Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤศจิกายน 2546
ชินฯผนึกมาเลย์รุกธุรกิจการบิน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
แอร์ เอเชีย เอวิเอชั่น - AirAsia Aviation
บุญคลี ปลั่งศิริ
ทักษิณ ชินวัตร
Aviation




ชินคอร์ป (SHIN) อัดเงิน 250 ล้านบาท ร่วมทุนธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) กับกลุ่มธุรกิจมาเลเซีย หวังแตกไลน์ธุรกิจออกนอกธุรกิจสื่อสาร ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง เพิ่มศักยภาพทำรายได้ธุรกิจใหม่ กระจายความเสี่ยงแหล่งรายได้ พร้อมรอง รับการที่ภาครัฐกำลังผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาคนี้ โดยจะเริ่มเปิดบริการตั้งแต่ปีหน้า

หนังสือพิมพ์บิสซิเนส ไทมส์ ของมาเลเซีย ฉบับวานนี้ (11 พ.ย.)รายงานว่า นายโทนี เฟอร์-นันเดซ ซีอีโอของแอร์เอเชีย ระบุว่า กิจการร่วมทุนระหว่าง 2 ฝ่ายที่จะตั้งนี้ จะมีทุนจดทะเบียนขั้นต้น 400 ล้านบาท โดยชินคอร์ป ซึ่งครอบครัว นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นใหญ่ อยู่ จะถือหุ้นบริษัทร่วมทุน 51% ที่เหลือจะเป็นของแอร์เอเชีย แต่บริษัทแอร์เอเชียจะเป็นผู้ควบคุมในเรื่องการบริหารจัดการ โดยบริษัทร่วม ทุนแห่งนี้ ซึ่งจะใช้ชื่อว่า แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น นายเฟอร์นันเดซ กล่าวต่อว่า "เราเพิ่งสรุปการพูดคุยของเรากันได้เมื่อเร็วๆ นี้เอง เราได้ระบุถึงเส้นทางหลายเส้นทางทีเดียว ที่อาจเริ่มออกให้บริการในตอนที่เราเปิดตัว อาทิ เที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต, หรือไปจีน และอินเดีย และเป็นไปได้เช่นกันที่จะเป็นเที่ยวบินจากกรุงเทพฯไปปีนังหรือโกตากินะบะลู(เมืองหลวงรัฐซาบาห์) ในมาเลเซีย"

เมื่อถูกถามถึงเสียงวิจารณ์ที่ว่า แอร์เอเชียเลือกชินคอร์ปเป็นพันธมิตร เพราะบริษัทนี้มีความเกี่ยวพันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นายเฟอร์-นันเดซก็รีบปฏิเสธว่า "เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เราพิจารณาทุกๆ ราย โดยคำนึงถึงเรื่องคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ และพบว่าชินคอร์ป คือรายซึ่งเป็นไปได้ที่จะเป็นหุ้นส่วนกันได้อย่างดีจริงๆ และเป็นบริษัทชั้นดีซึ่งสามารถทำงานด้วยได้"

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงความประสงค์ให้ตั้งสายการบินที่ให้บริการ แบบราคาประหยัดขึ้นในประเทศไทย โดยตั้งฐานที่เชียงใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะพัฒนาจังหวัดนี้ให้เป็นศูนย์กลางการบิน ซึ่งสามารถเดินทางติดต่อทางอากาศกับพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจีน ลาว หรือ พม่า

นายเฟอร์นันเดซเผยว่า การเจรจากับฝ่ายไทยเริ่มขึ้นก.ค. หลังจากสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ระงับแผนการที่จะตั้งสายการบินแบบราคาประหยัดที่เชียงใหม่ ด้วยเหตุผลว่า ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงขึ้น ขณะที่ฐานผู้โดยสาร น่าจะยังต่ำอยู่

แต่ซีอีโอของแอร์เอเชียแห่งมาเลเซีย กลับแสดงความหวังว่า สายการบินร่วมทุนแห่งใหม่ที่จะตั้งกับชินคอร์ปนี้ น่าจะสามารถทำรายได้คุ้ม ทุนกันตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินงาน ทั้งนี้ พิจารณา จากข้อเท็จจริงที่ว่า ไทยเป็นประเทศที่มีประชากร มากถึง 64 ล้านคน เปรียบเทียบกับมาเลเซีย ซึ่ง มีแค่ 25 ล้านคน

"ยิ่งกว่านั้น คนไทยจำนวนมากกำลังรอคอยให้เปิดสายการบินแบบขายตั๋วราคาถูก ที่ไม่ ต้องให้บริการซึ่งไม่มีความจำเป็นขึ้นมา เนื่องจาก ในปัจจุบันพวกเขาไม่สามารถโดยสารเครื่องบินได้ เพราะค่าตั๋วแพงเหลือเกิน" นายเฟอร์นันเดซกล่าวเสริม

แอร์เอเชียคาดว่า การดำเนินงานในประเทศ ไทยจะสามารถทำรายรับได้ระหว่าง 20 ถึง 30% ของผลประกอบการทั้งหมดของบริษัททีเดียว ทั้งนี้บริษัทเตรียมที่จะนำเอาเครื่องบิน เครื่องแบบ แบรนด์เนม และคอนเซ็ปต์แนวทางการทำงานของแอร์เอเชีย มาใช้กับการปฏิบัติงานในไทย

"เราอาจจะเช่าเครื่องบินเพิ่มอีก 3 ลำ เพื่อใช้ให้บริการแบบประหยัดในประเทศไทย ถ้าได้เครื่องบินใหม่อีก 3 ลำ กองบินของเราก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ลำ" นายเฟอร์นันเดซบอก

การจับมือเป็นพันธมิตรกับชิน คอร์ป คราวนี้ เป็นการขยายตัวออกสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเป็นครั้งแรกของแอร์เอเชีย หลังจากบริษัทก่อตั้งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่บริษัททำท่าจะไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้ โดยกำลังเล็งและจะขยายเข้าสู่อินโดนีเซีย บรรดารัฐทางชายฝั่งภาคใต้ของอินเดีย และกระทั่งสิงคโปร์

อัด 250 ล้านซื้อหุ้น

นายบุญคลี ปลั่งศิริ กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN) เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ว่าที่ประชุมเห็นชอบให้บริษัทร่วมลงทุนบริษัท แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (Air Asia Aviation) ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) โดย SHIN จะถือหุ้นใหญ่บริษัท แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น (AAA) และบริษัท AA International จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Air Asia Sdn Bhd ของมาเลเซีย ร่วมถือหุ้นส่วนน้อยที่เหลือ โดย SHIN ซื้อหุ้นสามัญ AAA วงเงินไม่เกิน 250 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก SHIN เปิดเผย ว่าการลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการแตกไลน์ธุรกิจเพิ่มจากเดิมที่ทำอยู่ ซึ่งมีธุรกิจหลากหลายที่สนใจให้ SHIN ร่วมลงทุนด้วย แต่ SHIN เลือกลงทุนธุรกิจสายการบิน เพราะต้องการเพิ่มความแตกต่างการทำธุรกิจจากปัจจุบัน ที่เน้นด้านโทรคมนาคมและไอทีส่วนใหญ่ ซึ่ง 2 ธุรกิจนี้ กำลังอยู่ในช่วงขาลง

โดยบริษัทมองว่า ความต้องการใช้สายการ บินกำลังเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบัน และรอง รับกับที่ภาครัฐกำลังผลักดันไทย ยกระดับเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้โอกาสทำธุรกิจการบินมีมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจไอทีและโทรคมนาคมที่ SHIN มีอยู่ จะทำให้บริษัทในเครือได้รับผลดีไปด้วย เช่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) ที่อาจได้ประ-โยชน์จากการเปิดให้จองตั๋วเครื่องบินผ่านโทร-ศัพท์มือถือได้ และเชื่อมโยงกับไอทีอีกหลายอย่าง ที่จะลิงก์กันได้ในอนาคต

ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50%

บริษัท แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น ประกอบธุรกิจให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลังร่วมทุนไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท จำนวนหุ้นที่ร่วมทุน ไม่ น้อยกว่า 20 ล้านหุ้น มูลค่าลงทุนไม่เกิน 250 ล้านบาท ราคามูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 10 บาท ซึ่ง SHIN จะถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ AAA และ AA International ของมาเลเซีย ถือหุ้นไม่เกิน 49%

สำหรับวัตถุประสงค์การเข้าร่วมทุนเพื่อเป็นการขยายฐานธุรกิจของบริษัทฯ ออกไปในธุรกิจอื่นๆ ที่มีศักยภาพและอัตราการเติบโตสูงรวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำรายได้ของ บริษัทฯ ในธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งจะใช้เงินทุนหมุน เวียนจากการดำเนินงานของบริษัท

สนคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ด้วย

ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ป กล่าวว่าธุรกิจสาย การบิน เป็นธุรกิจด้านขนส่ง เป็นแมสคอนซูเมอร์ ซึ่งไม่ต่างจากธุรกิจโทรคมนาคม ในแง่เป็นแมสคอนซูเมอร์เหมือนกัน แต่ถ้ามองว่าชินคอร์ปต้อง ลงทุนด้านโทรคมนาคมอย่างเดียว ไม่สามารถลง ทุนธุรกิจอื่นได้ การรวมพลัง (synergy) กับ AIS คงไม่มีอะไรมากนัก อาจออกมาในรูปทำโปรโมชั่นร่วมกัน เช่น แจกตั๋วเครื่องบิน

ที่ผ่านมา มีการเสนอโปรเจกต์ให้ชินคอร์ป เยอะมาก โดยที่ชินคอร์ปจะเลือกว่าธุรกิจไหนมีอนาคต ก็จะตัดสินใจลงทุนธุรกิจนั้น ซึ่งนอกจาก สายการบิน ก็มีด้านคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ ที่น่าสนใจ

การที่เลือกสายการบินนี้ เพราะมีสไตส์การ ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน เคลื่อนไหวเร็ว ทำเร็ว ทั้งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งไม่แย้งตลาดกับการบินไทย แต่เป็นการสร้างตลาดใหม่มากกว่า เพราะคนไทยที่ยังไม่เคยขึ้นเครื่องบิน ยังมีอีกมาก อย่างน้อยค่าโดยสารควรต้องถูกลงสัก 50% จากปัจจุบัน เช่น บินกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ น่าจะถูกลง เหลือสัก 1,000 หรือไม่ถึง 1,000 บาท

สายการบินต้นทุนต่ำ ยังสามารถทำโปรโมชั่นได้อีกมาก เพื่อทำให้ค่าโดยสารถูกลง แต่ห้ามคืนตั๋ว

"ขณะที่การบินไทยลดค่าใช้จ่าย โดยการลดการบริการ ลดอาหาร เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ถ้า บริการลด ก็ต้องลดราคาด้วย ไม่ควรประหยัด ต้นทุนด้วยการมาลดบริการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us