Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2533
ฐานะกรุงไทยดีขึ้น             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
เธียรชัย ศรีวิจิตร
Stock Exchange




ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของธนาคารกรุงไทยยังคงยืนพื้นอยู่ที่หุ้นละ 110 บาท ยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขึ้นไปอีกคนที่ซื้อไว้ในราคาอันเดอร์ไรท์ เมื่อปลายปีก่อนในราคาหุ้นละ 10 บาทในวันนี้

"ต้องไปถามบริษัทอันเดอร์ไรท์ ทำไมต้องมาถามแต่หุ้นกรุงไทย หุ้นบริษัทอื่นๆ ก็มีเยอะแยะที่ราคาในตลาดขณะนี้ต่ำกว่าราคราอันเดอร์ไรท์ ทำไมไม่ไปถามเขาบ้างว่าเป็นเพราะอะไร" เธียรชัย ศรีวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยตอบแบบฉุนๆ กับ"ผู้จัดการ" เมื่อถูกถามถึงกรณีที่หุ้นกรุงไทยทำไมถึงต่ำกว่าราคาอันเดอร์ไรท์ ทั้งที่เข้าตลาดมานานแล้ว เพราะจริงๆแล้วเรื่องนี้สามารถที่จะอธิบายได้ เพราะถ้าดูตามตัวเลขก็ยังสามารถอธิบายให้เห็นได้ว่าหุ้นกรุงไทยยังเป็นหุ้นที่มีอนาคตในระยะยาวๆ

เพราะในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า มีความเปลี่ยนแปลงที่นับว่าดีขึ้นหลายอย่าง ในธนาคารกรุงไทยเริ่มตั้งแต่ ดร.ปัญญา ตันติยวรงค์ ขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ แผนงานต่างๆที่วางไว้เมื่อสมัยเข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ใหม่ๆ ได้เริ่มเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น

ทีมบริหารด้านปฏิบัติการในสายตาของ ประยูร ภู่พัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่จัดขึ้นตามโครงสร้างใหม่ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อยก็กำลังไปได้ดี โดยเฉพาะสายสินเชื่อได้มีการแยกแยะเป้าหมายอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นด้านการเร่งรัดหนี้สินที่ ดร.ปัญญาดูแลด้วยตัวเองในการปฏิบัติการของ อรรณพ พิทักษ์อรรณพ ก็นับว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย จากยอดหนี้ค้างชำระร่วม 20,000 ล้านบาท สามารถเรียกชำระได้คืนถึง 8,000 ล้านบาท

โดยเฉพาะเจ้าหนี้ 3 รายใหญ่ สุระ-สว่าง-เสธ.พล ซึ่งมีภาระหนี้รวมกันถึง 12,000 ล้านบาท ขณะนี้สุระ จันทร์ศรีชวาลา ได้ชำระเสร็จสิ้นหมดแล้วเรียบร้อย สว่าง เลาหทัย อยู่ในระหว่างการผ่อนชำระงวดละ 40 กว่าล้านบาท ส่วนพันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ ก็อยู่ในระหว่างบอกขายที่ดิน ที่ชะอำมูลค่าถึง 3,000 ล้านบาท เพื่อที่จะนำเงินมาชำระในเร็วๆนี้

ณ สิ้นปี 2532 เงินฝากโตขึ้นถึง 25% เป็นยอดสิ้นปีทั้งสิ้น 188,447 ล้านบาท พอตกมาถึงไตรมาสแรกของปีนี้ (2533) ปรากฏว่ามียอดเพิ่มขึ้นอีกถึง 10,000 ล้านบาทเพราะฉะนั้นเปาหมายที่จะให้โตถึง 22% ในสิ้นปีนี้ก็คงจะไม่ไกลเกินหวัง

ส่วนทางด้านสินเชื่อก็เติบโตขึ้นมาก ณ สิ้นปี 2532 ปรากฏว่าสินเชื่อขยายตัวถึง 31% นับว่าโตกว่าระบบเกือบเท่าตัวโดยมียอดสินเชื่อ ณ สิ้นปีถึง 152,961 ล้านบาท

เมื่อแยกเป็นสินเชื่อแต่ละประเภท ปรากฏว่าสินเชื่ออุตสาหกรรม ซึ่งน่าจะเป็นสินเชื่อที่มีอนาคตดีในระยะยาวๆ ต่อไปมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสัดส่วนสูงถึง 33% สินเชื่อเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาเป็นอันดับสอง 16.70% สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน13 % ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับสินเชื่อนโยบายรัฐ 13.50% สินเชื่อเพื่อการค้าและพาณิชย์ 12.50 %

ส่วนสินเชื่อรายย่อย เช่น สินเชื่อหัตถกรรมปล่อยกู้ได้ 115 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยว 107 ล้านบาท สินเชื่อวิชาชีพอิสระ 125 ล้านบาท สินเชื่อร้านค้าย่อย 140 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการศึกษา 2 ล้าน

สินเชื่อยอดฮิตของธนาคารคือสินเชื่อ ธนวัฏ ปล่อยได้สูงถึง 8,155 ล้านบาท และสินเชื่อวายุภักษ์ หรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยได้ 6,912 ล้าน

ด้านการบริหารเงินนั้นก็ดูดีขึ้นมาก กำไรจากการปริวรรตที่เคยได้เล็กๆ น้อยๆ กลับมาเป็นรายได้ที่เป็นเนื้อเป็นหนังมากขึ้นในไตรมาสแรกปีนี้ โดยมีกำไรจากส่วนนี้ถึง 336 ล้านบาท ซึ่งแสดงว่าแบงก์ปล่อยสินเชื่อไปในธุรกิจส่งออกและนำเข้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ตัวเลขผลการดำเนินงานที่สามารถรายงานได้ละเอียดมากขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในขั้นต่อไปนั้นก็สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพ ในการวางระบบการทำงานและระบบข้อมูลของฝ่ายคอมพิวเตอร์ที่ สหัส ตรีทิพยบุตร ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ได้วางเอาไว้ค่อนข้างดี

ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในรูปของกำไรสุทธิในไตรมาสแรกของปีนี้ที่สูงถึง 251 ล้านบาท หรือคิดเป็น 49%เมื่อเทียบกำไรสุทธิทั้งปี 2532 จำนวน 514 ล้าน

"มันเป็นช่วงจังหวะที่ดีหลายอย่างของแบงก์กรุงไทยในรอบปีที่ผ่านมา การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวเร่งรัดผู้บริหารเอาจริงเอาจังต่อเปาหมายการทำงานที่ได้เสนอไว้ต่อมหาชนมากขึ้น ภาพพจน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจมีน้อยลง โดยเฉพาะในแง่ของการเข้ามาแทรกแซงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ(คลัง) ทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการทำงาน และที่สำคัญมันเป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับที่ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารที่จ่อคิวอยู่ในอันดับสาม(วัดจากขนาดด้านสินทรัพย์) ที่จะวิ่งตามขึ้นมานั้นได้อ่อนเปลี้ยลงไปอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องปัญหาบุคลากรที่มีคุณภาพจำกัดตัวลง ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลกระทบต่อการขยายงานของกสิกรไทยเองไม่มากก็น้อย ในขณะที่กรุงไทย ได้เครือข่าย กำลังคนและสินทรัพย์ชั้นดีตลอด ทั้งเงินช่วยเหลือ ของกองทุนฟื้นฟูอีก 4,000 ล้านบาท จากการรวมเอาธนาคารสยามเข้ามาอยู่ด้วย" ผู้สันทัดในวงการเงินวิเคราะห์ให้"ผู้จัดการ"ฟัง

การตั้งเป้าหมายในปี 2533 ที่จะให้ได้กำไรสุทธิถึง 850 ล้านบาท ตามที่ผู้บริหารได้เสนอภายใต้พื้นฐานการเติบโตของสินทรัพย์ 14% เงินฝาก 22% สินเชื่อ 30% และเร่งรัดหนี้เก่าคืนให้ได้ 3,500 ล้านบาทนั้นจึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายยิ่งในช่วงจังหวะเช่นนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขามีความปรารถนาอย่างสูงที่จะเห็นธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ของมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสลัดคราบความเป็นรัฐวิสาหกิจออกไปอย่างสินเชิง มีความเป็นอิสระในการบริหาร สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ของเอกชนได้สูงยิ่งขึ้น

และหนทางที่จะไปสู่จุดนั้นก็เหลือขั้นตอนอีกไม่มากนักภาระอยู่ที่เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติที่เชื่อถือหลักการแข่งขันอย่างเสรี กับผู้บริหารของะนาคารกรุงไทยเองที่ต้องการปลดปล่อยตัวเอง จะสามารถพูดจูงใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เห็นคล้อยตามความคิดนี้ด้วย

เพราะอำนาจในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และนโยบายนั้น อยู่ที่กระทรวงการคลังเพียงคนเดียวที่จะช่วยให้บทบาทของธนาคารเปลี่ยนแปลงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การควบคุมนโยบายในฐานะผู้ถือหุ้น การแทรกแซงของทางการในการปล่อยสินเชื่อ การส่งคนเข้ามาเป็นกรรมการของธนาคารที่ให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลังก็ได้ ตลอดจนภาระหนี้สินที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ค้างชำระอยู่ก็ช่วยให้มีการกำหนดแผนที่จะชำระให้แน่นอนลงไปด้วย

หากมีการแก้ไขในขั้นนี้ให้เรียบร้อยก็เท่ากับว่าธนาคารกรุงไทยได้ก้าวกระโดดสู่การแข่งขันที่องอาจมากขึ้น ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเป็นที่จับตามองอยู่อย่างใกล้ชิดอย่างน้อยก็จากคนที่ยอมทนถือหุ้นธนาคารกรุงไทยไว้นานๆ โดยยังไม่ได้ปันผลเลยสักบาทเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us