Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ไทยยามาฮ่า ชื่อใหม่ของสยามยามาฮ่า             
 


   
search resources

ไทยยามาฮ่า มอเตอร์, บจก.
เคพีเอ็น กรุ๊ป, บจก.




หลังจาก ที่การปรับโครงสร้างหนี้ และการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามยามาฮ่า ได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงเมื่อไม่นานมานี้ ปัจจุบัน ความพยายาม ที่จะลบภาพเก่าเมื่อครั้งอดีต กำลังเริ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง

ตลอดระยะเวลากว่า 2-3 ปีที่สยามยามาฮ่า ต้องเผชิญกับวิกฤติการทางเศรษฐกิจ พร้อมกับการแบกรับภาระหนี้สิน กว่า 10,000 ล้านบาทนั้น กิจกรรมด้านการตลาดของสยามยามาฮ่าต้องตกอยู่ในระดับ ที่เรียกได้ว่าเงียบเหงาอย่างยิ่ง

กระทั่ง ยามาฮ่า มอเตอร์ จากญี่ปุ่นได้นำเงินเข้ามาช่วย เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2,500 ล้านบาท เป็น 4,100 ล้านบาท และครองสัดส่วนการถือหุ้นจาก 28% เป็น 51% เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสยามยามาฮ่าให้เป็นบริษัทลูกของยามาฮ่า มอเตอร์ อย่างเต็มตัว โดยมีตัว แทนจากยามาฮ่า มอเตอร์ เข้ามาเป็นผู้ควบคุมการบริหารอย่างเป็นทางการ

ล่าสุด ชื่อของสยามยามาฮ่า ได้กลายเป็นอดีตสำหรับทั้งผู้ใช้รถจักรยานยนต์คนไทย และกลุ่มเคพีเอ็น ของคุณหญิง พรทิพย์ และเกษม ณรงค์เดช ไปเสียแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทอย่างเป็นทางการใหม่เป็นบริษัท ไทยยามาฮ่า จำกัด เมื่อปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมา

วิบากกรรมของสยามยามาฮ่าในช่วง ที่ผ่านมา นับเนื่องได้ตั้งแต่เมื่อครั้ง คุณหญิงพรทิพย์ และเกษม ณรงค์เดช ช่วงชิงสยามยามาฮ่า มาจากสยามกลการ ในปี 2537 ภายหลัง จาก ที่ ยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่ต่อสัญญาการเป็นผู้แทนจำหน่ายยามาฮ่าในประเทศไทยให้กับสยามยามาฮ่า ภายใต้โครงสร้างการถือหุ้น ที่มีสยามกลการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแห่งนี้

การช่วงชิงสยามยามาฮ่า ในห้วงเวลานั้น นับเป็นกรณีความแตกแยกในครอบครัวพรประภา ที่ได้รับการโจษขาน มากที่สุดเรื่องหนึ่งของสังคม ก่อน ที่กลุ่มเคพีเอ็น ของคุณหญิง พรทิพย์ และเกษม ณรงค์เดช จะกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสยามยามาฮ่า ด้วยสัดส่วน 72% พร้อมกับการเป็นผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าในประเทศไทยต่อไป

กลุ่มเคพีเอ็น สามารถครอบครองสายามยามาฮ่าได้เพียง 2 ปีเศษ ก็ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ภาระหนี้สินของกลุ่มเคพีเอ็นเพิ่มขึ้นในระดับทวีคูณหรืออาจมากถึงระดับไตรคูณจนต้องแบกรับหนี้กว่า 10,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาถัดมา ก่อน ที่จะมีการเจรจาขอความช่วยเหลือจากยามาฮ่า มอเตอร์ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ปี และได้ผลสรุปดัง ที่ปรากฏในปัจจุบัน

โทชิโนริ ซูซูกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยยามาฮ่ากล่าวไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อไม่นานมานี้ว่า ยามาฮ่า จะกลับมาผงาดอีกครั้งในตลาดจักรยานยนต์ไทย โดยมีเป้าหมาย ที่จะครองส่วนแบ่ง 25% ในตลาดแห่งนี้ให้ได้ภายในปี 2000 นี้

ความพยายามของ ยามาฮ่า จะสัมฤทธิ์ผลเพียงในอีกไม่นานเราคงได้รู้กัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us