Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2533
แม่ค้าหยกจากเชียงใหม่ "วรนันท์ ผ่องเจริญกุล"             
 


   
search resources

วรนันท์ ผ่องเจริญกุล




ถ้าพูดถึงอัญมณีอันมีค่า (PRECIOUS STONE) "หยก" ถือได้ว่าเป็นอันดับห้ารองจากเพชร, ไพลิน, ทับทิมและมรกต หยกมีอยู่ 2 ประเภท คือ หยกเนื้ออ่อน (NEPHRITE) ซึ่งมีสีเขียวสีเดียวและพบมากที่สุดในโลกที่ อแลสกา, ไต้หวันและจีน ส่วนหยกอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าเป็นหยกที่มีทุกสีทั้งเขียว, ม่วง,แดง,ดำ,ขาว แต่หยกสีเขียวที่ดีที่สุดในโลกคือ หยกอิมพีเรียล ที่มาจากพม่ามีเนื้อใสสีเขียวสด อัญมณีทุกอย่าง ไม่ว่าหยกหรือทับทิมจะมาทางแม่สอด จ.ตาก และแม่สาย จ.เชียงราย โดยหมู่ชนกลุ่มน้อยคือหมู่จีนฮ่อที่นำเส้นทางค้าหยกมาสู่เชียงใหม่ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าหยกคุณภาพดีที่พ่อค้าฮ่องกงนิยมในปัจจุบัน และในปีที่แล้วการส่งออกอัญมณีจำนวน 30,000 ล้านบาท มีมูลค่าการส่งออกหยกประมาณ 1-2 % หรือ 300-400 ล้านบาท แม้จะมีมูลค่าน้อยอยู่มากแต่ก็หาพ่อค้าที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหยกได้เพียงไม่ถึง 5 คนในจำนวนพันกว่าคนที่ค้าอัญมณีเพชรพลอยอยู่ขณะนี้

หนึ่งในห้าคนดังกล่าวมี วรนันท์ ผ่องเจริญกุล เป็นนักธุรกิจหญิงที่ก้าวเข้ามาในเส้นทางค้าหยกนี้อย่างมืออาชีพ เธอเป็นผู้หญิงเก่งที่พูดจาฉะฉาน จบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์และมีประสบการณ์ทำงานกับนสพ.บางกอกโพสต์ ได้สองปีก่นจะอำลาเมืองกรุงมุ่งสู่บ้านเกิดเชียงใหม่เพื่อเริ่มกิจการของตัวเองโดยมีสามี ปรีชา ผ่องเจริญกุล อดีตนักกิจกรรมสมัย 14 ตุลา 16 เป็นผู้นำชีวิต ทั้งคู่เริ่มทำกิจกรรมทัวร์ และภายหลังได้รับการโอนร้านจิวเวลรี่ จากเพื่อนสนิท และนี่คือก้าวสำคัญที่ทำให้ทั้งสองได้เข้ามาสู่เส้นทางค้าหยกที่นำความรุ่งโรจน์มาสู่ชีวิตในเวลาอีก 10 ปีต่อมาที่มีธุรกิจนับร้อยล้าน โดยมีโชว์รูมและโรงงานซื้อ FAC ตั้งที่หน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเชียงใหม่

"เราเริ่มต้นค้าหยกด้วยเงินทุนเพียงแสยกว่าถึงสองแสนบาท คือตอนที่ทำทัวร์เราก็คิดว่าเรื่องหยกนั้นคนเชียงใหม่ยังไม่รู้ และมีหนังสือหลายประเทศหลายเล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดเขียนถึงเชียงใหม่ว่า เป็นศูนย์กลางการค้าหยก พออ่านปั๊บเราก็เริ่มหาข้อมูลและพบว่าจริงๆ เป็นอย่างนั้น" วรนันท์เล่าให้ฟังขณะพาเดินชมการแกะสลักหยกแต่ละชิ้นในโรงาน

"ขณะนี้เรารับงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งเป็นองค์พระแก้วมรกต ซึ่งหม่อมอรพินท์ ดิศกุล ภริยา ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ท่านอยากจะได้ไว้ถวายสมเด็จพระ สังฆราช ซึ่งหยกที่ใช้นั้นเป็นหยกตระกุลเนื้ออ่อน ก็เลยสัญญากับท่านว่าในสิ้นเดือนเมษานี้จะไปอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเขาเจอหยกเนื้ออ่อนขนาดใหญ่มาก เราก็เลยสั่งซื้อเขาไว้แล้ว หยกก้อนหนึ่งหนักประมาณ 500 กก. ซึ่งใหญ่มากเลย แต่เราต้องไปดูของก่อนว่าเป็นไปตามที่เราคิดไว้หรือเปล่า? ถ้าสีได้ตามพระแก้วมรกตจริงๆ เราก็จะแกะให้เท่าองค์จริงเลย เพราะตอนนี้ที่แกะให้ท่าน ก็ประมาณ 2 ฟุต ซึ่งไม่ใหญ่มากนักก็ยังไม่ได้กะราคาและคาดว่าจะเสร็จอีกประมาณ 4-5 เดือนช้างหน้านี้ เพราะกว่าจะไปก็เดือนหน้าและสั่งซื้อเข้ามาก็ใช้เวลา" วรนันท์เล่า

นอกจากงานนี้แล้ว ยังมีงานแกะสลักหยกรูปพระโพธิสัตว์ซึ่งสำเร็จเรียบร้อยแล้วรอกการส่งให้หม่อนอรพินท์ อีกชิ้นหนึ่ง วรนันท์ได้เล่าให้ฟังว่าเป็นงานที่ใช้เวลาแกะสลักสองเดือนกว่า และพยายามแกะสลักให้ใกล้เคียงกับของเก่าแก่มากที่สุดโดยช่างที่มีอายุน้อยมากไม่ถึง 25 ปี แต่มีความสามารถระดับสูง "ที่ร้านเราไม่ถือเรื่องอายุเป็นสิ่งสำคัญแต่ถือเอาฝีมือมากกว่า"

ปัจจุบันนี้ลูกค้าของที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวญี่ปุ่นที่นิยมสั่งทำหยกเป็นแผ่นหินกลมจี้ห้อยคอ "ตอนนี้เขาสั่งเข้ามาเป็นร้อยชิ้นแต่เราทำได้ไม่ถึงเพราะบางสีของหยกมีจำกัด อย่างญี่ปุ่นสั่งมาต้องการสีหยกออกชมพูหน่อยๆ ซึ่งเป็นสีคอลเลกชั่นสำหรับฤดูใบไม่ผลิซึ่งทางลูกค้าซึ่งเป็นร้านจิวเวลรี่ค่อนข้างจู้จี้เรื่องสีมาก"

การที่วรนันท์สามารถเจาะตลาดญี่ปุ่นได้นั้น เป็นเพราะได้คอนเนคชั่นการทำธุรกิจ จากมร.คาโดคาว่า ซึ่งเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้าของร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโตเกียวซึ่งมาเยือนเชียงใหม่และได้เข้าร่วมลงทุนด้วยโดยตั้งร้านจิวเวลรี่ ชื่อบริษัทไทยคาโดคาว่า และจากการยอมรับของคนที่มีชื่อเสียงนี่เองทำให้บริษัทจิวเวลรี่รายใหญ่ของญี่ปุ่นอีกรายหนึ่งตกลงใจจะร่วมลงทุนตั้งอีกบริษัทหนึ้งด้วย

"ญี่ปุ่นที่จะมาลงทุนกับเราเป็นญี่ปุ่นที่อยู่ในตระกูลทำอัญมณีมาแล้ว 5 ชั่วอายุคน เขาบอกว่าสินค้าของเขาถ้าราคาต่ำกว่าแสนบาทจะไม่ทำ ตอนแรกเขาก็มองหาผู้ร่วมลงทุนชาวไทยหลายคนที่เชียงใหม่ แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเลือกเราและเทเล็กซ์มาว่าสนใจจะเข้าหุ้นกับเราโดยจอยเวนเจอร์กับเรา ส่วนการถือหุ้นเท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องรายละเอียดที่ต้องไปคุยกันที่โตเกียวประมาณเดือนพฤษภาคม" วรนันท์เล่าให้ฟัง

จนถึงวันนี้ การขยายตัวการลงทุนไปสู่ต่างประเทศตามแผนการที่ยังมีอยู่ วรนันท์เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้วเคยคิดที่จะไปเปิดสาขาเองที่ ซานฟรานซิสโก ซึ่งคนที่นั่นรู้จักหยกและศิปวัฒนธรรมตะวันออกดีมากเพราะมีชาวเอเชียเข้าไปอยู่ที่นี่นานมากแล้ว การเปิดตลาดในเมืองนอกเราต้องคิดในแง่ของกลุ่มผู้ซื้อว่ามีความเข้าใจในเรื่องหยกแค่ไหน ?"

แต่โครงการลงทุนนี้ก็ต้องล้มเลิกไปเพราะเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเกิดขึ้นในปีที่แล้ว

"ที่จริงเราทำสัญญาเรียบร้อยและเตรียมทนายไว้ เรียกว่าเตรียมพร้อมเกือบ 80% ทุกอย่างตกลงกันเรียบร้อยก่อนเกิดแผ่นดินไหวได้แค่เดือนเดียวเท่านั้นเอง แต่พอเกิดแผ่นดินไหวเราก็เลยไม่มั่นใจและหยุดโครงการลงทุนนี้ไว้" วรนันท์เล่าให้ฟัง

สำหรับแผนการลงทุนขยายงานสู่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของประเทศ วรนันท์ ได้จองพื้นที่โครงการศูนย์อัญมณี SILOM PRECIOUS TOWER ของรังสรรค์ ต่อสุวรรณ ไว้เรียบร้อยแล้วด้วยมูลค่าราคาแพงเกือบ 20 ล้านบาท

"เราเลือกซื้อที่นี่เพราะตัวบุคคลและโลเกชั่นมากกว่า มันอยู่ตรงหัวมุมถนนสีลม และโครงการของรังสรรค์ ค่อนข้างใหญ่เนื้อที่เกือบ 5 ไร่ ขณะที่โครงการอื่นเพิ่งเปิดตัว แต่มีประมาณไร่เดียว ที่จริงเราดูความได้เปรียบของพื้นที่ที่ต้อง GRAND & PRESTIGE มากกว่าแต่เราก็ยังไม่รู้ว่าอีกสองสามปีจะเกิดอะไรขึ้น เราอาจจะไม่ไปเปิดก็ได้หารเราทำที่เชียงใหม่แล้วมีออร์เดอร์มาก จนเราทำไม่ทัน วรนันท์มองอนาคตของกิจการและศักยภาพของเมืองไทยที่จะกลายเป็นศูนย์กลางอัญมณีโลกว่า

"มีความเป็นไปได้แน่นอนถ้ามีความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งขณะนี้ภาครัฐบาลก็ให้ความร่วมมือดีมาก อย่างคราวที่แล้วไปประมูลหินหยกที่พม่า กรทรวงพาณิย์ช่วยทั้งหมด พม่าเขาเชิญนักธุรกิจไทย 20 คนและเราเป็นคนไทยเพียงคนเดียวในหมู่พ่อค้าฮ่องกงที่ประมูลหยกได้" วรนันท์เล่าพลางชี้ให้ดูหินก้อนใหญ่หลายก้อนที่เพิ่งนำเข้ามาหลังจากชนะการประมูลหยกที่พม่า 4 รายการ มูลค่า 2 ล้านบาท ในจำนวนหยกทั้งหมด 384 รายการซึ่งมีมูลค่าขั้นต่ำ 195 ล้านบาท

"หยกหินก้อนซึ่งเป็นหยกกิโลที่ยังไม่ได้ทำหรือแกะสลัก ส่วนใหญ่เวลาเราซื้อจะเสี่ยงมาก เพราะถ้าเป็นหยกสีเราจะไม่รู้เลยว่าสีข้างในเป็นอย่างไร แต่ละก้อนจะผ่าหน้าต่างกันนิดเดียวแค่นั้นเอง คนก็ต่อรองราคากันแล้ว บางก้อนซื้อมา 4-5 หมื่นบาทข้างในอาจจะมามีเลยก็ได้ แต่บางก้อนพ่อค้าฮ่องกงก็ฟลุ้กเป็น 20-30 ล้าน เพราะบางทีไม่มีข้างนอกแต่ข้างในมีสีมากก็ได้" วรนันท์เล่าประสบการณ์ที่คลุกคลีกับการประมูลหยกหินก้อนให้ฟัง

ทุกวันนี้ งานการออกแบบหยกเป็นเครื่องประดับงดงามหลายชิ้น ป็นฝีมือของน้องชาย และวรนันท์เอง

ปีนี้คอลเลกชั่นใหม่ของเราจะเป็นหยกสีม่วงและเขียงสดใส เราทำเป็นชุดทั้งสร้อย แหวน กำไลข้อมือ และต่างหู โดยเราพยายามเน้นความละเอียดมาก ขั้นตอนแรกเราจะสั่งช่างให้เจียหยกให้ได้ตามรูปและรายละเอียดแบบที่นี่มีความเป็น UNIQUE ที่สุด" วรนันท์พาเดินเข้ายังอีกห้องที่แสดงเครื่องประดับราคาแพงและบรรยากาศเลิศหรูสำหรับลูกค้าระดับสูง ในตู้กระจกแต่ละตู้ จะบรรจุประติมากรรมหยกที่ประณีตศิลป์ เช่น ลายต้นไม้ หยกสูงประมาณฟุตกว่าที่แกะสลักอย่างละเอียดเหมือนมีชีวิต "ชิ้นนี้เราไม่ได้ทำไว้ขาย แต่ทำไว้เป็น SHOW PIECE สำหรับหุ้นส่วนญี่ปุ่นของเราซึ่งจะเปิดร้านที่กรุงเทพฯ" วรนันท์เล่าให้ฟัง

นอกจากนี้การแกะสลักหยกเป็นช้างและม้า ก็ได้รับความนิยมจากตลาดนักท่องเที่ยวมากและที่น่าทึ่งคือการใช้จินตนาการเนรมิตหยกสามสีซึ่งคนจีนถือว่าดี แบบ ฮก-ลก-ซิ่วที่สีแดงหมายถึงอายุยืนสีเขียวหมายถึงความความมั่งคั่งร่ำรวย และสีขาวคือความโชคดี นำมาแกะสลักเป็นรูปลักษณ์ที่แปลกตา เช่น การใช้ส่วนสีม่วงแกะเป็นดอกกุหลาบ และส่วนสีเขียวเป็นใบไม้และส่วนสีแดงเป็นผีเสื้อ

"บางชิ้นที่หม่อนอรพินท์ท่านโปรด คือช้างชูลูกบอลที่แกะจากหินหยกก้อนเดียวแต่สามสีคือลูกบอลเป็นสีดำ ตัวช้างเป็นสีเขียวและมีลุกช้างติดแม่เป็นสีม่วง" วรนันท์เล่า

ในบรรดาพ่อค้าจิวเวลรี่จำนวน 10,000 คนมีเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้นที่ทำหยก และวรนันท์ก็เป็นหนึ่งที่มีความสามารถยกระดับการค้าหยกได้เทียบเท่าต่างประเทศ

"ชิ้นหนึ่งที่ถือว่าแพงที่สุดเท่าที่ทำมาคือแหวนหยกอิมพีเรียล ขนาด 20 กะรัต ซึ่งประมูลขายที่ CHRISTIE'S AUCTIONS ที่ฮ่องกงด้วยมูลค่าประมาณหนึ่งแสนเหรียญหรือ 2 ล้านกว่าบาท และกำไลคู่เดียวสองแสนกว่าเหรียญ หรือประมาณ 6 ล้านบาท บ้านเราคงไม่คิดกันว่าหยกจะแพงถึงขนาดนี้ แต่ในระยะสองปีมานี้คนไทยเรามีความเข้าใจเรื่องหยกมากขึ้น เราจึงฝึกพนักงานที่เน้นการให้ความรู้กับลูกค้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนเขาจะซื้อหรือไม่เป็นการตัดสินใจอีกระดับหนึ่ง" วรนันท์เล่าให้ฟัง

ผู้หญิงเก่งอย่างวรนันท์และปรีชา ผ่องเจริญกุล วันนี้ก้าวรุดหน้าไป จากเงินทุนเริ่มแรกไม่ถึงสองแสนและการทำงานอย่างหนัก วันนี้ทำให้ธุรกิจร้อยล้านของวรนันท์ได้รับการยอมรับในความเป็นหนึ่งบนเส้นทางการค้าหยก

"สิ่งสำคัญที่สุดคือ ถ้าเราทำอะไรต้องซื่อสัตย์และยุติธรรมต่อลูกค้า ทำให้เราไปได้ไกลและนาน" วรนันท์กล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us