขาก้าวมาสู่ระดับสูงก็เพราะธนาคารฯ มีเป้าหมายที่จะรุกตลาดวาณิชธนกิจ และตัวเองเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนี้เป็นอย่างดีจากไอเอฟซีที

งานที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำมี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ การนำเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งทางอินโดสุเอซก็ได้ทำไปบ้างแล้ว คือเป็น ARRANGER ให้ SIAM FUND วงเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท การให้ความสนับสนุนทางการเงิน 3,000 ล้านบทแก่โครงการรถลอยฟ้า รวมถึงการค้ำประกันเงินกู้ในโครงการเดียวกันอีก 4,300 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแนะนำตราสารทางการเงินใหม่ๆ เข่ามาใช้ในตลาดเมืองไทยและเรื่องของการสนับสนุนการลงทุนและการค้าในไทย ซึ่งปรากฏว่ามีนักลงทุนชาวฝรั่งเศส สนใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นโดนเฉพาะในกิจการโรงแรม

หากพิจารณาดูการขยายตัวของกิจการธนาคารอินโดสุเอซในไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีการขยายในด้านของตลาดทุนมากเป็นพิเศษ คือมีการร่วมทุนกับบลง.นวธนกิจ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารทหารไทยและเป็นบริษัทค้าหลักทรัพย์ที่ทำรายได้ดีเป็นระยะๆ มีการตั้งบริษัทวิจัย ดับบลิว.ไอ.คาร์ โดยร่วมกับบริษัทแม่ในฮ่องกง เพื่อเข้ามาวิจัยตลาดหุ้นไทยและชักชวนนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

การขยายตัวใน 2 บริษัทนี้สอดคล้องไปกับการเติบโตของตลาดทุนไทย หรือหากจะมองอีกทางหนึ่ง ก็เป็นเพียงความพยายามที่จะมีส่วนร่วมในตลาดวาณิชธนกิจด้านใดด้านหนึ่ง ก็เป็นเพียงความพยายาม ซึ่งจริงๆ แล้วอินโดสุเอซยังไม่เคยโชว์ฟอร์มงานวาณิชธนกิจอย่างจริงๆ จังๆ สักที

คงต้องรอดูผลงานของอินโดสุเอซในยุคผู้บริหารไทยอย่างจักรทิพย์กันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us